การบำรุงรักษาระบบผลิตน้ำประปา (ระบบประปาบาดาล)

การบำรุงรักษาระบบเติมอากาศ

                                - หมั่นตรวจสอบโครงสร้างของระบบเติมอากาศหรือแอเรเตอร์  ให้อยู่ในสภาพใช้

    งานได้เสมอ  หากเห็นว่าชำรุดให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่

- ในกรณีเป็นขั้นถาดใส่ถ่าน  หมั่นตรวจสอบถ่าน  และกรวดในชั้นถาดไม่ให้มี

                                       เหล็กเกาะมาก  และถ้าไม่มีถ่านหรือถ่านมีเหล็กเกาะมาก ให้จัดหามาใส่หรือ          

เปลี่ยนใหม่ หมั่นคุ้ยถ่านเสมอ  เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นานหมั่นสังเกตปรับ  ประตูน้ำส่งน้ำดิบ  ไม่ให้น้ำดิบตกนอกชั้นถาด

                  การบำรุงรักษาถังกรอง

                                - อย่าปล่อยให้น้ำหน้าทรายกรองแล้ง

- ดูแลรักษาอุปกรณ์อื่นๆ  เช่น  พวงมาลัย  เปิด – ปิด ประตูน้ำให้อยู่ในสภาพดี  ถ้า        มีการรั่วซึมชำรุดให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่

- ขัดล้างทำความสะอาดถังกรองทุก 3 – 6 เดือน

- ทำความสะอาดทรายกรองเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้

  การบำรุงรักษาถังน้ำใส

- ต้องดูแลรักษาปิดฝาให้มิดชิดไม่ให้มีสิ่งของตกลงไปได้

- ตัดหญ้าทำความสะอาดโดยรอบถังน้ำใส

- ตรวจสอบป้ายบอกระดับน้ำให้อยู่ในสภาพดี  เพื่อใช้ในการตรวจสอบปริมาตร น้ำในถัง  และใช้ดูว่ามีการรั่วหรือแตกร้าวหรือไม่

- ตรวจสอบอุปกรณ์ประตูน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน  หากชำรุดรั่วซึมต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่

                           - ขัดล้างทำความสะอาดถังทุก  1  ปี

การบำรุงรักษาเครื่องจ่ายสารเคมี

การตรวจสอบประจำวัน  เพื่อดูว่าเครื่องจ่ายทำงานปกติหรือไม่

-          ตรวจดูแรงดันและอัตราจ่ายว่าอยู่ในจุดที่ตั้งไว้หรือไม่

-          ตรวจดูการรั่วซึมของระบบท่อและอุปกรณ์

-          ตรวจดูชุดขับ (Drive  Unit)  ของเครื่องจ่ายว่าน้ำมันพร่องหรือมีการรั่วซึมหรือไม่

-          ตรวจดูการกินกระแสของมอเตอร์

-          ตรวจดูเครื่องจ่ายสำรอง (ถ้ามี)  ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่

 

การตรวจสอบเป็นระยะ

-          ชุดวาล์ว  ควรตรวจทุก  6  เดือน  ถ้ามีการสึกหรอควรเปลี่ยนใหม่

-          แผ่นไดอะเฟรม  ควรตรวจทุก 1 – 2 เดือน  ว่ามีการรั่วหรือยืดหยุ่นไม่สมบูรณ์หรือไม่  ทั้งอยู่การใช้งานขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  เช่น แรงดัน, อุณหภูมิ , ประเภทของสารเคมี

-          ควรเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นที่ชุดขับทุกปี  แต่น้ำมันเกิดการแยกตัวให้เปลี่ยนทันที  การเปลี่ยนให้คลาย Drain Plug  ที่ชุดขับออก  เมื่อน้ำมันเก่าไหลออกจากชุดขับหมดก็ขัน Drain Plug  ให้แน่นและเติมน้ำมันใหม่เข้าไปให้ถึงระดับอ้างอิง  สำหรับน้ำมันที่ใช้ให้เป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิต

 

การตรวจสอบบำรุงรักษา  และดูแลแก้ไขอาการผิดปกติต่างๆ  ให้ดูรายละเอียด

เรื่องอาการและสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุให้เครื่องจ่ายสารเคมีมีปัญหา  ดังตารางที่ 1 และ 2  ดังต่อไปนี้

 

                                                         ตารางที่ 1 สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุและการแก้ไข

สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุ

การแก้ไข

1

 

2

 

3

4

5

6

 

 

 

7

 

 

8

9

 

10

 

11

 

12

 

13

14

15

16

 

17

18

19

มีสารแลกปลอมเข้าไปกับสารเคมี 

และไปตกค้างที่ชุดวาล์วของเครื่อง

เกิดการสึกหรอที่ชุวาล์วโดยเฉพาะ

Valve  Seat และ Valve Ball

แรงดันตกคร่อมที่ตัวเครื่องจ่ายไม่เพียงพอ

อากาศรั่วเข้าไปในเส้นท่อด้านดูด

ผลกระทบจาก O – ring หรือ Valve Gasket

แผ่นไดอะเเฟรมเสียหาย

 

 

 

เงื่อนไขของการจ่ายสารเคมีมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ตัวสารเคมีเอง , อุณหภูมิ , แรงดัน ฯลฯ

ท่อด้านดูดหรือตัวกรองตัน

ปุ่มปรับระยะชัก (Stroke Length) เลื่อน

 

ฝุ่นหรือตะกอนไปอุดตันเกจวัดแรงดันหรือเกจเสีย

เกิดการรั่วบริเวณวาลว์นิรภัย (Safety Valve)

 

เกิด Cavitation จากความไม่พอเพียงของ NPSHr (เงื่อนไขปกติ NPSHa < NPSNr)

คุณภาพน้ำมันเกียร์ไม่ตรง

Oil Seal และ/หรือ O – ring เสียหาย

มอเตอร์เสียหาย

เดินสายไฟผิดขั้วหรือหน้าสัมผัสของสวิตซ์

มีปัญหา

กระแสไฟฟ้าตก

ฟิวส์ขาด

โอเวอร์โหลด (แรงดันจ่ายสูงเกินไป)

จ่ายถอดชุวาล์วมาทำความสะอาด

 

เปลี่ยนใหม่

 

ติดตั้ง Back Pressure Valve ที่ด้านจ่าย

ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ และแก้ไข

เปลี่ยนใหม่

เปลี่ยน , ตรวจสอบแรงดันด้านจ่าย , สารแปลกปลอม หรือการเกิดตกผลึกของสรเคมี  ในกรณีอายุการใช้งานของแผ่นไดอะเเฟรมสั้นกว่าปกติ

 

เปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขใหม่

 

ถอดอุปกรณ์ดังกล่าวมาทำความสะอาด

ปรับใหม่และยึดให้แน่น หลังจากที่ทดสอบ ที่ 0% แล้วไม่มีสารเคมีถูกจ่ายออกจากเครื่องจ่าย

ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่

 

ทำการปรับแรงดันที่วาล์วใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่

 

พิจารณาเส้นท่อทางด้านดูด  โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไข

 

ตรวจสอบคุณสมบัติให้เป็นไปตามที่แนะนำ

เปลี่ยนใหม่

เปลี่ยนใหม่

ตรวจสอบการเดินสายไฟ และ/หรือเปลี่ยนสวิตซ์ ถ้าจำเป็น

 

ตรวจสอบหาสาเหตุ

ตรวจสอบหาสาเหตุ/เปลี่ยนใหม่

ตรวจสอบเส้นท่อด้านจ่าย พร้อมทั้งหาวิธีลดแรงดันด้านจ่าย

     

ตารางที่ 2  อาการ และสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เครื่องจ่ายสารเคมีไม่ทำงาน  หรือมีปัญหา

 

อาการ

สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุ

อัตราการจ่ายน้อยไป

อัตราการจ่ายมากไป

อัตราการจ่ายไม่เสถียร

ไม่มีสารเคมีด้านจ่าย

แรงดันด้านจ่ายไม่ขึ้น

สารเคมีไม่ถูกดูดขึ้นมาที่เครื่องจ่าย

สารเคมีรั่ว

มอเตอร์ไม่ทำงาน

มอเตอร์กินกระแสไฟมากไป

เครื่องจ่ายและท่อสั่นมีเสียงดัง

ผ้ำมันรั่ว

ท้องเครื่องร้อนมาก

 

1,2,3,4,5,6,7,8,9,11,12

3,7,9

1,2,3,4,5,7,8,11,12

1,2,4,7,8,11,12

1,2,4,8,10,11,12

1,2,4,5,6,7,8,12

5,6

15,16,17,18,19

13, 15,16,17,19

8,12,13,15,19

14

7,13,19

 

ที่มา: คู่มือผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปาระบบประปาบาดาล รูปแบบกรมโยธาธิการ(เดิม) สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


จำนวนผู้อ่าน: 9710

19 กันยายน 2017