กันไว้ดีกว่าแก้... !! ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

ในปัจจุบัน ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นทุกบ้าน ที่ต้องใช้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในทางกลับกันก็มีโทษเช่นกัน หากไม่รู้จักป้องกันและช่วยกันระมัดระวังภายในบ้านและที่อยู่อาศัย อาจจะทำให้เกิด ไฟฟ้าลัดวงจร และอัคคีภัยได้  การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรนั้นทำได้ไม่ยากคะ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และ อัคคีภัยมีวิธีการง่ายๆดังนี้

  • ก่อนอื่นสำรวจสายไฟฟ้าภายในบ้าน ว่าเก่ามาก และมีรอยชำรุดหรือไม่ หากมีการติดเทปพันจุดต่อสายไฟไว้ ให้สังเกตดูว่าแน่หนาดีพอมั้ย หลุดหรือหลวม  ให้รีบแจ้งช่างไฟฟ้ามาดำเนินการแก้ไข  หรือเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น
  • การต่อแยกสายไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆภายในบ้าน ที่ต้องการใช้งาน  จุดต่อทุกจุดต้องต่อให้แน่น  หรือเชื่อมบัดกรีให้เรียบร้อย  หากต่อสายไม่แน่นจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่สะดวก ทำให้เกิดแรงต้านทานและเกิดความร้อนขึ้นบริเวณรอยต่อ  และอาจทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นได้  เมื่อต่อสายแน่นแล้วให้ใช้เทปพันสายไฟ พันให้แน่นอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้คนภายในบ้านถูกไฟฟ้าดูดได้
  • การเลือกสายไฟฟ้าเพื่อใช้ในอาคารบ้านเรือน  ต้องเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสม  กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน เพราะหากใช้สายเล็กเกินไป  เมื่อใช้ไฟมากจะเกิดความร้อนตามสายเนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลมากเกินไป  ทำให้ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าชำรุดเสียหายและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก 
  • สายไฟฟ้าต้องได้มาตรฐาน  ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งจะสังเกตได้ มีพิมพ์ติดไว้บนสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานทุกเส้น และไม่ควรใช้สายไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตราฐาน ถึงแม้จะมีราคาที่ถูกกว่า แต่เทียบกว่าความปลอดภัยแล้วไม่คุ้มค่าซักเท่าไหร่นัก
  • ฟิวส์  ต้องทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติหลอมละลายตัวเอง  เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมีปริมาณเกินพิกัดของฟิวส์จะขาด เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า  ป้องกันมิให้อุปกรณ์อื่นชำรุด อันเกิดจากการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง และป้องกันการเกิดอัคคีภัยขึ้น  ฉะนั้นเมื่อฟิวส์ภายในบ้านขาดควรหาฟิวส์ใหม่มาใส่  ไม่ควรเอาลวดทองแดง หรือสายไฟ ไปใช้แทนฟิวส์โดยเด็ดขาด  และไม่ควรใส่ฟิวส์ขนาดใหญ่เกินไป  แต่ก่อนจะเปลี่ยนฟิวส์ควรตรวจหาจุดที่ชำรุด ที่ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรให้พบและแก้ไขเสียก่อน  แล้วจึงใส่ฟิวส์ใหม่เข้าไป
  • บัลลาสต์ที่ใช้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ หากมีคุณภาพต่ำเมื่อใช้งานนานๆ  มักจะร้อนจัดและมีเสียงคราง  ดังนั้นเมื่อท่านติดตั้งบัลลาสต์ใช้งานใหม่  ให้ลองเปิดไฟทิ้งใว้สักครู่ แล้วใช้มือสัมผัสที่ตัวบัลาสต์  หากปรากฎว่าบัลลาสต์ร้อนผิดปรกติ  หรือมีเสียงครางดังผิดปรกติก็ไม่ควรใช้งานต่อไป เพราะอาจจะทำให้ร้อนและระเบิดได้ในที่สุด การเลือกซื้อควรเลือกซื้อบัลลาสต์ที่มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภันณ์อุตสาหกรรมพิมพ์ใว้ที่ตัวบัลลาสต์ด้วย จะช่วยได้อีกทาง
  • เต้ารับและเต้าเสียบไฟฟ้าปลั๊กตัวผู้หรือปลั๊กตัวเมีย  หากเสียบเข้าไปแล้วหลวม  หรือปลั๊กแตก  หัก  ควรเปลี่ยนใหม่  และไม่ควรใช้สายไฟฟ้าที่ไม่มีปลั๊กเสียบต่อกัน  เพราะอาจเกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นได้  และในช่วงที่ถอดปลั๊กตัวผู้ควรจับที่ตัวปลั๊กไม่ควรดึงที่สายไฟฟ้าให้ปลั๊กหลุดออกมา ซึ่งจะทำให้สายไฟฟ้าขาดในหรือสายขาดได้  วิธีการถอดควรจับที่ปลั๊กตัวผู้ดึงออก ซึ่งเชื่อว่าหลายๆคนชอบดึกปลั็กโดยใช้มือจับสาย ซึ่งเป็นอันตรายมาก
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เช่น  เตารีด  เตาไฟฟ้า  กระทะไฟฟ้า ฯลฯ ต้องระมัดระวังอย่าตั้งใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย  หรือเสียบปลั๊กทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล  และเมื่อเลิกใช้งานแล้วต้องถอดปลั๊กตัวผู้ออกทุกครั้ง จะเห็นว่าสาเหตุที่เกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยตรง  แต่เกิดจากความบกพร่องอันเนื่องมาจากการใช้ไฟฟ้าที่ผิดวิธี  ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการละเลยขาดการเอาใจใส่ดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ  ดังนั้นผู้ใช้ไฟฟ้าหมั่นศึกษาและปฏิบัติตามหลักวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง  เพื่อความปลอดภัยจากการถูกไฟฟ้าดูด  ไฟฟ้าลัดวงจร  และป้องกันการเกิดอัคคีภัยอีกทางหนึ่งด้วย

นี้ก็นเป็นเพียงการเริ่มต้นง่ายสำหรับทุกท่านที่ใช้ไฟฟ้า อยู่เป็นประจำเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราไม่ควรมองข้ามค่ะ เพราะนั้นหมายถึงอันอันตรายถึงชีวิตไม่ใช่แค่เพียงตัวเราแต่ยังเป็นคนในครอบครับของเราอีกด้วย เพราะฉะนั้นเสียเวลาซักเล็กน้อยในการหันมาใส่ใจและสักเกตดูคะ เพื่อความปลอดภัยของท่านและคนที่ท่านรัก

ที่มา: www.3mbuildingfilm.com


Person read: 3111

19 September 2017