สาระน่ารู้

ระบบน้ำ

9 มาตรการประหยัดน้ำ “ขั้นเทพ” “ครม.คุณละเอียด” ตรวจส้วม-เปลี่ยนสบู่-งดสายยาง

ครม.เห็นชอบ  สุดยอดมาตรการประหยัดน้ำ คิดให้เสร็จสรรพละเอียดยิบ ทั้งตรวจก๊อกน้ำ ตรวจส้วม จดมาตรวัดน้ำ อย่าทิ้งเศษอาหารลงชักโครก ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อน ดื่มน้ำให้หมดทุกครั้ง ล้างจานในอ่าง ไม่เปิดสายยางล้างรถรดน้ำต้นไม้ ไม่เปิดน้ำทิ้งขณะล้างหน้า ชี้หน่วยราชการไหนทำไม่ได้เจอดีแน่ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กรมทรัพยากรน้ำในฐานะเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน สั่งการให้จัดทำแนวทางประหยัดน้ำในหน่วยงานภาครัฐตามความเห็นที่ประชุม โดยมีเป้าหมายในการลดปริมาณการใช้น้ำลงอย่างน้อย 10% เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีงบประมาณ 2557 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤติการขาดแคลนน้ำ รวมทั้งสร้างความเสมอภาคระหว่างภาคส่วนต่างๆในการลดปริมาณการใช้น้ำและเป็นการปลูกฝังค่านิยมร่วมกันในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและรู้คุณค่ารวมถึงลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้น้ำอย่างไม่เหมาะสม</p> ทั้งนี้ ได้กำหนดให้มีกลไกบริหารจัดการในระดับนโยบาย คือให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง จัดตั้งคณะทำงานปฏิบัติการประหยัดน้ำ ขณะที่ในระดับปฏิบัติ ทางกรมทรัพยากรน้ำจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รณรงค์และให้คำแนะนำ วิธีการประหยัดน้ำกับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนทั่วไป สำหรับแนวทางปฏิบัติภายในหน่วยงานภาครัฐที่จะช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤติการขาดแคลนน้ำควรกำหนดให้มีตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการดำเนินมาตรการประหยัดน้ำเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้การประหยัดน้ำเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้บริหารระดับสูงของทุกหน่วยงานรัฐรวมถึงรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานตุลาการ รัฐสภาและโรงเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 โดยทางสำนักงาน ก.พ.ร.และกรมทรัพยากรน้ำจะร่วมกันพิจารณากำหนดเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการประเมินผล นอกจากนั้นให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นเจ้าภาพหลักในการติดตามผลและรายงานให้ ครม.ทราบ จดมาตรวัดน้ำเพื่อตรวจสอบการรั่วซึม ส่วนแนวทางลดปริมาณการใช้น้ำระยะสั้น ประกอบด้วย 1.การสำรวจตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำตั้งแต่ท่อน้ำรั่วภายในหน่วยงาน โดยการปิดก๊อกน้ำทุกตัวหลังจากที่ทุกคนกลับบ้านแล้วให้จดเลขมาตรวัดน้ำไว้ หากมีการเคลื่อนไหวโดยที่ไม่มีใครเปิดน้ำใช้ให้เรียกช่างมาซ่อมทันที 2. ตรวจสอบชักโครกว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่ โดยหยดสีผสมอาหารลงในถังพักน้ำและสังเกตดูคอห่านหากมีน้ำสีลงมาโดยไม่ได้กดชักโครกให้รีบซ่อมแซม 3.ไม่เปิดน้ำไหลตลอดเวลาขณะล้างหน้าเพราะจะสูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์นาทีละหลายๆลิตร ไม่ทิ้งเศษกระดาษลงชักโครก 4.ไม่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิด ลงในชักโครกเพราะจะสูญเสียน้ำปริมาณมากในการชักโครกเพื่อไล่สิ่งของดังกล่าวลงท่อ 5.ให้ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเมื่อต้องการล้างมือเพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว ที่ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมากกว่า แต่การล้างมือด้วยสบู่เหลวที่เข้มข้นก็จะใช้น้ำมากกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวที่ไม่เข้มข้นเช่นกัน 6.ไม่ทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด อาจนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ ใช้ชำระพื้นผิวหรือใช้ทำความสะอาดสิ่งต่างๆ ตลอดจนให้ใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่มและให้ผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเองและควรดื่มให้หมดทุกครั้ง 7.การจะล้างจานให้ล้างในภาชนะที่ขังน้ำไว้ จะประหยัดน้ำได้มากกว่าการล้างจานด้วยวิธีที่ปล่อยให้น้ำไหลจากก๊อกน้ำตลอดเวลา ไม่เปิดสายยางรดน้ำต้นไม้ 8.การล้างรถไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำให้ไหลตลอดเวลา เพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่การล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋องหรือภาชนะบรรจุน้ำจะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตรต่อการล้าง 1 ครั้ง ที่สำคัญไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำแล้วยังทำให้เกิดสนิมตัวถังได้ด้วย 9.การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัวรดน้ำแทนการฉีดน้ำด้วยสายยางและไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่าๆ แต่ควรรดน้ำต้นไม้ในตอนเช้าที่อากาศยังเย็นอยู่จะช่วยประหยัดน้ำได้มาก จากนั้นให้นำหลักการ 3R คือลดการใช้น้ำ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับหน่วยงานด้วย ส่วนแนวทางปฏิบัติเพื่อประหยัดน้ำในระยะยาวให้รณรงค์ส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและรู้คุณค่า รวมทั้งสร้างพฤติกรรมการประหยัดน้ำ และให้ออกแบบติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและการจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไปสูบและจ่ายน้ำภายในอาคาร นอกจากนี้ กรณีที่อุปกรณ์ชำรุดจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ค้นหาอุปกรณ์ที่ประหยัดน้ำทดแทน และให้มีการติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศ เพื่อช่วยเพิ่มอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อกและลดปริมาณการไหลของน้ำด้วย.   อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/514802

จำนวนผู้อ่าน: 4844

12 กรกฎาคม 2018

ระบบน้ำ

11 สิ่ง “ห้าม” ทิ้งลงในชักโครกเด็ดขาด

ชักโครกไม่ใช่ถังขยะมหัศจรรย์ ที่เราจะทิ้งอะไรลงไปก็ได้ เพราะบางสิ่งบางอย่างที่เราทิ้งลงไปนั้น ไม่สามารถกำจัดให้หายไปได้ด้วยการกดชักโครก เพราะมันจะอุดตันอยู่ในท่อ กลายเป็นสิ่งเน่าเสีย ที่วันหนึ่งจะย้อนกลับมาทำลายสภาพแวดล้อมของเรา และทราบหรือไม่ว่าจากการที่คนจำนวนไม่น้อย ไม่เข้าใจในจุดนี้ ทำให้ในแต่ละเดือน แต่ละปี คนมีปัญหาเรื่องท่อตันกันเป็นล้าน ๆ ครั้ง และเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว เราควรจะต้องทราบว่า 11 สิ่งต่อไปนี้ เราต้องไม่ทิ้งลงไปในชักโครกอย่างเด็ดขาด 1.กระดาษทิชชูเปียก : ทราบหรือไม่ในช่วงไม่กี่ปีหลังจากที่มีการผลิตกระดาษทิชชูเปียกสำหรับทำความสะอาดเด็กออกจำหน่าย ปัญหาท่อตันก็เกิดขึ้นทั่วไปหมด เพราะผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยเลือกใช้กระดาษแบบนี้ในการทำความสะอาดเด็ก ๆ กันเป็นประจำ เมื่อใช้เสร็จ ก็ทิ้งลงชักโครก แม้ว่าจะมีคำแจ้งเตือนที่หน้าซองอยู่ก็ตาม ว่าไม่ให้ทิ้งลงชักโครก แน่นอนว่า กระดาษแบบนี้ใช้ง่าย ทิ้งง่าย กดลง แต่มันไม่สามารถย่อยสลายได้และก่อให้เกิดการอุดตัน และส่งผลเสียต่อระบบการกำจัดของเสียอีกด้วย เพราะกระดาษพวกนี้ มีส่วนผสมของไฟเบอร์พลาสติก วิธีที่ถูกสำหรับการทิ้งกระดาษทิชชูเปียกก็คือ ทิ้งลงถังขยะ 2.ถุงยางอนามัย : แม้จะเป็นการสะดวกที่จะทิ้งลงในชักโครก แต่นั่นไม่ใช่ที่ทิ้ง เพราะถุงยางเหล่านั้นจะอุดตันในท่อ ทำให้ต้องเสียเวลา และเสียงบประมาณในการมาแก้ไขที่ทิ้งที่ถูกต้องก็คือถังขยะเช่นกัน     3.ยาต่าง ๆ : ยาที่เราไม่ใช้แล้ว หรือยาหมดอายุ ก็ไม่ควรจะทิ้งในชักโครกเช่นกัน แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นการปลอดภัย ต่อการที่เด็ก หรือสัตว์เลี้ยง แต่การทิ้งยาลงในชักโครกนั้น ส่งผลกระทบต่อระบบการกำจัดของเสีย ในกรณีที่มีการนำสิ่งปฏิกูลเหล่านี้ ไปใช้เป็นปุ๋ย ก็จะส่งผลต่อต้นไม้ นอกจากนั้น ตัวยาอาจจะละลายลงดิน และลงสู่แหล่งน้ำได้ในที่สุด สถานที่ทิ้งที่เหมาะที่สุดก็คือ ถังสำหรับทิ้งยาของสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่เราอาศัย 4.สารเคมีต่าง ๆ : การทิ้งสารเคมี พวกน้ำยาทำความสะอาด หรือสารเคมีอื่น ๆ ลงในชักโครก ก็ส่งผลเสียในลักษณะเดียวกับการทิ้งยาลงในชักโครก วิธีที่ถูกก็คือ ไม่เททิ้ง และหาที่ทิ้งลงในถังที่แยกไว้สำหรับการทิ้งสารเคมี     5.สำลี ทิชชู กระดาษเช็ดมือ : ของเหล่านี้เราอาจจะคิดว่า มันไม่ต่างอะไรกับกระดาษชำระ แต่จริง ๆ แล้ว เมื่อเราทิ้งลงชักโครก และกดน้ำไป จะมีผลที่แตกต่างกัน เพราะกระดาษชำระ สามารถแตกตัวได้ ในเวลาไม่กี่วินาที แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่แตกตัว และอาจจะอุดตัน กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ของเหล่านี้ ต้องทิ้งลงในถังขยะ 6.ผ้าอนามัย : ผ้าอนามัยทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบแผ่น แบบสอด เราทิ้งลงในชักโครกไม่ได้ เพราะมันจะอุดตันในท่อ ยากต่อการนำออกมา เพราะผ้าอนามัยเหล่านี้ จะดูดน้ำ และขยายตัวอยู่ในท่อ ต้องทิ้งในถังขยะ     7.ผ้าอ้อม : เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ก่อปัญหามาก คนบางคนบอกว่า เขาสามารถม้วนผ้าอ้อม ให้มีขนาดเล็กเพียงพอที่จะใส่เข้าไปในชักโครกได้ แต่แน่นอนว่า เมื่อใส่ลงไปแล้ว มันก่อให้เกิดปัญหาอุดตัน และยากต่อการแก้ไขเช่นกัน 8.เส้นผมและไหมขัดฟัน : ถ้าเราเห็นว่าเส้นผมที่ร่วงออกมานั้น อุดท่อระบายน้ำ ตอนที่เราอาบน้ำอย่างไร เราก็จะเข้าใจได้ว่า เวลาใส่ลงไปในชักโครกแล้ว มันจะอุดตันในลักษณะเดียวกัน เส้นผม และไหมขัดฟัน ไม่แตกตัวเมื่อโดนน้ำ และมันจะกลายเป็นสิ่งกีดขวางในท่อน้ำ     9.ทรายแมวและอึแมว : แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากมาขุดทรายแมวเพื่อตักอึแมวออก แต่ทั้งนี้เราไม่ควรกำจัดด้วยการนำไปเทในชักโครก ทรายแมวทำให้เกิดการอุดตันในท่อน้ำ และก่อให้เกิดความเสียหายภายในท่อได้ แม้แต่อึแมว ก็ไม่ควรทิ้งลงไป เพราะอาจจะมีพยาธิ ส่งผลต่อระบบการกำจัดของเสียเช่นกัน 10.ซากสัตว์: รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงตัวเล็ก ๆ อื่น ๆ ไม่ใช่สิ่งที่จะทิ้งลงในชักโครก เพราะซากสัตว์เหล่านี้ อาจจะมีเชื้อโรคและพยาธิ ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบน้ำ หากเกิดการอุดตันก็ก่อให้เกิดเชื้อโรค ซากสัตว์เหล่านี้ เราควรกำจัดด้วยการฝัง หรือทิ้งขยะก็ได้     11.อาหาร : ชักโครกไม่ใช่ที่กำจัดขยะจากอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกากกาแฟ หรือเศษอาหาร ก็ไม่ควรทิ้งลงในชักโครกทั้งนั้น เพราะมันจะอุดตันในท่อเช่นกัน   ขอบคุณบทความจาก : sanook.com

จำนวนผู้อ่าน: 4160

22 พฤศจิกายน 2017

ระบบน้ำ

5 วิธีป้องกันเชื้อราในห้องน้ำ กำจัดง่ายๆ ทำซะ

เชื้อราชอบความชื้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นเชื้อรารอบ ๆ อ่างน้ำ หรือบริเวณฝักบัว เชื้อราเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ยากที่จะกำจัดออก แต่การทำให้ห้องน้ำมีความชื้นน้อยลง ก็พอจะช่วยควบคุมสถานการณ์ได้   เราสามารถลดความชื้นในห้องน้ำได้ด้วยการติดพัดลมระบายอากาศ แต่ทั้งนี้ต้องเช็คประสิทธิภาพของพัดลมด้วยว่าเพียงพอต่อการรองรับการทำงานของพื้นที่ในห้องน้ำหรือไม่ หากพัดลมมีขนาดเล็กเกินไป หรือมีประสิทธิภาพต่ำเกินไป ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่ให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับห้องน้ำ ไม่ว่าคุณจะอาศัยอยู่ที่ไหน สภาพอากาศแบบไหน ความชื้นที่มีอยู่สูงในห้องน้ำก็ทำให้เกิดเชื้อราขึ้นมาได้ทั้งนั้น และเมื่อเชื้อราเกิดขึ้นมา ก็ยากที่จะกำจัดออก ไม่ว่าเราจะทำความสะอาดห้องน้ำดี และบ่อยแค่ไหนก็ตาม ดังนั้น การลดความชื้นในห้องน้ำ จึงเป็นหัวใจสำคัญ ในการป้องกันไม่ให้เชื้อราเติบโต ซึ่งเรามีวิธีง่าย ๆ เป็นขั้นเป็นตอนดังนี้     1.หลังอาบน้ำให้เช็ดน้ำออกจากผนังห้องอาบน้ำ จะช่วยลดความชื้นในห้องน้ำได้ประมาณ 3 ใน 4 เพื่อป้องกันการเติบโตของเชื้อรา 2.เปิดพัดลมระบายอากาศในระหว่างที่อาบน้ำ และเปิดต่อเนื่องประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อระบายความชื้นออกไป อาจจะใช้วิธีตั้งไทม์เมอร์เพื่อให้ปิดอัตโนมัติก็ได้ 3.หากถึงเวลาที่ต้องยาแนวใหม่ ให้เลือกยาแนวที่มีมาตรฐาน และเป็นแบบกันน้ำ     4.ในการขจัดเชื้อราที่มีอยู่ ให้ขัดด้วยผงซักฟอกและน้ำ จากนั้นก็ปล่อยให้พื้นผิวแห้งสนิท อาจจะใช้น้ำยาฟอกขาวประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ผสมน้ำ 90 เปอร์เซ็นต์ในการกำจัดเชื้อรา การใช้น้ำยาฟอกขาวในความเข้มข้นที่มากกว่านี้ก็ไม่ได้ให้ผลดีแตกต่างกัน เมื่อผสมน้ำยาแล้วให้นำใส่ขวดสเปรย์ ฉีดบริเวณที่มีเชื้อราและทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีก่อนล้างออกและปล่อยให้แห้ง 5.ในกรณีที่พัดลมไม่สามารถระบายความชื้นได้หลังจากเปิดไปแล้วประมาณ 5 ถึง 10 นาที นั้นอาจจะหมายถึงว่า พัดลมที่เราใช้ ไม่สามารถหมุนเวียนอากาศได้ ให้เปลี่ยนไปใช้พัดลมที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น   ขอบคุณบทความจาก : sanook.com

จำนวนผู้อ่าน: 4159

22 พฤศจิกายน 2017

ระบบน้ำ

5 วิธีแก้ปัญหาฝนสาดเข้าบ้าน

ช่วงนี้ฝนตกทุกวัน แถมตกหนัก นอนๆ อยู่ก็รู้สึกเหมือนมีละอองฝนกระเด็นจนหน้าเปียก นั่นไม่ใช่ความฝัน แต่มันคือความจริง เพราะนั่นหมายถึงว่าฝนสาดเข้าบ้านคุณซะแล้ว หลายคนอาจบอกว่าก็ปิดหน้าต่างสนิททุกบานแล้ว ทำไมฝนยังสาดเข้ามาในบ้านได้อีก มาดูวิธีแก้ปัญหาฝนสาดเข้าบ้านกันดีกว่าว่ามีวิธีไหนบ้าง ขั้นตอนการแก้ปัญหาฝนสาดเข้าหน้าต่างมีขั้นตอนต่อไปนี้ 1.ตรวจสอบตำแหน่งที่ฝนสาดว่าเกิดขึ้นบริเวณไหนของขอบหน้าต่าง ขอบประตู 2.ทำความสะอาดรอยหรือจุดที่รั่ว จากนั้นให้เอาซิลิโคนอันเก่าออกให้เกลี้ยง 3.ติดเทปกาวตรงบริเวณที่ต้องการยิงซิลิโคน ป้องกันการเลอะเทอะเปรอะเปื้อน 4.ยิงซิลิโคนในตำแหน่งที่ต้องการ โดยเลือกซิลิโคนให้เหมาะกับตำแหน่งที่ใช้งาน เช่นภายนอกแนะนำให้เลือกใช้ซิลิโคนแบบโพลียูริเทน เพราะทนต่อแสงแดด ทนความร้อน ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อรา ฝุ่นไม่เกาะ แต่ถ้าเป็นภายในอาจ ใช้ซิลิโคนชนิดที่ใช้กับตู้ปลาแทนก็ได้ 5.เมื่อยิงซิลิโคนอุดรอยรั่วเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจทิ้งไว้สัก 1 คืนเพื่อให้ซิลิโคนแห้ง อุดรอยรั่วไปแน่นหนา   ขอบคุณบทความจาก : sanook.com          

จำนวนผู้อ่าน: 3100

29 ตุลาคม 2017

ระบบน้ำ

12 วิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ แม้ไม่ใช่ช่างก็ทำเองได้ !

ท่อน้ำตันทำอย่างไร ? มาดูวิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ ไม่ต้องเรียกช่าง วิธีแก้ปัญหาน้ำตันด้วยน้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา โซดาไฟ และของใกล้ตัวที่ช่วยแก้ปัญหาท่อน้ำตันได้อย่างดีเยี่ยม          หากกำลังประสบปัญหาท่อน้ำตัน อย่าเพิ่งกริ๊งกร๊างไปหาช่างซ่อม เพราะวันนี้กระปุกดอทคอมมีวิธีแก้ปัญหาท่อน้ำตันง่าย ๆ มาบอกต่อ โดยวิธีแก้ไขท่อน้ำตันด้วยตัวเองและของใช้ในบ้าน เช่น น้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา โซดาไฟ และของอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ใกล้มือ อยากรู้ว่าท่อน้ำตันทำอย่างไร ? ก็ตามไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยจาก 12 วิธีแก้ไขปัญหาท่อน้ำตัน 1. ที่ปั๊มส้วมช่วยได้ในเบื้องต้น           วิธีการแก้ไขเบื้องต้นปัญหาท่อน้ำอุดตันนั่นก็คือ การใช้ที่ปั๊มส้วม แต่จะให้ดีต้องปั๊มด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยการครอบที่ปั๊มลงไปที่ปากท่อ นำผ้าเปียกมาคลุมไว้รอบ ๆ ที่ปั๊มแล้วทำการปั๊มขึ้น-ลงประมาณ 6-10 ครั้ง เพื่อดึงเอาสิ่งที่อุดตันอยู่ในท่อขึ้นมา 2. น้ำส้มสายชูและเบกกิ้งโซดา           หากเกิดปัญหาท่อน้ำอุดตันแนะนำให้เทเบกกิ้งโซดาประมาณ ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อ แล้วเทน้ำส้มสายชู ½ ถ้วยตวงตามลงไปและทิ้งไว้สักพัก จากนั้นให้ราดน้ำร้อนลงไปในท่อซ้ำอีกครั้ง   3. เบกกิ้งโซดาและเกลือ           วิธีนี้คล้ายกับวิธีที่ 2 แต่เปลี่ยนจากน้ำส้มสายชูเป็นเกลือ โดยเทเบกกิ้งโซดาประมาณ 1 ถ้วยตวงและเกลือ ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อ แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นเทน้ำร้อนลงไปในท่ออีก 2 ถ้วยตวง 4. ไม้แขวนเสื้อใช้ทะลวงท่อ           หากเราสามารถมองเห็นเศษขยะที่อุดตันอยู่ในท่อได้ ให้นำไม้แขวนเสื้อมาคลายออกให้เป็นลวดยาว ๆ งอปลายขึ้นเล็กน้อยเพื่อทำเป็นหัวตะขอเกี่ยว จากนั้นนำลวดด้านที่มีหัวเกี่ยวหย่อนลงไปในท่อเพื่อเกี่ยวเศษขยะที่อุดตันท่อขึ้นมา 5. เครื่องดูดฝุ่น ดูดหมดทุกสิ่งอุดตัน           ถ้าที่บ้านมีเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถใช้ทำงานได้ทั้งพื้นที่เปียกและพื้นที่แห้ง แนะนำให้เปิดระบบการทำงานเครื่องดูดฝุ่นให้เป็นแบบเปียก จากนั้นเปิดน้ำหล่อท่อเอาไว้แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นจ่อลงไปที่ปากท่อ แล้วดูดสิ่งอุดตันท่อออกมาให้หมด  6. โซดาไฟ กัดคราบสกปรกให้หลุดออกจากท่อน้ำ           วิธีนี้ควรใช้แก้ปัญหาส้วมอุดตันเท่านั้นและควรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันด้วย ได้แก่ ถุงมือยาง แว่นป้องกันสายตา และหน้ากากอนามัย แล้วก็ลงมือผสมโดยการเทน้ำเย็นลงในถังประมาณ ¾ แกลลอน ตามด้วยโซดาไฟอีก 3 ถ้วยตวง ใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน เมื่อเกิดฟองฟู่และไอร้อนก็รีบเทลงในชักโครก ทิ้งไว้ 20-30 นาที แล้วค่อยเทน้ำต้มเดือดราดลงไป   7. น้ำยาล้างจาน ล้างคราบไขมันให้หายเกลี้ยง           แม้การใช้น้ำยาล้างจานอาจจะดูเป็นวิธีที่ค่อนข้างเบาแต่กลับได้ผลเกินคาด โดยเทน้ำยาล้างจานลงไปในท่อประมาณ ¼ ถ้วยตวง แล้วตามด้วยน้ำต้มเดือด น้ำยาล้างจานจะลงไปกัดคราบไขมันให้หลุดออกจากท่อ แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้สวมถุงมือยาง แล้วล้วงมือลงไปดึงเศษขยะที่ติดอยู่ออกมา ก็จะช่วยแก้ปัญหาท่ออุดตันได้ดีกว่า  8. ถอดท่อน้ำออกมาทำความสะอาด           หากท่อน้ำทิ้งที่อ่างล้างหน้าหรืออ่างล้างจานเกิดอุดตันแบบขั้นหนัก แนะนำให้ถอดท่อน้ำออกมาทำความสะอาดเลยจะดีกว่า ก่อนอื่นปิดวาล์วน้ำให้น้ำหยุดไหล แล้วนำถาดมารองไว้ใต้ท่อน้ำด้านล่าง จากนั้นค่อย ๆ ถอดท่อน้ำข้อต่อระหว่างอ่างกับผนังออกมาทีละส่วน แล้วใช้แปรงสีฟันขัดถูทำความสะอาดสิ่งอุดตันออกให้หมด จากนั้นนำที่ปิดน้ำตรงปากท่อน้ำทิ้งออกมาทำความสะอาด แล้วจัดการต่อท่อกลับไปให้เหมือนเดิม   9. น้ำส้มสายชูและเกลือ           อีกหนึ่งสูตรช่วยกำจัดสิ่งอุดตันท่อแบบไร้สารพิษทำลายล้างท่อน้ำ โดยเทเกลือขนาด ½ ถ้วยตวง เบกกิ้งโซดาอีก ½ ถ้วยตวง และน้ำส้มสายชูอีก ½ ถ้วยตวงลงไปในท่อน้ำ แล้วทิ้งไว้ 10 นาที จากนั้นเทน้ำต้มเดือดตามลงไปเพื่อล้างคราบไขมันที่ติดอยู่ในท่อและกำจัดสิ่งสกปรกให้หมดไป 10. ผลิตภัณฑ์เอนไซม์ แบบไม่ทำลายท่อน้ำ           ผลิตภัณฑ์น้ำเอนไซม์มีวางขายตามห้างร้านทั่วไป หากจะนำมาใช้เพื่อทำความสะอาดท่ออุดตันแนะนำให้เลือกเอนไซม์ชนิดที่เป็นออแกนิกส์ เพราะไม่ทำลายพื้นผิวของท่อน้ำ อ่านและทำตามฉลากด้านข้างขวดอย่างเคร่งครัด จากนั้นก็ปล่อยให้เอนไซม์ทำงานโดยการทิ้งไว้ 1 คืน แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งในตอนเช้า 11. สายทะลวงท่อน้ำอุดตัน           ไม่อยากเสียเวลากับการแก้ปัญหาท่อน้ำอุดตันเราแนะนำให้ลองใช้สปริงทะลวงท่อหรือที่เรียกกันว่างูเหล็ก สอดเข้าไปในท่อที่อุดตัน เมื่อเจอกับสิ่งที่อุดตันท่อแล้ว ก็ใช้งูเหล็กทะลวงเข้าไปพร้อมกับเปิดน้ำทิ้งหรือกดชักโครกไล่สิ่งอุดตันตามไปด้วย  12. น้ำยาฟอกผ้าขาว ใช้กับท่อน้ำก็ได้           ใครว่าน้ำยาฟอกผ้าขาวใช้ได้กับผ้าเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วมันก็ช่วยทะลวงท่อน้ำอุดตันได้เช่นกัน เริ่มจากถอดตัวกรองน้ำที่ปากท่อออกก่อน แล้วเทน้ำยาฟอกผ้าขาวประมาณ 1 ถ้วยตวงลงไป ปล่อยทิ้งไว้ 10 นาที เปิดน้ำให้ไหลงไปในท่อ หากว่าน้ำในท่อค่อย ๆ ลดระดับลง ก็เป็นอันว่าสิ่งที่อุดตันท่อหลุดออกไปเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็ทำความสะอาดท่อตามปกติได้เลย            ปัญหาท่อน้ำอุดตันเกิดขึ้นได้กับทุกบ้านและถ้าหากเราปล่อยเอาไว้มันจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบท่อน้ำในบ้าน ดังนั้นเมื่อเจอปัญหาท่อน้ำอุดตันที่ไหนก็อย่าลืมนำเอาวิธีที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ไปใช้นะคะ ที่มา: home.kapook.com

จำนวนผู้อ่าน: 3480

27 กันยายน 2017

ระบบน้ำ

การบำรุงรักษาระบบผลิตน้ำประปา (ระบบประปาบาดาล)

การบำรุงรักษาระบบเติมอากาศ                                 - หมั่นตรวจสอบโครงสร้างของระบบเติมอากาศหรือแอเรเตอร์  ให้อยู่ในสภาพใช้     งานได้เสมอ  หากเห็นว่าชำรุดให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ - ในกรณีเป็นขั้นถาดใส่ถ่าน  หมั่นตรวจสอบถ่าน  และกรวดในชั้นถาดไม่ให้มี                                        เหล็กเกาะมาก  และถ้าไม่มีถ่านหรือถ่านมีเหล็กเกาะมาก ให้จัดหามาใส่หรือ           เปลี่ยนใหม่ หมั่นคุ้ยถ่านเสมอ  เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นานหมั่นสังเกตปรับ  ประตูน้ำส่งน้ำดิบ  ไม่ให้น้ำดิบตกนอกชั้นถาด                   การบำรุงรักษาถังกรอง                                 - อย่าปล่อยให้น้ำหน้าทรายกรองแล้ง - ดูแลรักษาอุปกรณ์อื่นๆ  เช่น  พวงมาลัย  เปิด – ปิด ประตูน้ำให้อยู่ในสภาพดี  ถ้า        มีการรั่วซึมชำรุดให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ - ขัดล้างทำความสะอาดถังกรองทุก 3 – 6 เดือน - ทำความสะอาดทรายกรองเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้   การบำรุงรักษาถังน้ำใส - ต้องดูแลรักษาปิดฝาให้มิดชิดไม่ให้มีสิ่งของตกลงไปได้ - ตัดหญ้าทำความสะอาดโดยรอบถังน้ำใส - ตรวจสอบป้ายบอกระดับน้ำให้อยู่ในสภาพดี  เพื่อใช้ในการตรวจสอบปริมาตร น้ำในถัง  และใช้ดูว่ามีการรั่วหรือแตกร้าวหรือไม่ - ตรวจสอบอุปกรณ์ประตูน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน  หากชำรุดรั่วซึมต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่                            - ขัดล้างทำความสะอาดถังทุก  1  ปี การบำรุงรักษาเครื่องจ่ายสารเคมี •การตรวจสอบประจำวัน  เพื่อดูว่าเครื่องจ่ายทำงานปกติหรือไม่ -          ตรวจดูแรงดันและอัตราจ่ายว่าอยู่ในจุดที่ตั้งไว้หรือไม่ -          ตรวจดูการรั่วซึมของระบบท่อและอุปกรณ์ -          ตรวจดูชุดขับ (Drive  Unit)  ของเครื่องจ่ายว่าน้ำมันพร่องหรือมีการรั่วซึมหรือไม่ -          ตรวจดูการกินกระแสของมอเตอร์ -          ตรวจดูเครื่องจ่ายสำรอง (ถ้ามี)  ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่   •การตรวจสอบเป็นระยะ -          ชุดวาล์ว  ควรตรวจทุก  6  เดือน  ถ้ามีการสึกหรอควรเปลี่ยนใหม่ -          แผ่นไดอะเฟรม  ควรตรวจทุก 1 – 2 เดือน  ว่ามีการรั่วหรือยืดหยุ่นไม่สมบูรณ์หรือไม่  ทั้งอยู่การใช้งานขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  เช่น แรงดัน, อุณหภูมิ , ประเภทของสารเคมี -          ควรเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นที่ชุดขับทุกปี  แต่น้ำมันเกิดการแยกตัวให้เปลี่ยนทันที  การเปลี่ยนให้คลาย Drain Plug  ที่ชุดขับออก  เมื่อน้ำมันเก่าไหลออกจากชุดขับหมดก็ขัน Drain Plug  ให้แน่นและเติมน้ำมันใหม่เข้าไปให้ถึงระดับอ้างอิง  สำหรับน้ำมันที่ใช้ให้เป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิต   การตรวจสอบบำรุงรักษา  และดูแลแก้ไขอาการผิดปกติต่างๆ  ให้ดูรายละเอียด เรื่องอาการและสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุให้เครื่องจ่ายสารเคมีมีปัญหา  ดังตารางที่ 1 และ 2  ดังต่อไปนี้                                                            ตารางที่ 1 สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุและการแก้ไข สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุ การแก้ไข 1   2   3 4 5 6       7     8 9   10   11   12   13 14 15 16   17 18 19 มีสารแลกปลอมเข้าไปกับสารเคมี  และไปตกค้างที่ชุดวาล์วของเครื่อง เกิดการสึกหรอที่ชุวาล์วโดยเฉพาะ Valve  Seat และ Valve Ball แรงดันตกคร่อมที่ตัวเครื่องจ่ายไม่เพียงพอ อากาศรั่วเข้าไปในเส้นท่อด้านดูด ผลกระทบจาก O – ring หรือ Valve Gasket แผ่นไดอะเเฟรมเสียหาย       เงื่อนไขของการจ่ายสารเคมีมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ตัวสารเคมีเอง , อุณหภูมิ , แรงดัน ฯลฯ ท่อด้านดูดหรือตัวกรองตัน ปุ่มปรับระยะชัก (Stroke Length) เลื่อน   ฝุ่นหรือตะกอนไปอุดตันเกจวัดแรงดันหรือเกจเสีย เกิดการรั่วบริเวณวาลว์นิรภัย (Safety Valve)   เกิด Cavitation จากความไม่พอเพียงของ NPSHr (เงื่อนไขปกติ NPSHa < NPSNr) คุณภาพน้ำมันเกียร์ไม่ตรง Oil Seal และ/หรือ O – ring เสียหาย มอเตอร์เสียหาย เดินสายไฟผิดขั้วหรือหน้าสัมผัสของสวิตซ์ มีปัญหา กระแสไฟฟ้าตก ฟิวส์ขาด โอเวอร์โหลด (แรงดันจ่ายสูงเกินไป) จ่ายถอดชุวาล์วมาทำความสะอาด   เปลี่ยนใหม่   ติดตั้ง Back Pressure Valve ที่ด้านจ่าย ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ และแก้ไข เปลี่ยนใหม่ เปลี่ยน , ตรวจสอบแรงดันด้านจ่าย , สารแปลกปลอม หรือการเกิดตกผลึกของสรเคมี  ในกรณีอายุการใช้งานของแผ่นไดอะเเฟรมสั้นกว่าปกติ   เปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขใหม่   ถอดอุปกรณ์ดังกล่าวมาทำความสะอาด ปรับใหม่และยึดให้แน่น หลังจากที่ทดสอบ ที่ 0% แล้วไม่มีสารเคมีถูกจ่ายออกจากเครื่องจ่าย ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่   ทำการปรับแรงดันที่วาล์วใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่   พิจารณาเส้นท่อทางด้านดูด  โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไข   ตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามที่แนะนำ เปลี่ยนใหม่ เปลี่ยนใหม่ ตรวจสอบการเดินสายไฟ และ/หรือเปลี่ยนสวิตซ์ ถ้าจำเป็น   ตรวจสอบหาสาเหตุ ตรวจสอบหาสาเหตุ/เปลี่ยนใหม่ ตรวจสอบเส้นท่อด้านจ่าย พร้อมทั้งหาวิธีลดแรงดันด้านจ่าย       ตารางที่ 2  อาการ และสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เครื่องจ่ายสารเคมีไม่ทำงาน  หรือมีปัญหา   อาการ สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุ อัตราการจ่ายน้อยไป อัตราการจ่ายมากไป อัตราการจ่ายไม่เสถียร ไม่มีสารเคมีด้านจ่าย แรงดันด้านจ่ายไม่ขึ้น สารเคมีไม่ถูกดูดขึ้นมาที่เครื่องจ่าย สารเคมีรั่ว มอเตอร์ไม่ทำงาน มอเตอร์กินกระแสไฟมากไป เครื่องจ่ายและท่อสั่นมีเสียงดัง ผ้ำมันรั่ว ท้องเครื่องร้อนมาก   1,2,3,4,5,6,7,8,9,11,12 3,7,9 1,2,3,4,5,7,8,11,12 1,2,4,7,8,11,12 1,2,4,8,10,11,12 1,2,4,5,6,7,8,12 5,6 15,16,17,18,19 13, 15,16,17,19 8,12,13,15,19 14 7,13,19   ที่มา: คู่มือผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปาระบบประปาบาดาล รูปแบบกรมโยธาธิการ(เดิม) สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จำนวนผู้อ่าน: 9686

19 กันยายน 2017

ระบบน้ำ

การต่อปั๊มน้ำและการเปิดปิดวาว์ลน้ำในแต่ละแบบ

กรณีที่ 1 ดูดน้ำจากถังเก็บน้ำโดยตรง เปิดวาว์ล 1,2,3 เปิดปั๊มน้ำ     กรณีที่ 2 น้ำปะปาเข้าบ้านโดยตรง ไม่ต้องผ่านปั้มน้ำ และถังเก็บน้ำ (น้ำปะปาไหลแรง) ปิดวาว์ล 1,2 ปิดปั๊มน้ำ   กรณีที่ 3 ดูดน้ำจากถังเก็บน้ำโดยตรง (น้ำปะปาไหลอ่อน) เปิดวาว์ล 1,2 เปิดปั๊มน้ำ     กรณีที่ 4 น้ำปะปาเข้าบ้านโดยตรง ไม่ต้องผ่านปั้มน้ำ (น้ำปะปาไหลแรง) ปิดวาว์ล 1,2 ปิดปั๊มน้ำ   ขอบคุณบทความดีๆจาก : http://homeenrich.blogspot.com/    

จำนวนผู้อ่าน: 2972

27 กรกฎาคม 2017

ระบบน้ำ

เลือกติดตั้งปั๊มน้ำอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน

ใครที่มีบ้านแล้วน้ำที่บ้านไหลไม่ค่อยแรง แถมบ้านยังมีหลายชั้นและคนอยู่ด้วยกันเยอะอีก การหาปั๊มน้ำดีๆสักตัวมาติดตั้งที่บ้านก็ดูจะเป็นทางออกที่ดีไม่น้อย แต่ปัจจุบันปั๊มน้ำก็มีให้เลือกหลายแบบ หลายรุ่น หลายยี่้ห้อ คุญสมบัติ แรงดัน กำลังวัตต์ ความคงทนก็แตกต่างกันออกไป คำถามก็คือจะเลือกปั๊มน้ำแบบไหนดีถึงจะเหมาะกับบ้านของเรามากที่สุด? วันนี้ Homeenrich ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปั๊มน้ำมาแชร์ให้กับผู้ที่สนใจอยากติดตั้งปั๊มน้ำที่บ้าน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง ตามมาดูกันได้เลยครับ   ประเภทปั๊มน้ำที่นิยมติดตั้งในบ้าน ปั๊มน้ำแบบอัตโนมัติ(ทรงกระบอก) เป็นปั๊มน้ำรุ่นแรกๆที่ใช้กัน มีทั้งที่ทำจากเหล็กและสแตนเลส ใช้ใบพัดในการสร้างแรงดันน้ำให้ไหลไปตาท่อ โดยมีสวิทช์เปิดปิดควบคุม เวลาที่เราใช้น้ำจะทำให้ความดันในปั๊มค่อยๆลดลงจนสุดปั๊มก็จะทำงาน ติด หยุด ติด หยุด ตามการใช้งานจริง ข้อดี ราคาถูก  เป็นปั๊มน้ำที่มีราคาถูกที่สุดหากเทียบที่กำลังวัตต์เท่าๆกัน มีให้เลือกหลากหลายขนาด มีตั้งแต่ 100-400 วัตต์ บางยี่ห้อก็มีถึง 500 วัตต์ ทนทานเหมาะกับการใช้งานกลางแจ้ง เพราะวัสดุหลักทำมาจากเหล็กและสแตนเลส   ข้อเสีย เสียงดัง เพราะปั๊มมันจะติดๆดับๆตามการใช้งานจริง แล้วตัวเครื่องมันก็ทำจากโลหะซึ่งจะทำให้เกิดเสียงดังง่าย แรงดันน้ำไม่คงที่ คนที่อยู่ใกล้ปั๊มมากกว่าน้ำจะแรงกว่า คนที่อยู่ไกลออกไปน้ำก็จะอ่อนแรงลดหลั่นกันไป เครื่องมีขนาดใหญ่น้ำหนักเยอะ   ปั๊มน้ำแบบแรงดัน เป็นปั๊มน้ำอีกเจนเนอเรชั่นที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับปั๊มน้ำแบบเก่าหรือปั๊มแบบอัตโนมัติ โดยปั๊มน้ำแบบแรงดันนี้จะทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ตัวเล็ก หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่เป็นโลหะซึ่งเป็นที่มาของการเกิดเสียงดังเวลาที่ปั๊มทำงาน ข้อดี เสียงไม่ดัง เหมือนปั๊มน้ำรุ่นเก่า สามารถใช้ติดตั้งในบริเวณแคบๆได้ เพราะตัวเครื่องมีขนาดเล็ก(ไม่นับรวมแท็งน้ำนะ) ควบคุมแรงดันน้ำให้คงที่ได้ เพราะเป็นปั๊มระบบแรงดัน ซึ่งจะสามารถจ่ายน้ำให้กับคนในบ้านได้ทั่วถึงและเท่าเทียมไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของบ้านก็ตาม ขอเสีย ราคาสูงกว่าปั๊มน้ำแบบอัตโนมัติ แต่ก็ไม่มากเท่าไร ไม่เหมาะกับตั้งไว้กลางแจ้ง เพราะวัสดุทำจากยาง และพลาสติกเป็นหลัก ซึ่งโดนแดดนานๆบ่อยๆมันก็จะเสื่อมง่าย   ปั๊มน้ำอินเวอร์เตอร์  เป็นปั๊มน้ำที่ออกมาใหม่โดยมีการใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามาช่วยควบคุมการทำงาน สามารถควบคุมการหมุนของมอเตอร์ได้ตามปริมาณการใช้น้ำจริง พูดๆง่ายๆคือ ถ้าใช้น้ำน้อยมอเตอร์ก็หมุนช้า แต่ถ้าใช้น้ำมากหรือพร้อมๆกันมอเตอร์ก็จะหมุนเร็ว ทำให้สามารถควบคุมการจ่ายน้ำและการใช้ไฟได้อย่างยอดเยี่ยม ช่วยให้ประหยัดค่าไฟไปได้เยอะ ข้อดี ประหยัดไฟ เพราะมีระบบไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามาช่วยควบคุมการใช้งานอย่างที่บอก น้ำแรงสม่ำเสมอ ระบบเค้าสร้างมาดีจริงๆ เหมาะกับที่พักหรือบ้านขนาดใหญ่ เช่น หอพัก อพาร์ทเม้น แฟลต ขอเสีย มันแพงกว่าปั๊มน้ำแบบอื่นประมาณ 2-3 เท่า (20,000 UP) เวลาเสียหาช่างซ่อมยาก ต้องส่งซ่อมศูนย์อย่างเดียว       เมื่อเรารู้จักประเภทปั๊มน้ำคร่าวๆหันแล้ว ต่อมามาดูกันว่าเราจะเลือกซื้อปั๊มน้ำที่ขนาดเท่าไรถึงจะเหมาะกับการใช้งานภายในบ้านของเรา ซึ่งเรื่องที่เราต้องดูก่อนเลือกซื้อปั๊มน้ำก็จะมี ขนาดพื้นที่ที่ต้องใช้น้ำภายในบ้าน บ้านมี่กี่ชั้น มีห้องน้ำกี่ห้อง มีสมาชิกในบ้านกี่คน แล้วมีการใช้งานน้ำในช่วงเวลาเดียวกันมากน้อยแค่ไหน จะติดปั๊มจากบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน ต้องใช้ปั๊มน้ำมากกว่า 1 ตัวหรือไม่ จะเลือกขนาดถังพักน้ำขนาดเท่าไร 500 ลิตรพอ หรือว่าต้องมากกว่า 1,000 ลิตร ที่บ้านน้ำไหลเป็นปกติมั้ย หรือว่าน้ำไม่ค่อยไหลบ่อยๆ   ขอบคุณบทความดีๆจาก : http://homeenrich.blogspot.com    

จำนวนผู้อ่าน: 2929

27 กรกฎาคม 2017

ระบบน้ำ

วิธีเปลี่ยนก๊อกน้ำ ไม่ยาก

คลิปวิดีโอสอนวิธีเปลี่ยนก๊อกน้ำด้วยตัวเองง่ายมากๆ อุปกรณ์ที่ใช้มี ประแจ และเทปพันเกลียว เท่านั้น   ที่มา : Pop Upupup

จำนวนผู้อ่าน: 2946

19 กรกฎาคม 2017

ระบบน้ำ

DIY ซ่อมก็อกน้ำหยด แก้ปัญหาน้ำหยดจากก็อกน้ำ ก๊อกน้ำหยดไม่หยุดได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

ปัญหาในห้องน้ำมีหลายอย่าง และปัญหาที่คลาสิคสุด ๆ เลยก็คือ น้ำก็อกหยดไม่หยุด ทั้ง ๆ ที่ก็อกน้ำก็ยังใช้ไปได้ไม่นานเท่านั้นเอง ปัญหานี้เราสามารถซ่อมแซมด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ เลยครับ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ก็มีเพียงไขควงปลายเล็ก ๆ หรือคัตเตอร์ก็ได้ คืมและไขควงสี่แฉกอีกอัน  อย่างแรกให้เราแงะฝาปิดที่อยู่ด้านบนของก็อกน้ำออกมาก่อน ซึ่งเราจะพบเห็นว่ามีน็อตสี่แฉก บางครั้งอาจจะมองแทบไม่เห็นหัวน็อตเลยก็ได้ หากก๊อกน้ำนั้นมีอายุการใช้งานมายาวนานแล้ว สนิมจะขึ้นจะไม่อยากจะจับเลย ให้เราใช้ sonax มาฉีดก่อนก็ได้ จะทำให้เราไขน็อตออกมาได้ง่ายขึ้น เมื่อไขน็อตออกมาแล้วก็ให้ดึงหัวก็อกน้ำออกมา จะเห็นน็อตตัวใหญ่ที่ยึดติดกับตัวก็อกนั้น ให้ใช้คืมหมุนให้แน่นขึ้นอีกหน่อย จนกระทั่งน้ำหยุดไหล หรือน้ำไม่หยดแล้ว แค่นั้นครับ เมื่อน้ำไม่หยดแล้วก็ประกอบกลับเข้าไปในตำแหน่งเดิมทุกประการ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการซ่อมก็อกน้ำหยด ก๊อกน้ำหยดไม่หยุดได้แล้วครับ ง่าย ๆ แบบนี้ เราสามารถซ่อมแซมเองได้โดยไม่ต้องไปเรียกช่างแต่อย่างใดครับผม ^ ^   ที่มา : Fit Variety

จำนวนผู้อ่าน: 7281

19 กรกฎาคม 2017

ระบบน้ำ

ซ่อมท่อประปาน้ำรั่วง่ายๆ ไม่ต้องจ้างช่าง

ค่าน้ำแพงผิดปกติ มักเกิดจากท่อน้ำรั่ว หากท่อน้ำรั่ว ไม่ต้องตามช่าง เรามีวิธีง่ายๆ เพียงแค่มี ท่อน้ำ PVC ข้อต่อท่อ PVC กาวทาท่อน้ำ PVC เพียงแค่นี้คุณก็สามารถซ่อมท่อน้ำรั่วได้เอง ที่มา :รายการนารีกระจ่าง ทางไทยพีบีเอส 

จำนวนผู้อ่าน: 4015

19 กรกฎาคม 2017