ชาวกทม.วอนรัฐจัดทำแอปฯ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หลังโดนค่าโดยสารเกินราคา

การจราจรในกรุงเทพมหานครนั้นแสนสาหัส ยิ่งชั่วโมงเร่งด่วนไม่ต้องพูดถึงแทบจะไม่ขยับเอาซะเลย หนทางสุดท้ายของคนกทม. ก็คือต้องพึ่งวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้ทันท่วงที แต่ทุกครั้งที่ใครหลายคนต้องใช้บริการวินมอเตอร์ไซด์มักจะเจอกับเหตุการณ์ค่าโดยสารบอกราคาเกินความเป็นจริง หรือราคาค่าโดยสารที่ไม่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น เคยนั่งจากต้นทางแยกอโศกมาปลายทางตึกแกรมมี่ 20 บาท แต่บางคันกลับเรียกเก็บ 25 บาท เป็นต้น แต่อย่างไรแล้ว เราที่เป็นผู้บริโกคในบางครั้งก็เลี่ยงไม่ได้ ต้องจำยอมไปโดยปริยาย แม้จะมีการร้องเรียนจากประชาชนในกทม.มาเป็นระยะ ๆ และได้มีการแก้ไขไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร


 

 


ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,053 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 12 – 14 กันยายน 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 99% และความผิดพลาดไม่เกิน 4% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,406 กลุ่ม

ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการให้บริการของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า เนื่องจากกรมการขนส่งทางบก ร่วมกับ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร เปิดรับลงทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะ เป็นการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง โดยรถจักรยานยนต์ที่นำมาใช้จะต้องจดทะเบียนถูกต้อง (ป้ายเหลือง) ผู้ขับรถ เสื้อวิน บัตรประจำตัว และรถจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกัน เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์หรือการปล่อยให้เช่าเสื้อวิน ทั้งนี้ หากพบการนำรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (ป้ายดำ) มาใช้รับ-ส่งผู้โดยสาร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่งกายไม่ถูกต้องตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ระยะเวลา 3 ปี จุดที่น่าสนใจคือการที่มอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่สามารถจอดรับผู้โดยสารได้เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่ของตนเองทำให้เกิดปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสารของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างประชาชนในกรุงเทพมหานครนั้นมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการให้บริการของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

การจราจรในกรุงเทพมหานครนั้นแสนสาหัส ยิ่งชั่วโมงเร่งด่วนไม่ต้องพูดถึงแทบจะไม่ขยับเอาซะเลย หนทางสุดท้ายของคนกทม. ก็คือต้องพึ่งวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้ทันท่วงที แต่ทุกครั้งที่ใครหลายคนต้องใช้บริการวินมอเตอร์ไซด์มักจะเจอกับเหตุการณ์ค่าโดยสารบอกราคาเกินความเป็นจริง หรือราคาค่าโดยสารที่ไม่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น เคยนั่งจากต้นทางแยกอโศกมาปลายทางตึกแกรมมี่ 20 บาท แต่บางคันกลับเรียกเก็บ 25 บาท เป็นต้น แต่อย่างไรแล้ว เราที่เป็นผู้บริโกคในบางครั้งก็เลี่ยงไม่ได้ ต้องจำยอมไปโดยปริยาย แม้จะมีการร้องเรียนจากประชาชนในกทม.มาเป็นระยะ ๆ และได้มีการแก้ไขไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร


 

 


ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,053 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 12 – 14 กันยายน 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 99% และความผิดพลาดไม่เกิน 4% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,406 กลุ่ม

ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการให้บริการของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า เนื่องจากกรมการขนส่งทางบก ร่วมกับ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร เปิดรับลงทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะ เป็นการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง โดยรถจักรยานยนต์ที่นำมาใช้จะต้องจดทะเบียนถูกต้อง (ป้ายเหลือง) ผู้ขับรถ เสื้อวิน บัตรประจำตัว และรถจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกัน เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์หรือการปล่อยให้เช่าเสื้อวิน ทั้งนี้ หากพบการนำรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (ป้ายดำ) มาใช้รับ-ส่งผู้โดยสาร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่งกายไม่ถูกต้องตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ระยะเวลา 3 ปี จุดที่น่าสนใจคือการที่มอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่สามารถจอดรับผู้โดยสารได้เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่ของตนเองทำให้เกิดปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสารของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างประชาชนในกรุงเทพมหานครนั้นมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการให้บริการของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

 

ขอบคุณบทความจาก : daily.rabbit.co.th

 

 

 

 

 

 


จำนวนผู้อ่าน: 2234

12 พฤศจิกายน 2017