ในปี 2020 Gartner คาดว่าตลาด IoT จะมีจำนวนอุปกรณ์ถึง 2 หมื่นล้านชิ้นเลยทีเดียว วันนี้เราจึงนำเสนอบทความที่แนะนำ Startup ด้าน IoT ที่น่าสนใจและเลือก 5 บริษัทที่มีงบการระดมทุนสูงมานำเสนอว่า ภายใต้ความเสี่ยงที่ต้องแบกรับจากการระดมทุนนั้นพวกเขามีไอเดียอะไรที่น่าจับตามองบ้าง
เป็นแพลตฟอร์มในการแจ้งเตือนสำหรับองค์กร มีทุนสนับสนุนกว่า 17 ล้านเหรียญเริ่มต้นก่อตั้งในปี 2013 พวกเขามองเห็นปัญหาว่าถ้าสามารถแจ้งเตือนภัยคุกคามได้เร็วก็จะสามารถบรรเทาหรือลดความเสียหายจากภัยที่อาจะเกิดกับ การปฏิบัติงาน ทรัพย์สิน หรือ พนักงาน ดังนั้นจึงมีการรวบรวมข้อมูลจาก เซ็นเซอร์ ระบบ พิกัด และอุปกรณ์อัจฉริยะของพนักงาน เพื่อกลายเป็นแพลตฟอร์มการสื่อสารในภาวะฉุกเฉินแบบหลายช่องทาง สิ่งที่ AlereMedia เก็บอย่างเช่น สัญญานจากเครื่องวัดต่างๆ ยานพาหนะ พิกัด GPS หรืออื่นๆ และดึงความหมายของสิ่งเหล่านั้นออกมา โดยคาดหวังว่ามันจะช่วยลูกค้าเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ภาวะสภาพอากาศเลวร้าย ภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย ไฟไหม้ หรือ ไฟฟ้าดับได้
ในกรณีอื่นพวกเขากล่าวว่าได้นำไปใช้กับร้านอาหารเพื่อติดตามอุณหภูมิในระบบแช่เย็นเพื่อแจ้งผู้ดูแลกรณีอุณหภูมิไม่อยู่ในภาวะที่คาดหวัง อย่างไรก็ตามตลาดด้านบริการแจ้งเตือนเพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่กี่ปีซึ่ง AlertMedia เองก็มีความสามารถไม่ใช่แค่ในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างที่ยกตัวอย่างดังนั้นมันจึงน่าจับตามองไม่น้อย สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ AlertMedia
2.Armis
ด้วยทุนถึง 47 ล้านเหรียญที่ได้มา บริษัทได้โฟกัสไปที่การทำเรื่องของ IoT Security ปัญหาที่ทางบริษัทได้มองสาเหตุ 3 ประการคือ
อุปกรณ์ IoT มักมีการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่ามันมักจะลัดผ่านความมั่นคงปลอดภัยโดยพื้นฐาน
ไม่ออกแบบมารองรับการอัปเดต OS หรือ Firmware ดังนั้นมันมักมีช่องโหว่
ไม่มีความมั่นคงปลอดภัยโดยพื้นฐานภายใน เนื่องจากปัญหาของทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่าง หน่วยความจำ หรือ หน่วยประมวลผล ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่จะยัดตัวป้องกันมัลแวร์หรือการป้องกันด้านความมั่นคงปลอดภัยใส่ลงไป
นอกจากนี้เพราะว่าตัวอุปกรณ์เองไม่ปลอดภัยทีม IT จึงมองไม่เห็นการเข้า-ออก ภายในเครือข่ายของอุปกรณ์เหล่านี้ อีกทั้งอุปกรณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบเดิมๆ อย่าง Firewall, Network Access Control หรือ Security Agent จะไม่ปกป้องอุปกรณ์ที่ไม่ถูกบริหารจัดการเช่นนี้ ด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่ Armis แก้ปัญหาคือ ทำให้องค์กรสามารถมองเห็นอุปกรณ์ IoT ทั้งหมดได้โดยปราศจากตัว Agent ซึ่งสามารถเห็นได้ว่าอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครือข่ายอย่างไร เช่น ผ่านสาย หรือ ไร้สาย นอกจากนี้ยังสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของอุปกรณ์โดยใช้ข้อมูลจาก ชื่อเสียงของอุปกรณ์ สถานะ การเชื่อมต่อ เวอร์ชัน กิจกรรมในอดีต และอื่นๆ พร้อมกันนี้ยังเปิดโอกาสให้องค์กรเลือกที่จะตัดการเชื่อมต่อตัวอุปกรณ์ที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยหรือประสงค์ร้ายแบบ Manual หรืออัตโนมัติได้ สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Armis
Startup รายนี้ได้ระดมทุนกว่า 47.5 ล้านเหรียญเพื่อใช้ในการผลิตซอฟต์แวร์ในระดับ Edge เพื่อตอบสนองการใช้งานของ IoT โดยแก้ปัญหาคือปกติแล้วโซลูชันระดับ Edge จะใช้นำข้อมูล Sensor มาเก็บไว้ก่อนส่งไปประมวลผลที่ Cloud ซึ่งในภาวะการใช้งานจริงเป็นไปได้ยากเพราะปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ต ดังนั้นกว่าจะได้ประโยชน์จากข้อมูลก็ดูเหมือนช้าไปแล้ว
สิ่งที่ FogHorn แก้ไขคือพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับภาคอุตสาหกรรมและโซลูชัน IoT ที่สามารถย่อขนาด และ ปรับกลไกของซอฟต์แวร์การประมวลผลที่ซับซ้อนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นมันสามารถปฏิบัติงานและวิเคราะห์ทำนายข้อมูลได้จาก Local อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังได้ทำให้เกิดการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่ระดับ Edge รวมถึงมี Heterogeneous Application ที่ใกล้กับต้นทางเพื่อควบคุมระบบและเซ็นเซอร์ทำให้มันมีความอัจฉริยะมากขึ้นเกิดขึ้นในระดับ Edge ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมจึงสามารถใช้ข้อมูลได้แบบ Real-time เพื่อตอบโจทย์ด้านประสิทธิภาพการผลิตและวางแผนลด Downtime ได้เช่นกัน สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ FogHorn.io
เป็นแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานข้อมูลจาก IoT ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองโจทย์ทั่วไปอย่างการเพิ่มประสิทธิภาพด้านกระบวนการผลิต ลด Downtime และสร้างสรรค์โมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ จากข้อมูลล่าสุดที่ได้มา ทาง Flutura ได้สร้างแอปที่เรียกว่า ‘Nano Apps’ เพื่อแก้ปัญหาแบบ Vertical เช่น อุตสาหกรรมแก๊สและน้ำมันโดยการติดตามประสิทธิภาพของหัวจ่ายด้วยการให้ข้อมูลที่ได้มาจากเซ็นเซอร์กับโมเดล AI เพื่อตอบโจทย์ที่ต้องการ พร้อมทั้งมีการคิดราคาแบบ OPEX ตามจำนวนอุปกรณ์ หรือ รายเดือน
แม้ว่าจะมีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง GE Predix และ Siemens ที่ทำตลาดมาก่อนหน้าแล้วแต่จุดเด่นของ Flutura คือการโฟกัสตลาดอย่างอุตสาหกรรมแก๊สและน้ำมัน ซึ่งแม้จะพัฒนาเพิ่มเติมเพียงน้อยนิดแต่อาจจะนำมาซึ่งความคุ้มทุนมหาศาล พร้อมทั้งโมเดลการคิดราคาอันชาญชลาดเพื่อให้ผู้สนใจสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้และด้วยทุน 8.5 ล้านเหรียญ ทำให้ Flutura น่าจะเข้ามาตลาดนี้ได้อย่างดีทีเดียว สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Flutura
บริษัทนี้ได้มองเรื่อง IoT Security เช่นกันแต่มองปัญหาไปในเรื่องที่ IoT นั้นไม่มีความมั่นคงปลอดภัยของชิปหรือซิมเพื่อบริหารจัดการระบุตัวตน เชื่อมต่อจากระยะไกลหรืออื่นๆ โดยการป้องกันด้านความมั่นคงปลอดภัย Transaction ของมือถือนั้นทำได้โดย Secure Element (SE) และ Trusted Execution Environment (TEE) ปัญหาคือ SE ในซิมการ์ดหรือ EMV ชิปบนบัตรจ่ายเงินมีความมั่นคงปลอดภัยสูงแต่ค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนก็สูงตามมา ส่วนในพาร์ทของ TEE คือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยขึ้นมาในหน่วยประมวลผลหลักเพื่อปกป้อง Integrity ของแอปพลิเคชันที่จะถูก Execute แต่การทำอย่างนั้นมันก็ซับซ้อนและกินทรัพยากรสูงซึ่งมันมักจะใช้กับแอปพลิเคชันสำคัญอย่างการชำระเงินผ่านมือถือ
สิ่งที่ MagicCube ทำคือใช้ Software Container ซึ่งมั่นใจว่าปลอดภัยโดยไม่ต้องอาศัยเรื่อง TEE บนชิปและให้ชื่อว่า ‘The Cube‘ Sam Shawki ผู้ก่อตั้งบริษัทได้ให้ทัศนะว่า “เชิงคอนเซปต์อาจมองได้ว่า Cube คือ Virtual Chip” โดยตัว Cube นั้นมี OS ของตัวเองที่ใช้ Memory และ CPU จากโฮสต์ที่มันวางอยู่ ดังนั้นแม้จะรันอยู่ในระบบปฏิบัติการที่ถูกแทรกแซงมันก็ยังช่วยรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ อีกทั้งยังรอดจาก Side-channel attack ที่เกิดกับตัวชิป Physical ได้ นอกจากนี้ตัว Cube มีอายุไม่นานนักเพราะมันจะถูกเรียกขึ้นมาทำงานและหายไปภายในประมาณ 350 มิลลิวินาที สิ่งที่วิศวกรทุกคนต้องทำคือคอมไพล์แอปพลิเคชันออกใหม่หรืออุปกรณ์ IoT ด้วย SDK ของ MagicCube โดยไม่ต้องมีแอปแยกต่างหากและไม่มีการแก้ไขใดๆ เพิ่มบน OS ของอุปกรณ์ ด้วยเพียงหนึ่ง API เท่านั้นก็สามารถสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้ Virtual Container ภายในหน่วยความจำได้ สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ MagicCube
ที่มา : https://www.networkworld.com/article/3270961/internet-of-things/10-hot-iot-startups-to-watch.html
ที่มา : https://www.techtalkthai.com/5-iot-startup-companies-that-you-should-not-miss/
จำนวนผู้อ่าน: 2387
22 พฤษภาคม 2018