บาทยังผันผวนจากความกังวลเรื่อง COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย

ภาพ: Visual China Group via Getty Images

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันที่ 17 มีนาคม 2563 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (17/3) ที่ระดับ 32.19/21 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากเล็กน้อยระดับปิดตลาดในวันจันทร์ (16/3) ที่ระดับ 31.15/16 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทยังค่อนข้างผันผวนท่ามกลางความกังวลของตลาดเรื่องการระบาดของ COVID-19 ในส่วนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นั้น มีรายงานเพิ่มเติมว่า เฟดจะทำการซื้อคืนพันธบัตรวงเงิน 5 แสนล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ระบบการเงิน

ทั้งนี้ ดำเนินการดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เฟดประกาศว่าจะอัดฉีดเม็ดเงิน 1.5 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบธนาคารในสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมกับเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ในการซื้อพันธบัตรของเฟดเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในส่วนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นั้นมีรายงานเพิ่มเติมว่า เฟดจะทำการซื้อคืนพันธบัตรวงเงิน 5 แสนล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ระบบการเงิน ทั้งนี้ ดำเนินการดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่เฟดประกาศว่าจะอัดฉีดเม็ดเงิน 1.5 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบธนาคารในสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมกับเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ในการซื้อพันธบัตรของเฟดเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยในคืนวันอาทิตย์ (15/3) เฟดยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1.00% จากระดับ 1.00-1.25% สู่ระดับร้อยละ 0.00-0.25% และยังได้ประกาศซื้อพันธบัตรมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ดี นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่าการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ย ติดลบนั้นยังไม่มีความจำเป็น นอกจากนี้ เฟดยังได้ประกาศยกเลิกการจัดประชุม FOMC ในวันที่ 17-18 มีนาคม ซึ่งเป็นกำหนดการเดิมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจดัชนี Empire State Manufacturing ถูกเปิดเผยที่ระดับ -21.5 ลดลงมากกว่าคาดการณ์ที่ 5.1

ทางด้านประเทศไทย นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชี้แจงว่าเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะถูกเลื่อนไปจัดเดือนกรกฎาคมแทน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้วันที่ 13-15 เมษายน นี้ถือเป็นวันทำงานปกติ สำหรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย ล่าสุด ณ เวลา 08.00 น. กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่ามีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 108 ราย กลับบ้านแล้ว 38 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 147 ราย และมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม-15 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 6,545 ราย ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 31.02-32.32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 32.30/32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (17/3) ที่ระดับ 1.1165/69 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (16/3) ที่ระดับ 1.1193/95 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร สหรัฐวานนี้ (16/3) นางเออร์ซูลา ฟอน เดอ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) เสนอให้ประเทศสมาชิก EU ออกคำสั่งห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ รัฐบาลของประเทศสมาชิก EU รวมทั้งอังกฤษและไอร์แลนด์จะต้องให้การรับรองข้อเสนอดังกล่าวเสียก่อน

อย่างไรก็ดี นักการทูต และผู้ที่ขนส่งสินค้าและเวชภัณฑ์ที่มีความจำเป็นจะได้รับการยกเว้นจากคำสั่งดังกล่าว ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1093-1.1188 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1097/99 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (17/3) ที่ระดับ 106.86/89 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (16/3) ที่ระดับ 105.87/90 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยล่าสุดธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติให้ใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมในการประชุมฉุกเฉินโดยปรับเพิ่มเป้าหมายในการซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมอีก 2 ล้านล้านเยน และใช้กลยุทธ์ในการปล่อยเงินกู้ใหม่สำหรับบริษัทเอกชน โดยในการประชุมฉุกเฉินของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ผ่านมา มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.1% ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นเลี่ยงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้อยู่ในแดนลบมากกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องจากการดำเนินนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ สำหรับรายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรเมื่อเทียบเป็นรายเดือนนั้น อยู่ที่ 2.9% ซึ่งเป็นระดับที่ดีกว่าคาดการณ์ที่ -1.00% ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 105.85-107.18 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 106.56/59 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ สถาบัน ZEW เตรียมเปิดเผยความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือน มี.ค.ของอียูและเยอรมนี ทางด้านสหรัฐเตรียมเปิดเผย ยอดค้าปลีกเดอน ก.พ., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ., ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือน ม.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน มี.ค. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) และสต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือน ม.ค.

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -1.5/-0.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -1.70/-0.2 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-433339


Person read: 1987

18 March 2020