“ไวรัสโควิด” คนไทยตายแล้ว 41 คน เทียบ “ไข้หวัดสเปน” 102 ปีก่อน ไทยตาย 8 หมื่น

Seattle policemen wearing protective gauze face masks during influenza epidemic of 1918 which claimed millions of lives worldwide (Photo by Time Life Pictures/National Archives/The LIFE Picture Collection via Getty Images)

ฉากเปิดหนังสารคดี Pandemic : Prevent an Outbreak  ที่ฉายอยู่ใน Netflix เวลานี้ บรรยายถึงเหตุการณ์เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ร้ายแรงระบาดไปทั่วโลก

ทำให้คนนับล้านคนต้องติดเชื้อ ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล คนตายล้นห้องดับจิต คนเดินถนนต้องใส่หน้ากากอนามัย หลายเมืองต้องปิดพื้นที่สาธารณะ

การระบาดครั้งนั้นเกิดขึ้นในปี 1918 (พ.ศ.2461) ที่เรียกว่า Spanish flu หรือ “ไข้หวัดสเปน” มาจากไวรัส A(H1N1)

The Oakland Municipal Auditorium is being used as a temporary hospital with volunteer nurses from the American Red Cross tending the sick there during the influenza pandemic of 1918, Oakland, California, 1918. (Photo by Underwood Archives/Getty Images)

โลกต้องเผชิญกับการระบาดของไวรัสที่ร้ายแรงที่สุดใน มีคนติดเชื้อถึง 50 ล้านคน คร่าชีวิตมนุษยชาติกว่า 20 ล้านคน ทุกทวีป ทั่วโลก เศรษฐกิจดิ่งเหวจากสองแรงบวก ทั้งจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 และผลกระทบจากไวรัส

ส่วนการระบาดในเมืองไทยนั้น ในบันทึกการแจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ส่งยาและคำแนะนำออกไปช่วยป้องกันรักษาสมทบกับแพทย์ประจำเมือง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 27 กรกฎาคม 2462 บันทึกสถานการณ์ในขณะนั้นตอนหนึ่ง

“ไข้หวัดหรืออินฟูเอนซา ได้เริ่มเปนขึ้นในพระราชอาณาจักรภาคใต้ เมื่อเดือตตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๑ ก่อนแล้วกระจายแพร่ไปทั่วพระราชอาณาจักร พึ่งสงบลงเมื่อเดือนมีนาคมที่ล่วงมานั้น”

UNSPECIFIED – JANUARY 27: Red Cross volunteers fighting against the spanish flu epidemy in United States in 1918 (Photo by Apic/Getty Images)

จากข้อความข้างต้น ไข้หวัดสเปนระบาดในเมืองไทยยาว 5 เดือน และในบันทึกตอนท้ายสรุปตัวเลขผู้ป่วยไข้หวัดสเปนขณะนั้น 2,317,662 ราย เสียชีวิต 80,233 ราย จากจำนวนประชากรรวม 9,207,355 คน

ตัดสลับที่ภาพในสถานการณ์ปัจจุบันทั่วโลก หลายเมืองทั่วโลกมีสภาพไม่ต่างกับ 100 ปีที่แล้ว

จากจุดศูนย์กลางการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ เมืองอู่ฮั้น สาธารณรัฐประชาชนจีน ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2562 จากนั้น ก็กระจายจากจีน สู่ยุโรป ไปยังอเมริกา ออสเตรเลีย

A nearly empty 7th Avenue in Times Square is seen at rush hour after it was announced that Broadway shows will cancel performances due to the coronavirus outbreak in New York, U.S., March 12, 2020. REUTERS/Mike Segar

จนถึงตอนนี้ไวรัส covid – 19 วิวัฒนาการ – แปลงกลาย ออกมาหลายสายพันธุ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 2563 หลังการระบาด 100 กว่าวัน

“ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ อธิบายการ “กลายพันธุ์” ของโควิด – 19 ไว้อย่างน่าสนใจ

โควิด19 สายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลก ได้มีการศึกษาพันธุกรรมของ โคโรน่าไวรัส โควิด19 กันมากทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา ในปัจจุบันมีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวมากกว่า 5000 สายพันธุ์และแบ่งสายพันธุ์ของไวรัส แล้วแต่ใครจะกำหนด เช่นเป็น A B C

A เป็นสายพันธุ์เริ่มแรก โดยเปรียบเสมือน B วิวัฒนาการ มาจาก A และ C วิวัฒนาการมาจาก B หรืออาจกล่าวว่า C เป็นลูกของ B แต่ไม่ได้บอกว่าใครรุนแรงกว่าใคร บอกว่าความเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก บอกเส้นทางเดินของไวรัสว่ามาจากที่ใด

ในการวิเคราะห์แบบมีหลักเกณฑ์ของ GISAID โดยดูตำแหน่งความหลากหลายทางพันธุกรรม Polymorphism สายพันธุ์ของโควิด19 ในปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นเป็นสายพันธุ์ S (Serine) แล้วมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเป็น L (Leucine) สายพันธุ์ L แพร่ขยายได้รวดเร็วกว่าและแพร่กระจายเข้าสู่ยุโรปและอเมริกา ต่อมาจึงแยกสายพันธุ์ L แยกออกเป็นอีก 2 สายพันธุ์ G (Glycine) และสายพันธุ์ V (Valine)

ดังนั้นสายพันธุ์ของโควิด-19 ในปัจจุบันจึงแบ่งเป็น 3 สายพันธุ์ คือ S, G และ V และยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ อีกที่ยังไม่ได้กำหนด

เราศึกษาในประเทศไทยพบว่าลักษณะของสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย มีลักษณะที่จำเพาะ เราอยากจะตั้งชื่อว่า สายพันธุ์ T ไม่ใช่มาจาก Thailand แต่ T มาจากการเปลี่ยนพันธุกรรมไปเป็น Threonine ในส่วนของ Spike gene ที่ยื่นออกมา

ถ้าเรามีการศึกษาเยอะและมากพอ สายพันธุ์ G เข้าสู่อเมริกาทางด้านตะวันออก สายพันธุ์ S เข้าสู่อเมริกาทางด้านตะวันตก ในอเมริกาเองจึงมีทั้ง G และ S สายพันธุ์ V และ G ระบาดในยุโรป สำหรับ Australia ช่วงแรก จะเป็นสายพันธุ์ S ที่มาจากจีน และเอเชียตะวันออกและต่อมา V และ G เข้ามาทีหลัง ผ่านการเดินทางเข้ามาจากยุโรป

บ้านเราที่พบมากยังเป็นสายพันธุ์ S ที่มาจากประเทศจีนในระยะแรก และระยะหลัง สายพันธุ์ทางตะวันตก โดยเฉพาะยุโรป ที่จะเป็นสายพันธุ์ V และ G เข้ามาสู่บ้านเรา โดยรวมแล้วสายพันธุ์ผสมกันไปมาเพราะการเดินทางจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่ง

ประเทศไทยต้องการนักคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เพื่อมาวิเคราะห์รูปแบบ ของการระบาดโดยใช้วิธี ชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) เรียนให้รู้ และสนุก จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เรายังขาดนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ในด้านนี้อย่างมาก มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ทางด้านพันธุกรรม

ไม่ว่าจะเป็นของมนุษย์ สัตว์ เชื้อโรคและไวรัส จะมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งทางด้าน การวินิจฉัย ระบาดวิทยา การค้นพบการก่อโรค การหาวิธีการป้องกัน พัฒนายารักษา และทำวัคซีนในการป้องกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้แบบจำลอง เริ่มจากสารพันธุกรรม DNA และ RNA ของไวรัสเป็นพื้นฐาน

จากไข้หวัดสเปนจบด้วยยอดผู้เสียชีวิตทั้งโลกกว่า 20 ล้านราย ในไทยเสียชีวิตกว่า 8 หมื่นราย ถึงไวรัสโควิด ที่เอาชีวิตคนทั่วโลกไปแล้วทะลุ 1 แสนราย และติดเชื้อเกือบ 2 ล้านคน

แม้ว่า โควิด-19 ผสมข้ามสายพันธุ์ไป-มา เกิดเป็นหลายสายพันธุ์ เก่งกาจแค่ไหน แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์สมัยใหม่ แน่นอนว่าจะสามารถเอาชนะไวรัสนี้ได้   

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/breaking-news/news-449356


จำนวนผู้อ่าน: 1842

15 เมษายน 2020