สงครามการค้าฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว กดดันดอลลาร์อ่อนค่า

แฟ้มภาพ

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2562 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 31.33/34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (31/5) ที่ระดับ 31.67/68 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักภายหลังมีการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 50.5 ในเดือนพฤษภาคม จากระดับ 52.6 ในดือนเมษายน ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2552

นอกจากนี้ ยังมีผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ที่ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 52.1 ในเดือนพฤษภาคม จากระดับ 52.8 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 53.0 ผลของดัชนีต่าง ๆ ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ และประเทศคู่ค้าซึ่งส่งผลให้คำสั่งซื้อใหม่ ๆ ปรับตัวลดลง รวมไปถึงความวิตกกังวลของนักลงทุนว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.29-31.39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 31.32/34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (4/6) ที่ระดับ 1.1247/48 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (31/5) ที่ระดับ 1.1154/55 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินยูโรยังคงเผชิญกับความเสี่ยงต่อปัญหาหนี้สินของอิตาลี ซึ่งส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบธนาคารของยุโรป เนื่องจากธนาคารหลายแห่งในภูมิภาคได้เข้าซื้อพันธบัตรของอิตาลี และสถานะทางการเงินของธนาคารเหล่านั้นจะถูกกระทบทันที หากมูลค่าพันธบัตรของอิตาลีปรับตัวลง ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1138-1.1277 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1245/46 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (4/6) ที่ระดับ 107.90/91 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (31/5) ที่ 108.90/291 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ความกังวลต่อสถานการณ์การค้าที่ตึงเครียดและยืดเยื้อระหว่างจีนและสหรัฐ รวมถึงความกังวลต่อสภาวะการชะลอตััวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุเพิ่มการถือครองสกุลเงินเยนในฐานะสิทรัพย์ปลอดภย ทั้งนี้รหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 107.83-108.17 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 108.07/08 เยนดอลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคญทางศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนเมษายน (4/6) ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนพฤษภาคมจาก ADP (5/6) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพฤษภาคม จำนวนผู้ขอรับสวัสดิิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (6/6) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน และรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง เดือนพฤษภาคม (7/6)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่   -2.3/-2.4 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -2.8/-1.7 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-334317


จำนวนผู้อ่าน: 2397

05 มิถุนายน 2019