โลกดิจิทัล 4.0 เปลี่ยนเกม “ตลาดทุน”

ทิศทาง "ตลาดหุ้นไทย" จะเปลี่ยนไปอย่างไรในยุค 4.0 หุ้นตัวไหนจะเป็น“ดาวจรัส หรือ อับแสง” ฟัง 2 เซียนหุ้นในตำนาน วิเคราะห์ เกมหุ้นจากนี้.. ที่ไม่ง่าย !

 

ปัจจุบันนี้...! โลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค เศรษฐกิจดิจิทัล” (Digital Economy) หรือเป็นยุคที่มีการนำระบบดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจ ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตอบโจทย์ความต้องการของไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป 

กลายเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับ “ทุกธุรกิจ และการลงทุน” ที่ต้องมาพร้อมกับการ “ปรับตัว” ครั้งใหญ่ จากสิ่งแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนไป...!

หนึ่งในนั้นคือ คือ ความเปลี่ยนแปลงของ ตลาดเงิน-ตลาดทุน” ที่ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลการลงทุนเพิ่มขึ้น อาทิ แอพพลิเคชั่น ที่เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นออก มาให้นักลงทุนเลือกใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากทางฝั่งโบรกเกอร์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

แถมยังเปิดให้ใช้บริการฟรี แม้กระทั่งแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการแชท เช่น Line , Facebook , Instagram เป็นต้น ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องหุ้น ชนิดที่เรียกว่า ทันทีทันใด (Real time) แทบไม่แตกต่างกับนักลงทุนสถาบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ “โบรกเกอร์” และ “ตลาดหลักทรัพย์” ต้องคิดหนัก ถึงความสำคัญขององค์กรต่อนักลงทุน ในระยะจากนี้

เทคโนโลยีที่ถาโถม ในมุมมองของ "นักลงทุนรายใหญ่ระดับตำนาน" หรือ เซียนหุ้น พวกเขาทัศนะและการขยับปรับตัวเพื่อรักษาพอร์ตการลงทุน ยังคงใช้ตลาดหุ้นสร้างความมั่งคั่งได้ต่อไปอย่างไร? 

แม้การลงทุนยุค 4.0 ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงได้ง่าย แต่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จจากการลงทุนได้โดยง่ายๆ การวิเคราะห์สถานการณ์หุ้น ยังเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าข้อมูลที่รวดเร็ว" นเรศ งามอภิชน เซียนหุ้นพอร์ตหลัก พันล้าน  นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยมานานกว่า 30 ปี เห็นการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นไทยมาตลอดตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน ให้ทัศนะ

"ตั้งแต่ยุคแรกที่ใช้วิธีการซื้อขายด้วยการเคาะกระดาน ต่อมาก็มีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย และปัจจุบันก็มีเครื่องมืออย่างการซื้อขายผ่านออนไลน์เข้ามามากขึ้น ผมเชื่อว่าเรื่องพวกนี้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมีมาโดยตลอด นักลงทุนก็มีการปรับเปลี่ยนการลงทุนไปด้วย

สำหรับใน ยุค 4.0” เกิดคำถามว่าจะลงทุนแบบไหนดี..? 

นเรศ เผยว่า มุมมองส่วนตัวเห็นว่า “คงเร็วเกินไป” ที่จะตอบคำถามนี้ หากต้องปรับเปลี่ยน หรือโยกย้ายกลุ่มธุรกิจในการลงทุน ฉะนั้น ตอนนี้กลยุทธ์ลงทุน หรือ วิธีเลือกหุ้นยังเป็นรูปแบบเดิมๆ ในธุรกิจกลุ่มเดิมๆ เช่น กลุ่มก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ หรือ กลุ่มปล่อยสินเชื่อ (ไฟแนนซ์) เป็นต้น

ทว่า สำหรับเขาไม่ได้นิ่งนอนใจกลับการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็ว โดยยอมรับว่า ในยุคดิจิทัล เครื่องมือในการลงทุนหรือหาข้อมูลมีอยู่มากมาย รวมทั้งมีบริษัทและธุรกิจหน้าใหม่ๆ เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น ซึ่งทีมงานก็มีการติดตามธุรกิจดังกล่าวและศึกษาตลอด หากมีธุรกิจตัวไหนเป็น ดาวรุ่ง ก็จะเข้าไปโฟกัสในพื้นฐานธุรกิจและแนวโน้มการเติบโตในอนาคต

หุ้นที่มีความเกี่ยวข้องกับยุคดิจิทัล 4.0 อย่าง หุ้น กลุ่มสื่อสาร” ผมมองว่าคงเร็วเกินไปที่จะบอกว่าหุ้นกลุ่มนี้ดี เพราะหุ้นกลุ่มสื่อสารที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บจ.) ก็อย่างที่รู้ ๆ กันว่า ปัญหาของบริษัทสื่อสารดังกล่าว นั่นคือ การประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) ที่มีราคาประมูลกันสูงมากทำให้บริษัทมีต้นทุนสูง ส่งผลให้ความน่าสนใจของหุ้นกลุ่มสื่อสารลดน้อยลง และปัจจุบันผมยังไม่ได้สนใจเข้าไปลงทุน

ตอนนี้ยังมองไม่เห็นว่า“หุ้นกลุ่มไหน”จะเข้ามาเป็นอนาคตของตลาดหุ้นไทย แต่ส่วนตัวได้เข้าไปศึกษาและดูในพื้นฐานของหุ้น กลุ่มพลังงานทดแทน โดยเฉพาะบริษัทที่มีโครงการดำเนินการแล้วถือว่าน่าสนใจ และเป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอน ประกอบกับ ธุรกิจมีเสถียรภาพการเติบโตในระยะยาว 

มองว่าทุกธุรกิจต้องปรับตัวกับยุคที่เปลี่ยนแปลงไป มีทั้งอุตสาหกรรมที่เป็นดาวเด่น และดาวร่วง หากไม่ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

เซียนหุ้นพันล้าน” บอกด้วยว่า ยังมีมุมมองต่อตลาดหุ้นไทย ยังดี แม้ปัจจุบันตลาดจะมีความผันผวน แต่หากเลือกลงทุนในธุรกิจที่มีพื้นฐานดี และเป็นธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์ ขาขึ้น รวมทั้งผลตอบแทนของการลงทุนก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันถือว่ายังดีต่อเนื่อง และมีความเสถียรมากกว่าอดีต แม้ว่าในปี 2559 ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยจะ บวก20%” แต่ในปี 25560 ผ่านมาครึ่งปีแรกผลตอบแทน เพียง2%” เท่านั้น แต่เป็นปกติเพราะตามสถิติที่ผ่านมา ปีไหนตลาดหุ้นไทยมีผลตอบแทนระดับสูง ปีถัดไปผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยจะลดลงเป็นเรื่องปกติ

ดังนั้น ในปีนี้ตั้งแต่ต้นปีจึง ปรับลดพอร์ตลงทุน จากเดิมในพอร์ตมีหุ้นประมาณ 20 ตัว ลดเหลือ 7 ตัว แต่มูลค่าพอร์ตยังเท่าเดิม เพราะว่าไม่ได้นำเงินออกจากตลาดหุ้น แต่เป็นการเติมเงินเข้าไปในหุ้นตัวที่เหลืออยู่ในพอร์ตแทน 

สาเหตุที่ปรับลดสถานการลงทุน ไม่ใช่มองตลาดหุ้นไทยเลวร้าย หรือ น่ากลัว เพียงแต่ว่าเมื่อต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ดัชนี SET Index ปรับตัวลงมากว่า 20% ฉะนั้น โอกาสที่จะเห็นตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นไปสูงๆ เหมือนในปีก่อนคงเป็นเรื่องยาก ซึ่งการลดจำนวนหุ้นในพอร์ตลงเพื่อเป็นการดูแลและเข้าถึงข้อมูลให้ทั่วถึงมากขึ้น 

ผ่านมา เดือน เป็นอย่างที่เห็นตลาดหุ้นไทยไม่สดใสมากนัก สอดคล้องกับดัชนี SET Index ที่ผันผวน แต่หากมองในภาพรวมหุ้นบางตัวรีเทิร์นสูงมาก โดยเฉพาะหุ้นในพอร์ตของผมที่หุ้นบางตัวสร้างผลตอบแทนถึง 160% ทำให้พอร์ตโดยรวมยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี” 

สำหรับ กลยุทธ์ในการลงทุน 1.ความน่าสนใจในตัวธุรกิจ 2.ผู้บริหารต้องมีความสามารถในธุรกิจนั้นๆ และ 3.ราคาที่เหมาะสมของหุ้น

เสี่ยปู่-สมพงศ์ ชลคดีดำรงกุล เจ้าของพอร์ต หลักพันล้าน” เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงนิ่งเรียบเหมือนเคยว่า อยู่ในตลาดหุ้นมานานร่วม 30 ปีแล้ว ช่วงแรกเข้ามาไม่มีความรู้ในเรื่องการลงทุน ตลาดหุ้นก็มีการเปลี่ยนมาโดยตลอด สำหรับยุคดิจิทัล มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนตัวสนใจในหุ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีบางตัว เพียงแต่มองว่าหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังมีขนาดเล็กเกินไป 

ประกอบกับ หุ้นกลุ่มสื่อสารในปัจจุบันราคาหุ้นเติบโตขึ้นมามากแล้ว ฉะนั้น โอกาสที่จะสร้างกำไรเติบโตขึ้นระดับมากๆ คงเป็นเรื่องยาก... 

หากถามว่าหุ้นตัวไหนที่เป็นอนาคตของตลาดหุ้นไทยในอนาคต ผมยังนึกไม่ออกเลยครับ…! เขารับสารภาพ

ปัจจุบันเจ้าตัวแบ่งพอร์ตการลงทุนเป็นหุ้น 30% และที่ดิน 70% แม้การลงทุนในหุ้นก็ยังลงทุนในบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่มีจำนวนที่ดินมากๆ เพราะมองว่ามูลค่าหุ้นกลุ่มดังกล่าวเทียบกับปัจจัยพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำ 

ส่วนการเลือกลงทุนในตลาด จะใช้กลยุทธ์เลือกหุ้นเป็นรายตัว หรือมองเห็นว่าทิศทางกำไรของบริษัทเติบโตในอนาคต อย่าง หุ้นกลุ่มพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะบริษัทที่โครงการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์และรับรู้รายได้แล้ว หากราคาหุ้นยังไม่แพงเกินไปก็จะเข้าไปลงทุนและถือลงทุนในระยะยาว 

เสี่ยปู่ ทิ้งท้ายว่า ผมชอบสะสมที่ดินมากกว่าหุ้น แต่หากเป็นหุ้นผมใช้กลยุทธ์เลือก“หุ้นเป็นรายตัว”โดยต้องเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และจะถือระยะยาว แม้เก็งกำไรก็ยังต้องเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี เช่น หุ้น บมจ.ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT เป็นต้น

----------------------------------

บล็อกเชน” ทะลวง ตลาดหุ้น"

อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า ปัจจุบันภาคธุรกิจในตลาดการเงินและตลาดทุนปรับตัว เพื่อรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ บล็อกเชน ซึ่งเป็นรูปแบบของการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่มีความปลอดภัย และน่าเชื่อถือโดยไม่ต้องอาศัยคนกลางในการทำธุรกรรมออนไลน์แล้ว ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และโบรกเกอร์ ต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับพัฒนาการของ เทคโนโลยีใหม่ๆ 

อนาคตการซื้อขายหุ้นอาจจะไม่จำเป็นต้องผ่านโบรกเกอร์หรือ ตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ 

หากการเปลี่ยนแปลงเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนหรือนักลงทุน ในส่วนของภาครัฐก็พร้อมสนับสนุนต่อการเปลี่ยนแปลง และอนาคตอาจจะไม่จำเป็นต้องมีตลาดหลักทรัพย์ หรือ โบรกเกอร์ในการซื้อขายหุ้นก็เป็นไปได้ โดยเฉพาะการเข้ามาของบล็อกเชนที่ ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง” ในการทำธุรกรรมการซื้อขาย และคาดว่าโอกาสคงเป็นไปได้สูง ขณะที่การชำระเงินก็สามารถชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มองว่าอนาคต ตลาดหลักทรัพย์อาจเหลือหน้าที่ในการตรวจสอบความโปร่งใสของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนและเรื่องของการปั่นหุ้น

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ขณะเดียวกัน จะเป็นการ “ลดต้นทุน” การบริหารจัดการด้านบุคคลากรและสาขาที่ปัจจุบันมีต้นทุนสูงที่สุดในขณะนี้ ทุกภาคส่วนจึงจำเป็นต้อง“พัฒนาคุณภาพการให้บริการ”เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึง“การป้องกันการฟอกเงิน”ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ในส่วนของความคืบหน้าการแก้ไข“กฎหมายหลักทรัพย์” เพื่อเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ให้มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตลาดทุนได้ทันท่วงที หรือปลดผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนฯ ในกรณีที่ผู้บริหาร หรือ กรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อกิจการส่วนรวม หรือเกิดความขัดแย้งจนบริษัทและผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายนั้น 

ล่าสุด ผลจากการรับฟังความเห็นส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยในการเพิ่มอำนาจดังกล่าว แต่อย่างก็ตามหลังจากนี้ ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างใหม่อีกครั้ง

หากผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่ได้แสดงความเห็น หรือรวมพลังกันเรียกร้องเพื่อปกป้องตนเอง ในส่วนของรัฐคงจะผลักดันยาก เพราะตามกฎหมายใหม่ต้องสอบถามความเห็นของผู้มีส่วนร่วมและมีส่วนได้เสียก่อน

------------------------------------

โบรกฯโหนกระแส เทคโนโลยี” รอด..!

บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด (KT ZMICO) ระบุว่า บริษัทกำลังปรับวิสัยทัศน์องค์กรครั้งใหญ่ เน้นก้าวสู่ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการลงทุน (Investment Technology Firm) ภายใต้นโยบาย KT ZMICO 4.0 และใช้แผนปฏิบัติการนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นตัวหลัก เข้ามาขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรอย่างรวดเร็ว และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในระยะยาวสู่การเป็นโบรกเกอร์ชั้นนำในยุคดิจิทัล 4.0

โดยตั้งเป้าหมายผลักดันนโยบาย “Fintech” (Financial Technology) ให้เดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบและเป็นรูปธรรม ล่าสุด ได้ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีกับ SetScope ซึ่งเป็น Fintech Startup ชั้นนำที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ทีมที่ดีที่สุดของการแข่งขัน Startupbootcamp Fintech Asia จาก Fintechs ทั้งหมด 400 ทีมทั่วเอเชีย และโอเชียเนียเมื่อปีที่ผ่านมา และประเดิมนำ Setscope แพลทฟอร์ม แอพพลิเคชั่นมาเชื่อมต่อโปรแกรม และแอพลิเคชั่น Znet ของเคที ซีมิโก้ เพื่อซื้อขายหลักทรัพย์แบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยตอบโจทย์นักลงทุนในการ ค้นหาหลักทรัพย์ (Stock Scan) ครอบคลุมหุ้นทั้งหมดในตลาดฯ และยังเป็นผู้แนะนำ (Robo Advisor) เลือกหุ้นและส่งข่าวสารให้เหมาะ สมกับความต้องการเชิงลึกของนักล งทุนโดยแท้จริงในทุกมิติ

นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือช่วย ในการตัดสินใจและเพิ่มโอกาสการเ ข้าถึงหุ้นคุณภาพดี โดยปัญญาประดิษฐ์ใหม่นี้จะช่วยให้โปรแกรม Znet ทำหน้าที่เป็นโค้ชอัจฉริยะในการ วิเคราะห์หุ้นทั้งหมดใน Portfolio เพื่อตรวจคุณภาพหุ้นอย่างละเอียด และแนะนำแนวทางแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ และบริษัทยังได้โดยเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อจัดการลงทุนแบบใหม่ที่พัฒนาร่ วมกับ Setscope ที่จะปฏิบัติการเสมือนผู้จัดการกองทุน (fund manager) แบบครบวงจร

ด้านความเคลื่อนไหวของ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด วางเป้าหมายตัวเองเป็น ผู้นำดิจิทัลโบรกเกอร์ แบบครบวงจรผ่านบริการออนไลน์ มุ่งสู่รูปแบบฟินเทค (Financial Technology) โดยมีกลยุทธ์พัฒนาบริการออนไลน์เพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น โดยเน้นการพัฒนาโปรแกรมสแกนหุ้น “TISCO Stock Scan” ให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และตอบโจทย์นักลงทุนมากขึ้น สามารถวิเคราะห์ในระดับ Portfolio ได้ โดยปัจจุบันมีลูกค้าที่เป็น Active Users อยู่มากกว่า 1 หมื่นราย ส่งผลให้สัดส่วนลูกค้า Active ในปีที่ผ่านมาสูงถึง 33% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 26%

ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนต่อเนื่อง ในปีนี้ บล.ทิสโก้ จึงรุกพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานใหม่ๆในโปรแกรม TISCO Stock Scan โดยจะเพิ่มความสามารถในการบริหารแบบ Portfolio และฟังก์ชั่นการคัดเลือกหุ้นที่หลากหลายขึ้น มีจุดแข็งจากทีมนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญของ บล.ทิสโก้ โดยลูกค้า บล.ทิสโก้ สามารถใช้งานบริการ Stock Scan โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยจะเริ่มเปิดตัวเวอร์ชั่นใหม่ในเร็วๆนี้้

นอกจากนี้ บล.ทิสโก้ ยังได้ปรับโฉมเวบไซต์ TISCOeTrade ครั้งใหญ่ ให้ทันสมัย มีการแสดงหุ้นเด่นที่จะช่วยให้นักลงทุนมือใหม่เลือกหุ้นสดใหม่ได้ทุกวัน รวบรวมข้อมูล My Portfolio ในรูปแบบใหม่และข้อมูลครบถ้วน สามารถจองสัมมนา Online ได้ล่วงหน้าและสามารถรับชมย้อนหลังได้ นอกจากนี้ในส่วนของระบบการซื้อขายหุ้น จะมีลูกเล่นใหม่ๆ และ Conditioned Orders เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและกลยุทธในการส่งคำสั่งซื้อขายให้ดียิ่งขึ้น

 

ที่มา : bangkokbiznews.com


จำนวนผู้อ่าน: 2283

28 สิงหาคม 2017