Shipping containers are seen at the cargo terminal area of Tokyo port on October 6, 2015. Japanese Prime Minister Shinzo Abe hailed a deal to create the world's largest free trade area October 6 as the start of a "new century" for Asia, and expressed hope China might one day join the historic accord. AFP PHOTO / KAZUHIRO NOGI
“เอดีบี แบงก์” ชี้ความเสี่ยงเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาเอเชียโตเพียง 0.1% ต่ำสุดในรอบเกือบ 60 ปี จากผลกระทบกิจกรรมเศรษฐกิจชะลอช่วงโควิดระบาด ฟากเศรษฐกิจไทยมีโอกาสทรุดหนัก -6.5% จากเดิมคาด -4.8% ในเดือน เม.ย. เหตุบริโภค/ลงทุนต่ำ-ส่งออกหดตัวรุนแรง
ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี รายงานว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะเติบโตไม่มากนักในปี 2563 เนื่องจากมาตรการควบคุมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลให้เกิดการชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจและทำให้ความต้องการจากภายนอกลดลง
โดยในรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย (Asian Development Outlook: ADO) ฉบับเพิ่มเติมล่าสุด (Supplement) เผยแพร่ในวันที่ 18 มิ.ย.63 ระบุว่า ในปี 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะเติบโตเพียง 0.1% ซึ่งลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.2% ในเดือนเมษายน และตัวเลขนี้คาดว่าจะเป็นการเติบโตที่ช้าที่สุดสำหรับภูมิภาคตั้งแต่ปี 2504
สำหรับการเติบโตในปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.2% สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะหดตัวที่ 2.7% ในปีนี้ ก่อนที่จะกลับมาเติบโต 5.2% ในปี 2564 โดยการหดตัวดังกล่าวเกิดจากประเทศเศรษฐกิจหลักในอนุภูมิภาคได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมโรคระบาดซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศ
สำหรับไทยคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวที่ 6.5% ซึ่งหดตัวเพิ่มมากขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 4.8% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนที่ลดต่ำอันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 กอรปกับแนวโน้มอุปทานภายนอกที่อ่อนแอส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการลดต่ำลง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของไทยคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นที่ 3.5% ในปี 2564 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.5% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในปี 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะเติบโตเพียง 0.1% (ตารางที่ 1) ซึ่งลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.2% ในเดือนเมษายน และตัวเลขนี้คาดว่าจะเป็นการเติบโตที่ช้ที่สุดสำหรับภูมิภาคตั้งแต่ปี 2504 สำหรับการเติบโตในปี 2564 คาคว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.2% เช่นที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คาดว่าจะยังคงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้และต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤติ
ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย (ไม่รวมเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ของฮ่องกง จีน เกาหลี สิงคโปร์ และไทเป) คาดว่าจะเติบโตที่ 0.4% ในปีนี้ และ 6.6% ในปี 2564
“เศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิกจะยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในปีนี้ แม้ว่าการปลดล็อคจะค่อยๆ คลี่คลายและมีการผ่อนปรนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบ ‘ปกติใหม่’ “ นายยาซูยูกิ ซาวาดะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอดีบี กล่าว
นายยาซูยูกิ กล่าวอีกว่า ในขณะที่เราเห็นแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นสำหรับภูมิภาคในปี 2564 แต่นั่นเป็นเพราะตัวเลขที่อ่อนแอในปีนี้และจะไม่ใช่การฟื้นตัวในรูปแบบตัววี (V-shaped recovery) รัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และทำให้มั่นใจว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดของโรคระลอกใหม่
แนวโน้มทางเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยขาลงจากผลกระทบของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้นหลายระลอกในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง บวกกับหนี้ฐบาลและวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ ยังมีความเสียงจากการเพิ่มระดับความตึงเครียดทางการคำที่เกิดขึ้นใหม่ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนอีกด้วย
เอเชียตะวันออกคาคว่าจะเติบโต 1.3% ในปี 2563 ซึ่งเป็นอนุภูมิภาคเดียวที่ยังมีการเติบโตในปีนี้ ในขณะที่การเติบโตในปี 2564 คาคว่าจะฟื้นตัวอยู่ที่ 68% การเติบโตของจีนคาดว่าจะอยู่ที่ 1.8% ในปีนี้ และ 7.4% ในปี 2564 เมื่อเทียบกับประมาณการเมื่อเดือนเมษายนที่ 2.3% และ 7.3% ตามลำดับ
เศรษฐกิจของเอเชียใต้คาคว่าจะหดตัว 3.0% เมื่อเทียบกับการเติบโต 4.1% ที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน เนื่องจากมีการแพร่ระบาดอย่างหนักของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอนุภูมิภาค ส่วนแนวโน้มการเติบโตในปี 2564 ถูกปรับลดลงเหลือ 4.9% จาก 6.0% เศรษฐกิจของอินเดียคาดว่าจะหดตัว 4.0% ในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ก่อนจะกลับมาเติบโตที่ 5.0% ในปีงบประมาณถัดไป
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะหดตัวที่ 2.7% ในปีนี้ ก่อนที่จะกลับมาเติบโต 5.2% ในปี 2564 การหดตัวดังกล่าวเกิดจากประเทศเศรษฐกิจหลักในอนุภูมิภาคได้ดำเนินมาตรการต่งๆ เพื่อควบคุมโรคระบาดซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศ โดยคาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเชียจะหดตัวที่ 10% ฟิลิปปินส์หดตัว 3.8% และไทยจะหดตัวที่ 6.5% ตามลำดับ ในขณะที่เวียดนามคาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ 4.1% ในปี 2563 ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายน 0.7 จุด แต่ยังคงเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เศรษฐกิจของเอเชียกลางคาคว่าจะหดตัว 0.5% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายนที่ 2.8% เนื่องจากการหยุดชะงักทางการคและการตกต่ำของราคาน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตาม การเติบโตคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวที่ 4.2% ในปี 2564
มาตรการจำกัดการค้าและจำนวนการท่องเที่ยวที่ลดลงส่งผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคแปซิฟิก โดยคาดว่เศรษฐกิจของอนุภูมิภาคจะหดตัวที่ 4.3% ในปี 2563 ก่อนที่จะกลับมาเพิ่มขึ้น 1.6% ในปี 2564
อัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนาในอเชียคาคว่ำจะอยู่ที่ 2.9% ในปี 2563 ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.2% ในเดือนมษายนซึ่งสะท้อนถึงอุปสงศ์และราคาน้ำมันที่ลดลง ส่วนในปี 2564 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 2.4%
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-479375
จำนวนผู้อ่าน: 2060
19 มิถุนายน 2020