News

“คิงส์เกต” ได้เงินชดเชยจากประกันภัยทางการเมืองจริงเกือบ 2,000 ล้านบาท ที่ไทยสั่งปิดเหมืองทอง

คิงส์เกต บริษัทแม่อัครา เหมืองทองคำชาตรี แจงบริษัทประกันภัยจ่ายเงินชดเชยกรณีภัยทางการเมืองให้ 82 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ราว 1,843 ล้านบาท ทำให้มีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินการกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้จนจบ เผยบริษัทผู้รับประกันภัยยังมีข้อตกลงทำงานร่วมกัน เพื่อดำเนินคดีรัฐบาลไทยภายใต้คำร้อง TAFTA จนกว่าจะถึงที่สุด รายงานข่าวจากบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด บริษัทแม่ของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ระบุว่า จากกรณีข่าว “คิงส์เกต บรรลุข้อตกลงระงับข้อพิพาทในกรณีกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงทางการเมือง ด้วยเงินชดเชยมูลค่ากว่า 82 ล้าน เหรียญออสเตรเลีย” ที่ได้รับความสนใจและถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้ การบรรลุข้อตกลงระงับข้อพิพาทในกรณีกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงทางการเมืองในครั้งนี้ ไม่ใช่กรณีเดียวกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ดังนั้นกระบวนการอนุญาโตฯ ดังกล่าวก็ยังคงดำเนินต่อไปเช่นเดิม   ทั้งนี้ค่าชดเชยที่บริษัทคิงส์เกตฯ จะได้รับจากบริษัทประกันภัยจากเหมืองแร่ทองคำชาตรีนั้น จะทำให้คิงส์เกต มีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินการกระบวนการอนุญาโตฯ ได้จนจบ ซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยยังมีข้อตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินคดีรัฐบาลไทยภายใต้คำร้อง TAFTA จนกว่าจะถึงที่สุดด้วย บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด เป็นผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงทางการเมือง (Political Risk Insurance Policy) ในช่วงที่รัฐบาลของประเทศไทยออกคำสั่งปิดเหมืองแร่ทองคำชาตรีโดยมิชอบด้วยกฎหมายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2559 (“คำร้อง TAFTA”) ซึ่งเบื้องต้นครอบคลุมเงินชดเชยรวมเป็นมูลค่ากว่า 82 ล้านเหรียญออสเตรเลีย การถือกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงทางการเมืองดังกล่าว ถือเป็นขั้นตอนปฏิบัติโดยปกติของการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เช่นเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นกับเหมืองแร่ทองคำชาตรี เป็นที่ทราบกันดีว่า การสั่งปิดเหมืองแร่ทองคำชาตรีในเดือนธันวาคม ปี 2559 นั้น เป็นการกระทำโดยมิชอบ และปราศจากความยุติธรรม เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลใดๆ เลย ระบุว่าเหมืองฯ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบตามที่ถูกกล่าวอ้าง ในทางตรงกันข้าม บริษัท ที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบเหมืองระดับโลกอย่าง บริษัท บริษัท แบร์ โดแบร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด (Bhere Dolbear International Limited) ซึ่งกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้เป็นผู้พิจารณาเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลอย่างละเอียด กลับมีรายงานผลการตรวจสอบพบว่าเหมืองแร่ทองคำชาตรี มีการดำเนินงานที่ได้มาตรฐานสากลในทุกๆ ด้าน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในทุกขั้นตอน ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม เทียบเท่าเหมืองแร่ชั้นนำทั่วโลก ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพแต่อย่างใด คิงส์เกตได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลากร ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าประเทศไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2560 และได้ดำเนินการส่งเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนคำร้องของบริษัทฯ มาตลอดอย่างต่อเนื่อง และจะยังคงดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ต่อไป บริษัทฯ ต้องขออภัยที่ไม่สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการอนุญาโต ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ได้ เนื่องจากทางรัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือจากบริษัทฯ มิให้เผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดการอนุญาโตใดๆ ทั้งสิ้นแก่สาธารณชน อย่างไรก็ตาม หากยังไม่มีมติใดๆ ออกมา ก็จะมีการพิจารณาอนุญาโตฯ อีกครั้งในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปีนี้ (2562) อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทฯ มีความมั่นใจในกระบวนการอนุญาโตตุลาการภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย-ออสเตรเลีย แต่ก็ต้องการให้เรื่องนี้จบลงอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม เนื่องจากตั้งแต่เหมืองฯ ต้องหยุดดำเนินกิจการ ภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ต่างเสียโอกาสไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าภาคหลวง ภาษี การจ้างงานในพื้นที่ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้ชุมชนเงียบเหงา เศรษฐกิจชะงักงัน เป็นเรื่องที่หน้าเศร้าอดีตพนักงานตกงาน ไม่มีรายได้ ในขณะที่หลายคนต้องจำใจเดินทางไปทำงานต่างถิ่น ทำให้ครอบครัวแตกแยก ปัจจุบันแม้เหมืองแร่ทองคำชาตรีได้เข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า Care and Maintenance หรือกระบวนการบำรุงรักษา โดยไม่ได้มีการดำเนินกิจกรรมทำเหมืองแร่ใดๆ ทั้งสิ้น แต่บริษัทฯ ได้ดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ไปพร้อมกับการทำเหมืองตามกฎหมายอยู่เสมอ แม้ในขณะนี้ก็ยังมีการดำเนินการฟื้นฟูอยู่บางส่วนด้วยความรับผิดชอบ นอกจากนั้น ชาวอัคราที่เหลืออยู่เพียง 25 ชีวิตในขณะนี้ จากจำนวนกว่า 1000 คน ช่วงเปิดดำเนินการ ก็ยังคงเดินหน้าช่วยเหลือชุมชนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใหญ่หรือเล็ก ยังคงมุ่งมั่นในการเข้าไปร่วมช่วยเหลือเสมอ ตามปณิธานของบริษัทฯ เหมืองคือบ้านหลังใหญ่ และบริษัทฯ คือสมาชิกในบ้าน ในชุมชน เช่นกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-309569

Person read: 2078

03 April 2019

ทุ่ม 7 หมื่นล. เชื่อมมอเตอร์เวย์ เลิกใช้ฟรี “วงแหวนตะวันตก”

แฟ้มภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข่าว คนบางบัวทองทำใจ ทล.จ่อเลิกใช้ฟรีถนนวงแหวนตะวันตก ทุ่ม 7.8 หมื่นล้านอัพเกรดเป็นทางพิเศษ ตั้งด่านเก็บค่าผ่านทาง เชื่อมมอเตอร์เวย์ “บางปะอิน-โคราช” และ “บางใหญ่-กาญจนบุรี” ดีเดย์ มิ.ย.ลุยสร้างคู่ขนานใหม่ “บางปะอิน-บางบัวทอง” นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรมจะยกระดับถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอก) ฝั่งตะวันตก ระยะทาง 70 กม. ที่เปิดใช้ฟรีมาตั้งแต่ปี 2543 ให้เป็นทางพิเศษระหว่างเมืองควบคุมทางเข้าออก พร้อมติดตั้งด่านเก็บค่าผ่านทางเหมือนถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออก โครงการวงแหวนด้านใต้และมอเตอร์เวย์ชลบุรี-พัทยา เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่หนาแน่นฉลี่ยวันละ 137,000 คัน “ปัจจุบันเมืองขยายตัวไปมาก จำเป็นต้องปรับโครงการเก่าใหม่ให้เหมาะสม โดยเชื่อมมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา และบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่จะเปิดใช้ปี 2565-2566” คาดว่าใช้เงินลงทุน 78,000 ล้านบาทแบ่งงาน 2 ช่วง คือ ช่วงแรกบางบัวทอง-บางปะอิน ระยะทาง 30 กม. จุดเริ่มต้นที่ อ.บางบัวทอง บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 345 (บางบัวทอง-บางพูน) กับทางหลวงหมายเลข 340 (บางบัวทอง-สุพรรณบุรี) ผ่าน จ.ปทุมธานี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน เชื่อมกับมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา และวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก รูปแบบเป็นทางระดับดิน 12 ช่องจราจร แยกเป็นทางคู่ขนาน 6 ช่องจราจร ข้างละ 3 ช่องจราจร เพื่อให้ประชาชนใช้ฟรี พร้อมปรับถนนเดิม 4 ช่องจราจร เป็นทางมาตรฐานใหม่ 6 ช่องจราจร แต่จะเก็บค่าผ่านทาง ปีนี้กรมจะเริ่มก่อสร้างทางคู่ขนานก่อน ภายใต้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท สร้างจากแยกต่างระดับบางปะอิน-แม่น้ำเจ้าพระยาก่อน เนื่องจากการจราจรวิกฤต มิ.ย.ลุยทางคู่ขนาน   “ขณะนี้ได้ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว แบ่งสร้าง 4 สัญญา จะเริ่มงานในเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ แล้วเสร็จในปี 2565 ส่วนที่เหลือจากแม่น้ำเจ้าพระยา-บางบัวทอง กรมจะทยอยก่อสร้างในปี 2563-2564 โดยการก่อสร้างไม่มีเวนคืนที่ดิน เพราะกรมได้กั้นแนวเขตทางเดิมไว้เผื่อแล้ว แต่อาจจะมีบางพื้นที่เป็นทางเข้า-ออกด่าน” นายอานนท์กล่าวและว่า สำหรับการอัพเกรดถนนเดิมเป็นช่องทางพิเศษ อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดจะแล้วเสร็จปลายปีนี้ ซึ่งกรมมีแนวคิดจะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ ประมาณ 10,000 ล้านบาท มาก่อสร้าง บางบัวทอง-บางขุนเทียนยก 2 ชั้น นายอานนท์กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ 2 แนวจะเริ่มจากต่างระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 37 กม. จะสร้างเป็นทางยกระดับสูงขึ้นอีก 1 ชั้น จากระดับดินขนาด 6 ช่องจราจร อยู่บนเกาะกลางถนนวงแหวนปัจจุบัน จากบางบัวทองไปชนกับวงแหวนด้านใต้ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท ปัจจุบันกรมกำลังพิจารณารูปแบบก่อสร้างช่วงแยกบางใหญ่ที่มีโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงอยู่ด้วยตรงกลางถนน จะสร้างเป็นทางยกระดับยกข้ามรถไฟฟ้าไป หรือจะเบี่ยงแนวไปด้านข้างสถานีเพื่อพยายามลดกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ให้น้อยที่สุด “ขณะเดียวกัน กรมก็กำลังศึกษรูปแบบการลงทุน PPP จะให้เอกชนร่วมทั้งโครงการ คือ ก่อสร้าง ติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางและบริหารโครงการ หรือจะลงทุนเฉพาะงานระบบอย่างเดียว รูปแบบการลงทุนจะสรุปในปีหน้า ตั้งเป้าจะเริ่มสร้างในปี 2565 เสร็จในปี 2568 ขณะนี้ถือกว่ากรมได้เริ่มนับหนึ่งโครงการแล้ว โดยสร้างทางคู่ขนานมารองรับ จะแล้วเสร็จพอดีกับที่จะเริ่มงานในส่วนที่จะปรับปรุงเป็นทางพิเศษ” นายอานนท์กล่าวอีกว่า สำหรับวงแหวนตะวันตกจะเชื่อมการเดินทาง 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ตลอดเส้นทางจะมีจุดเข้าออก 20 แห่ง ได้แก่ ด่านพระราม 2 ด่านกัลปพฤกษ์ 1 ด่านกัลปพฤกษ์ 2 ด่านเพชรเกษม 1 ด่านเพชรเกษม 2 ด่านพรานนก-พุทธมณฑล 1 ด่านพรานนก-พุทธมณฑล 2 ด่านบรมราชชนนี ด่านมหาสวัสดิ์ ด่านนครอินทร์ 1 ด่านนครอินทร์ 2 ด่านบางใหญ่ ด่านบางบัวทอง 1 ด่านราชพฤกษ์ ด่านลาดหลุมแก้ว 1 ด่านลาดหลุมแก้ว 2 ด่านสามโคก ด่านบางปะหัน และด่านบางปะอิน ส่วนค่าผ่านทางยังไม่ได้กำหนดอัตรา คืบหน้า 3 มอเตอร์เวย์ใหม่ นายอานนท์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สายใหม่ว่า ในปี 2563 จะเปิดบริการสายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง ส่วนสายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. งานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 68% ตามสัญญางานก่อสร้างจะเสร็จปลายปี 2563 ล่าสุดอาจขยับเป็นปี 2564 เพราะมีปรับแบบก่อสร้าง 13 สัญญาใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ส่งผลให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งกรมต้องเสนอของบฯเพิ่มจากสำนักงบประมาณ รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบ อาจจะทำให้ผู้รับเหมาขอขยายเวลาออกไปอีก ส่วนการเปิดบริการจะเป็นภายในปี 2565 ขณะที่สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. คืบหน้า 19.15% ยังล่าช้าจากแผนอยู่มาก เนื่องจากผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างไม่ได้ มีปัญหาค่าเวนคืนที่ดินที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันกรมอยู่ระหว่างเสนอ ครม.อนุมัติกรอบวงเงินเพิ่ม 8,000 ล้านบาท มาดำเนินการ ทำให้งานก่อสร้างขยับไปเป็นปี 2564 เปิดใช้ปี 2566 “มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี ถึงงานก่อสร้างจะเสร็จเร็ว แต่การเปิดบริการเต็มรูปแบบก็ต้องรอระบบเก็บค่าผ่านทางแล้วเสร็จ ซึ่งใช้เวลา 3 ปี โดยกรมเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP gross cost 33 ปี สร้าง 3 ปี บริหารโครงการ 30 ปี รัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินและรายได้ทั้งหมด ส่วนเอกชนได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินค่าก่อสร้างระบบ ค่าบำรุงรักษา ค่าบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียม ไม่เกินกรอบวงเงินกว่า 6.1 หมื่นล้านบาท ตลอดอายุสัญญา” เปิดโผ 6 กลุ่มชิงสัมปทานระบบ นายอานนท์กล่าวว่า กรมปิดขายซองทีโออาร์เมื่อวันที่ 27 มี.ค. มีเอกชนไทย-ต่างชาติสนใจซื้อซองประมูลทั้งหมด 18 ราย จะเปิดยื่นข้อเสนอวันที่ 27 มิ.ย.นี้ มี 3 ซอง คือ เทคนิค การเงิน ข้อเสนอพิเศษ ผู้ชนะคือผู้ที่ให้กรมจ่ายค่าตอบแทนน้อยที่สุด จากกรอบวงเงินของสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ไม่เกิน 27,828 ล้านบาท สายบางปะอิน-โคราช ไม่เกิน 33,258 ล้านบาท คาดว่าจะเซ็นสัญญา ธ.ค.นี้ สำหรับ 18 รายซื้อประมูล ได้แก่ 1.บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (โทลล์เวย์) 2.บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 3.บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ 4.บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) 5.บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 6.บจ.ซีวิลเอนจีเนียริ่ง 7.บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 8.บจ.สี่แสงการโยธา (1979), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) 10.บมจ.ช.การช่าง 11.Metropolitan Expressway Company Limited จากประเทศญี่ปุ่น 12.Marubeni Corporation จากประเทศญี่ปุ่น 13.Japan ExpresswayInternatioal Company Limited จากประเทศญี่ปุ่น 14.Far Eastern ElectronicToll Collrction Coltd จากประเทศไต้หวัน 15.บจ.ไชน่าฮาเบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จากประเทศจีน 16.บจ.ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น จากประเทศจีน 17.Vinci Concessions จากประเทศฝรั่งเศส และ 18.บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง คาดว่าจะมีเอกชนร่วมกลุ่มยื่นเข้าประมูล 6 ราย ได้แก่ 1.กลุ่มบีทีเอส ร่วมกับซิโน-ไทยและราชบุรีโฮลดิ้งส์ 2.กลุ่ม BEM และ ช.การช่าง 3.กลุ่มอิตาเลียนไทยกับจีน 4.กลุ่มยูนิคกับจีน 5.กลุ่มโทลล์เวย์ร่วมกับรัฐวิสาหกิจจากญี่ปุ่น และ 6.กลุ่มกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-309977  

Person read: 2208

03 April 2019

สรรพากรติดดาบรีดภาษี! ใครฝาก/รับโอนเงิน “ถี่” มีหนาว กม.ภาษีอีเพย์เมนต์ประกาศราชกิจจาฯแล้ว มีผล 21 มี.ค.62 เป็นต้นไป

สรรพากรติดดาบรีดภาษี! ใครฝาก/รับโอนเงิน “ถี่” มีหนาว กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ลงประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลตั้งแต่ 21 มี.ค.62 เป็นต้นไป ชี้แบงก์ต้องรายงาน “ธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ” ฝ่าฝืนไม่รายงานเจอปรับ 1 แสนบาท บวกเพิ่มอีกวันละ 1 หมื่นบาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ววันนี้ (20 มี.ค.2562) หรือกฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค.2562 เป็นต้นไป ซึ่งเหตุผลในการออกกฎหมายฉบับนี้ เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ที่ได้กำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ซึ่งรวมถึงการรับชำระภาษี   นอกจากนี้ ประเด็นที่สำคัญยังมีการกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อีวอยเล็ต) มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร โดยธุรกรรมลักษณะเฉพาะ คือ 1) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป 2) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ หากผู้มีหน้าที่รายงานไม่ปฏิบัติตาม อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจลงโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และ ปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และปรับปรุงอัตราโทษสำหรับกรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยหากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คลิกดูประกาศฉบับเต็มที่นี่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/034/T_0023.PDF   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-304228

Person read: 2256

21 March 2019

ปิดจ็อบ 2 โปรเจ็กต์ไฮไลต์ รัฐบาลเร่งเคลียร์ก่อนเลือกตั้ง

ก่อนจะถึงวันเลือกตั้ง 24 มี.ค.นี้ รัฐบาล คสช.ที่อยู่มานาน 5 ปี ก็เริ่มทยอย “ปิดจ็อบ” โครงการต่าง ๆ เพื่อ “โชว์ความสำเร็จ” ให้ประชาชนมองเห็นถึงผลงานในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุด กระทรวงการคลังเพิ่งชงคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment (ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ) โดยระบุถึงผลการดำเนินงานที่ “สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์” และ “ได้รับการยอมรับในระดับสากล” พร้อมกันนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบให้ “ยุติบทบาท” ของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถขับเคลื่อนงานไปได้เองแล้ว ทั้งนี้ “ลวรณ แสงสนิท” ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในเรื่องระบบการชำระเงิน มีผลสำเร็จก็คือ มีระบบพร้อมเพย์ที่มีการลงทะเบียนแล้ว 46.5 ล้านราย และมีปริมาณธุรกรรม 1.1 พันล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5.8 ล้านล้านบาท (ณ ธ.ค. 61) และได้ขยายการใช้บัตร โดยติดตั้งเครื่องรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ไปแล้ว 768,103 เครื่อง ขณะที่เรื่องระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรเพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญยังได้พัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเปิดให้บริการแล้วในปี 2560   ส่วนด้าน e-Payment ภาครัฐ ก็ได้จัดสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแก่ผู้มีรายได้น้อย 14.5 ล้านราย และขยายไปสู่สวัสดิการอื่น ๆ เช่น เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ เป็นต้น รวมถึงกำหนดให้ส่วนราชการ 7,200 หน่วยงาน รับ-จ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด โดยติดตั้งเครื่อง EDC ไปแล้ว 6,807 หน่วยงาน ส่วนการให้ความรู้ และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำโครงการแจกโชคจากการใช้บัตรเดบิต ซึ่งได้มีการจ่ายเงินรางวัลไปทั้งสิ้น 69.9 ล้านบาท ให้กับผู้ได้รับรางวัล จำนวน 8,872 ราย ส่วนอีกเรื่องที่รัฐบาล คสช.พยายาม “ปิดจ็อบ” ให้ได้เช่นกัน ก็คือ การฟื้นฟูกิจการรัฐวิสาหกิจ 7 แห่ง ภายใต้การขับเคลื่อนของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ “ซูเปอร์บอร์ด” ซึ่ง “ประภาศ คงเอียด” ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวในงานสัมมนาผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ (SOE CEO Forum) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า ภาพรวมช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น “ประภาศ” บอกว่า รัฐวิสาหกิจในภาพรวมมีผลดำเนินงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับในอดีต ส่วนรัฐวิสาหกิจ 7 แห่งที่มีปัญหาต้องฟื้นฟูนั้น ที่ผ่านมา คนร.ได้เห็นชอบให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ออกจากแผนฟื้นฟูแล้ว หลังจากสามารถปรับปรุงโครงสร้างทางการเงิน และกระบวนการภายในในการพิจารณาสินเชื่อจนสามารถกลับมามีกำไรได้ “ในปี 2560 ธพว.มีกำไรจากการดำเนินงาน 1,468 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 475 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2556 กว่า 20% รวมทั้ง ธพว.ยังสามารถบริหารจัดการหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ได้ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจาก 37% ในปี 2556 เหลือ 17% ในปี 2560 ส่วนไอแบงก์กลับมามีกำไรจากการดำเนินงานครั้งแรกในรอบ 5 ปีกว่า 531 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 510 ล้านบาท และระดับ NPF ลดลงจาก 44,378 ล้านบาท เหลือ 8,924 ล้านบาท” นายประภาศกล่าว ขณะที่อีก 5 แห่ง แม้ยังไม่ได้ออกจากแผนฟื้นฟู แต่ก็มีการดำเนินงานที่คืบหน้า โดย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะมีการควบรวมกิจการกัน แล้วจัดตั้งบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อให้มีการพัฒนาโครงข่ายในการติดต่อสื่อสารของประเทศอย่างบูรณาการ ลดการลงทุนและการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า การควบรวมกิจการของ 2 รัฐวิสาหกิจนี้จะจบได้ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการนำระบบต่าง ๆ เข้ามาช่วยเสริมการขาย การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ด้าน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้มีการแยกบทบาทการกำกับดูแล (regulator) ออกจาก ขสมก. โดยให้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ทำหน้าที่ดังกล่าว เพื่อให้ ขสมก.สามารถโฟกัสบทบาทการเป็นผู้ประกอบการให้บริการโดยสารได้อย่างเต็มที่ และ ขสมก.สามารถดำเนินการจัดซื้อรถโดยสาร NGV จำนวน 489 คันได้ “การจัดซื้อรถเมล์ NGV คิดว่าคงเสนอได้ทันในรัฐบาลชุดนี้ ขึ้นอยู่กับทางกระทรวงคมนาคม” นายประภาศกล่าว สุดท้าย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งรถไฟทางคู่ 8 เส้นทาง และเส้นทางใหม่ ๆ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าสายสีแดง ได้จัดตั้งบริษัทลูก 2 บริษัท เพื่อบริหารสินทรัพย์ กับเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ตลอดจนวางแผนชำระหนี้ที่มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อพลิกฟื้นกลับมามีกำไรในอนาคต และการปิดบัญชีและสร้างระบบการจัดทำรายงานทางการเงินให้เป็นปัจจุบัน นอกจากนี้ ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ.การพัฒนารัฐวิสาหกิจ ที่จะทำให้ คนร.มีสถานะที่มั่นคงขึ้น ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปแล้ว รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ ก็จะทำให้แผนการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจอีก 5 แห่งที่เหลืออยู่ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ต่อเนื่อง ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนหรือไม่ก็ตาม   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-303662

Person read: 2181

21 March 2019

จี้เก็บภาษีซื้อลูกค้าต่างชาติ 5-30% โปะนโยบายบ้านผู้มีรายได้น้อย-รัฐบาลใหม่ทำได้เลย

3 สมาคมวงการอสังหาฯ ตั้งแท่นข้อเสนอรัฐบาลใหม่ โฟกัสนโยบายบ้านผู้มีรายได้น้อย ขยายบทบาท “มอร์ตเกจฟันด์” เข้ามาค้ำประกันส่วนต่างสินเชื่อที่แบงก์ไม่ปล่อยกู้ สร้างโอกาสซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้มากขึ้น เสนอรื้อเกณฑ์บ้านบีโอไอ แนวราบปรับราคาสูงขึ้นจาก 1.2 ล้าน เป็น 1.8 ล้าน คอนโดฯหดไซซ์เริ่มต้นจาก 28 ตร.ม. เหลือ 25 ตร.ม. ดันราคาขึ้นจาก 1 ล้าน เป็น 1.2 ล้าน “นายกคอนโดฯ” เล่นแรง เสนอเก็บภาษีลูกค้าต่างชาติซื้ออสังหาฯเมืองไทย 5-30% เลียนแบบสิงคโปร์ นำรายได้โปะกองทุนบ้านคนจน   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นับถอยหลังไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม 2562 จากการสำรวจข้อคิดเห็น 3 สมาคมวงการพัฒนาที่ดินเกี่ยวกับนโยบายที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย มองว่า รัฐบาลใหม่ควรมีมาตรการสนับสนุนเพื่อจูงใจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น ตั้งกองทุนค้ำประกันเงินกู้ นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งอยากให้พิจารณาทบทวนนโยบายบ้านผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้สะท้อนกับต้นทุนพัฒนาโครงการที่แท้จริง เนื่องจากตัวนโยบายมีข้อจำกัดทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ เพราะมีต้นทุนแพงส่งผลให้ราคาขายสูงเกินกำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย ทั้งนี้ ทุกรัฐบาลมีนโยบายสร้างบ้านผู้มีรายได้น้อยมาตลอด โดยหนึ่งในข้อเสนอคือการจัดตั้งกองทุนขึ้นมาค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้มีรายได้น้อย ล่าสุด ได้มีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนที่อยู่อาศัยแห่งชาติ วงเงินประเดิม 500 ล้านบาท โดยมีการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นผู้รับผิดชอบในอนาคต กองทุนนี้ควรขยายบทบาทและวงเงินให้กว้างขวางขึ้น โดยเข้าไปสนับสนุนการซื้อที่อยู่อาศัยราคาบ้านผู้มีรายได้น้อยโครงการของเอกชน ส่วนรูปแบบการใช้เงินกองทุน ที่ผ่านมา มีปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อของผู้มีรายได้น้อย โดยสถาบันการเงินหรือแบงก์ปฏิเสธสินเชื่อ หรือให้วงเงินจำกัด เช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท ปกติแบงก์ปล่อย 95% จำนวน 9.5 แสนบาท ผู้ซื้อวางเงินดาวน์ 5 หมื่นบาท แต่แบงก์อาจปล่อยเพียง 8 แสนบาท ทำให้มีส่วนต่างอยู่ 1.5 แสนบาท วิธีการใช้เงินกองทุนให้มาค้ำประกันสินเชื่อ 1.5 แสนบาท ซึ่งเป็นส่วนต่างที่แบงก์ไม่ปล่อยกู้ จากนั้นเมื่อผู้กู้มีการผ่อนชำระจนหมดภาระ 1.5 แสนบาท ก็ให้ถอนการค้ำประกันสินเชื่อออกไป เหลือแต่การผ่อนชำระเงินกู้กับทางแบงก์ “โมเดลนี้เหมือนกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ที่เข้ามาค้ำประกันสินเชื่อในส่วนต่างที่ไม่ได้รับอนุมัติจากแบงก์ คาดหวังว่าเป็นโมเดลที่สร้างโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้มากขึ้น”   ปรับเกณฑ์ “บ้านบีโอไอ” ข้อเสนอต่อมา นายอธิปกล่าวว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ (BOI-Board of Investmemt) กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนเงื่อนไขสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ขอรับการส่งเสริมทำบ้านบีโอไอ ซึ่งเป็นแพ็กเกจเดียวกันกับนโยบายบ้านผู้มีรายได้น้อย โดย 3 สมาคมวงการพัฒนาที่ดินได้ทำข้อเสนอไปแล้วว่าควรปรับปรุงดังนี้ 1.โครงการแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ เกณฑ์บ้านบีโอไอเดิมกำหนดราคาขายไม่เกิน 1.2 ล้านบาท เสนอให้ปรับใหม่เป็นราคาไม่เกิน 1.8 ล้านบาท 2.คอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยแนวสูง เสนอปรับปรุงเงื่อนไข 2 เรื่อง คือ ราคา เดิมกำหนดไม่เกิน 1 ล้านบาท เสนอให้ขยายเพดานราคาเป็นไม่เกิน 1.2 ล้านบาท อีกเรื่องคือขนาดห้องชุด เดิมกำหนดขั้นต่ำ 28 ตารางเมตรขึ้นไป เสนอให้ปรับใหม่เป็นห้องชุด 25 ตารางเมตรขึ้นไป “ที่ผ่านมา รัฐบาลมีสถิติอยู่ในมือแล้วว่าแม้จะมีเกณฑ์บ้านบีโอไอ แต่เงื่อนไขไม่สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง ทำให้บริษัทเอกชนแทบไม่ได้เข้าไปขอรับส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น จังหวะที่มีเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ควรถือโอกาสปรับปรุงบ้านบีโอไอให้สามารถปฏิบัติได้จริง” จี้ทบทวนบ้านประชารัฐ นายอธิปกล่าวถึงโครงการบ้านประชารัฐของรัฐบาล คสช. ด้วยว่า ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโครงการเมื่อปี 2558 ภาคเอกชนมีตัวแทนเข้าไปร่วมประชุมหารือ และได้คัดค้านแนวคิดการทำบ้านผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาลโดยให้เช่าระยะยาว 30 ปี เพราะขัดแย้งกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแบบมีกรรมสิทธิ์เป็นของตนเอง “โมเดลบ้านประชารัฐ ไปทำบนที่ราชพัสดุทำให้ต้องเป็นการขายแบบสิทธิการเช่า แนวทางนี้ไม่ได้ทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีความมั่นคงในชีวิต เป็นเพียงการเปลี่ยนรูปแบบจากการเช่ารายเดือน มาเป็นการเช่ายาวกับรัฐนาน 30 ปีในสัญญาเดียว” โดยโมเดลบ้านประชารัฐในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงกลุ่มเป้าหมายของบ้านประชารัฐไม่ใช่ประชาชน แต่เป็นกลุ่มข้าราชการหรือคนของรัฐ เวลาเกษียณแล้วก็ต้องออกจากบ้านเช่า ในขณะที่บ้านของประชาชนทั่วไปต้องการความมั่นคง เมื่อทำงานจนเกษียณแล้วก็ยังมีบ้านอยู่อาศัย ไม่ใช่ตอนไล่ที่ตอนเกษียณ ที่สำคัญสามารถเก็บเป็นมรดกให้ลูกหลานได้ด้วย “ผมยังยืนยันว่าผู้บริโภคอสังหาฯ ไม่ว่าราคาถูกหรือแพง มีความต้องการเหมือนกันคือซื้อบ้าน-คอนโดฯแล้วได้กรรมสิทธิ์ด้วย ถ้ารัฐบาลยังยืนยันทำต่อก็ไม่ควรใช้ชื่อบ้านประชารัฐ แต่เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเช่าสวัสดิการของรัฐ จะเหมาะสมและตรงกับการใช้จริง ๆ” เกาให้ถูกที่คัน-เงินกู้รายได้น้อย นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีตัวเลขที่น่าแปลกใจคือบ้านผู้มีรายได้น้อยในปี 2560 ก่อนจะมีมาตรการบ้านล้านหลัง สถิติประเภทบ้านมือสองมี 7,000 หลังจาก 10,000 หลัง แต่หลังจากมีมาตรการบ้านล้านหลังที่มีการแสดงความจำนงขอยื่นกู้ถึง 1.13 แสนล้านบาท ซึ่งยอดจองสิทธิ์ขอสินเชื่อมีสูงกว่าจำนวนหลังหลายเท่าตัว “ประเด็นคือดีเวลอปเปอร์เอาไปทำเขาบอกว่าเขาขายไม่หมดหรือขายไปก็โอนไม่ได้เพราะกู้ไม่ผ่าน แต่ว่าบ้านล้านหลังแสดงความจำนงเข้าไปก่อนแล้วตรวจเครดิตเลย ถ้าเครดิตผ่านถึงจะไปหาบ้านให้ เชื่อว่าคอนเซ็ปต์นี้จะผลักดันต่อไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลไหน” นายพรนริศกล่าวว่า ปัจจุบันบ้านราคาถูกกระจุกตัวอยู่โซนปทุมธานีเยอะ คอนเซ็ปต์เมืองเหมือนไข่ดาว พอไข่แดงถูกรัดด้วยราคาที่ดินแพงจนต้องสร้างคอนโดฯขาย คนรายได้กลาง-ล่างก็ถูกผลักออกไปอยู่ทำเลรอบนอก ในขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี ที่ดินราคาแพง กฎหมายผังเมืองก็ขออนุญาตจัดสรรใหม่ไม่ได้แล้ว ทำให้ไปกระจุกตัวบนทำเลปทุมธานี “มีตัวอย่าง ดีเวลอปเปอร์บางรายทำโครงการย่านรังสิต คลอง 1 ราคา 6-7 แสนบาท ห้องชุดเดียวกันยื่นกู้ 5 ครั้งแต่กู้ไม่ผ่าน โอนไม่ได้ เพราะฉะนั้นก่อนที่รัฐจะออกมาตรการบ้านราคาถูกควรไปคุยกับแบงก์พาณิชย์ก่อนเรื่องความเข้มข้นในการให้สินเชื่อ มา 10 คน แต่ปฏิเสธ 5 คน มันก็โอนไม่ได้ ดีเวลอปเปอร์ก็เลยหันไปทำของแพงเพราะไม่มีปัญหาการขอสินเชื่อ” เสนอเก็บภาษีลูกค้าต่างชาติ ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่ เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ฐานพีระมิดสามเหลี่ยมของประชากรไทย ที่อยู่อาศัยข้างล่างเป็นฐานที่ใหญ่มาก คือ ระดับราคา 2 ล้านบาทลงมา ฉะนั้นยังคงเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคอยากได้เป็นอันดับหนึ่งอยู่ ในกรณีของนโยบายบ้านผู้มีรายได้น้อย มีข้อเสนอแนะรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ 2 เรื่อง 1.การลงทุนบ้านผู้มีรายได้น้อยโดยหน่วยงานรัฐ ในทางปฏิบัติมีการนำงบประมาณแผ่นดินมาอุดหนุน จึงเสนอให้ทบทวนเรื่องภาษีซื้อคอนโดฯของลูกค้าต่างชาติ ซึ่งเป็นโมเดลการเก็บภาษีในต่างประเทศทั่วโลก ข้อเสนอให้ใช้โมเดลประเทศสิงคโปร์ ที่มีการเก็บภาษีซื้ออสังหาริมทรัพย์จากลูกค้าต่างชาติ 5-30% จากนั้นนำเงินภาษีตัวนี้ไปเข้ากองทุนเพื่อสนับสนุนนโยบายบ้านผู้มีรายได้น้อย เท่ากับลดภาระเงินแผ่นดิน 2.ออกมาตรการช่วยลดภาระต้นทุนพัฒนาโครงการบ้านผู้มีรายได้น้อยให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่ ค่าโอน 2% ค่าภาษีธุรกิจ 3.3% และค่าจดจำนอง 1% ซึ่งปัจจุบันการโอนที่อยู่อาศัยใช้อัตราเดียวกับอาคารพาณิชย์ สำนักงาน โรงงาน ที่ดินเปล่า ข้อเสนอคือควรลดภาระในการโอนที่อยู่อาศัยให้มีอัตราต่ำกว่าเหลือ 4-5% จากปัจจุบันอยู่ที่ 6.3% เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำต้นทุนที่ต่ำลงมาลดราคาบ้านให้ผู้มีรายได้น้อย   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-303572

Person read: 2123

21 March 2019

“ทองหล่อ-เอกมัย”เดือดทุนไทย-เทศแข่งลงทุนใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้มีสารพัดปัจจัยลบรุมเร้าในปี 2562 อย่างไรก็ตาม ดีเวลอปเปอร์ยังคงมีการแข่งขันเปิดตัวในโซนฮอตอย่าง “ทองหล่อ-เอกมัย” โดยปรับโมเดลการขายหันมาเจาะลูกค้าซื้อลงทุนมากขึ้น ปี”61 ทุบสถิตินิวไฮรอบ 10 ปี นายภัทรชัย ทวีวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ตลาดคอนโดมิเนียมทำเลทองหล่อ-เอกมัย พบว่าสถิติปี 2561 มีการเปิดตัวใหม่ 9 โครงการ 3,866 หน่วย มูลค่ารวม 29,570 ล้านบาท ถือว่ามากที่สุดในช่วง 10 ปี การแข่งขันมาจากบิ๊กแบรนด์ ได้แก่ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท พัฒนาโครงการแชปเตอร์ฯ ทองหล่อ 25, บมจ.แสนสิริ พัฒนาโครงการเอ็กซ์ที เอกมัย, บจ.Sankyo Home (Thailand) เปิดขายเดอะ ฟายน์ แบงค็อค หลังปิดการขายคอนโดฯย่านสุขุมวิท 64 บมจ.เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ พัฒนาปีติ เอกมัย, บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ พัฒนาพาร์ค ออริจิ้น ทองหล่อ, บมจ.วัน ซิก ดีเวลลอปเม้นท์ฯ หลานเจ้าสัว ซี.พี. พัฒนาเดอะ สแตนด์ ทองหล่อ, บจก.เรียลแอสเสทฯ พัฒนาเอสทีค ทองหล่อ และ บมจ.ชีวาทัย พัฒนาชีวาทัย เรสซิเดนซ์ ทองหล่อ ในปี 2562 ยังมีผู้ประกอบการหลายรายเตรียมตัวเปิดโครงการใหม่ โดยช่วงต้นปี บมจ.แชงกรี-ลา โฮเต็ล (SHANG) ซื้อที่ดิน 23 แปลง เนื้อที่รวมกัน 657.5 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง 6 หลัง ในซอยทองหล่อ จากผู้ขายคือ บริษัท ศรีวิว อินเตอร์แนชชั่นแนล์ จำกัด มูลค่าไม่เกิน 1.89 พันล้านบาท ถือเป็นราคาที่ดินซื้อขายกันสูงที่สุดของทำเล ภัทรชัย ทวีวงศ์ ในภาพรวมราคาที่ดินทองหล่อปรับขึ้น 15% ส่งผลต่อราคาคอนโดฯเปิดขายใหม่ปรับขึ้น 10% สูงกว่าราคาขายเฉลี่ยในปี 2560 ที่ปรับขึ้น 8.2% ภาวะราคาที่ดินทองหล่อ บางแปลงซื้อขายสูงกว่า 2.86 ล้านบาท/ตารางวา แปลงที่ไม่สามารถทำตึกสูงได้ราคา 5-8 แสนบาท/ตารางวา ที่ดินติดถนนทำตึกสูงได้ย่านเอกมัยราคาขยับไปถึง 6 แสน-1 ล้านบาท/ตารางวา   ทุนสิงคโปร์ผุดคอนโดฯ 60 ชั้น นายภัทรชัยกล่าวว่า ปี 2562 มีหลายรายเตรียมที่ดินอย่างคึกคัก อาทิ บมจ.ริชี่เพลซ 2002, กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค และแกรนด์ แอสเสทฯ ร่วมทุนกับซูมิโตโม ฟอเรสทรีของญี่ปุ่น เปิดโครงการ “Hyde Heritage ทองหล่อ” เงินลงทุน 4,514 ล้านบาท บนพื้นที่ 2.5 ไร่ ริมถนนสุขุมวิทระหว่างสถานีบีทีเอสทองหล่อ-เอกมัย ห่างสถานีทองหล่อ 350 เมตร สูง 38 ชั้น 400 ยูนิต กำหนดเปิดตัวและเริ่มก่อสร้างปีนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ร่วมทุนกับญี่ปุ่น คือ กลุ่ม Hoosiers และ JR Railway kyushu เตรียมพัฒนา 3 โครงการ คือ Impression Ekkamai, Impression Thonglor 12, Impression Thonglor 16, บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ มีแผนพัฒนาคอนโดฯย่านทองหล่ออีก 1 โครงการบมจ.เอสซี แอสเสทฯ วางแผนเปิดตัว SCOPE Thonglor บนที่ดิน 1 ไร่ สูง 30 ชั้น 101 ยูนิต, บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) ร่วมทุนกับ Mitsubishi Estate คว้าที่ดินปากซอยเอกมัย เตรียมเปิดตัวแบรนด์ Rhythm Ekkamai Estate 303 ยูนิต มูลค่า 3,200 ล้านบาท หลังจากประสบความสำเร็จจากโครงการก่อนหน้าที่สามารถปิดการขาย 1 วัน บริษัท เรชา เอสเตท จำกัด ดึงกลุ่มสิงคโปร์ร่วมทุนโครงการ 991 สุขุมวิท ทองหล่อ สูงที่สุดในย่านทองหล่อ-เอกมัยอยู่ที่ 60 ชั้น, บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และ บจ.ฮาบิแทท กรุ๊ป ก็คว้าที่ดินในซอยสุขุมวิท 59 เตรียมพัฒนาคอนโดฯ, บมจ.ไรมอน แลนด์ และ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จับจองที่ดินในซอยสุขุมวิท 38 เตรียมพัฒนาคอนโดมิเนียมระดับบนเช่นเดียวกัน “มีห้องชุดอีก 3,000 ยูนิตเปิดขายใหม่ มูลค่า 20,000 ล้านบาท ตลาดจะมีการแข่งขันที่ดุเดือดเป็นอย่างมากในปีนี้” ห้องชุด 10 ล้านขายดีจัด ในภาพรวมมีคอนโดฯอยู่ระหว่างขาย 19 โครงการ รวม 5,757 ยูนิต มูลค่ารวม 63,896 ล้านบาท ขายแล้ว 4,036 ยูนิต สัดส่วน 70% เหลือขาย 1,712 หน่วย หรือ 30% อัตราขายของทองหล่อ 71.8% 2,528 ยูนิต จากทั้งหมด 3,521 ยูนิต เหลือขาย 993 หน่วย สัดส่วน 28.2% โซนเอกมัยมีอัตราขาย 67.4% 1,508 ยูนิต จาก 2,236 ยูนิต เหลือขาย 32.6% 728 ยูนิต รูปแบบเป็นห้องชุด 1 ห้องนอนมากที่สุด 3,678 ยูนิต สัดส่วน 63.9% แบบ 2 ห้องนอน 1,674 ยูนิต 29.1% และ 3 ห้องนอน 203 ยูนิต 3.5% และพบว่าห้องชุดสตูดิโอขายได้มากที่สุด 82.7% มีซัพพลายแค่ 202 ยูนิต รองลงมาแบบ 2 ห้องนอน 70.5% และแบบ 3 ห้องนอนขึ้นไป 69.5% ในด้านราคาพบว่าเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไปมากที่สุด 2,793 ยูนิต สัดส่วน 48% มีอัตราขาย 73% 2,027 ยูนิต, รองลงมา 5-7.5 ล้านบาท 1,447 ยูนิต 25.1%, ราคา 7.5-10 ล้านบาท 1,327 ยูนิต 23.0% มีอัตราขายได้ 71% และราคา 3-5 ล้านบาท มีอัตราขายได้ 67% ราคารีเซลพุ่ง 30% ส่วนราคาเฉลี่ยแบ่งตามความสูง ดังนี้ ห้องชุดไฮไรส์เฉลี่ยทองหล่อ-เอกมัยอยู่ที่ 1.6 แสนบาท/ตารางเมตร โดยย่านทองหล่อ 2.42-3.5 แสนบาท/ตารางเมตร เทียบกับย่านเอกมัยราคาเฉลี่ยช่วงเอกมัยตอนต้น 1.7-2 แสนบาท/ตารางเมตร ช่วงเอกมัยตอนปลายค่อนไปทางถนนเพชรบุรีเฉลี่ย 1.35-1.7 แสนบาท/ตารางเมตร โดยห้องชุดโลว์ไรส์ย่านเอกมัยเฉลี่ย 1.1 แสนบาท/ตารางเมตร คาดว่าปีนี้ขยับราคาเฉลี่ย 1.5 แสนบาท/ตารางเมตรเทียบกับทองหล่อ 1.5-2.5 แสนบาท/ตารางเมตร “แนวโน้มปีนี้คอนโดฯย่านเอกมัย-ทองหล่อมีราคารีเซลปรับขึ้น 30% จากราคาขายเดิม เป็นทำเลที่ให้ผลตอบแทนการเช่าค่อนข้างสูง กลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นนิยมพักอาศัยเป็นจำนวนมาก” นายภัทรชัยกล่าว ริชี่ฯ-ออลล์ อินสไปร์ฯชนสนั่น ดร.อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ริชี่เพลซ 2002 หรือ RICHY เปิดเผยว่า บริษัทเปิดตัวคอนโดมิเนียมแบรนด์ “เดอะริช@เอกมัย” บนที่ดินรวม 1-3-67 ไร่ ถนนเอกมัย (สุขุมวิท 63) ออกแบบเป็นห้องชุดไฮไรส์สูง 37 ชั้น 487 ยูนิต ร้านค้า 1 ยูนิต มูลค่าโครงการ 3,400 ล้านบาท เฉลี่ย 1.78 แสนบาท/ตารางเมตร กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเจาะลูกค้าคนไทย 70% ลูกค้าต่างชาติ 30% ในจำนวนนี้ประเมินว่าลูกค้าซื้อลงทุนมีสัดส่วน 60% ซื้ออยู่เอง 40% มีให้เลือก 1-3 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอย 28-60 ตารางเมตร เริ่ม 4.79-10 กว่าล้านบาท/ยูนิต “เดอะริช เอกมัยเปิดตัวด้วยราคาเฉลี่ย 1.78 แสน/ตารางเมตร ทำให้มั่นใจว่าจะมีผลตอบรับที่ดีเพราะต่ำกว่าราคาตลาด” นายธนากร ธนวริทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า ออลล์ อินสไปร์ฯร่วมทุนพัฒนาคอนโดมิเนียมกับฮูซิเออร์ส โฮลดิ้งส์ (Hoosiers Holdings) และคิวชู เรลเวย์ คัมปะนี (Kyu Railway Company) เปิดขายคอนโดฯเจาะตลาดลักเซอรี่แบรนด์ใหม่ “อิมเพรสชั่น เอกมัย” รายละเอียดสร้างบนเนื้อที่ 2-3-3.9 ไร่ ห้องชุดไฮไรส์ 25 ชั้น กับ 43 ชั้น ที่จอดรถ 83% จำนวน 380 ยูนิต ห้องชุดแบบ 2 ห้องนอน ราคาเริ่มต้น 7.9 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 4,800 ล้านบาท นายธนากรชี้ให้เห็นว่า ซัพพลายที่ขาดหายไปในทำเลคือห้องชุด 45-74 ตารางเมตร ในขณะที่ผลตอบแทนค่าเช่าสูงมาก จึงแบ่งสัดส่วน 68% เป็นห้องนอน 1 นอนพลัสไซซ์ 45 ตารางเมตร กับแบบ 2 นอนไซซ์ 47-76 ตารางเมตร วางแผนสิ้นปีมียอดพรีเซล 60% “อิมเพรสชั่น เอกมัย วางแผนขายลูกค้าต่างชาติ 30-40% จุดเด่นทำเลมีดีมานด์หลายชาติ ไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ โดยไม่ได้พึ่งพิงลูกค้าจีนเหมือนกับทำเลโซนพระรามเก้า รัชดาฯ”   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-303695

Person read: 2236

21 March 2019

AREA เปิดโพยที่ดินติดรถไฟฟ้าสายสีส้ม “สถานีศูนย์วัฒนฯ” แพงสุดวาละ 8.5 แสน ถูกสุด 1.2 แสนอยู่สถานี “มีนพัฒนา-เคหะราม-สุวินทวงศ์”

AREA เปิดโพยที่ดินติดรถไฟฟ้าสายสีส้ม “สถานีศูนย์วัฒนฯ” แพงสุดวาละ 8.5 แสน ถูกสุด 1.2 แสนอยู่สถานี “มีนพัฒนา-เคหะราม-สุวินทวงศ์” ราคาที่ดินติดสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม แพงสุดอยู่ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ตารางวาละ 850,000 สูงสุด และต่ำสุดอยู่ที่สถานีรถไฟฟ้ามีนพัฒนา สถานีเคหะรามคำแหง และสถานีสุวินทวงศ์ ตารางวาละ 120,00 บาท ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) เปิดเผยว่า ราคาที่ดินทำเลติดถนนสายหลักรอบสถานีรถไฟฟ้าระยะไม่เกิน 500 เมตร มีราคาสูงกว่าที่ดินทั่วไป โดย “สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ” ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างสถานี รฟม.กับสถานีสายสีส้ม มีราคาสูงสุดในขณะนี้คือตารางวาละ 850,000 บาท เพราะมีศักยภาพสูง   รองลงมา “สถานี รฟม.” บนถนนพระราม 9 อยู่ที่ 400,000 บาท/ตารางวา และสถานีแยกตัดประดิษฐมนูธรรมตารางวาละ 350,000 บาท ถัดมา ถนนรามคำแหงช่วงต้นถึงแยกลำสาลี 4 สถานีมีราคาเท่ากัน ได้แก่ “สถานีรามคำแหง 12-สถานีรัชมังคลา-สถานีหัวหมาก-สถานีลำสาลี” 280,000 บาท/ตารางวา เพราะความเจริญเชื่อมต่อกันตามถนนรามคำแหงนี้ ภาวะราคาที่ดินช่วงเลยแยกลำสาลี ราคาเริ่มลดลง บนถนนรามคำแหงใกล้ “สถานีศรีบูรพา-สถานีคลองบ้านม้า-สถานีสัมมากร” มีราคาเท่ากัน 200,000 บาท/ตารางวา และราคาที่ดินลดเหลือตารางวาละ 150,000 บาทเมื่อถึง “สถานีน้อมเกล้า-สถานีราษฎร์พัฒนา” ซึ่งตั้งอยู่ถัดไป ส่วนราคาที่ดินต่ำสุดคือ ตารางวาละ 120,000 บาท ตั้งอยู่ 2 สถานีถัดไป คือ “สถานีมีนพัฒนา-สถานีเคหะรามคำแหง” ในขณะที่ “สถานีมีนบุรี” ซึ่งเป็นย่านชุมชนอยู่แล้ว ราคาที่ดินเพิ่มเป็น 160,000 บาท/ตารางวา และลดเหลือ 120,000 บาท/ตารางวา เมื่อถึงสถานีปลายทางคือ “สถานีสุวินทวงศ์” ดร.โสภณกล่าวว่า สำหรับราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า แต่ไม่ได้เกินรัศมีระยะห่าง 500 เมตรมีราคา ดังนี้ 1. กรณีอยู่ระหว่าง 2 สถานี ก็อาจเป็นราคาเฉลี่ยระหว่างสถานี 2.ทำเลห่างเกินรัศมี 500 เมตร เช่น สถานีสุวินทวงศ์ ราคาที่ดินน่าจะปรับลง 15-20% จากราคาทำเลอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม เมื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างจริงจัง แนวโน้มทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-303402

Person read: 2218

21 March 2019

จัดพอร์ตแลนด์แบงก์ 9 หมื่น ล. “อรรถกระวี” แห่ผุดรีเทลรับภาษีที่ดิน

“อรรถกระวีสุนทร” เร่งบริหารพอร์ตที่ดิน 9 หมื่นล้านบาทรับมือภาษี เดินหน้าผุดคอมมิวนิตี้มอลล์-จุดพักรถ-สวนเกษตร เตรียมเปิดตัว “แบมบีนี่ วิลล่า” ย่านสุขุมวิท 26 ชูคอนเซ็ปต์บ้านหลังที่ 2 หวังเจาะกลุ่มครอบครัวมีลูกเล็ก   นางณพวงศ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการบริหาร บริษัท อรรถกระวี จำกัด ผู้บริหารคอมมิวนิตี้มอลล์ ตลาด อาคารสำนักงาน และคอนโดฯย่านพระราม 4 สุขุมวิท 26 และพระราม 9 อาทิ เอ สแควร์ สวนเพลินมาร์เก็ต แวร์เฮาส์ 26 และอื่น ๆ กล่าวถึงทิศทางของบริษัทและธุรกิจคอมมิวนิตี้มอลล์ปีนี้ว่า กฎหมายภาษีที่ดินฯซึ่งจะบังคับใช้ ผลักดันให้ต้องรีบจัดพอร์ตที่ดินของตระกูลอรรถกระวีสุนทรมูลค่ารวมกว่า 9 หมื่นล้านบาท ทั้งย่านซีบีดี บางปู บางกะเจ้า รวมถึงต่างจังหวัดอย่างหาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาไปเพียง 40% ของพื้นที่รวม สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่อาจแบ่งขายบางส่วนเพื่อเร่งการพัฒนาในย่านนั้น ๆ ส่วนพื้นที่ย่านกลางเมืองจะพัฒนาในเชิงธุรกิจ เช่น ประดิษฐ์มนูธรรม-พระรามเก้า พัฒนาเป็นที่พักรถ มีปั๊มน้ำมัน ร้านอาหารและร้านค้า ส่วนย่านประชาอุทิศอยู่ระหว่างศึกษา ในขณะที่บางพื้นที่อย่างบางปูและบางกระเจ้าบางส่วนจะพัฒนาในรูปแบบเพื่อสังคม เช่น สวนเกษตรเพื่อการศึกษา และต่อยอดด้านค้าปลีกเพิ่มเติมในอนาคต ด้วยโมเดลคอมมิวนิตี้มอลล์ที่ประสบความสำเร็จในย่านกลางเมือง อาทิ โมเดล “เอ สแควร์” ที่ใช้การร่วมลงทุน-พัฒนาโดยบริษัทสร้างพื้นที่ส่วนกลางและระบบสาธารณูปโภค ส่วนผู้เช่าสร้างอาคารของตนเอง หรือโมเดลล่าสุด “แบมบีนี่ วิลล่า” คอมมิวนิตี้มอลล์สำหรับกลุ่มครอบครัวที่มีเด็กเล็กโดยเฉพาะ โดย “แบมบีนี่ วิลล่า” ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง ด้วยทุน 150 ล้านบาทบนพื้นที่ 2.5 ไร่ ใกล้โครงการเอ สแควร์ สุขุมวิท 26 มีกำหนดเปิดตัวช่วงเดือน มิ.ย.นี้ มีบริษัท วงศ์กุลศรา เอสเตท จำกัด เป็นผู้ลงทุนและบริหาร ชูจุดขายด้านการเป็นบ้านหลังที่ 2 ให้ครอบครัวใช้เวลาร่วมกัน ด้วยไลน์อัพผู้เช่ากว่า 30 รายที่เป็นกลุ่มโรงเรียนเสริมทักษะ ร้านเสริมสวยสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ร้านอาหารแนวครอบครัว รวมถึงโซนกิจกรรม อาทิ สนามเด็กเล่น แปลงผัก พื้นที่จัดเวิร์กช็อป ไปจนถึงการออกแบบและตกแต่งเน้นแสงธรรมชาติและธีมสีขาว ตอบโจทย์ครอบครัวระดับ B+ รายได้ 4 หมื่นบาทขึ้นไป ซึ่งต้องการพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน “ปัจจุบันคอมมิวนิตี้มอลล์มีการแข่งขันสูงจากผู้เล่นจำนวนมาก จึงต้องรับมือด้วยกลยุทธ์เซ็กเมนเทชั่น มุ่งจับลูกค้าเฉพาะกลุ่มอย่างชัดเจน ซึ่งครอบครัวที่มีเด็กเล็กเป็นเซ็กเมนต์ที่ยังไม่มีผู้เล่นอื่น แต่มีดีมานด์สูง โดยเฉพาะในย่านสุขุมวิท 26 ที่มีคอนโดฯและโรงเรียนอนุบาลนานาชาติหลายแห่ง” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/marketing/news-303595

Person read: 2221

21 March 2019

กระอัก!ค่าเดินทางพุ่ง “โทลล์เวย์/วงแหวนใต้” ขึ้นอีก15บาท

คนกรุงกระอักค่าเดินทางพุ่งกระฉูด ดีเดย์ 22 ธ.ค. โทลล์เวย์ขึ้นอีก 15 บาท ตลอดสาย 115 บาท กรมทางฯเลิกใช้ฟรี สายกาญจนาภิเษก “พระประแดง-บางขุนเทียน” 14.5 กม. ประกาศ 20 พ.ค.เก็บ 15 บาท ฟาก BEM ตรึงค่าทางด่วนในเมือง 50 บาทอีก 10 ปี แลกต่อสัมปทาน กทม.อั้นไม่ไหวเขย่าค่าตั๋วรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายใหม่ คิดตามระยะทาง 15-21 บาท เริ่ม 16 เม.ย.ขานรับเปิด “แบริ่ง-สมุทรปราการ” กระทบบีทีเอสทั้งระบบจ่ายเต็ม 65 บาท นายสมบัติ พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง หรือโทลล์เวย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า วันที่ 22 ธ.ค.2562 จะปรับค่าผ่านทางโทลล์เวย์อีก 15 บาทช่วงดินแดง-ดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน ที่บริษัทรับสัมปทานจากกรมทางหลวง (ทล.) ตามสัญญาให้ปรับทุก 5 ปี จนหมดอายุสัญญา 12 ก.ย. 2577 22 ธ.ค.จ่ายโทลล์เวย์ 115 บาท  ส่งผลให้อัตราใหม่ที่จะประกาศใช้ 22 ธ.ค. 2562-22 ธ.ค. 2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง รถ 4 ล้อ เป็น 80 บาทรถมากกว่า 4 ล้อ เป็น 110 บาท ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 30 บาทเป็น 35 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 40 บาท เป็น 45 บาทตลอดทั้งเส้นทาง รถ 4 ล้อ จาก 100 บาทเป็น 115 บาทรถมากกว่า 4 ล้อ จาก 140 บาท เป็น 155 บาท “การปรับราคาเป็นไปตามสัญญา ก่อนปรับจะแจ้งให้กรมทางหลวงทราบล่วงหน้า ถ้าไม่ทำตามจะมีข้อพิพาทเหมือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ สัมปทานที่เหลือ 15 ปี จะปรับได้อีก 2 ครั้งๆ ละ 15 บาท เป็นการปรับแบบอัตราคงที่ ไม่ได้คิดตามดัชนีผู้บริโภค หรือ CPI เหมือนทางด่วน” นายสมบัติกล่าวและว่า สัญญาเปิดช่องขยับอีก 2 ครั้ง  ซึ่งครั้งต่อไปจะครบกำหนดวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง รถ 4 ล้อปรับจาก 80 บาท เป็น 90 บาท มากกว่า4 ล้อ จาก 110 บาท เป็น 120 บาทดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน 4 ล้อ ปรับจาก35 บาท เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อจาก 45 บาท เป็น 50 บาท และครั้งสุดท้าย จะปรับขึ้นในวันที่ 22 ธ.ค.2572 จนสิ้นสุดอายุสัมปทาน ช่วงดินแดง-ดอนเมือง รถ 4 ล้อ จาก 90 บาทเป็น 100 บาทมากกว่า 4 ล้อ จาก120 บาท เป็น 130 บาท ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน รถ 4 ล้อ จาก 40 บาท เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 50 บาท เป็น 55 บาท “ช่วงแรกที่ขึ้นราคา อาจทำให้ผู้ใช้บริการลดน้อยลง แต่เป็นช่วงระยะสั้น ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการประมาณ 8 หมื่นเที่ยวคันต่อวัน มีรายได้ค่าผ่านทางวันละ 9 ล้านบาท เติบโตปีละ 2-3% ตอนนี้บริษัทมีรายได้รวมปีละ 4,000 ล้านบาท”   พ.ค.ใช้วงแหวนใต้เก็บ 15 บาท  แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงกล่าวเพิ่มเติมว่า เร็ว ๆ นี้กรมจะรายงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับสัมปทานโครงการ มีนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นประธาน รับทราบถึงการปรับค่าผ่านทางโทลล์เวย์ที่จะครบกำหนด 22 ธ.ค.นี้ เพื่อเตรียมประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ทางรับทราบต่อไป นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) กล่าวว่า กรมอยู่ระหว่างขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) จัดเก็บค่าผ่านทางถนนกาญจนาภิเษกตอนพระประแดง-บางแค ช่วงพระประแดง-ต่างระดับบางขุนเทียน ระยะทาง 14.5 กม. ที่ปัจจุบันเปิดใช้ฟรีโดยรถ 4 ล้อ เก็บ 15 บาท รถ 6 ล้อ 25 บาทรถมากกว่า 6 ล้อ 35 บาท คาดเริ่มเก็บได้วันที่ 20 พ.ค.นี้ โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะเป็นผู้จัดเก็บให้ เนื่องจากต่อเชื่อมกับทางด่วนสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ตรึงราคาด่วนขั้นที่ 1-2 ถึงปี”71 นายสุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์ ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยว่า ทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ตามสัญญาที่ทำร่วมกับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) จะต้องปรับขึ้นทุก 5 ปี ซึ่งครบกำหนดขึ้นครั้งสุดท้าย 1 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุด 28 ก.พ. 2563 แต่เมื่อคำนวณซึ่งอ้างอิงดัชนีผู้บริโภคแล้วไม่ถึงจึงไม่ปรับขึ้น ค่าผ่านทางคงเดิม 50 บาท “กทพ.กำลังเจรจากับ BEM ยุติข้อพิพาทต่าง ๆ ที่คิดมูลค่า 137,517 ล้านบาท โดยนำเรื่องต่ออายุสัมปทานทางด่วนทุกโครงข่ายที่ BEM รับสัมปทานทั้งทางด่วนขั้นที่ 2 รวมส่วน D ช่วงพระราม 9-ศรีนครินทร์ และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ให้สิ้นสุดพร้อมกันในปี 2600 พิจารณาด้วย ซึ่งได้ปรับสูตรการขึ้นค่าผ่านทางใหม่ เป็นอัตราคงที่ 10 บาท ปรับทุก 10 ปี จากเดิมปรับตามดัชนีผู้บริโภคและปรับทุก 5 ปี ถ้าได้รับอนุมัติเท่ากับว่าค่าผ่านทางด่วนขั้นที่ 1-2จะเก็บ 50 บาท ไปถึงปี 2571” ขึ้น 5 บาทด่วนบางนา-บางปะกง  อย่างไรก็ตาม เมื่อ 1 ก.ย. 2561 มีทางด่วน 2 สายที่ กทพ.ปรับขึ้น 5 บาท คือทางด่วนบางพลี-สุขสวัสดิ์ เฉพาะรถมากกว่า 6 ล้อ ใน 3 ด่าน ได้แก่ 1.ด่านบางครุ-บางเมือง 2.ด่านบางครุ-เทพารักษ์ 3.ด่านบางครุ-บางแก้ว และทางด่วนบางนา-ชลบุรี ปรับขึ้นรถทุกประเภท 11 ด่าน ได้แก่ 1.ด่านบางนา กม.6-บางเสาธง 2.ด่านบางนา กม.6-บางสมัคร 3.ด่านบางนา กม.6-บางปะกง 1 4.ด่านบางนา กม.6-ชลบุรี 5.ด่านวงแหวนรอบนอก (บางแก้ว)-บางสมัคร 6.ด่านวงแหวนรอบนอก (บางแก้ว)-บางปะกง 1 7.ด่านวงแหวนรอบนอก (บางแก้ว)-ชลบุรี 8.ด่านบางพลี 2-บางพลีน้อย 9.ด่านบางพลี 2-บางปะกง 1 10.ด่านสุวรรณภูมิ 2-บางสมัค และ 11.ด่านสุวรรณภูมิ 2-ชลบุรี สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และบางนา-ชลบุรี เก็บตามระยะทาง สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ รถ 4 ล้อ เก็บค่าแรกเข้า 20 บาท จากนั้นคิดเพิ่ม 1 บาท/กม. รถ 6-10 ล้อค่าแรกเข้า 40 บาท เก็บเพิ่ม 2 บาท/กม. รถมากกว่า 10 ล้อ ค่าแรกเข้า 60 บาท เก็บเพิ่ม 3 บาท/กม. ส่วนสายบางนา-ชลบุรี สำหรับ 20 กม.แรก รถ 4 ล้อ เก็บ 20 บาท จากนั้นคิดเพิ่ม 1.20 บาท/กม. รถ 6-10 ล้อ เก็บ 45 บาท เพิ่ม กม.ละ 2.40 บาท รถมากกว่า 10 ล้อ เก็บ 70 บาท เพิ่ม กม.ละ 3.60 บาท “ปัจจุบันมีปริมาณรถบนทางด่วนวันละกว่า 1.9 ล้านคัน แยกเป็น ทางด่วนขั้นที่ 1 จำนวน 372,163 คัน ด่วนขั้นที่ 2จำนวน 717,595 คัน รามอินทรา-อาจณรงค์ 239,256 คัน บางนา-ชลบุรี 160,269 คัน บางปะอิน-ปากเกร็ด 94,207 คันบางพลี-สุขสวัสดิ์ 266,717 คันศรีรัช-วงแหวนตะวันตก 59,218 คัน” นายสุชาติกล่าว นั่ง BTS จ่ายสูงสุด 65 บาท  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนของรถไฟฟ้า กรุงเทพมหานคร (กทม.) จะปรับโครงสร้างอัตราค่าโดยสารบีทีเอสส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง และวงเวียนใหญ่-บางหว้าใหม่ จาก 15 บาทตลอดสาย เป็นเก็บตามระยะทาง เริ่มที่ 15-21 บาท หรือปรับขึ้น 6 บาท วันที่ 16 เม.ย.นี้ พร้อมเปิดส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการเต็มรูปแบบ ปัจจุบันใช้ฟรี เมื่อเชื่อมเส้นทาง 23.5 กม.หมอชิต-อ่อนนุช (สายสุขุมวิท) และสนามกีฬา-สะพานตากสิน (สายสีลม) ที่เป็นสัมปทานของ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC ซึ่งเก็บค่าโดยสาร 16-44 บาททำให้ผู้ใช้บีทีเอสเสียค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท ใช้บัตรแรบบิทลด 1 บาท  นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าวว่า ปัจจุบันบีทีเอสจัดโปรโมชั่นให้ผู้ถือบัตรแรบบิท เมื่อเติมเงินจะลดให้ 1 บาท/เที่ยว จาก 16-44 บาทเป็น 15-43 บาท สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.นี้ และร่วมกับแรบบิทไลน์เพย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทยพัฒนาระบบชำระบัตรโดยสารด้วยคิวอาร์โค้ดเพย์เมนต์ เมื่อชำระผ่านแรบบิทไลน์เพย์และแอปโมบายแบงกิ้งธนาคารกรุงเทพ ได้เงินคืน 5 บาทถึง31 มี.ค. ผ่านแอปโมบายแบงกิ้งธนาคารกสิกรไทย รับเงินคืน 5 บาทถึง 30 เม.ย.นี้ อยู่ระหว่างพิจารณาอาจจะขยายโปรโมชั่นออกไปอีก เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ปัจจุบันอยู่ที่ 8-9 แสนเที่ยวคน/วัน ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับรถไฟฟ้าใต้ดินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ มี BEM รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามสัญญาปรับขึ้นทุก 2 ปี ตามค่าดัชนีผู้บริโภคทุกวันที่ 3 ก.ค.ของปี แต่ครั้งล่าสุดมีการเลื่อนเป็นวันที่ 1 ธ.ค. 2561 เมื่อคำนวณแล้ว ค่าโดยสารโดยรวมยังคงเดิม 16-42 บาท แต่มี 3 สถานีที่ปรับขึ้น 1 บาท สถานีที่ 5, 8, 11 นับจากสถานีที่เริ่มเดินทาง จะครบกำหนดปรับอีกครั้งในปี 2563   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-302350

Person read: 2153

16 March 2019

ปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข 5 ทศวรรษ “ซีวิล” จากรับเหมาถนนสู่เมกะโปรเจ็กต์ วันที่ 16 March 2019 - 08:39 น. FacebookTwitterGoogle+LINE

สัมภาษณ์ จากรับเหมางานถนน “บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด” กลายเป็นม้านอกสายตาที่ปาดหน้าพี่เบิ้มของวงการ คว้างานมหากาพย์ที่คนทั้งประเทศจับตามองกับโปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุนกว่า 179,412 ล้านบาท โดยเป็นผู้รับเหมาไทยรายแรกได้สัญญาการก่อสร้างงานโยธาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. กดราคาเหลือ 3,114.98 ล้านบาท จากราคากลาง 3,350.47 ล้านบาท “เราภูมิใจอย่างมากที่ได้รับโอกาสในการก่อสร้างงานโยธาของโครงการนี้ ซึ่งพื้นที่ก่อสร้างอยู่ใกล้ไซต์มอเตอร์เวย์ที่บริษัทกำลังก่อสร้าง และจากประสบการณ์กว่า 50 ปีของบริษัทเคยผ่านงานก่อสร้างโครงการระดับใหญ่จนถึงภูมิภาค รวมกว่า 40,000 ล้านบาท จะสามารถบริหารต้นทุนและสร้างได้เสร็จตามสัญญา “นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข” กรรมการผู้จัดการของซีวิลฯ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ”   พร้อมกับไล่เรียงผลงานที่สร้างชื่อตลอด 5 ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ทางแยกต่างระดับรัชวิภา มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช รันเวย์สนามบินระนอง ตรัง สุราษฎร์ธานี ร้อยเอ็ด เป็นต้น สำหรับรถไฟไทย-จีนได้เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร เครื่องจักร และสรรพกำลังอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว หากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เจ้าของโครงการส่งมอบพื้นที่ได้เมื่อไหร่ ก็พร้อมจะเริ่มก่อสร้างได้ทันที คาดว่าไม่เกินปลายเดือน เม.ย.นี้ก็เข้าพื้นที่ก่อสร้างได้แล้ว มีกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่ 540 วัน จะเริ่มนับเมื่อ ร.ฟ.ท.ส่งหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน งานก่อสร้าง 11 กม. แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ งานโยธาเป็นระดับดิน 7 กม. และยกระดับ 4 กม. 2.ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง 1 แห่ง และสุดท้ายเป็นงานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยมีวัสดุพิเศษที่ต้องใช้ เช่น แผ่นรองใยสังเคราะห์แบบ geotextile ที่มีขีดความสามารถในการแยกส่วนดิน กรอง เสริมความแข็งแรง ป้องกันผิวดิน หรือช่วยระบายน้ำนั้น ได้หารือกรมทางหลวง (ทล.) บ้างแล้ว เพราะมีประสบการณ์ในการก่อสร้างช่วงแรกกลางดง-ปางอโศกมาก่อน อีกทั้งตัวผมเองก็เป็นลูกหม้อกรมทางหลวงมาก่อน มีอะไรก็เข้าไปขอความรู้ได้ “สิ่งที่เรากังวลจริง ๆ คือ เรื่องคุณภาพของงาน เพราะทางจีนก็ส่งที่ปรึกษามาดูแลตลอดโครงการ มองในแง่ดีก็เป็นโอกาสของประเทศ เพราะประเทศเรายังไม่เคยทำรถไฟความเร็วสูงมาก่อน ก็ต้องขอชื่นชมท่านนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ด้วย เพราะช่วงแรก กทม.ไปโคราช ใช้แบบจีนทั้งหมด เพราะเรายังไม่เคย แต่ช่วงที่ 2 จากโคราชไปหนองคาย เราทำเองแล้ว ถือว่าทำให้ประเทศเราได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ไปด้วย” นายปิยะดิษฐ์ระบุ ขณะที่อีก 12 สัญญาที่เหลือของโครงการ “ปิยะดิษฐ์” กล่าวแบบมั่นใจว่า พร้อมซื้อซองทุกสัญญา เพราะเป็นโอกาสทางธุรกิจของบริษัท แต่จะยื่นแข่งขันโครงการใดบ้าง ต้องประเมินก่อนว่ามีความพร้อมมากแค่ไหน และเนื้องานแต่ละสัญญาเป็นอย่างไร ทั้งนี้ จากที่คว้างานใหญ่ไว้ในมือหลายโครงการ ทำให้ผลประกอบการบริษัทในปี 2561 ที่ผ่านมา มีรายได้รวมอยู่ที่ 4,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 637 ล้านบาท จากปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 3,373 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในปี 2561 อยู่ที่ 333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 225 ล้านบาท จากปี 2560 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 108 ล้านบาท ปัจจุบันมีงานในมือที่รับรู้รายได้ (backlog) ประมาณ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็น งานของรัฐ 90% และงานผลิตชิ้นส่วน 10% เช่น โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา มูลค่างานรวม 3,861 ล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร มูลค่างาน 2,100 ล้านบาท เป็นต้น สำหรับในปี 2562 ตั้งเป้ารายได้ใกล้เคียงกับปี 2561 ประมาณ 4,000-4,500 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 5-10% จากปี 2561 เพราะบริษัทไม่ต้องการรับงานที่เกินขนาดมากเกินไป เนื่องจากถ้าได้งานที่มีขนาดใหญ่เกินไป บริษัทก็ทำไม่ไหว ขอเติบโตแบบไม่หวือหวาดีกว่า ขณะเดียวกัน มีแผนในปี 2563 จะนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯด้วย เพื่อขยายฐานการลงทุนให้มากขึ้น “ปิยะดิษฐ์” ทิ้งท้ายว่า แนวโน้มการเติบโตของตลาดรับเหมาก่อสร้างปี 2562 ยังคึกคักจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.รัฐบาลยังโหมลงทุนโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมที่ยังมีโครงการรอการอนุมัติอีกหลายโครงการ ครบทั้งบก-ราง-น้ำ-อากาศ และ 2.นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลกำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ ส่วนข้อเสนอแนะ อยากเห็นผู้ประกอบการในประเทศช่วยกันยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพราะเราไม่ได้แข่งกันเฉพาะในประเทศอีกต่อไป แต่เราต้องแข่งกับประเทศอื่น ๆ ที่ต่างก็ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศเราด้วย ซึ่งจะต้องมาพร้อมการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมของภาครัฐด้วย เพื่อให้ผู้ประกอบการภายในประเทศสามารถออกไปแข่งขันในประเทศอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มการเติบโตของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของประเทศไทยในทางหนึ่งด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-302343

Person read: 2866

16 March 2019

“เพอร์เฟค”ลุ้นรอรัฐบาลใหม่ ปรับแผนลงทุนเขตศก.ตราด

อำนวย ปรีมนวงศ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ กรมธนารักษ์ชงบอร์ดเขตเศรษฐกิจพิเศษ 18 มี.ค.นี้ ตั้ง “คณะกรรมการกำกับสัญญา” เปิดโต๊ะเจรจา “พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค” ปรับแผนลงทุนโครงการ “GOLDEN GATEWAY” ในเขตเศรษฐกิจพิเศษตราด 900 ไร่ มูลค่า 3,000 ล้าน “ชายนิด” ยันไม่ทิ้งสัญญา ลุ้นรัฐบาลใหม่ปรับแผนเดินหน้าลงทุน   เขต ศก.ตราดไม่ขยับ ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่ากว่า 2 ปีที่บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ผู้ยื่นซองเพียงรายเดียวในการประมูลพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตราด (Trat Special Economic Development Zone) โดยเสนอทำโครงการ “GOLDEN GATEWAY” เปิดประตูการค้าและท่องเที่ยวสู่ภูมิภาค เป้าหมายให้จังหวัดตราดเป็น “เมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวนานาชาติ เมืองอาหารปลอดภัย และเมืองบริการการค้าระหว่างประเทศครบวงจร” มูลค่า 3,000 ล้านบาท โดยได้รับคัดเลือกเซ็นสัญญากับกรมธนารักษ์เช่าที่ดินราชพัสดุ 900 ไร่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เมื่อ 23 พ.ย. 2559 แต่หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด (ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา) ซึ่งให้สิทธิประโยชน์มากกว่า SEZ ดังนั้นเมื่อ พ.ค. 2561 บริษัทได้ยื่นเรื่องต่อกรมธนารักษ์ขอเพิ่มสิทธิประโยชน์เทียบเท่า EEC พร้อมขอปรับแผนลงทุน จนถึงวันนี้บริษัทยังไม่ได้พัฒนาพื้นที่ แต่จ่ายค่าเช่าตามสัญญา 845 ไร่ 44 ตร.ว. เป็นเงิน 20,282,640 บาทต่อปี (จากพื้นที่ 895 ไร่ 44 ตารางวา ไร่ละ 24,000 บาทปีละ 21,482,600 บาท) เพราะมีพื้นที่บ่อขยะ 50 ไร่ที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ขณะที่นักลงทุนในพื้นที่รอดูการดำเนินโครงการเพื่อรอจังหวะขยับตาม ธนารักษ์ชงตั้งบอร์ดเจรจา นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่ากรมได้เสนอกระทรวงการคลังให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับสัญญา เพื่อติดตามโครงการดังกล่าว คาดแต่งตั้งได้ในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะพิจารณาถึงข้อสัญญา รวมข้อเสนอต่าง ๆ น.ส.อมรรัตน์ กล่ำพลบ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันที่ 18 มีนาคมนี้จะประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งคลังได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับสัญญาโครงการ SEZ ตราด โดยมีอธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นประธาน   สำหรับประเด็นที่ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ฯเสนอขอสลับแผน และปรับแก้ระยะเวลาการลงทุน จากตอนแรกจะลงทุนในพื้นที่สีเขียวก่อน แต่ตอนนี้ขอลงทุนโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ให้บริษัทอยู่ได้ก่อน ซึ่งหากสัญญาที่ขอปรับแก้ไม่กระทบมูลค่าการลงทุน ไม่กระทบต่อผลประโยชน์ตอบแทนภาครัฐคณะกรรมการกำกับสัญญาคงให้บริษัทปรับแผนโครงการได้ “ส่วนกรณีที่บริษัทเรียกร้องว่าทำไม SEZ ไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทนเหมือน EEC โดยเฉพาะตราดซึ่งอยู่ติดกับ 3 จังหวัด EEC เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แม้มีการผลักดันให้ขยาย EEC เฟส 2 มายังจังหวัดตราดจันทบุรี และสระแก้ว แต่ขณะนี้รัฐยังไม่มีนโยบายจะขยายมา ปัจจุบัน EECยังขีดวงไว้ 3 จังหวัด เพราะฉะนั้นเรื่องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ต้องอยู่ในวง 3 จังหวัดก่อน” ทุนท้องถิ่นตราดรอลุ้น นายพิพัฒน์ ฤกษ์สหกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มภาคตะวันออก 2 และอดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ช่วงแรกที่ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ฯเปิดตัวที่จังหวัดตราดได้หารือเรื่องร่วมลงทุนกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด แต่ไม่มีผู้สนใจ เพราะนักลงทุนท้องถิ่นรายย่อยนิยมลงทุนเองมากกว่า แต่รอความมั่นใจให้บริษัทใหญ่เริ่มก่อน ที่สนใจคือธุรกิจบ้านพักผู้สูงวัย ชาวต่างชาติคือเป้าหมายที่ต้องการมาพักผ่อนนาน ๆ เพราะมีอากาศบริสุทธิ์มีชายหาดสวยงามและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเส้นทาง R10 ไปเกาะกง สีหนุวิลล์ ของกัมพูชา หรือกาเมา เกียนยาง เวียดนามได้ แต่ผ่านไป 2 ปีบริษัทใหญ่ยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดตราด (กรอ.จังหวัดตราด) ก็สอบถามความก้าวหน้ากับกรมธนารักษ์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพอร์เฟค Wait & See นายชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการ SEZ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เนื้อที่ 895 ไร่ ที่ประมูลสิทธิจากกรมธนารักษ์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างทบทวนแผนให้สอดคล้องกับนโยบาย EEC คาดหลังเลือกตั้ง 24 มีนาคมนี้ และได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว แผนการลงทุนจะชัดเจนขึ้นภายในเดือนพฤษภาคมนี้ภายใต้กรอบวงเงินลงทุน 3,500 ล้านบาท โดยยึดแผนพัฒนา 3 ด้าน คือ 1.เกษตร-อุตสาหกรรม เน้นอุตสาหกรรมแปรรูป เกษตรกรรมและห้องเย็น เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรส่งออกไปยังตลาดกัมพูชาและเวียดนาม 2.การท่องเที่ยว จะพัฒนา จ.ตราด ที่มีแหล่งเที่ยว 50 เกาะ ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเลแห่งใหม่ รับนักท่องเที่ยวจากพัทยา-ระยอง ล่าสุด ท่าเรือคลองใหญ่สร้างเสร็จแล้ว ทำให้เพิ่มศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น 3.การค้าชายแดน เพิ่มช่องทางส่งออกสินค้าเกษตรไปกัมพูชาและเวียดนามผ่านท่าเรือคลองใหญ่ “เราต้องทำให้สอดคล้องกับ EEC ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก นโยบายโปรโมต EEC ของรัฐบาลเป็นภาพชัดเจนที่เราต้องไปด้วยกัน จึงขอทบทวนแผนตอนนี้บางกอกแอร์เวย์สก็มีแผนลงทุนขยายสนามบินตราดที่ชัดเจน เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว ท่าเรือคลองใหญ่ก็เสร็จแล้ว สามารถขนถ่ายสินค้าและเป็นท่าเรือท่องเที่ยวได้เรื่องอินฟราสตรักเจอร์ต้องมีการลงทุนด้วยถึงจะทำให้เราไปได้เร็วขึ้น” ขอสิทธิประโยชน์เท่า EEC นายชายนิดกล่าวด้วยว่า ในส่วนของการเจรจากับนายอภิชัย เตชะอุบล เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี บมจ. ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนานิคมอุตฯ แปรรูปเกษตรกรรมยังไม่ได้ข้อสรุป ทุกอย่างต้องรอหลังการเลือกตั้งเพื่อหาโซลูชั่นที่ลงตัว “การทำงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนต้องมีการประสานที่ใกล้ชิดกันมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา เพราะถ้าหากต่างคนต่างทำจะไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ใด ๆ” นายชายนิดกล่าวตอนท้าย ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องที่บริษัทยื่นขอปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์จำนวน 7 ข้อ ประกอบด้วย 1.ขอขยายเวลาสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล 10% จาก 10 ปี เป็น 20 ปี หรือปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 0% ใน 10 ปีแรก 2.ขอสิทธิพิจารณาเป็นรายแรกในการต่อสัญญาเช่าพื้นที่โครงการอีก 50 ปี 3.ขอยกเลิกเงื่อนไขสิ้นสุดการเช่า ข้อ 19 ที่ต้องรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างปรับสภาพดินภายใน 30 วัน 4.ขอรับสิทธิสนับสนุนการก่อสร้างสนามบินนานาชาติ หรือท่าเทียบเรือท่องเที่ยวแห่งใหม่ 5.พื้นที่โครงการ ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงและจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับโครงการ 6.ขอผ่อนผันค่าเช่าที่ดิน 7.ขอสนับสนุนสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการ เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา เขตไฟเบอร์ออปติก และวางผังเมืองให้สอดคล้องกับแนวพัฒนาโครงการ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-302309

Person read: 2259

16 March 2019

ซันสวีทแรงไม่หยุดปี’61 ขายข้าวโพดหวานโต 1.8 พันล.

ยอดขายโต - บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) จ.เชียงใหม่ ผู้ผลิตและส่งออกข้าวโพดหวานรายใหญ่ ภายใต้แบรนด์ "KC" มียอดส่งออกข้าวโพดหวานไปตลาดต่างประเทศเติบโตมาก โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน ซันสวีทแรงไม่หยุด รายได้ปี’61 ขายข้าวโพดหวานทะลุ 1,800 ล้านบาท ส่งออกกว่า 70 ประเทศทั่วโลก วาดแผนปี”62 บุกโซนเอเชียควบคู่เปิดตลาดใหม่ทั้งอินโดนีเซีย-อินเดีย-รัสเซีย ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% เผยเตรียมจ่ายปันผล 0.05 บาท หุ้นพร้อมเดินหน้าลุยตลาดในประเทศ ส่งข้าวโพดหวานสองสีเจาะหัวเมืองท่องเที่ยวหลักทั่วไทย นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หรือ SUN จ.เชียงใหม่ ผู้ผลิตและส่งออกข้าวโพดหวานรายใหญ่ ภายใต้แบรนด์ “KC” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในปีนี้กำลังการผลิตข้าวโพดหวานแช่แข็งจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า จากเดิมมีกำลังการผลิตอยู่ที่ราว 5,000 ตันต่อปี โดยเฉพาะตลาดในโซนเอเชียที่ยอดขายเติบโตมากในปีที่ผ่านมา ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน ที่มีปริมาณความต้องการข้าวโพดหวานแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ในปีนี้จะยังคงรุกตลาดกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง “ความต้องการด้านอาหารของตลาดโลกยังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จึงเป็นผลให้ยอดการส่งออกของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันแหล่งอาหารโดยเฉพาะข้าวโพดในหลาย ๆ ประเทศปลูกน้อยลง ประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดหวานแหล่งใหญ่จึงมีโอกาสสูงในการทำตลาด อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของบริษัทในปี 2562 คาดว่าวัตถุดิบที่จะผลิตข้าวโพดหวานจะมียอดกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 10% และตั้งเป้ายอดรายได้ของปีนี้เพิ่มขึ้น 10-15% ซึ่งตลาดใหม่ ๆ ที่จะเปิดการขายในปีนี้ อาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย และรัสเซีย” นายองอาจกล่าว สำหรับสินค้าหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ ข้าวโพดหวานชนิดเมล็ดบรรจุกระป๋องพร้อมรับประทาน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 5% รวมถึงข้าวโพดหวานชนิดฝักในถุงสุญญากาศพร้อมรับประทาน ซึ่งมีฐานตลาดลูกค้าจำนวนราว 300 ราย อยู่ในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก และข้าวโพดหวานแช่แข็ง (frozen) ชนิดเมล็ดบรรจุถุง มีตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น และอิหร่าน   นายองอาจกล่าวต่อไปว่า แผนงานในปี 2562 นอกจากการผลิตสินค้ากลุ่มเดิมให้เต็มประสิทธิภาพแล้ว ในปีนี้บริษัทยังมีแผนรุกตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 20% เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมุ่งส่งออกเพียงอย่างเดียว โดยจะนำสินค้ากลุ่มข้าวโพดหวานพร้อมรับประทาน (ready to eat) เข้าสู่ไลน์ธุรกิจฟู้ดรีเทล (food retail) หรือการขายปลีกให้มากขึ้น ซึ่งสินค้าจะวางจำหน่ายในคอนวีเนียนสโตร์ทั่วประเทศ และในปีนี้ได้เริ่มนำสินค้าตัวใหม่ คือ ข้าวโพดหวานสองสีพร้อมรับประทาน วางจำหน่ายในเซเว่นอีเลฟเว่น (7-Eleven) โดยเริ่มนำร่องที่จังหวัดภูเก็ตเป็นแห่งแรก พร้อมทั้งจะเร่งขยายตลาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเมืองท่องเที่ยวหลักทั่วไทย เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มข้าวโพดหวานให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในประเทศให้มากขึ้น สำหรับรายได้จากการส่งออกข้าวโพดหวานของบริษัทและสินค้าในเครือปี 2561 มียอดขายรวมมากกว่า 1,800 ล้านบาท กำไรสุทธิกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท โดยอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มียอดขาย 1,600 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนการส่งออกกว่า 80% ส่งขายกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ การเติบโตของรายได้ในปี 2561 เป็นผลสืบเนื่องจากการที่บริษัทได้ลงทุนเครื่องจักรสำหรับสายการผลิตข้าวโพดหวาน ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยมีวัตถุดิบข้าวโพดหวานที่ส่งออกในปีที่ผ่านมามากกว่า 120,000 ตัน ประกอบกับการเร่งขยายตลาดใหม่ ๆ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้เติบโต   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-302512

Person read: 2156

16 March 2019

เกาะกระแสแนวโน้มอีคอมเมิร์ซปี 2562

คอลัมน์ Smart SMEs โดย วีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ สวัสดีครับ ผมขออัพเดตสถานการณ์อุตสาหกรรมการค้าออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในปี 2562 ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาอีคอมเมิร์ซทำให้เกิดการค้าแบบไร้พรมแดน วันนี้การค้าขายไม่ได้อยู่เพียงแค่ในประเทศเท่านั้น อินเทอร์เน็ตได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และแท็บเลต ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกบนอีคอมเมิร์ซ มีมูลค่าเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังมีส่วนช่วยขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยให้ขยายตัวมากขึ้น   จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยในปีนี้ จะมีมูลค่ารวมสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท เติบโต 12-13% จากปีก่อนที่มีมูลค่าตลาดรวมราว 3 ล้านล้านบาท จากตัวเลขที่ขยายเพิ่มขึ้นถึง 3 ล้านล้านบาทนี้ ทำให้ไทยขึ้นแท่นเป็นผู้นำในการซื้อขายออนไลน์ในตลาดอาเซียน ตามด้วยมาเลเซียและเวียดนามตามลำดับ ปัจจัยการเติบโตดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มผู้บริโภคมีความเข้าใจเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ และรู้วิธีการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเองก็ได้พัฒนาบริการซื้อขายออนไลน์ทั้งในรูปแบบเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ให้สามารถซื้อและขายสินค้าได้สะดวก เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ได้ง่ายและรวดเร็ว และอีกตัวแปรสำคัญ คือ การเข้ามาขยายฐานการตลาดของกลุ่มผู้ให้บริการเว็บไซต์กลางสำหรับรวบรวมสินค้าและร้านค้าไว้บนระบบออนไลน์ หรือ “มาร์เก็ตเพลซ” จากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีทั้ง LAZADA, Shopee และ JD.com ให้ผู้บริโภคชาวไทยได้เลือกซื้อสินค้าได้สะดวกสบาย ดังนั้น ผมจึงมีคำแนะนำจากผู้รู้ในแวดวงอีคอมเมิร์ซ คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ซีอีโอ และผู้ก่อตั้งบริษัทตลาดดอทคอม และอดีตนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย มาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย นำไปใช้เพื่อปรับตัวและพร้อมรับการสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับธุรกิจของตนเอง อันดับแรก ผู้ประกอบการไทยต้องพัฒนาแบรนด์สินค้าจากออฟไลน์เข้าสู่ออนไลน์ด้วยการมีเว็บไซต์หน้าร้านของตนเอง ไปพร้อมกับพัฒนาสินค้าเข้าไปสู่การขายบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่ผู้คนนิยมใช้ในขณะนี้ และที่สำคัญ คือ การนำสินค้าของตนเองไปเป็นส่วนหนึ่งใน 3 แพลตฟอร์มใหญ่ คือ LAZADA, Shopee และ JD.com เนื่องจากทั้งสามค่ายนี้ มีการทุ่มงบประมาณในการทำการตลาดจำนวนมากเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าออนไลน์ อาทิ การส่งเสริมการตลาดด้วยการใช้พรีเซ็นเตอร์ ตามมาด้วยการแข่งขันด้านการตลาดในรูปแบบโปรโมชั่น double day เช่น วันที่ 11 เดือน 11 หรือวันที่ 12 เดือน 12 เพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าออนไลน์ เนื่องจากพฤติกรรมคนไทยนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านมาร์เก็ตเพลซ เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือซื้อผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์ และโซเชียลมีเดีย เป็นอันดับสาม เมื่อประตูการค้าได้เปิดกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะมีสินค้าหลากหลายทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน เข้ามาทำตลาดไทยมากขึ้น หรือที่เรียกว่า cross border ปัจจุบันสินค้าที่จำหน่ายอยู่บนมาร์เก็ตเพลซ มีจำนวนกว่า 50 ล้านชิ้น โดยร้อยละ 80 เป็นสินค้าจากจีน และร้อยละ 20 เป็นสินค้าของคนไทย จะเห็นได้ว่าสัดส่วนสินค้าไทยยังน้อยมาก เมื่อเทียบกับสินค้าจากจีน ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยยังมีโอกาสเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นได้ด้วยการพัฒนารูปแบบสินค้าใหม่ ๆ ให้มีความน่าสนใจ ดึงดูดผู้ซื้อให้มากขึ้น การที่ผู้ให้บริการจากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในบ้านเรา ยังช่วยยกระดับ ตลอดจนพัฒนาบริการและส่งเสริมระบบนิเวศของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซให้ขยายตัวมากขึ้น เช่น บริการคลังสินค้า บริการขนส่งสินค้า รวมถึงบริการระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับการช็อปปิ้ง ทำให้เกิดการแข่งขันในการให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ ปัจจุบันกลุ่มผู้ให้บริการมาร์เก็ตเพลซได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรสถาบันการเงินเพื่อต่อยอดธุรกิจ ด้วยการนำเสนอบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนมือถือ หรือ e-Wallet เพื่อเพิ่มความง่ายและสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคมากขึ้น เช่น LAZADA Wallet และ Dolfin Wallet ซึ่งให้บริการภายใต้ JD.com ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และง่าย ต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น และบริการกระเป๋าเงินบนมือถือนี้ จะเข้ามามีส่วนสำคัญที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นต่อเนื่องในอนาคต ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-302522

Person read: 2291

16 March 2019

วิชิต ว่องวัฒนาการ “ฟอร์ดเป็นองค์กรที่ให้โอกาสพนักงาน”

ต้องยอมรับว่า เส้นทางการทำงานของ “วิชิต ว่องวัฒนาการ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ในวันนี้ไม่เพียงเติบโตจากการทำงานในระดับปฏิบัติการที่จะต้องดูแลรับผิดชอบในส่วนของฝ่ายขาย ฝ่ายบริการลูกค้า และฝ่ายพัฒนาผู้จำหน่าย หากเขายังมีบทบาทสำคัญในการขยายตลาดรถยนต์ฟอร์ด ประเทศไทย ยิ่งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า ผ่านการเพิ่มโชว์รูม และเครือข่ายศูนย์บริการ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งการบริการให้กับลูกค้า ไปจนถึงการพัฒนาระบบบริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ โดยผ่านเครือข่ายผู้จำหน่ายรถยนต์ฟอร์ดทั่วประเทศไทย ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ “วิชิต” จะได้รับความไว้วางใจให้นั่งตำแหน่งบริหารสูงสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ผ่านมา เพราะเขาจะต้องเข้ามาดูแลรับผิดชอบในส่วนการบริหารและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจรถยนต์ฟอร์ดในประเทศไทยนับจากนี้เป็นต้นไป โดย “วิชิต” มองว่า สิ่งที่จะเข้ามาเป็นกลไกต่อการขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตจะต้องเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องด้วยกันคือ หนึ่ง product excellence สอง การยกระดับประสบการณ์ลูกค้า สาม operation excellence    “วิชิต” บอกว่า กลไกการขับเคลื่อนทั้ง 3 ส่วนจะเกี่ยวข้องกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ขณะที่บางส่วนจะตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะเรื่องของนวัตกรรมยานยนต์ และการให้บริการต่างๆ เพราะเราจะใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกมิติ “สำคัญไปกว่านั้น ทั้ง 3 ส่วนยังเกี่ยวข้องกับบุคลากรโดยตรง เพราะฉะนั้นนับจากนี้เป็นต้นไปทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโปรดักต์, การยกระดับประสบการณ์ลูกค้า และโอเปอเรชั่น จะมุ่งไปที่การพัฒนาบุคลากรเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะกับลูกค้ารุ่นใหม่ที่นิยมการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการให้บริการต่างๆ พูดง่ายๆ คือลูกค้าของเราอยู่ตรงไหน เราจะตามไปดูแลลูกค้าให้ได้รับความสะดวกสบายมากที่สุด” แต่การจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามแผน “วิชิต” บอกว่า สิ่งแรกเราจะต้องเฟ้นหาคนที่ “ใช่” ของฟอร์ดเสียก่อน “ถ้าเป็นเมื่อก่อนเวลาเราเลือกคนมาทำงานกับฟอร์ดเราจะดู behavior หรือพฤติกรรมเป็นหลัก โดยเราเรียกว่า one Ford behavior ซึ่งจะถูกแบ่งออกหลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องความรู้ในงานของตัวเองที่ทำเป็นอย่างไรบ้าง หรือมีทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและการทำงานอย่างไรบ้าง รวมไปถึงการทำงานเป็นทีมเวิร์ก เพราะทั้งหมดนี้จะวัดในเรื่องของ skills หรือทักษะความสามารถในการทำงานเป็นหลัก ว่าคุณอยู่ระดับไหน เพื่อเราจะได้ develop เขาขึ้นมาเป็น talent” “และกระบวนการสรรหา talent จะไม่มีการ direct report เพื่อเสนอคนคนนั้นขึ้นมา แต่เราจะมีคณะกรรมการเข้ามานั่งประเมินกันเลย ว่าคนคนนี้เหมาะสมสำหรับการเป็น talent จริงๆ หรือเปล่า ถ้าเหมาะสมจริง เราจะมีกระบวนการในการพัฒนา talent เพื่อไปอบรมในแต่ละหลักสูตรที่เราพัฒนาขึ้นมา นอกจากนั้นยังมี on the job training และมีการ sharing doing เพื่อติดตามผู้บริหารของเราในการแบ่งปันความรู้ต่างๆ ด้วย” “สำหรับฟอร์ด ประเทศไทยอาจมี talent pool ไม่ถึง 10% ของพนักงานที่สำนักงานใหญ่ประมาณ 200 คน แต่ผมก็มีความเชื่อว่าคนเหล่านี้ล้วนมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปในสายงานของตัวเอง หรืออาจข้ามสายงานไปเติบโตในที่ต่างๆ ได้ เพราะฟอร์ดเป็นองค์กรหนึ่งที่เปิดโอกาสให้พนักงานมากๆ ขอเพียงแค่คุณอยากทำอะไรแล้วยกมือขึ้น คุณจะได้รับโอกาสนั้นทันที” ถึงตรงนี้ “วิชิต” จึงยกตัวอย่างตัวเองให้ฟังว่า ผมทำงานที่ฟอร์ดมา 22 ปี กำลังจะขึ้นปีที่ 23 และฟอร์ด ประเทศไทยเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย 23 ปี กำลังจะขึ้นสู่ปีที่ 24 ตอนแรกผมทำงานในส่วนของ after sale service ประมาณ 6-7 ปี ก่อนจะย้ายไปเป็น sale & director ทั้งๆ ที่แบ็กกราวนด์ของผมเรียนจบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด “แต่อย่างที่ผมบอก ฟอร์ดเป็นองค์กรที่ให้โอกาสและเปิดให้พนักงาน cross career path และ cross functional ได้ ถ้าคุณมีความสามารถ และพิสูจน์ว่าคุณทำได้จริงๆ รวมถึงการย้ายข้ามสายงานไปทำงานในประเทศอื่นๆ ด้วย ซึ่งเหมือนกับผมที่เคยถูกแอดไซน์ให้ไปบริหารการดำเนินการทางด้านบริการที่อินโดนีเซีย 4-5 เดือน ต่อจากนั้นผมก็ไปอยู่ฟิลิปปินส์อีกหลายเดือน ก่อนจะไปมาเลเซียและเวียดนามตามลำดับ” “ผมว่าตอนนั้นเป็นช่วงหาประสบการณ์ที่ดี เพราะพอเรายกมือว่าเราอยากไป ผู้บริหารของที่นี่ก็ทำเรื่องแลกตัวกับผู้บริหารที่อินโดนีเซียเพื่อแลกตัวกันเลย ผมคิดว่าไม่ว่าผมเอง หรือคนที่มาแทนผม ต่างมีประสบการณ์ที่ดี เพราะผมก็ได้เรียนรู้งานที่โน่น ส่วนเขาก็มาเรียนรู้งานที่นี่ พอหลังจากเสร็จโปรแกรม เราก็นำประสบการณ์ที่ไปพบไปเห็นกลับมาพัฒนาที่เมืองไทย” “จำได้ว่าตอนที่ผมไปอินโดนีเซีย ตอนนั้นสถานการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยสงบ มีเหตุระเบิดในบาหลี country leader เรียกผมไปพบในวันอาทิตย์ เขาถามผมว่า มีเหตุการณ์แบบนี้คุณจะกลับบ้านไหม ผมบอกอยู่ได้ครับ (หัวเราะ) ตรงนี้จึงทำให้ผมเชื่อว่าการที่เราไปทำงานประเทศอื่น ทำให้เราเห็นโลกกว้างขึ้น ทั้งยังเห็นวิธีคิด วิธีการปรับตัว และทำให้เราเรียนรู้ที่จะทำงานกับบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่คนไทยด้วยกัน” นอกจากนั้น “วิชิต” ยังอธิบายให้เห็นภาพการทำงานกับเจ้านายที่เป็นคนชาติอื่นว่า ผมถือว่าเป็นความโชคดี เพราะฟอร์ดเป็นบริษัทโกลบอล เรามีสาขามากมายกระจายอยู่ทั่วโลก ตรงนี้จึงทำให้เรากลายเป็นคนที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ “ที่สำคัญการเรียนรู้ของฟอร์ดจะทำงานเป็นทีม และทุกทีมจะทำงานประสานงานกันเพื่อก้าวไปสู่กลยุทธ์ขององค์กร เพราะฉะนั้นตลอดระยะเวลาของการทำงานที่นี่ ผมจึงตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด และไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนขององค์กร ผมพร้อมที่จะทำในส่วนนั้นให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันเราจะต้องประสานงานกับทีมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้งานประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กัน” “เพราะโดยส่วนตัว ผมเป็นคนทำงานโดยไม่ค่อยตั้งความหวัง ขอแค่ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ฉะนั้นถ้าถามว่า ฟอร์ดมีการวาง succession plan ไหม ก็ต้องบอกว่า มีอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลย เฉพาะในส่วนของผมมีการคุยกันหลายครั้ง และมีการถามอยู่หลายครั้งว่า ถ้ามีตำแหน่งตรงนี้สนใจมั้ย และอนาคต career path ของเราอยากจะไปตรงไหน ก็มีการพูดคุยกันเสมอๆ” “ขณะเดียวกันผมก็มี mentor หรือพี่เลี้ยงที่เป็น Asian President ที่เขาประจำอยู่ประเทศไทย ทุกๆ เดือนผมจะนั่งคุยกับเขา และเขาก็จะคอยดูแลผม แลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ ให้ฟังทั้งเรื่องงาน ส่วนตัว การใช้ชีวิต หรือในเรื่องของบางโปรเจ็กต์ที่เขาให้ผมลองทำ ซึ่งเขาจะเป็นคู่คิดของเรา เพื่อที่จะกรูมเราก่อนที่จะขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับสูง” สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ “วิชิต” กรุยทางผ่านมา แต่เมื่อถามเขาในคำถามสุดท้ายว่า…มีสไตล์การบริหารอย่างไร ? “ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน เพราะผมมีความเชื่อเรื่องคน ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าใครจะเก่งทุกเรื่องและรู้ทุกเรื่อง ไม่มีทางเป็นไปได้ ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในความคิดของผม เพราะฉะนั้นอะไรก็แล้วแต่ ผมจึงอยากให้เกิดเป็นคณะการทำงาน และสิ่งที่เราตกลงร่วมกัน หรือคุยร่วมกันจะต้องมาจากความคิดเห็นของทีมงาน ตรงนี้ไม่เพียงเป็นการสร้างความภูมิใจให้เขา หากยังเป็นการสร้างความภูมิใจให้กับทีมด้วย” อันเป็นคำตอบของ “วิชิต ว่องวัฒนาการ” ผู้บริหารสูงสุดของฟอร์ดคนปัจจุบัน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-302572

Person read: 2124

16 March 2019

ทั่วไทยอากาศร้อน! “กทม.”วันนี้ร้อนสุดแตะ38องศา มีฝน10%ของพื้นที่

แฟ้มภาพ วันที่ 5 มีนาคม 2562 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในตอนกลางวันไว้ด้วย ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.   ภาคเหนือ มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ภาคกลาง อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/breaking-news/news-297253

Person read: 2267

05 March 2019

“มหิดล” ยกระดับหลักสูตร นำ AUN-QA สร้างมาตรฐานระดับโลก

(ซ้าย) ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ (ขวา) ผศ.ดร.นพดล เผ่าสวัสดิ์ ถึงแม้เทคโนโลยีการแพทย์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นศาสตร์ที่สร้างความความแข็งแกร่งให้กับ มหาวิทยาลัยมหิดล มาอย่างยาวนาน แต่ศาสตร์ต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องตอบสนองกับความต้องการของตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในยุคดิสรัปชั่น ผลเช่นนี้จึงทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือ และสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถประกอบอาชีพได้ ด้วยการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานทั้งในระดับประเทศ และภูมิภาคอาเซียน เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำการศึกษาของไทยสู่การยอมรับระดับนานาชาติ และเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากล สู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (world class university) “ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ” รักษาการแทนอธิการบดี ม.มหิดล กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน และสังคมโลก เพราะการบริหารจัดการกับความท้าทายดังกล่าวเชื่อว่าการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ และมีประโยชน์ต่อการรักษา และยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานสากล “มหิดลจึงมีการดำเนินการประกันคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับหลักสูตร เพราะมหาวิทยาลัยมหิดลได้ใช้แนวทางการจัดการศึกษาแบบมุ่งผลลัพธ์ และใช้เกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network-Quality Assurance-AUN-QA)”   “นอกจากนั้น เรายังให้การสนับสนุนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอาเซียน โดยเฉพาะด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ คณะกรรมการที่เป็นตัวแทนระดับสูงจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เข้ามาประเมินความเข้าใจระบบคุณภาพ เพราะเขามีโอกาสมาสัมผัสกับสิ่งที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของโครงสร้างทางกายภาพ โครงสร้างหลักสูตร อาจารย์ และคุณภาพ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ เท่านั้น แต่เมื่อเขาเห็นศักยภาพ เห็นคุณภาพของเรา ทำให้เขาไปอธิบายบอกต่อได้ว่า ที่มหิดลคุณภาพการศึกษาดีอย่างไร ให้เป็นที่ยอมรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าประสิทธิภาพความสามารถที่ปรากฏในเวทีสากล” “ทั้งนี้ ทาง AUN-QA ยังช่วยสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนในรูปแบบที่ประหยัดเงิน เพราะถือว่าเป็นงบประมาณจากส่วนอื่น ๆ ที่เข้ามารับช่วงแทนเรา จนทำให้ทุกฝ่ายเกิดประโยชน์ เพราะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของหลักสูตรต่าง ๆ ของมหิดล” นอกเหนือจากการประเมินคุณภาพต่าง ๆ “ศ.นพ.บรรจง” ยังขับเคลื่อนการใช้เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสาขาอื่น ๆ อีกด้วยอย่างเช่น การประเมินคุณภาพทางด้านการแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ อันเป็นมาตรฐานระดับสากลอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้นไป ซึ่งใหญ่กว่าภูมิภาคอาเซียน หรือแม้แต่กระทั่งเกณฑ์ AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) หรือสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ และการบัญชีทั่วโลก ทั้งนี้ ในปี 2561 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดลมีหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับหลักสูตร 7 หลักสูตร จากการประเมิน 2 ครั้ง โดยครั้งที่หนึ่ง จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์, หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการบริการนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนานาชาติ ส่วนครั้งที่สอง จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด, หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาดคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สำหรับหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หนึ่งในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ “ผศ.ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์” ผู้อำนวยการโรงเรียนเวศน์นิทัศน์พัฒนา บอกว่า ข้อแนะนำที่เราได้จากผู้ประเมิน ทุกคนต่างให้ความสนใจในหลักสูตรนี้ เพราะเป็นที่ทราบทั่วกันว่าหลักสูตรนี้เป็นที่ต้องการของวงการแพทย์ทั่วโลก ทั้งยังสอนการผลิตสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ และไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ด้วย “โดยผู้ประเมินบอกว่าควรจะเผยแพร่หลักสูตรนี้ไปสู่ระดับนานาชาติ พร้อม ๆ กับสร้างหลักสูตรนี้ให้นักเรียนต่างชาติเข้ามาเรียนมากขึ้น ผมมองว่าน่าจะเป็นที่ต้องการของระดับอาเซียน เอเชีย หรือแม้กระทั่งระดับโลก เพราะเราสามารถผลิตบัณฑิตที่จบออกไปทำงานยังต่างประเทศได้ เพราะการรับรองมาตรฐาน AUN-QA จะอยู่ได้ 5 ปี ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีโอกาสที่จะปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอ” “เพราะรอบสุดท้าย เราใช้เกณฑ์ AUN-QA เป็นตัวปรับหลักสูตร ฉะนั้น ความต่างระหว่างหลักสูตรเดิม และหลักสูตรใหม่จึงแตกต่างอย่างชัดเจน ซึ่งหลักสูตรเดิมเราไม่ได้มองผลลัพธ์ชัดเจนเท่าไหร่ เพราะมุ่งหวังที่จะให้นักศึกษาเรียนรู้สิ่งที่เราออกแบบให้ครบถ้วน และเชื่อว่าถ้าเด็กจบออกไปก็จะทำงานในวงการทางแพทย์ได้แค่เท่านั้น แต่หลังจากการนำเกณฑ์ AUN-QA เข้ามาประยุกต์ใช้ เราต้องมองย้อนหลังว่าความต้องการของตลาดแรงงานกลับต้องการความสามารถของบัณฑิตทางด้านใดด้านหนึ่งเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสื่อทางการแพย์ หรือความรู้ทางการแพทย์” “เนื่องจากตลอดเวลาผ่านมา ทุกส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งผลลัพธ์ outcome-based education โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้บัณฑิตมีความรู้ในทักษะวิชาชีพ (รู้ลึก) และทักษะชีวิตและการทำงาน (รู้กว้าง) รวมถึงมีศักยภาพตามความต้องการของสังคมอนาคต อันเป็น talented citizen ที่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้  เพราะนอกจากเราจะจัดการเรียนการสอน การวัด และการประเมินผลผู้เรียนให้ได้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (expected learning outcomes) ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเรามีการนำเกณฑ์ AUN-QA มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรอย่างต่อเนื่องนั่นเอง” อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่แท้จริงในการปรับปรุงหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์ AUN-QA สิ่งสำคัญ คือ นักศึกษาที่เข้ามาเรียนจะเป็นคนได้รับผลประโยชน์ เพราะมหิดลมุ่งผลลัพธ์ของตัวบัณฑิตที่จบออกไป เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ และสังคมโลก ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/education/news-296898

Person read: 2535

05 March 2019

สรรพากรให้โอกาสค้าผู้ออนไลน์เข้าระบบ-ขู่มีข้อมูลเลี่ยงภาษี เรียกเชิญพบ

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรตั้งเป้าหมายที่จะขยายฐานผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีนี้ 10% หรือ ราว 1 ล้านราย จากปัจจุบันมีฐานผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณกว่า 10 ล้านราย โดยกรมฯจะนำระบบ Data Analysis(ระบบวิเคราะห์ข้อมูล) เข้ามาตรวจสอบและขยายฐาน คาดว่าเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้นทำให้ผู้เสียภาษีปัจจุบันมีอยู่ราว 3-4 ล้านคนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นายเอกนิติ กล่าวว่า หนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของกรมฯในการขยายฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ กลุ่มผู้ค้าออนไลน์ ซึ่งขณะนี้กรมใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วยตรวจสอบอย่างเข้มข้น ทำให้มีข้อมูลผู้ค้าออนไลน์ที่ยังไม่เข้าสู่ระบบภาษีจำนวนหนึ่งในเบื้องต้น กรมฯหวังว่า ผู้ค้าออนไลน์จะเดินเข้ามาเสียภาษีต่อกรมฯ แต่หากยังไม่เข้ามา กรมฯจะใช้วิธีเชิญพบ เพื่อให้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง   “ต้องการให้กลุ่มธุรกิจออนไลน์เสียภาษีถูกต้อง ขณะนี้พอรู้ตัวแล้วว่า มีคนค้าขายออนไลน์อยู่จำนวนเท่าไหร่ ซึ่งในการขยายฐานภาษีไม่ได้คาดหวังรายได้เพิ่มขึ้นเป็นอันดับแรก แต่ต้องทำให้ฐานกว้างขึ้น ถ้าหากฐานภาษีกว้างขึ้น ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย หากผู้มีเงินได้เข้าสู่ระบบภาษีมียอดการเสียภาษีเพิ่มอีก 100 บาทต่อราย เราก็จะได้ภาษีเพิ่มถึง 100 ล้านบาท”นายเอกนิติกล่าว นายเอกนิติกล่าวต่อว่า สำหรับยอดยื่นแบบแสดงรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเปิดให้ยื่นตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2562 ล่าสุด จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มียอดผู้เสียภาษีแล้ว 3.2 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดยื่นประมาณ 2.7 ล้านราย ในจำนวน 3.2 ล้านรายดังกล่าว เป็นการยื่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสูงถึง 3 ล้านราย หรือ 90% ของผู้ยื่นทั้งหมด และ ในจำนวนผู้ยื่นทั้งหมด มียอดการขอคืนภาษีแล้ว 1.5 ล้านราย ในจำนวนนี้ กรมฯได้คืนภาษีแล้ว 1 ล้านราย   นายเอกนิติกล่าวว่า ในปีนี้ยอดยื่นแบบแสดงรายได้ภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตสูงมาก โดยในรายที่ขอคืนภาษีสามารถคืนอย่างรวดเร็ว ส่วนในรายที่ยังไม่ได้รับคืน แสดงว่า ยังมีรายการที่ยื่นไม่ครบ เมื่อตรวจสอบก็ไม่สามารถคืนให้ได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงสิ้นสุดการยื่นแบบชำระภาษี เชื่อว่า จะมียอดยื่นแบบมากกว่า 10 ล้านราย ที่มา:มติชนออนไลน์ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-297256

Person read: 2247

05 March 2019

นายแน่มาก! “อริยะ พนมยงค์” ทิ้งเก้าอี้ LINE ก้าวสู่บิ๊กช่อง 3 กู้วิกฤตทีวีดิจิทัล

อริยะ พนมยงค์(แฟ้มภาพ) ช่อง 3 ประกาศแต่งแต่ง“อริยะ พนมยงค์” กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย นั่งเก้าอี้กรรมการผู้อำนวยการ(President) รายงานตรงต่อบอร์ดบริหาร มีผล 2 พ.ค. 2562 วงในเชื่อเข้ามากู้วิกฤตทีวีดิจิทัล เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2562 บริษัท บีอีซี เวิล์ด จำกัด(มหาชน) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลง และแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง โดยระบุว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4/2562 เมื่อ 4 มี.ค. 2562 ได้มีมติแต่งตั้งนายอริยะ พนมยงค์ เป็นกรรมการบริษัท แทนนายวรวรรธน์  มาลีนนท์ ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 1 ปี  พร้อมกันนี้ได้มีมติแต่งตั้ง นายอริยะ พนมยงค์ ให้เป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร ในตำแหน่ง “กรรมการผู้อำนวยการ” (President) รายงานตรงต่อคณะกรรมการบริหาร  โดยให้มีผลตั้งวันที่ 2 พ.ค. 2562 เป็นต้นไป   และมีมติปรับผังโครงสร้างองค์กรใหม่ และมีมติแต่งตั้ง นายประชุม มาลีนนท์ รองประธานกรรมการ เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร มีผลตั้งแต่ 2 พ.ค. 2562 โดยแหล่งข่าวในวงการโทรทัศน์ระบุว่า การตัดสินใจทิ้งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท LINE ประเทศไทย มารับตำแหน่งใน BEC World ของนายอริยะ นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะการพลิกฟื้นธุรกิจโทรทัศน์รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคจากเทคโนโลยีดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งที่ผ่านมา นายอริยะยังอยู่ในธุรกิจดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จอยู่ก่อนแล้ว ขณะที่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการปี2561 รายได้รวมของกลุ่ม BEC อยู่ที่ 10,375.7 ล้านบาทลดลง 6% โดยมีผลดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 330.2 ล้านบาท จากปี2560 มีกำไรสุทธิ61.01 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทระบุว่าผลขาดทุนสุทธิในปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายโครงการเกษียณอายุและการปรับลดอัตรากำลังคนตามนโยบายการปรับโครงสร้างองค์กรจำนวน 140.6 ล้านบาทและค่าใช้จ่ายสำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน ตามพ.ร.บ.คุมครองแรงงานจำนวน 134.8 ล้านบาท ขณะที่ผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานปกติ อยู่ที่ 98.1 ล้านบาท ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/ict/news-297126

Person read: 2251

05 March 2019

ไฟเขียว BTS ขึ้นค่าตั๋วส่วนต่อขยาย 16 เมษาฯ เร่งเชื่อม’หมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว’ สิงหาฯนี้

แฟ้มภาพ คนใช้บีทีเอสอ่วม ดีเดย์ 16 เม.ย. กทม.ไฟเขียวขึ้นค่าตั๋วส่วนต่อขยายเพิ่ม 6 บาท จาก 15 บาทตลอดสาย เป็น 15-21 บาท ขานรับเปิดวิ่ง “แบริ่ง-ปากน้ำ” เดินหน้ารวบสัมปทานสายสีเขียว ดึงเอกชนร่วมทุน PPP 30 ปี โปะหนี้แสนล้าน จ่อรื้อโครงสร้างราคาใหม่ 68 กม. 59 สถานี เก็บแรกเข้าครั้งเดียว สูงสุด 65 บาท ด้าน BTS ควัก 650 ล้าน ผุดสถานีใหม่ “ศึกษาวิทยา” เตรียมเชื่อมหมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าวสิงหาฯนี้ ส่วนรถไฟฟ้าลอดเจ้าพระยา “หัวลำโพง-บางแค” ได้ใช้หลังสงกรานต์  นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ส่งรายละเอียดการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวสายหลักและส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่ง กทม.รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost 30 ปี (2562-2602) วงเงิน 127,000 ล้านบาท ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการ PPP พิจารณา “ถ้าอนุมัติแล้วจะตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อดูแนวทางจะเปิดประมูลใหม่หรือเจรจาตรง BTSC เพราะต้องรวมการเดินรถ 23.5 กม. ซึ่งสัมปทานบีทีเอสจะหมดปี 2572” เปิด PPP โปะหนี้แสนล้าน การร่วมทุนต้องใช้เวลาเจรจากับเอกชน เช่น การเก็บค่าโดยสารทั้งโครงการ ที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ให้เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวและเก็บอัตราสูงสุดไม่เกิน 65 บาท คาดปลายปีนี้จะแล้วเสร็จ แต่คงไม่ทันกับเป้าหมายที่ผู้ว่าฯ กทม.ให้เก็บค่าโดยสารใหม่ พร้อมเปิดใช้สายสีเขียวแบริ่ง-ปากน้ำ 16 เม.ย.นี้ “เปิด PPP เพราะ กทม.ไม่มีงบประมาณรับภาระค่าโครงสร้างและทรัพย์สินที่รับโอนจาก รฟม.กว่า 1.1 แสนล้านบาท ต้องให้เอกชนหาเงินชำระหนี้ให้ก่อน แล้ว กทม.คืนภายหลัง” นายสมพงษ์กล่าวและว่า ปัจจุบัน กทม.เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 รูปแบบคือ 1.บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) รับสัมปทาน 23.5 กม.หมอชิต-อ่อนนุช (สายสุขุมวิท) และสนามกีฬา-สะพานตากสิน (สายสีลม) ค่าโดยสาร 16-44 บาท อีก 10 ปีสัมปทานหมด และ 2. กรุงเทพธนาคม (เคที) จ้าง BTSC เดินรถส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า, อ่อนนุช-แบริ่ง, แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เวลา 30 ปี หมดสัญญาปี 2585 ขึ้นค่าโดยสารส่วนต่อขยาย 6 บาท  นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวว่า กทม.จะปรับโครงสร้างค่าโดยสารบีทีเอสส่วนต่อขยายใหม่ ทั้งอ่อนนุช-แบริ่ง และวงเวียนใหญ่-บางหว้า จาก15 บาทตลอดสาย เป็นตามระยะทาง 15-21 บาท หรือเพิ่มขึ้นอีก 6 บาท จะเริ่มเก็บวันที่ 16 เม.ย.นี้ พร้อมเปิดใช้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งผ่านคณะผู้บริหารแล้ว อยู่ระหว่างยกร่างประกาศ กทม. คาดเดือน มี.ค.จะประกาศได้   “กทม.เก็บค่าโดยสารตลอดสายมาตั้งแต่ปี 2556 โดยรับภาระแทนประชาชน ที่ต้องเก็บเพิ่มเพราะสายสุขุมวิทมีระยะทางเพิ่มอีก 13 กม.รวม 9 สถานี ที่ไปถึงปากน้ำ จึงต้องปรับโครงสร้างกันใหม่ ค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ กทม.ดำเนินการทั้งระบบเป็นแบบชั่วคราว เราต้องรอเอกชนรายใหม่ที่จะมารับสัมปทานทั้งโครงการ” แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวว่า ค่าโดยสารใหม่ที่จะประกาศใช้วันที่ 16 เม.ย.นี้ถือเป็นโครงสร้างชั่วคราว ระหว่างรอเอกชนที่จะมารับสัมปทานเดินรถทั้งโครงการ ซึ่งต้องเก็บค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15-65 บาท หากยังไม่ได้เอกชน ผู้ใช้บริการบีทีเอสก็ต้องเสียค่าโดยสารตามที่กำหนด โดยเส้นทางสัมปทานบีทีเอสในปัจจุบันอยู่ที่ 16-44 บาท หากใช้ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการ 15-21 บาท วงเวียนใหญ่-บางหว้า 15-21 บาท และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 15-21 บาท ถ้าได้เอกชนมาบริหารแล้วจะไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย “ส่วนจะเก็บสูงสุด 65 บาทในช่วงกี่สถานียังไม่ได้ข้อสรุป เพราะกลัวจะกระทบต่อผู้โดยสารที่ใช้ระยะทางสั้น ๆ แต่ผู้ที่นั่งยาวจะได้ประโยชน์ เมื่อเปิดส่วนต่อขยายครบ จะมีระยะทางรวม 68 กม. 59 สถานี คาดมีผู้โดยสาร 1.1 ล้านเที่ยวคน/วัน แยกเป็นสัมปทานบีทีเอส 23.5 กม. 23 สถานี ส่วนต่อขยายกทม.ลงทุนเอง 12.75 กม. 11 สถานี และส่วนต่อขยายรับโอน รฟม. 31.20 กม. 25 สถานี” ส.ค.ถึงเซ็นทรัลลาดพร้าว  นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า พร้อมร่วมประมูลเดินรถสายสีเขียวทั้งโครงการ แต่เรื่องค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท ต้องคุยละเอียด เช่น กทม.จะช่วยรับภาระอะไรบ้าง แต่กระบวนการ PPP ยังไม่เริ่ม ปัจจุบันบีทีเอสรับจ้าง กทม.เดินรถส่วนต่อขยายทั้งเก่าใหม่อยู่แล้ว “หลังเปิดแบริ่ง-ปากน้ำ ส.ค.นี้ จะเปิดส่วนต่อขยายอีก 1 สถานีจากหมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว เพื่อช่วยแก้จราจรติดขัดห้าแยกลาดพร้าว แล้วปี 2563 จะเปิด 4 สถานีถึง ม.เกษตรศาสตร์ เปิดตลอดสายปี 2564” อีกแห่งที่ก่อสร้างเพิ่มคือ สถานีศึกษาวิทยา (S4) ระหว่างสุรศักดิ์-ช่องนนทรี ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอนุมัติแล้ว จะสร้างในเดือน มี.ค.นี้ ใช้เวลาสร้าง 18 เดือน แล้วเสร็จปี 2563 หุ้น AIA ผุดสถานีใหม่ “บีทีเอสลงทุนคนละครึ่งกับเอไอเอ650 ล้านบาท เราใช้เงินกองทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท มาสร้าง ส่วนค่าโดยสารไม่ปรับเพิ่ม เพราะสถานีนี้กำหนดไว้แต่แรกแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่มีความเหมาะสมที่จะสร้าง เพราะไม่คุ้มค่าจึงชะลอไปก่อน แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนไปมาก ที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานเกิดขึ้นมาก จึงกลับมาสร้าง เพื่อลดความแออัดของสถานีช่องนนทรี” สถานีใหม่มีระยะห่างระหว่าง 2 สถานี 1.7 กม. บริเวณปากซอยสาทร 12 คาดจำนวนเที่ยวการเดินทางเพิ่มขึ้น 9,500-12,000 เที่ยวคนต่อวัน อนาคตมีแผนลงทุนก่อสร้างสถานีเสนาร่วม ระหว่างสถานีอารีย์-สะพานควาย ระยะทางจาก 2 สถานี 2.3 กม. อยู่หน้าสถานีตำรวจบางซื่อและธนาคารออมสิน ลุ้นสีน้ำเงินต่อขยายเปิด เม.ย.นี้  แหล่งข่าวจาก รฟม.เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาเปิดใช้สายสีน้ำเงินต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค ที่วิ่งลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเร็วขึ้นในเดือน ส.ค.นี้ หลังนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้นโยบายเร่งเปิด ทั้งนี้ต้องดูความพร้อม เนื่องจากรถขบวนใหม่ที่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) สั่งซื้อ 35 ขบวน จะมาถึงต้นเดือน เม.ย.นี้ “ถ้าระบบไฟฟ้าพร้อม แล้วใช้รถเก่าวิ่งก็เปิดเร็วขึ้นได้ หลังสงกรานต์ ส่วนเตาปูน-ท่าพระจะเปิด เม.ย. 2563 ค่าโดยสารเท่าเดิม 16-42 บาท แต่ช่วงทดลองอาจฟรี คาดมีผู้โดยสารกว่า 4 แสนเที่ยวคน/วัน จากปัจจุบันช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ มีผู้ใช้บริการ 3.1 แสนเที่ยวคน/วัน” แหล่งข่าวกล่าวว่า การเปิดใช้สายสีเขียวส่วนต่อขยาย งานก่อสร้างจะเสร็จทั้งโครงการในเดือน เม.ย.นี้ ปัจจุบันบีทีเอสทยอยติดตั้งงานระบบแล้ว ซึ่ง กทม. บีทีเอสและ รฟม.จะร่วมเปิดให้บริการก่อน 1 สถานี เดือนส.ค.นี้ จากสถานีหมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว จากนั้นเดือน ธ.ค. 2563 เปิดอีก 4 สถานี คือพหลโยธิน 24 รัชโยธิน เสนานิคม และ ม.เกษตรศาสตร์ และเดือน ก.ค. 2564 จะเปิดครบถึงสถานีคูคต รวม 16 สถานี คาดมีผู้ใช้บริการ 250,000 เที่ยวคน/วัน ส่วนแบริ่ง-สมุทรปราการ คาดมีผู้โดยสาร 97,100 เที่ยวคน/วัน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-296773  

Person read: 2377

05 March 2019

BOIแกรนด์เซลรับนักลงทุนทั่วโลก ดันแพ็กเกจEECปิดยอด7แสนล้าน

ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) บีโอไอ ผนึก 4 กระทรวงเศรษฐกิจ จัดบิ๊กอีเวนต์ 4 มี.ค. ชูพื้นที่ EEC บวกแพ็กเกจสิทธิประโยชน์กระตุ้นการลงทุนครึ่งปีแรก หวังเข้าเป้ายอดขอรับส่งเสริม 750,000 ล้านบาท พร้อมเสริม “คลินิกที่ปรึกษาการลงทุน” นักลงทุน 1,500 คน ตบเท้าร่วมมั่นใจช่วยกระตุ้นลงทุนและหวังนโยบายเดินต่อ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า จากการประเมินภาพการลงทุนในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ. 2562) นับเป็นช่วงซบเซา หรือ slowdown ผลจากวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน ประกอบกับอยู่ในช่วงภาวะการเตรียมการเลือกตั้ง และเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่สดใสมากนัก อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรก ชุมนุมนักลงทุนทั่วโลก 1,500 คน บีโอไอจึงจำเป็นต้องกระตุ้นการลงทุน โดยร่วมกับ 4 กระทรวงเศรษฐกิจ คือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดสัมมนา “THAILAND INVESTMENT YEAR-What’s New ?”ซึ่งเป็นสัมมนาครั้งใหญ่ประจำปีขึ้นในวันที่ 4 มี.ค. 2562 โดยขณะนี้มีนักลงทุนลงทะเบียนร่วมงานแล้วกว่า 1,500 คนซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติประมาณ 400-500 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่น รองมาคือ จีน ฮ่องกง ยุโรป และอเมริกา บีโอไอหวังเข้าเป้า 7.5 แสน ล. “จำนวนคนสมัครมากขนาดนี้สะท้อนว่านักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจกับมาตรการรัฐบาล และมีความพร้อมที่จะขยายกิจการลงทุน สัมมนาในครั้งนี้จัดเพื่อสื่อสารให้นักลงทุนทราบถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมดเพื่อยื่นขอส่งเสริมการลงทุน หวังว่าจะช่วยผลักดันยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนปีนี้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย 750,00 ล้านบาท”   ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งรูปแบบของกองทุนทางด้านการเงิน โครงการด้านการพัฒนา การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ กระทรวงคมนาคม ที่มีมาตรการเปลี่ยนโฉมไทยด้วย connectivity ทั้งโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ขณะที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีมาตรการสนับสนุนเรื่องของนวัตกรรม รวมถึง startup และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีมาตรการสำหรับนักลงทุนที่กำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัล 700 นักธุรกิจเข้าคลินิกลงทุน ทั้งนี้ ไฮไลต์สำคัญในงาน คือ การจัดคลินิกให้คำปรึกษากับนักลงทุน ซึ่งครั้งนี้จัดบริการใหญ่สุดเท่าที่เคยจัดมา โดยขณะนี้มีนักลงทุนเข้าขอรับคำปรึกษาทางคลินิกกว่า 700 คน ทางบีโอไอและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน จะร่วมให้คำปรึกษากว่า 40 คน เช่น บีโอไอ, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นต้น สำหรับมาตรการสำคัญที่บีโอไอเน้น คือ มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC ที่จะหมดสิทธิขอยื่นรับการส่งเสริมภายในเดือน ธ.ค. 2562 ที่ให้สิทธิประโยชน์สำหรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี ตามเงื่อนไข, ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 5-8 ปี+ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% อีก 5 ปี ตามเงื่อนไข อาทิ มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สหกิจศึกษา ทวิภาคี สิทธิประโยชน์ภายใต้การลงทุนใน 3 พื้นที่สำคัญ คือ 1.เขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ ได้แก่ เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa : ยกเว้นภาษีสูงสุด 8+4 ปี), เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd หรือ digital park Thailand : ยกเว้นภาษีสูงสุด 10+3 ปี), เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจ (21 นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกประกาศเป็นเขตส่งเสริมพิเศษภาคตะวันออก (EECi : ยกเว้นภาษีสูงสุด 10+3 ปี) 2.เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย (21 นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกประกาศเป็นเขตส่งเสริม : ยกเว้นภาษีสูงสุด 10+2 ปี) 3.เขตนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม (19 นิคมอุตสาหกรรม : ยกเว้นภาษีสูงสุด 10+1ปี) เลขาฯอีอีซีเร่งปิดการขาย นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า งานสัมมนาครั้งนี้จะมีนักลงทุนหลายประเทศที่ได้เคยเจรจากันก่อนหน้านี้เข้ามารับฟังมาตรการส่งเสริมที่บีโอไอมี และเชื่อว่าจะเป็นตัวเร่งให้นักลงทุนตัดสินการลงทุนได้ง่ายขึ้น “อย่างญี่ปุ่นเขามีความสนใจลงทุนไทยอยู่แล้ว และเราได้ลงนามกันในหลายเรื่อง เช่นเดียวกันกับจีน ฮ่องกง ไต้หวัน ที่มีการทำการสำรวจพบว่า กว่า 80% เป็นนักลงทุนอันดับ 1 ที่ให้ความสนใจลงทุนใน EEC” นางสาวกัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การจัดงานสัมมนาบีโอไอจะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญคือ เรื่องความต่อเนื่องของนโยบาย โดยเฉพาะเรื่อง EEC เพราะขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเลือกตั้งหากมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน แต่หากนโยบายยังเดินหน้าก็เชื่อว่าจะดึงการเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องการให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนนอกพื้นที่โครงการใหญ่ด้วย และต้องการให้รัฐส่งเสริมนักลงทุนที่มีการลงทุนอยู่เดิมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-296839

Person read: 1994

05 March 2019

แห่โอนบ้านทะลักหนีมาตรการLTV แบงก์อัดแคมเปญสินเชื่อโค้งสุดท้าย

คลังเผยยอดจัดเก็บภาษีโอนอสังหาฯ ม.ค. 62 พุ่ง 31% เหตุเร่งโอนก่อนมาตรการ LTV ใหม่ของแบงก์ชาติบังคับใช้ 1 เม.ย. 62 เผยโค้งสุดท้ายแบงก์เร่งอัดแคมเปญดอกเบี้ย-ฟรีสารพัดค่าธรรมเนียมกระตุ้นสินเชื่อต่อเนื่อง หลังไตรมาส 4/61 ยอดสินเชื่อบ้านพุ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี ขณะที่ ธปท.จับตาสถานการณ์อสังหาฯไตรมาส 2 เชื่อไม่กระทบการลงทุนผู้ประกอบการอสังหาฯ   ยอดภาษีโอนอสังหาฯพุ่ง นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ดัชนีเศรษฐกิจการลงทุนเอกชนในเดือน ม.ค. 2562 พบว่า ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงถึง 15.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการขยายตัวในหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่กรมที่ดินจัดเก็บให้ถึง 17% และภาษีการโอนอสังหาฯขยายตัวถึง 31% การขยายตัวดังกล่าวต่อเนื่องมาจากไตรมาส 4/ 2561 ที่ผ่านมา ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 9.4% จากเดือน ต.ค.ขยายตัว 14.9% เดือน พ.ย. 2.1% และเดือน ธ.ค. 10.5% โดยส่วนหนึ่งมาจากการเร่งโอน ก่อนที่มาตรการคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. 2562 และคาดว่าการเร่งโอนอสังหาฯจะยังขยายตัวสูงไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า ในระยะข้างหน้า หากการซื้อบ้านชะลอตัวลง ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชนบ้าง แต่คงไม่มากอย่างที่ผู้ประกอบการอสังหาฯแสดงความกังวลกัน อย่างไรก็ดี ก็คงต้องรอดูสถานการณ์ตัวเลขการโอนอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาส 2/2562 ด้วยว่าจะออกมาอย่างไร “แนวโน้มการลงทุนภาคเอกชนในปีนี้ยังดูขยายตัวได้ค่อนข้างดี ต่อเนื่องมาจากไตรมาส 4 ที่ผ่านมา และในเดือน ม.ค. 2562 ก็ยังมีโมเมนตัมที่ไปต่อได้”  สำหรับมาตรการ loan to value (LTV) ใหม่ของ ธปท.ที่จะบังคับใช้ 1 เมษายน 2562 ผู้กู้ซื้อบ้านสัญญาที่ 2 ขึ้นไปจะต้องวางเงินดาวน์เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 20-30% จากเดิมเงินดาวน์อยู่ที่ 10%   สินเชื่ออสังหาฯสูงสุดรอบ 4 ปี นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท. กล่าวในการแถลงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2561 ว่า ในปี 2561 สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เร่งตัวขึ้นอยู่ที่ 7.8% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 5.5% โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 แบงก์มีการเร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวสูง โดยเพิ่มขึ้นถึง 57,000 ล้านบาท “การขยายตัวของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสสุดท้าย ถือว่าเพิ่มสูงสุดในรอบ 4 ปี ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นผลจากการเร่งระบายอสังหาริมทรัพย์ ก่อนที่มาตรการ LTV จะบังคับใช้ในเดือน เม.ย. 2562” นายสมชายกล่าว ธอส.งัดดอกเบี้ย 2.79% ปั๊มยอด ขณะที่ล่าสุด ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้เปิดตัว 4 โครงการสินเชื่อปี 2562 ก่อนที่จะเริ่มบังคับใช้มาตรการ LTV ใหม่ โดยนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ได้เตรียมวงเงิน 16,500 ล้านบาท จัดทำแพ็กเกจสินเชื่อรองรับประชาชนทุกกลุ่มที่ต้องการมีบ้าน ประกอบด้วย 1) สินเชื่อ New Home Hi-speed อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 เท่ากับ 2.79% ต่อปี ให้กู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 1 ล้านบาท และเป็นที่อยู่อาศัยใหม่ที่ยังไม่เคยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ทั้งจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 0.1% ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี แต่ลูกค้าต้องยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมภายใน 29 มี.ค. 2562 โดยมีกรอบวงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท 2) สินเชื่อบ้านโครงการจัดสรรอัตราดอกเบี้ยปีแรก 2.50% ต่อปี โดยมีกรอบวงเงินสินเชื่อรวม 5,000 ล้านบาท 3) โครงการสินเชื่อบ้านเพิ่มสุข อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 เท่ากับ 3.90% ต่อปี กรอบวงเงินสินเชื่อรวม 1,000 ล้านบาท และ 4) โครงการสร้างบ้านสร้างอาชีพ สำหรับลูกค้าของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 เท่ากับ 3.15% ต่อปี กรอบวงเงินสินเชื่อรวม 250 ล้านบาท ออมสินอัดโปร 0% 3 เดือน ขณะที่ในส่วนของธนาคารออมสิน ล่าสุดได้ออกโปรโมชั่นสินเชื่อเคหะ “Home Loan” ให้กู้ซื้อ สร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม และไถ่ถอนจำนอง โดยลูกค้ายื่นกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2562 และต้องทำนิติกรรมสัญญาให้เสร็จภายในวันที่ 30 เม.ย. 2562 ซึ่งธนาคารจะยกเว้นค่าธรรมเนียมบริการสินเชื่อ ค่านิติกรรมสัญญา และค่าประเมิน (ต้องทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ) โดยสินเชื่อจะมีทั้งแบบคิดอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน เดือนที่ 4-12 คิดดอกเบี้ย MRR-6% หรืออยู่ที่ 1% ต่อปี ปีที่ 2-3 คิด MRR-2.875% หรืออยู่ที่ 4.125% ต่อปี และปีที่ 4 ถึงครบอายุสัญญา คิดที่ MRR-1.5% หรืออยู่ที่ 5.5% ต่อปี สำหรับกรณีลูกค้าไม่ประสงค์ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ก็จะมีดอกเบี้ย 3 เดือนแรก ที่ MRR-6.25% หรือ 0.75% เดือนที่ 4-12 คิดที่ MRR-5.517% หรืออยู่ที่ 1.483% ปีที่ 2-3 คิดที่ MRR-1% หรืออยู่ที่ 6% นอกจากนี้ ธนาคารยังมีโปรโมชั่นพิเศษที่ร่วมมือกับโครงการคอนโดมิเนียม ได้แก่ โครงการไนท์บริดจ์ สุขุมวิท-เทพารักษ์ โครงการในเครือ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ รวมทั้งโครงการบ้านกลางเมือง (Pleno) ของ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) กรณีเป็นลูกค้าออมสิน จะได้รับส่วนลด on-top พิเศษสูงสุด 20,000 บาท กรณีจองระหว่างวันที่ 9-10 มี.ค.นี้ เช่นเดียวกัน อสังหาฯแข่งโปรโค้งท้าย นางสาวอนงลักษณ์ แพทยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.เจ้าพระยามหานคร หรือ CMC กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไตรมาส 1/62 มีแผนระบายสต๊อกห้องชุดพร้อมอยู่ 800 ล้านบาท โดยมกราคม-กุมภาพันธ์ทำยอดขายแล้ว 400 ล้านบาท ล่าสุดจัดโปรโมชั่นออนท็อปในเดือนมีนาคม “ไฟนอล เซลส์” เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้าโดยนำห้องชุดพร้อมอยู่ราคา 5.9-8.9 หมื่น/ตารางเมตร 10 โครงการ ออนท็อปลดสูงสุด 1 ล้านบาทสำหรับ 3 ยูนิตพิเศษในโครงการแบ็งคอก ฮอไรซอน รามคำแหง 60 ราคา 5.8 ล้านบาท หรือเท่ากับลด 15-20% นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บมจ.แสนสิริ เปิดเผยว่า 2 เดือนแรกของปีนี้ประสบความสำเร็จจากแคมเปญ “โปรหมดเปลือก” ทำยอดขาย 2,500 ล้านบาท คาดว่าภายในสิ้นเดือนมีนาคมสามารถทำได้ตามเป้า 3,500 ล้านบาท ทั้งนี้ แสนสิรินำห้องชุดพร้อมอยู่ 18 โครงการ มอบส่วนลดสูงสุด 12 ล้านบาท ภายใต้แคมเปญนี้สามารถปิดการขาย 3 โครงการ ได้แก่ เดอะ ไลน์ จตุจักร-หมอชิต, บ้านไม้ขาว ภูเก็ต และดีคอนโด โคโค่ สุราษฎร์ธานี นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวว่า เอพีมีสต๊อกห้องชุดพร้อมอยู่ 6,150 ล้านบาท จัดโปรโมชั่นกระตุ้นการตัดสินใจซื้อก่อนมาตรการ LTV วันที่ 1 เมษายน 2562 ภายใต้แคมเปญ “จองถูก พร้อมอยู่” โดยนำ 4 คอนโดฯ ได้แก่ ไลฟ์ ปิ่นเกล้า, แอสปาย เอราวัณ, แอสปาย สาทร-ราชพฤกษ์, แอสปาย สาทร-ตากสิน คอปเปอร์โซน ราคา 1.99-2.59 ล้านบาท จองถูกเพียง 5,000 บาท รับฟรีทุกค่าใช้จ่ายวันโอน ค่าส่วนกลาง 1 ปี ของแถม มูลค่าสูงสุด 5 แสนบาท หรือรับเงินคืนสูงสุด 100,000 บาท   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-296622

Person read: 2158

04 March 2019

ต่างชาติเชื่อมั่น ดันหญิงไทยคนแรกนั่งประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO

(แฟ้มภาพ)น.ส.สุนันทา กังวาลกุลกิจ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ต่างชาติเชื่อมั่น ดันหญิงไทยคนแรก “สุนันทา กังวาลกุลกิจ ” เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) ขึ้นแท่นรับตำแหน่งประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO ต่อจากผู้แทนญี่ปุ่น นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า น.ส.สุนันทา กังวาลกุลกิจ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ณ นครเจนีวา ได้เข้ารับตำแหน่งประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของ WTO ทำหน้าที่กำกับดูแลภาพรวมการดำเนินงานขององค์กร เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2562 โดยมีวาระ 1 ปี ต่อจากผู้แทนญี่ปุ่น นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่มีการก่อตั้ง WTO เมื่อปี 2538 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อถือและความไว้วางใจของนานาชาติที่มีต่อประเทศไทย “การเข้ารับตำแหน่งในครั้งนี้ ถือว่ามีความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะเป็นช่วงสภาวะเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศอยู่ในภาวะเฝ้าระวัง ซึ่งเป็นผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน การเสริมสร้างความเข้มแข็งและความน่าเชื่อถือของ WTO จึงถือเป็นภารกิจสำคัญในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคี และยังมีประเด็นในการเตรียมประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 (MC12) ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิ.ย.2563 ซึ่งจะกำหนดทิศทางการค้าและการดำเนินการของ WTO ในอนาคต โดยเฉพาะการปฏิรูปองค์การการค้าโลกหรือ WTO Reform เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของพลวัตทางการค้าได้ดียิ่งขึ้น ภารกิจของประธานคณะมนตรีใหญ่ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของ WTO จึงมีทั้งการเสริมสร้างและผลักดันให้สมาชิกได้ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นชอบร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานของ WTO เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สมาชิกและประชาคมโลกมั่นใจว่า WTO ยังเป็นองค์กรสำคัญที่กำกับดูแล และสร้างความเป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศ”นายบุณยฤทธิ์กล่าว   สำหรับ WTO ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2538 มีสมาชิกแรกตั้ง 128 ประเทศ ไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 164 ประเทศ โดยWTO เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียวด้านการค้าระหว่างประเทศมีหน้าที่เจรจาจัดทำและกำกับดูแลกฎกติกาทางการค้าที่ใช้บังคับกับสมาชิกทุกประเทศอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น และยังเป็นองค์กรเดียวที่มีกลไกการระงับข้อพิพาทด้านการค้าเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับสมาชิกและทำให้การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันสามารถดำเนินได้อย่างโปร่งใสและสามารถคาดการณ์ได้ ส่งผลให้ WTO เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการค้าและเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน และถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในเวทีการค้ากรอบอื่นๆ ทั่วโลก ปัจจุบัน WTO มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทำหน้าที่บริหารความตกลงทางการค้ากว่า 30 ฉบับ เช่น ความตกลงเกษตร ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุน ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง เป็นต้น โดยความตกลงฉบับล่าสุด คือ ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2560 และยังมีองค์กรทบทวนนโยบายทางการค้า (TRP) ของประเทศสมาชิก รวมทั้งองค์กรในการระงับข้อพิพาท (DSB) ทั้งนี้ WTO ยังมีกลไกในการเจรจาเพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศให้ทันสมัยและเป็นธรรม รวมทั้งเจรจาจัดทำกฎเกณฑ์ในเรื่องใหม่ ๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-296608

Person read: 2752

04 March 2019

เทรนด์ออฟฟิศชาวกรุง ที่ตั้งดี-ใส่ใจสุขภาพ-บริการครบวงจร

“ออฟฟิศ” หรือ “สถานที่ทำงาน” ถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเข้าทำงาน ทั้งยังเกี่ยวข้องต่อการทำงานของพนักงานด้วยว่าจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ด้วย ซึ่งเหมือนกับโครงการเดอะ ปาร์ค (The PARQ) ที่พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด ที่บริหารงานโดย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยถึงแนวโน้มความต้องการของพนักงานในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ ทั้งนี้เพราะโครงการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสถานที่ทำงานซึ่งระบุว่า ทำเล และที่ตั้ง ที่สะดวกสบาย เข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้สะดวก คือ ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพิจารณาเมื่อจะเปลี่ยนงาน อีกทั้งกระแสความต้องการด้านสุขภาวะที่ดี การมีบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างครบครัน ตลอดจนเทคโนโลยีที่ทันสมัยภายในอาคารสำนักงาน อันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงานออฟฟิศ ซึ่งบ่งบอกถึงเทรนด์ใหม่ที่จะพลิกโฉมรูปแบบอาคารสำนักงานชั้นนำของกรุงเทพฯในอนาคตต่อไป โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากผลสำรวจทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานออฟฟิศในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพมหานคร (understanding Bangkok CBD office worker) ที่จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 ผ่านมา ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งชาย และหญิง ในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 25-45 ปี จำนวน 400 คน และเป็นกลุ่มคนทำงานในบริษัทของไทย-ต่างชาติเข้าร่วมตอบแบบสอบถาม “วิราจ จูทานิ” ผู้อำนวยการแผนกวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค (consumer insights) บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แบบสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติต่อสถานที่ทำงานในปัจจุบัน และปัจจัยด้านต่าง ๆ ของสถานที่ทำงานในมุมมองของคนวัยทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อทำความเข้าใจว่า อาคารสำนักงาน หรือสถานที่ทำงาน มีบทบาทและความสำคัญอย่างไรต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ทำงาน ทั้งยังสามารถสร้างความพึงพอใจ และส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งผลสำรวจจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ และเหล่าผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์วางแผนจัดการพื้นที่อาคารสำนักงานในอนาคตอย่างเหมาะสม     ตำแหน่งที่ตั้งสำคัญสูงสุด  จากผลสำรวจดังกล่าวระบุว่า กว่า 92% ของผู้ร่วมตอบแบบสำรวจมองว่า สถานที่ตั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำงาน และสำหรับการเลือกสถานที่ทำงานในอนาคต ซึ่งระยะเวลาเฉลี่ยที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการเดินทางไป-กลับที่ทำงานในปัจจุบัน คือ 60 นาที และใช้รถประเภทต่าง ๆ เดินทางถึง 2-3 ต่อ และกว่า 91% ระบุว่า ระยะทางของสถานที่ทำงานกับจุดบริการขนส่งมวลชนนั้นสำคัญมากต่อการพิจารณาที่ทำงานใหม่ รวมถึงกว่า 69% ให้ความสำคัญกับส่วนเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าวยังพบว่า กว่า 72% ต้องการเดินในระยะทางที่ต่ำกว่า 500 เมตร ระหว่างที่ทำงานกับจุดบริการขนส่งมวลชน และ 13% ของกลุ่มคนทำงานวัย 25-30 ปี ปฏิเสธที่จะไม่เดินไประบบขนส่งมวลชนถ้าต้องเดินมากกว่า 100 เมตร และพบว่า กว่า 31% ของคนกลุ่มนี้ต้องการใช้เวลาเดินทางไปทำงานต่ำกว่า 15 นาทีต่อวัน โดย 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจใช้ BTS และ MRT เป็นวิธีการเดินทางหลัก ส่วนกลุ่มระดับผู้บริหารวัย 41-45 ปีนั้นใช้เวลาเดินทางโดยรวมนานที่สุด โดย 36.7% ใช้เวลามากกว่า 90 นาที ในการเดินทางมาทำงาน “นอกจากเรื่องสถานที่ตั้งของที่ทำงาน ผลสำรวจยังสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันมนุษย์เงินเดือนต้องการให้ออฟฟิศเป็นมากกว่าแค่สถานที่ทำงาน โดยระบุว่าปัจจัยสำคัญอีก 3 ประการที่จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน คือ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการต่าง ๆ ภายในอาคารสำนักงาน เช่น ร้านค้า ยิม ร้านอาหาร บริการรับส่งไปรษณีย์ (43%) เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยและสวัสดิภาพที่ดี (42%) มีพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจระหว่างการทำงาน (36%)” สะดวก คือ ปัจจัยเลือกทำงาน  “วิราจ” กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากผลสำรวจดังกล่าวยังพบว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเลือกสถานที่ทำงาน คือ สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ ภายในอาคารสำนักงาน โดยชาวออฟฟิศส่วนใหญ่โหวตให้ฟู้ดคอร์ต ร้านสะดวกซื้อ ยิม และร้านอาหารที่แฮงเอาต์หลังเลิกงาน เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการภายในอาคารสำนักงาน 4 อันดับแรก ที่ตอบโจทย์ชีวิตการทำงานมากที่สุด “เพราะวิถีการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายสามารถปฏิวัติได้จากชีวิตการทำงานออฟฟิศเช่นกัน เพราะ 92% ของผู้ร่วมตอบแบบสำรวจระบุว่า การมีตัวเลือกอาหารเพื่อสุขภาพในสถานที่ทำงานจะช่วยให้พวกเขาเลือกกินอาหารที่ดีขึ้น และดูแลสุขภาพมากขึ้นได้ นอกจากนี้กว่า 93% เห็นว่าถ้ามียิมในอาคาร หรือมีสวนสาธารณะอยู่ใกล้ ๆ จะทำให้หันมาออกกำลังกายมากขึ้นด้วย” สมาร์ทเทคโนโลยีออฟฟิศยุคใหม่ ขณะที่สมาร์ทเทคโนโลยียังถือเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทุกกลุ่มอายุเห็นพ้องต้องกันว่า ทุกอาคารสำนักงานจำเป็นต้องมี โดยกว่า 62% ระบุว่าเทคโนโลยีการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัย คือ สิ่งสำคัญที่สุด รองลงมาคือระบบการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน (50%) แสดงให้เห็นถึงกระแสของชาวออฟฟิศที่มีต่ออาคารรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบที่จอดรถพร้อมเทคโนโลยีอันชาญฉลาด (47%) ส่วนอีกสิ่งที่น่าสนใจ คือ เมื่อพิจารณาตามเพศชาย-หญิง พบว่า เพศหญิงมากถึง 46% ต้องการระบบห้องน้ำอัตโนมัติมากกว่าผู้ชาย เพราะคำนึงถึงเรื่องความสะอาด และต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่กลุ่มผู้ชายจะให้ความสำคัญกับสถานีอัดประจุสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีเพียง 9% สุขภาวะที่ดี คือ หัวใจการทำงาน ถึงตรงนี้ “วิราจ” บอกว่า ไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบันที่หันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าสอดรับกับผลสำรวจนี้เป็นอย่างดี โดยผู้ร่วมตอบแบบสำรวจระบุว่า 3 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความพึงพอใจและส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมาก คือ 1) อากาศภายในอาคารที่ปลอดมลพิษ (64%) 2) การเข้าถึงแสงธรรมชาติและสามารถมองเห็นวิวภายนอกอาคารได้ (45%) และ 3) การมีพื้นที่สีเขียวในอาคารสำนักงาน (40%) อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความคาดหวังที่สูงขึ้นของพนักงานออฟฟิศในกรุงเทพฯที่มีต่อสถานที่ทำงาน ซึ่งบริษัทต่าง ๆ สามารถนำมาปรับใช้ในการดึงดูดกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่มาพร้อมความสุขของทุกคนในองค์กรต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-296506  

Person read: 2151

04 March 2019

ซันโทรี่-เป๊ปซี่ขนสินค้าบุก ลงทุนรง.เพิ่มกำลังการผลิต

หลังผนึกกำลังร่วมทุนบุกตลาดเมืองไทย ซันโทรี่-เป๊ปซี่ เปิดเกมลุยเต็มรูปแบบ เตรียมขนสินค้าใหม่เข้ามาสร้างสีสันเขย่าตลาด เครื่องดื่มพรีเมี่ยม-เทรนด์สุขภาพหัวหอกดันยอดขาย พร้อมลงทุนเพิ่มไลน์กำลังการผลิตรับดีมานด์ตลาด  นางสาวเคธี่ อึ้ง ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หลังจากตั้งซันโทรี่ได้จับมือกับเป๊ปซี่ตั้งบริษัทร่วมทุน “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ในปีที่ผ่านมา มีการปรับระบบภายใน และศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ในการทำตลาด จากพอร์ตโฟลิโอของซันโทรี่ที่มีเครื่องดื่มอยู่จำนวนมาก โดยความต้องการที่เห็นได้ชัดคือการที่ผู้บริโภคใส่ใจกับสุขภาพ และยอมที่จะใช้จ่ายสูงขึ้นสำหรับสินค้าที่มีนวัตกรรมและเป็นมิตรกับสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องไปกับมาตรการของภาครัฐในเรื่องภาษีน้ำตาล ตลอดจนสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ ที่ทำให้กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล และน้ำตาลน้อยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง   โอกาสดังกล่าว ทำให้บริษัทเตรียมเปิดตัวสินค้ารายการแรกภายใต้การร่วมทุน ซึ่งเป็นโปรดักต์จากพอร์ตโฟลิโอของซันโทรี่ แบรนด์ “กู๊ดมู้ด” (Goodmood) เครื่องดื่มแต่งกลิ่น-รส มีน้ำตาลน้อย ซึ่งเปิดตัวที่อินโดนีเซียเมื่อ 1 ปีแล้ว และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เข้ามาทำตลาดในไทย โดยเตรียมที่จะเปิดตัว 2 รสชาติ อาทิ รสโยเกิร์ต และรสแบล็คเคอเรนท์ วางขายในขวดพีอีทีขนาด 440 มล. ราคา 20 บาท มีจุดขายคือปริมาณน้ำตาลที่ต่ำกว่า 6 กรัม ต่อ 100 มล. ตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพของผู้บริโภครุ่นใหม่ และสร้างความแตกต่างจากสินค้าอื่น ๆ ในท้องตลาด สำหรับแผนการตลาด หลังจากที่เริ่มกระจายสินค้าเข้าโมเดิร์นเทรดตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เตรียมที่จะนำสินค้าดังกล่าวเข้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ในวันที่ 14 มีนาคมนี้ พร้อมกับเตรียมงบฯลงทุน 270 ล้านบาท ซึ่งสามารถแบ่งเป็นงบฯการตลาด 170 ล้านบาท สื่อสารอย่างครบวงจร สร้างการรับรู้แบรนด์ และการแจกตัวอย่างทดลองชิม 1 ล้านชิ้น และอีก 100 ล้านบาทลงทุนเพิ่มไลน์การผลิตโรงงานที่จังหวัดสระบุรี ให้สามารถรองรับเครื่องดื่มชนิดนี้ ซึ่งจะมีกำลังผลิต 800 ขวดต่อนาที นอกจากนี้ บริษัทยังเปิดกว้างในการนำสินค้าใหม่ ๆ ในพอร์ตโฟลิโอของซันโทรี่ เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น “ทิศทางหลักของซันโทรี่-เป๊ปซี่ จากนี้จะมองประโยชน์ของ บ.รวมทุนเป็นหลัก ไม่แบ่งแยกแบรนด์หรือกลุ่มสินค้าว่าจะต้องมีสัดส่วนเท่าใด สินค้าใดมีศักยภาพจะนำมาทำตลาดทันที” ขณะที่ นายโยสุเกะ ยามาชิตะ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัทซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด เอเชียหน่วยธุรกิจผลิตเครื่องดื่มน็อนแอลกอฮอล์ในเครือซันโทรีโฮลดิ้ง ฉายภาพธุรกิจของบริษัทว่า ตลาดเครื่องดื่มญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเทรนด์สุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาหลายปี ส่งผลให้ดีมานด์เครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล และน้ำตาลน้อยเติบโตสูงขึ้น สวนทางกับกลุ่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงที่เติบโตลดลง บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มสุขภาพออกมาจำนวนมาก เพื่อตอบรับกับเทรนด์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น น้ำแร่ น้ำแต่งกลิ่น-รส ชา กาแฟ และอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันยอดขายจากกลุ่มนี้มีมูลค่ากว่า 1.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสัดส่วนรายได้ที่สูงที่สุดในเครือ โดยมีสินค้าไฮไลต์อย่างเครื่องดื่มน้ำแต่งกลิ่น ซึ่งจะมีทั้งรสชาติผลไม้ โยเกิร์ต ฯลฯ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จนมียอดขายในปีที่ผ่านมา 3.5 หมื่นล้านลัง หรือ 13% ของตลาดน้ำดื่มในญี่ปุ่น   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/marketing/news-296416

Person read: 2343

04 March 2019

20 ปี กว่าจะคลอด กม.คุ้มครองข้อมูล

หลังจากบรรจุเป็นวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มาตั้งแต่ 22 ก.พ. 2562 และถูกเลื่อนการพิจารณาแล้วเลื่อนอีก สำหรับ 2 ร่างกฎหมายสำคัญที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ผลักดัน ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ในที่สุดเมื่อ 28 ก.พ. 2562 สนช.ลงมติ 161 เสียง ผ่านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ 133 เสียง เห็นชอบร่างกฎหมายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย หลังพยายามยกร่างกันมาหลายยุคหลายรัฐบาล โดยเฉพาะกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ยกร่างครั้งแรกเมื่อ 20 ปีก่อน เฉพาะรัฐบาลนี้ก็เปลี่ยนคณะทำงานยกร่างมาแล้วหลายครั้ง เผชิญกับเสียงคัดค้านมาตลอด จนได้ปรับแก้อีกครั้ง แม้ว่าเมื่อฟังความเห็นจากหลายเสียงที่คัดค้านก่อนนี้ ส่วนใหญ่จะพอใจการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ในระดับหนึ่ง แต่เกือบทั้งหมดพร้อมใจกันเป็นห่วงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่มากในสังคมไทย   ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ สาระสำคัญของกฎหมายไซเบอร์ซีเคียวริตี้คือ จะตั้ง “กมช.” คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แต่การดำเนินงานจะมี “กกม.” คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งรัฐมนตรีดีอีเป็นประธาน ดำเนินการโดยจะกำหนดให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหรือบริการใน 8 ด้าน ได้แก่ ความมั่นคงของรัฐ บริการภาครัฐที่สำคัญ การเงินการธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การขนส่งและโลจิสติกส์ พลังงานและสาธารณูปโภค สาธารณสุข และอื่น ๆ ตามที่บอร์ดระบุเพิ่ม ต้องมีมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยตามที่กำหนดทั้งยังแบ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็น 3 ระดับ คือ “ไม่ร้ายแรง” ซึ่งหมายถึงระบบถูกโจมตีให้ด้อยประสิทธิภาพลง “ร้ายแรง” หมายถึง การโจมตีที่มุ่งระบบของ CII ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ และ “วิกฤต” คือ การโจมตีที่ส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้าง ทำให้ระบบล้มเหลวจนรัฐควบคุมไม่ได้ และอาจลามไปถึงระบบอื่น โดยภัยระดับ “ร้ายแรง” อาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีดีอี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือ กกม. จะออกคำสั่งเพื่อรับมือ โดยมีหนังสือขอความร่วมมือบุคคลมาให้ข้อมูล ขอเอกสาร เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์หรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง หรือคาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคาม โดยได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองสถานที่นั้น กรณีจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบ รวมถึงการยึด-อายัดอุปกรณ์ ให้ยื่นคำร้องต่อศาล หากเป็นระดับ “วิกฤต” ให้เป็นหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลในกรณีจำเป็นเร่งด่วน คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยประธานจะได้มาจากการสรรหาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งนายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภา ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการสรรหา หลักสำคัญคือ การเก็บรวบรวม การใช้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอย่างชัดเจน และสามารถถอนความยินยอมได้ รวมถึงมีสิทธิขอให้ลบหรือทำลายได้เมื่อการเก็บ ใช้ เปิดเผย ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือถอนความยินยอม โดยในหมวดของการคุ้มครองข้อมูลได้ให้เวลาทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตัว 1 ปีหลังประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากคณะกรรมการจะต้องมีการออกประกาศขั้นตอนระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ อีกราว 30 ฉบับ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีทั้งโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี และโทษปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท จนถึงระดับ 5 ล้านบาท แล้วแต่ประเภทของข้อมูล เมื่อโลกเข้าสู่ยุคของไซเบอร์และดาต้า “ทุกคน” ล้วนมีสิทธิเข้าข่ายทั้งได้รับความคุ้มครองและทั้งต้องปฏิบัติตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จึงควร “อ่าน” และศึกษารายละเอียดต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/ict/news-296385

Person read: 2178

04 March 2019

แล้งยาวทุบเกษตร-ส่งออก รากหญ้าอ่วมเขื่อนยักษ์วิกฤต!

แฟ้มภาพ เขื่อนอุบลรัตน์-สิรินธร-จุฬาภรณ์วิกฤตหนัก เหลือน้ำใช้แค่ 5-8% กรมอุตุฯเตือนปีนี้ฤดูร้อน-แล้งมาเร็วและนานกว่าทุกปี อุณหภูมิจะพุ่งอีก 1-2 องศา ขอนแก่นหนักสุด น้ำเหลือน้อยมาก สภาอุตสาหกรรมหารือด่วนกระทรวงพาณิชย์ “ข้าว-มัน-น้ำตาล” ผลผลิตลดหวั่นกระทบเป้าส่งออก 1.6 หมื่นล้านเหรียญ เกษตรฯสั่งงดทำนาปรังรอบ 3 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทยปี 2562 จะเริ่มในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ไปจนกระทั่งถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2562 โดยฤดูร้อนปีนี้จะร้อนมากกว่าปี 2561 และร้อนมากกว่าปกติอีก 1-2 องศาเซลเซียส โดยฤดูร้อนจะมาเร็วและนานมากกว่าทุกปี ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมและรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เขื่อนอีสานวิกฤต สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเมื่อเร็ว ๆ นี้และได้มีการรายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (เขื่อน) ทั่วประเทศขณะนี้ อยู่ที่ 48,280 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 68 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 24,738 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52) เทียบกับปี 2561 (52,142 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 74) หรือน้อยกว่าปี 2561 จํานวน 3,862 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนจํานวน 14.96 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจํานวน 118.64 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 22,646 ล้าน ลบ.มสภาพน้ำในเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์-แควน้อยบำรุงแดน-ป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งจะมีผลต่อพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานครปรากฏมีปริมาตรน้ำในเขื่อนรวมกัน 14,751 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุ ปริมาตรน้ำใช้การได้อยู่ที่ 8,055 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุ เขื่อนที่มีปริมาณน้ำ “ต่ำกว่า” เกณฑ์ปกติ (LRC) 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์-เขื่อนสิรินธร และเขื่อนจุฬาภรณ์ที่มีสถานการณ์น้ำน่าเป็นห่วงมากและจะเข้าสู่วิกฤตในเดือนเมษายน หากยังไม่มีน้ำไหลลงเขื่อนอีก โดยเขื่อนจุฬาภรณ์มีปริมาตรน้ำใช้การได้เหลืออยู่เพียง 53 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 32 ของความจุน้ำใช้การ เขื่อนอุบลรัตน์เหลือน้ำใช้การได้ 112 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 5 และเขื่อนสิรินธรเหลือน้ำใช้การได้ 150 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 8 เท่านั้น ที่สำคัญก็คือน้ำไหลเข้าเขื่อนทั้ง 3 แห่งคิดเป็นร้อยละ 0 หรือไม่มีน้ำไหลเข้าเลย ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เข้าสู่ช่วงฤดูแล้งเต็มที่ในเดือนเมษายนนี้ แล้งลากยาวถึงพฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานชลประทานที่ 7 ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประเมินน้ำต้นทุนของเขื่อนสิรินธร (ปริมาตรน้ำปัจจุบันอยู่ที่ 997 ล้าน ลบ.ม.) โดยทางกรมชลประทานได้ขอสนับสนุนน้ำจากเขื่อนไป 200 ล้าน ลบ.ม. เพื่อจัดส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร อ.พิบูลมังสาหาร 90,000 ไร่ ประกอบกับ กฟผ.มีปัญหาเรื่องระบบสายส่งจำเป็นต้องใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า ดังนั้นจึงต้องขอความร่วมมือจากเกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังลงและให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทน ส่วนแผนการรับมือภัยแล้งเบื้องต้นกรณีที่ฤดูแล้งอาจจะยาวไปถึงเดือนพฤษภาคม 2562 มีความจำเป็นต้องเก็บน้ำในแม่น้ำมูลไว้ที่ระดับประมาณ 107.50 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง-รทก.) ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำก้อนสุดท้ายที่ต้องเก็บไว้เพื่อให้พ้นฤดูแล้ง หากเทียบกับทุกปีที่ผ่านมาระดับน้ำที่เก็บไว้จะอยู่ที่ระดับ 106.5-106.7 เมตร (รทก.) เท่านั้น โดยการเก็บน้ำที่ระดับ 107.50 เมตรดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับแหล่งท่องเที่ยวบริเวณแก่งสะพือ-หาดคูเดือย และจะไม่มีการระบายน้ำเพื่อเล่นสงกรานต์ด้วย หน่วยนาคราชมาแล้ว   นางสาวจงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นว่า ได้มีการจัด “หน่วยนาคราช (หน่วยซ่อมบำรุงรักษา)” ทั้งหมด 37 ชุด และได้เตรียมจุดจ่ายน้ำถาวรอีก 83 แห่งทั่วประเทศ รถปรับปรุงคุณภาพน้ำเคลื่อนที่ 18 ชุด รถเจาะบ่อบาดาล 85 ชุด และสร้างระบบขอความช่วยเหลือภัยแล้งออนไลน์ ในขณะที่การใช้น้ำบาดาลในประเทศอยู่ที่ 14,741 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยพบว่าภาคกลางมีการใช้น้ำมากที่สุด ขณะที่นายธงชัย ระยะกุญชร ผู้อำนวยการกองสื่อสารองค์กร การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กล่าวว่า ผู้ว่าการ กปภ.ได้มอบหมายให้ผู้จัดการสาขา กปภ.ในพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยแล้งเร่งสำรองน้ำ โดยประสานกรมชลประทานอย่างใกล้ชิดในทุกสัปดาห์ หากคาดว่า “น้ำดิบ” ไม่พอให้หาแหล่งน้ำสำรอง “ตอนนี้เริ่มเห็นสัญญาณชัดเจนในภาคอีสานซึ่งยังไม่วิกฤต” แต่ในจังหวัดขอนแก่นเห็นได้ชัดว่าจะต้องสำรองน้ำและเฝ้าระวังมากที่สุดเพราะ เป็นเมืองเศรษฐกิจมีการใช้น้ำในปริมาณมาก ส่วนภาคตะวันออกและภาคเหนือตอนล่างยังอยู่ในช่วงที่ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำ “ตอนนี้เรายังไม่มีการลดแรงดันน้ำ ถ้าฝนยังไม่ตกอย่างแรกคือหาแหล่งน้ำสำรอง หากไม่ได้ก็ต้องลดแรงดันน้ำ-ลดกำลังผลิตเพื่อให้มีน้ำใช้ไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ถ้ายังไม่พออีกก็ต้องใช้วิธีผันน้ำจ่ายเป็นโซน แต่จากการประชุมกับกรมชลประทานมั่นใจว่าสามารถผันน้ำให้เพียงพอได้” ขอนแก่นหนักสุด นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นจังหวัดที่คาดว่าจะประสบปัญหาภัยแล้งมากที่สุด กล่าวว่า จังหวัดได้รณรงค์รับมือภัยแล้งมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 ด้วยการให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยและข้าวโพดหลังฤดูกาลทำนา ทำฝายเก็บกักน้ำ ในขณะที่เขื่อนอุบลรัตน์ก็มีปริมาณน้ำเหลือน้อยมาก (น้ำใช้การได้ 112 ล้าน ลบ.ม.หรือ 5% ของความจุอ่าง) ทางจังหวัดได้ยื่นเรื่องขอทำฝนเทียมจากกองบินฝนหลวงในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนทางจังหวัดมหาสารคามก็ได้ขอให้ปล่อยน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ไปตามลำน้ำชีเพื่อบรรเทาภัยแล้งในช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ผลการสรุปในที่ประชุมยังไม่สามารถทำได้เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อไปในอนาคตได้ “ตอนนี้ต้องกันน้ำไว้เพื่อไม่ให้กระทบต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนให้เดือดร้อนน้อยที่สุด” นายสุเทพ รื่นถวิล หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ผู้ว่าโคราชได้มอบนโยบายไว้ว่า “โคราชต้องไม่ขาดแคลนน้ำ” ปัจจุบันพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามี 32 อำเภอ พบว่ามี 13 อำเภอ 37 ตำบล 101 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำบริโภค 400 กว่าตำบล 3,000 กว่าหมู่บ้าน “ถือว่ายังน้อย” หรือประมาณ 10% ของพื้นที่ทั้งหมด ขณะนี้ได้ทำการแก้ไขไปแล้ว 7 อำเภอ 24 ตำบล 50 หมู่บ้าน นอกนั้นอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขและมอบหมายให้เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ แต่ละพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ห้ามไม่ให้มีการปลูกข้าวนาปรังและหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย “สถานการณ์ในโคราชไม่น่าเป็นห่วง คาดว่าจะมีผลกระทบไม่มาก แต่ต้องดูสถานการณ์เดือนต่อเดือน” นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า พื้นที่ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงคือโซนใต้ ได้แก่ อำเภอแม่วาง, จอมทอง, ฮอด, ดอยหล่อ, สะเมิง, แม่แจ่ม และดอยเต่า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่บนภูเขาที่ต้องอาศัยน้ำฝนและพื้นที่เชิงเขาที่ระบบชลประทานเข้าไปไม่ถึง ด้านนายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ได้มีการเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บกักน้ำไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาโดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอนครไทย, บางระกำ, วัดโบสถ์ และพรหมพิราม มีการจัดสรรรอบเวรแบ่งจ่ายน้ำจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนเพื่อใช้ทำการเกษตร ตอนนี้พบอำเภอที่ประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว 3 อำเภอ ได้แก่ นครไทย, ชาติตระการ และพื้นที่ ต.ทับยายเชียง ต.ดงประคำ อ.พรหมพิราม “ขณะนี้มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายไปแล้ว 3,500-4,000 ไร่” ข้าว-มัน-น้ำตาล-ผักผลไม้กระทบ นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในการประชุมประเมินสถานการณ์ส่งออกในกลุ่มประชารัฐ D4 ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการหารือถึงผลกระทบภัยแล้งจากภาวะเอลนิโญ ว่าอาจส่งผลกระทบให้วัตถุดิบในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในช่วงครึ่งปีหลังของการส่งออกปีนี้โดยเฉพาะข้าว, มันสำปะหลัง, น้ำตาล, ผักและผลไม้ “อาจจะมีปริมาณลดลง” และหากผลกระทบจากภัยแล้งรุนแรงก็จะทำให้ภาพรวมการส่งออกในปี 2562 ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ (ขยายตัว 5%) โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรและอาหารซึ่งคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 5% ก็อาจจะต้องมีการทบทวนอีกครั้งในเดือนเมษายนนี้ “ในที่ประชุมมีการพูดถึงกลุ่มข้าวน่าห่วงมากที่สุดเพราะไม่เพียงแต่แล้งจนต้องเลิกปลูกข้าวนาปรังแล้ว แต่ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากข้าวพันธุ์ใหม่ และเงินบาทที่แข็งค่าทำให้เสียเปรียบ ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลก็ให้ความเห็นว่า การส่งออกน้ำตาลปีนี้อาจจะเติบโตลดลงถึง 7% เพราะต้องแข่งขันรุนแรง โดยสินค้ากลุ่มหลัก ๆ เหล่านี้คิดเป็นมูลค่าส่งออกถึง 16,592 ล้านเหรียญสหรัฐ และหากรวมอุตสาหกรรมอาหารก็จะมีมูลค่าการส่งออกรวม 21,339 ล้านเหรียญ เราคงต้องมาดูผลผลิตและทบทวนกันอีกครั้งในเดือนเมษายนนี้” โดยขอให้รัฐบาลบริหารจัดการน้ำล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันก็ต้องหาแผนสำรองโดยการอาศัยจังหวะที่ประเทศไทยเป็นประธานประชุมอาเซียนในปีนี้สร้างความร่วมมือจับคู่พันธมิตรในอาเซียนเพื่อเชื่อมโยงวัตถุดิบและพยายามสร้างมาตรฐานสินค้าขึ้นมาใช้ร่วมกันให้ได้ ห้ามปลูกข้าวนาปรังรอบ 3 นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯได้ขอความร่วมมือไม่ให้ชาวนาปลูกข้าวนาปรังรอบ 3 แล้ว ซึ่งโดยปกติจะเริ่มปลูกในเดือนเมษายน-มิถุนายน โดยแจ้งว่า กรมชลประทานจะไม่ปล่อยน้ำ ตอนนี้ชาวนาส่วนใหญ่กำลังอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบ 2 ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน “ยังไม่ได้เริ่มปลูกรอบที่ 3” สำหรับปริมาณผลผลิตนาปรังรอบ 3 มีสัดส่วนไม่มากนัก หากเทียบกับนาปีที่มีปริมาณข้าวเปลือก 24 ล้านตัน ขณะที่นาปรังรอบ 2 จะมีปริมาณ 8 ล้านตัน ดังนั้นการลดปริมาณการปลูกนาปรังรอบ 3 จึงไม่น่าจะมีผลต่อราคาข้าวเปลือกในประเทศมากนัก รายงานข่าวจากกลุ่มโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือระบุว่า การสั่งให้ชาวนาหยุดทำนาปรังจะมีผลทำให้ผลผลิตข้าวนาปรังในอีสานภาพรวมลดลงประมาณ 40-50% ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด แต่ด้วยเหตุที่ภาคอีสานส่วนใหญ่จะเน้นการทำข้าวนาปีเป็นหลัก จึงมองว่ากระทบไม่มากนัก และจะมีบางจังหวัดที่ยังสามารถปลูกข้าวได้ แต่เฉพาะจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับเขื่อนอุบลรัตน์จะได้รับผลกระทบสูงสุดเพราะ ภาพรวมน้ำสำหรับใช้อุปโภคบริโภคเหลือเพียง 5% เท่านั้น ถือว่า “แล้งมาเร็วมากจนน่าจะต้องมีการดึงน้ำส่วนที่สำรองไว้เพื่อความมั่นคงของเขื่อนมาใช้ทำประปาด้วย” ดังนั้นการปลูกข้าวนาปรังในจังหวัดขอนแก่นอาจเสียหายประมาณ 60-70% จากที่เคยปลูกได้หลัก 100,000 ตัน ส่วนจังหวัดใกล้เคียงอย่างกาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม ยังสามารถใช้น้ำจากเขื่อนลำปาวได้ ด้านพื้นที่เพาะปลูกในจังหวัดนครราชสีมาก็เริ่มจะได้รับผลกระทบแล้วจากการไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนลำพระเพลิง “ข้าวนาปรังที่ปลูกในภาคอีสานส่วนใหญ่จะเป็นข้าวเหนียวและข้าวขาว โดยราคาข้าวเปลือกข้าวสารเหนียวนาปรังสูงขึ้นเป็น กก.ละ 11-12 บาท หรือสูงกว่าข้าวเจ้า กก.ละ 7 บาท ส่วนราคาข้าวสารเหนียวเฉลี่ย กก.ละ 23-24บาท โดยข้าวเหนียวส่วนใหญ่บริโภคในประเทศเป็นหลัก ส่วนที่ส่งออกก็มีส่งออกไปจีนเป็นตลาดหลัก ราคาส่งออกปรับสูงขึ้นจาก 720-750 เหรียญสหรัฐเป็น 820-850 เหรียญต่อตัน เมื่อราคาดีขึ้นอาจจะจูงใจให้ชาวนาหันมาปลูกข้าวเหนียวมากขึ้นในฤดูต่อไป” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-296173

Person read: 2229

02 March 2019

ระยองคึกรับเมืองไฮสปีด ชงรถไฟฟ้า4สายเชื่อมEEC

ระยองตื่นรับไฮสปีดเทรนแต่หัววัน รื้อระบบขนส่งใหม่ทั้งกระบิ ชงลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา 4 สาย เชื่อม smart bus 3 เส้นทาง เปิดให้เอกชนร่วมวง PPP กว่า 2.5 หมื่นล้าน พลิกที่ดินย่าน CBD เมืองเก่า พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริการผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง เชื่อมเศรษฐกิจอีอีซีบูม ม.บูรพา-ม.เกษตร ดันพิมพ์เขียวแจ้งเกิด แหล่งข่าวระดับสูงจากองค์การบริหารจังหวัดระยองเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ระยองกำลังจะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหม่ คู่กับการพัฒนาที่ดินรอบสถานี เงินลงทุน 15,000-25,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามการศึกษา 2 ฉบับคือ 1.โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง 25,000 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานจังหวัดระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยบูรพาศึกษา ฉบับที่ 2.การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง 15,000 ล้านบาท ซึ่งเทศบาลนครระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษา พร้อมเสนอแผนพัฒนาเมืองรัศมีรอบสถานีหลัก เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาและสรรหาผู้ดำเนินโครงการ อาจให้เอกชนร่วมลงทุน PPP หัวใจของการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ พบว่า”จราจรติดขัดเป็นปัญหาหลักของระยอง และในอนาคต EEC เกิด จะมีคนเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล ปริมาณจราจรในอนาคตมีความต้องการเดินทางในเขตผังเมืองรวมระยอง จะเพิ่มขึ้นเป็น 383,231 เที่ยว/วัน ปี 2563 จะมีปริมาณการเดินทางเพิ่มขึ้น 73.06% โดยระบบขนส่งใช้รถสองแถวเป็นหลัก จึงต้องพัฒนา” โชว์รถไฟฟ้า 4 สายเชื่อมเมือง โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยองนั้น แบ่งเป็น 3 ระยะ รวม 316.40 กม.84 สถานี วงเงิน 25,845,252,880 บาท แบ่งเป็น โครงการระยะสั้น รถไฟฟ้า light rail transit (LRT) (ระยะที่ 1) วิ่งยกระดับบนเกาะกลางคือ สายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง -สถานีตะพง 20 กม. 7 สถานี วงเงิน 12,854,980,000 บาท และ smart bus 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) สายสีแดง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1-ห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 2) สายสีฟ้า สถานีห้างสรรพสินค้า Passion-สถานีอู่ตะเภาและ 3) สายสีเทา สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2-แยกทับมา-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 รวม 89.93 กม. 36 สถานี วงเงิน 194,403,000 บาท   โครงการระยะกลาง วงเงิน 12,641,539,880 บาท แบ่งเป็นรถ LRT 1 สายสีม่วง (ระยะที่ 2) สถานี รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์-สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง 23.99 กม. 5 สถานี วงเงิน 12,458,741,880 บาท และ smart bus 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.สายสีเขียวเข้ม สถานีขนส่งแห่งที่ 1-สถานีบ้านค่าย 2.สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 รวม103.88 กม. 21 สถานี วงเงินรวม 182,798,000 บาท โครงการระยะยาว แบ่งเป็น smart bus สายสีน้ำเงิน สถานีตะพง-สถานีท่าเรือบ้านเพ 29.80 กม. 6 สถานี วงเงิน 61,160,000 บาท และสายสีเหลือง สถานีโรงพยาบาลระยอง-สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ระยะทาง 48.80 กม. มี 13 สถานี วงเงิน 93,170,000 บาท นอกจากศึกษาพื้นที่ 3 สถานีหลัก ได้แก่ 1) สถานีตะพง ลักษณะ TOD ในพื้นที่อยู่อาศัยชุมชนชานเมือง เน้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ผู้มีรายได้ปานกลางพัฒนาเป็นคอมมิวนิตี้มอลล์ 2) สถานีเทศบันเทิง ในศูนย์กลางเมือง เน้นพัฒนาสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง-รายได้สูง 3) สถานีสำนักงานขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 เน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ส่งเสริมเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่การค้า และที่อยู่อาศัยด้วยจักรยาน ส่งเสริมการพัฒนา community mall ขนาดเล็ก พลิกที่ดิน 3 ย่าน CBD เก่า นายฉัตรนุชัย สมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลการศึกษาให้เริ่มต้นด้วยรถชัตเทิลบัส (shuttle bus) ก่อน หลังจากนั้นจึงทำรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน ภายใต้เงื่อนไขที่มีสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีที่ 10 ระยองแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ สายสีแดง ระยะทาง 23 กม. มี 18 สถานี ถ้าใช้ระบบ LRT วงเงินลงทุน 14,476.43 ล้านบาท เริ่มจากถนนสุขุมวิทบริเวณห้วยโป่ง ถึงบริษัท IRPC และสายสีเหลือง ใช้รถชัตเทิลบัสวงเงินลงทุน488.01 ล้านบาท ระยะทาง 13 กม. มี 14 สถานี เริ่มจากถนนตากสินมหาราช บริเวณก้นปึกถึงถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทอุดม บรรจบสาย 36 และเลี้ยวซ้ายแยกโกลบอลเฮ้าส์ ไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทบริเวณแยกขนส่ง (เพิ่มสถานี ร.ร.ตากสิน 1 สถานี) รวมถึงเสนอการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง หรือ TOD จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีระยองวิทยาคม สถานีโรงพยาบาลระยอง สถานีเทสโก้ โลตัส สถานีแหลมทอง และสถานีเซ็นทรัล เกาะลอย และแผนในการพัฒนาเมืองระยอง เพื่อพลิกฟื้นย่านเมืองเก่าที่เคยเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) เมื่อ50 ปีก่อนให้กลับคืนมาใน 3 ย่านเก่าได้แก่ บริเวณถนนยมจินดา เทศบันเทิง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ขณะเดียวกันจะนำรถสมาร์ทบัสมาวิ่งในเส้นทางสายสีเหลืองก่อน นายภูษิต ไชยฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แผนการพัฒนาย่านพาณิชยกรรม หรือเมืองเก่าบนถนนสุขุมวิท ซึ่งกินพื้นที่รวมที่ดินของเอกชน 4 ตร.กม. จะมุ่งพัฒนาพื้นที่ที่อยู่ใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลนครระยอง บริเวณตลาดเทศบันเทิง เชื่อมต่อกับถนนยมจินดาเท่านั้น ทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงกลางปี 2563 ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-296182

Person read: 2266

02 March 2019

เปิดใจ “วรวุฒิ มาลา” ขุนพลต่อรองเงื่อนไข ซี.พี. ยื่นคำขาด “เจ้าสัว” อยู่หรือไป

มาถึงทางแยกระหว่าง “ถอนหรือล้มดีล” สำหรับเมกะโปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท หลังเจรจากับ “กลุ่ม ซี.พี.” ซึ่งผนึกพันธมิตรไทยและต่างชาติตีตั๋วลงทุน ที่ยื่นข้อเสนอพิเศษนอกเหนือเงื่อนไขทีโออาร์ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จนมีทีท่าไม่สามารถปิดดีลได้ทันเซ็นสัญญาในเดือน มี.ค.นี้อย่างที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (อีอีซี) เดดไลน์ ทำให้ผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกโครงการมี “วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธาน ยื่นคำขาด “กลุ่ม ซี.พี.” ต้องมีคำตอบจะถอนข้อเสนอพิเศษเพื่อเดินหน้าเจรจาต่อหรือจะยุติการเจรจาทั้งหมด ในเมื่อคณะกรรมการปิดประตู 12 ข้อเสนอที่จะมาบาลานซ์ความเสี่ยงโครงการในอนาคต “ที่ประชุมสรุปผลการเจรจาเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ไม่รับข้อเสนอของกลุ่ม ซี.พี.จำนวน 12 ประเด็น จากข้อเสนอทั้งหมด 108 ประเด็น สำหรับ 12 ประเด็นที่ปัดตกไป ล้วนเป็นข้อเสนอที่มีมูลค่ามากและเป็นหัวใจสำคัญ แต่ไม่อยู่ในทีโออาร์ มติ ครม.และอำนาจของคณะกรรมการที่จะนำมาพิจารณาได้ เช่น ขอให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มก่อสร้าง, ขยายอายุสัมปทานจาก 50 ปีเป็น 99 ปี เป็นต้น”   โดยได้ทำหนังสือแจ้งกลุ่ม ซี.พี.ถึงผลการประชุมอย่างเป็นทางการแล้ว และให้มาเจรจาในวันที่ 5 มี.ค.นี้ โดยระบุไปว่า หากต้องการจะเจรจาต่อ จะต้องยอมรับเงื่อนไขของคณะกรรมการคัดเลือก จะไม่มีการนำข้อเสนอที่ปัดตกไปแล้วมาเจรจาอีก ถ้ายอมรับจะเดินหน้าเจรจาในกลุ่มที่ง่ายต่อไป คาดว่ากลุ่ม ซี.พี.มีความตั้งใจสูง ไม่น่าจะถอนตัวจากโครงการนี้ น่าจะเดินหน้าต่อจนนาทีสุดท้าย เพียงแต่รอคำตอบจากผู้ถือหุ้นหากจะไม่ลงทุนจะต้องไปกล่อมหุ้นส่วน “แต่ถ้ากลุ่ม ซี.พี.ยังจะนำข้อเสนอเดิมมาคุยอีก คณะกรรมการคัดเลือกจะเจรจาขอให้ยุติการเจรจาทันที เนื่องจากถ้ายังนำข้อเสนอเดิมมาคุยต่อเรื่อย ๆ ไม่มีประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย หรือถ้า ซี.พี.ไม่มาในวันที่ 5 นี้ คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณายุติการเจรจา แต่จะแจ้งให้ทราบก่อน” นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า ต้องดูท่าทีของกลุ่ม ซี.พี.ในวันที่ 5 มี.ค.นี้ จะเจรจาแบบมีเงื่อนไขหรือยอมรับเงื่อนไขของคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งกลุ่ม ซี.พี.สามารถเพิ่มเติมข้อเสนอใหม่ได้ แต่ข้อเสนอจะต้องไม่ขัดมติ ครม. ทีโออาร์ โดยเฉพาะข้อเสนอด้านการเงินจะต้องไม่มีอีกแล้ว คาดว่าในวันนั้นจะตัดสินได้ว่ากลุ่ม ซี.พี.จะได้ไปต่อหรือไม่ “หากกลุ่ม ซี.พี.ยังมาแบบมีเงื่อนไขอีกคงคุยกันยาก ผมก็ไม่ได้ถูกกดดันมาจากรัฐบาล และรัฐก็ไม่ได้บีบเอกชน เพียงบอกว่าไปต่อกันไม่ได้ มาเสียเวลากันทำไม เพราะการจะยุติการเจรจาจะต้องให้กลุ่ม ซี.พี.ยินยอมด้วย หากเจรจาผ่านวันที่ 5 มี.ค.ไปได้จะถือว่าง่ายแล้วซึ่งประเด็นที่เหลืออยู่ในกรอบที่คณะกรรมการสามารถควบคุมได้ เนื่องจากอยู่ในกลุ่มง่าย เช่น การคิดอัตราค่าปรับกรณีก่อสร้างล่าช้า, การเรียกค่าเสียหายกรณีเกิดจลาจลและภัยสงคราม เป็นต้น” ส่วนบรรดาข้อเสนอต่าง ๆ อาทิ การปรับย้ายสถานี สร้างสเปอร์ไลน์และส่วนต่อขยาย คณะกรรมการได้รับข้อเสนอไว้ เพื่อนำไปเพิ่มเติมในเงื่อนไขสัญญาเจรจาในอนาคต ส่วนการขอเลื่อนจ่ายค่าเช่าการพัฒนา TOD สถานีมักกะสันและศรีราชา คณะกรรมการไม่รับ เพราะเป็นประเด็นที่คาบเกี่ยวกับข้อเสนอด้านการเงิน เช่นเดียวกับการขอปรับเพดานเงินกู้ ทางกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกไม่ได้รับไว้พิจารณาเพราะไม่มีอำนาจ “วรวุฒิ” ย้ำว่า โครงการยังคงเดินหน้าต่อ แม้ว่ากลุ่ม ซี.พี.จะไปต่อไม่ได้ ซึ่งในทีโออาร์กำหนดให้เชิญเอกชนรายถัดไปมาเปิดข้อเสนอซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ และดำเนินการเจรจา ซึ่งทางคณะกรรมการจะเชิญกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ที่มี บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง เป็นแกนนำเจรจาราคาที่เสนอให้รัฐอุดหนุน 169,934 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อให้ทุกอย่างจบภายในเดือน มี.ค.นี้ หากเป็นไปตามนี้ อีก 6 เดือนจะเริ่มก่อสร้างได้ เนื่องจากรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จะได้รับการพิจารณาในเร็ว ๆ นี้ หลังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แม้จะดูเหมือน “กลุ่ม ซี.พี.” มีแค่ 2 ทางเลือก คือ ถอนข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ กับยกเลิกเจรจา แต่ว่ากันว่าด้วยความเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่น่าจะยอมจำนนโดยง่าย รายงานข่าววิเคราะห์ว่า ถ้าวันที่ 5 กลุ่ม ซี.พี.ยอมถอนเงื่อนไขก็เจรจาร่างสัญญาต่อ แต่ถ้าไม่ยอมถอนและจะขอเจรจาต่อจะทำยังไง เนื่องจากในทีโออาร์ระบุชัดการเจรจาจะสิ้นสุดต่อเมื่อ 2 ฝ่ายยินยอมพร้อมกัน ทางคณะกรรมการจะไปเชิญรายที่ 2 มาเจรจาเลยไม่ได้ ทั้งนี้กลุ่ม ซี.พี.มีสิทธิจะไปขอให้ศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราวได้ เพราะถือว่าการเจรจายังไม่ยุติ จะทำให้ยืดเยื้อออกไปอีก รอดูท่าที “เจ้าสัว ซี.พี.” สุดท้ายแล้ว “อยากจะได้” หรือ “อยากจะดึง” กันแน่โปรเจ็กต์นี้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-296172

Person read: 2247

02 March 2019

อ่วม! การบินไทยแจ้งผลดำเนินงานปี’61 ขาดทุนกว่า 1.1 หมื่นล้าน

แฟ้มภาพ วันที่ 1  มีนาคม 2562 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงผลการดำเนินงานปี 2561 ว่ามีผลขาดทุนสุทธิ 11,569 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 458%โดยเป็นการขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่  11,625 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 451% จากช่วงปี 2560 ที่ขาดทุนสุทธิ 2,107 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 5.33 บาท และงดจ่ายเงินปันผลในงวดปี2561 ทั้งนี้ จากการแข่งขันที่รุนแรงและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในปีรอบ 4 ปี ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานของสายการบินเพิ่มขึ้น ทำให้ EBITDA Margin เท่ากับ 7.3% เทียบกับปีก่อน 12.5% รวมถึงบริษัทมีการปรับประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องบินและเครื่องยนต์อะไหล่จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 6 ของมูลค่าต้นทุนเริ่มแรก อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง   สำหรับรายได้รวมในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 199,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% จากรายได้ค่าโดยสาร และค่าน้ำหนักส่วนเกิน ค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์ และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนค่าน้ำมันเครื่องบิน เพิ่มขึ้นถึง 19.7% จากราคาเฉลี่ยน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 30.1% แม้มีการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมันดีขึ้นกว่าปีก่อน นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานไม่รวมน้ำมัน อยุ่ที่ 9,802 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% จากค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยาน ค่าเช่าเครื่องบิน และค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น ส่วนแนวโน้มปี 2562 คาดว่าอัตราขนส่งผู้โดยสารและปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร คาดว่ายังคงเติบโต แม้จะลดลงจากปี 2561 แต่ยังสูงกว่าอัตราเติบโตเฉลี่ย 20 ปี นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง โดยคาดการณ์ราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ยอยู่ที่ 81.3 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลงจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 7.2 ขณะที่แผนการดำเนินงานปี 2562 ได้ดำเนินงานตามโครงการจัดหาเครื่องบินปี 2562-2567 เพื่อทดแทนเครื่องบินเก่าที่มีอายุใช้งานมากกว่า 20 ปี นอกจากนี้จะเร่งการทำกำไรเพิ่มจากการทำตลาดเชิงรุก และมีต้นทุนที่แข่งขันได้ เช่นพัฒนาและเพิ่มรายได้เสริม นอกเหนือจากรายได้หลักผ่านช่องทาง Digital Marketing โครงการบริหารจัดการด้านการขายและการใช้ประโยชน์เครื่องบิน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-295960

Person read: 2520

02 March 2019

มช.ผุดรง.นวัตกรรมอาหารภาคเหนือ ดัน SMEs แปรรูปขั้นสูง-เป้า 5 ปีสร้างเม็ดเงิน 2 พันล.

รง.นวัตกรรมอาหาร - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อนุมัติงบประมาณ 163 ล้านบาทให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตั้งโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจรภาคเหนือ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนกันยายน 2562 อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับลูกกระทรวงวิทย์ ทุ่ม 163 ล้านผุด “โรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจรภาคเหนือ” ปักหมุดภายในโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ เขตพื้นที่การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต.แม่เหียะ ตอบโจทย์เอสเอ็มอี-สตาร์ตอัพ ที่ขาดความสามารถในการลงทุนเครื่องจักรที่มีมูลค่าสูงและขาดความสามารถในการผลิตสินค้าอย่างมีมาตรฐาน มุ่งไลน์การผลิต OEM เน้นต่อยอดด้านอาหาร เครื่องดื่ม การแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมูลค่าสูง ดันมูลค่าเศรษฐกิจพุ่งกว่า 2 พันล้านบาท พร้อมเดินเครื่องการผลิตเปิดให้บริการเดือนกันยายน 2562 ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ฯอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร มูลค่าการลงทุน 163 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและให้บริการภาคเอกชนในการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้านอาหารและเครื่องดื่ม การแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมูลค่าสูง (high value added product : HVA) ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการใช้บริการงานวิจัย พัฒนา และผลิตสินค้านวัตกรรมอาหารได้อย่างครบวงจร ต่อยอดผลงานวิจัยโดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารที่มีคุณภาพและมาตรฐานให้เกิดขึ้นจริงผ่านการให้บริการอย่างครบวงจร ในรูปแบบการรับจ้างการผลิตสินค้า (original equipment manufacturer : OEM) ด้วยปริมาณการลงทุนที่เหมาะสม บริการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูง ทั้งนี้ คาดว่าโรงงานดังกล่าวจะแล้วเสร็จราวเดือนมิถุนายนนี้ พร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเดือนกันยายน 2562 ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) และสตาร์ตอัพ (startup) ในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการด้านอาหารให้มีโอกาสในการขยายขนาดธุรกิจ ทำให้เพิ่มอัตราการลงทุน การจ้างงานในพื้นที่ พร้อมทั้งช่วยยกระดับให้ผู้ประกอบการอาหารในพื้นที่ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ คาดว่าในระยะเวลา 5 ปี (ปี 2567) โรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจรจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้ารับบริการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,100 ล้านบาท โดยสามารถสร้างโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการในการเข้าถึงเครื่องมือในกระบวนการแปรรูปอาหารที่ทันสมัยจากภาครัฐได้ไม่น้อยกว่า 700 ราย (โดยประมาณการ 50 รายในปีแรก) พร้อมสร้างการจ้างงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารจาก SMEs และ startup เขตพื้นที่ภาคเหนือได้ถึง 1,600 อัตรา   ผศ.ดร.ธัญญานุภาพกล่าวต่อไปว่า โรงงานแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างโครงการทั้งหมดผ่านสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยตั้งอยู่ใกล้กับโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) ภายในพื้นที่การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งผ่านการดำเนินงานโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ โดยมีอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ ตามแผนที่วางไว้จะสร้างเป็นอาคารสองชั้น (innovative food fabrication pilot plant) ตั้งอยู่บนพื้นที่ให้บริการ 4,570 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับการวิจัยพัฒนา (ขนาดพื้นที่ประมาณ 1,472 ตารางเมตร) และสำหรับพื้นที่สายการผลิต 4 สาย (ขนาดพื้นที่ประมาณ 3,098 ตารางเมตร) ได้แก่ 1.acid food process กลุ่มกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปประเภทปรับกรด เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม ซอส แยม 2.low acid food process กลุ่มกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปประเภทกรดต่ำ ที่มีค่า pH มากกว่า 4.6 และมีค่า water activity มากกว่า 0.85 (ไม่รวมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) เช่น นม เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท 3.dehydration process กลุ่มกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปประเภทการทำแห้ง หรือการลดความชื้นของอาหารด้วยการระเหยน้ำด้วยวิธีอบแห้ง เช่น ผลิตภัณฑ์ชงละลาย อย่างนมผง ชาผง กาแฟผง ผักผลไม้อบแห้งด้วยเทคนิคต่าง ๆ แคปซูล สมุนไพรอัดเม็ด นมอัดเม็ด สารสกัด 4.advanced and nutraceutical food process กลุ่มกระบวนการผลิตอาหารแปรรูปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น premium quality product สารสกัด สารให้กลิ่นรส โดยไม่ใช้ความร้อน จากสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในปี 2561 พบว่ามีมูลค่าการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารราว 1.07-1.12 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับปี 2560 และจากศักยภาพของภาคเหนือที่มีจุดแข็งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศ มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ทำให้หลายจังหวัดในภาคเหนือมีมูลค่าเศรษฐกิจที่เกิดจากอุตสาหกรรมอาหารมากกว่า 120,000 ล้านบาท โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง สามารถสร้างมูลค่าได้กว่า 23,000 ล้านบาท และมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารมากกว่า 2,500 โรง หรือเป็นสัดส่วนกว่า 46% ของจำนวนโรงงานทั้งหมดในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาและสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในพื้นที่ทำให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีปัญหาร่วมกันประการหนึ่ง คือ ขาดความสามารถในการผลิตสินค้าอย่างมีมาตรฐาน ขาดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงขาดความสามารถในการลงทุนเครื่องจักรที่มีมูลค่าสูง เป็นต้น ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-295832  

Person read: 2923

02 March 2019

รถไฟไม่รอ EIA ลุยประมูลที่ดินบางซื่อ เดอะมอลล์-เซ็นทรัลปักหมุดชิงดำซื้อซองTORมี.ค.

สถานีกลางบางซื่อ - การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อที่เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปกว่า 60% ตามแผนจะแล้วเสร็จในปี 2563 พร้อมเปิดบริการ ม.ค. 2564 ซึ่งย่านนี้จะเป็นศูนย์กลางด้านระบบรางและธุรกิจครบวงจร ซึ่งการรถไฟฯเตรียมงัดที่ดิน 35 ไร่ใกล้สถานีเปิดประมูลพัฒนาเชิงพาณิชย์เร็ว ๆ นี้ โปรเจ็กต์มิกซ์ยูสแปลง A 35 ไร่ ติดสถานีกลางบางซื่อส่อทำอีไอเอ รถไฟหวั่นล่าช้า ลุยเดินหน้าเปิดประมูล PPP มี.ค.นี้ ดึงเอกชนไทย-เทศ ลงทุนกว่า 1 หมื่นล้าน แลกสัมปทาน 30 ปี เร่งศูนย์การค้าเปิดพร้อมรถไฟฟ้าสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” ม.ค. ปี’64 เผยเดอะมอลล์-เซ็นทรัล สนใจลงทุน รับฮับระบบราง และเมืองอัจฉริยะ   นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายในเดือน มี.ค.นี้ จะออกประกาศขายทีโออาร์ประมูลที่ดินโซน A จำนวน 35 ไร่ ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ จากนั้นในเดือน พ.ค. จะเปิดประมูล โดยให้เอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 30 ปี ก่อสร้าง 4 ปี รวม 34 ปี วงเงินลงทุน 11,573 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการ PPP มีมติเมื่อเดือน มี.ค. 2561 ไม่รอ EIA ลุยประมูล มี.ค.นี้ “ตามแผนจะออกทีโออาร์ภายในเดือน ก.พ.นี้ แต่ติดเรื่องขอความชัดเจนด้านการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ที่ตามกฎหมายใหม่จะต้องให้โครงการขนาดใหญ่ทำรายงานทุกโครงการ โดยรถไฟได้ทำหนังสือสอบถามไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. แล้วแต่ก็ได้คำตอบที่ไม่ชัดเจน” นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า ดังนั้น เพื่อไม่ให้โครงการล่าช้าออกไปมากนัก จะเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกที่แต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 จะเดินหน้าเปิดประมูลไปก่อน ส่วนการจะทำอีไอเอหรือไม่ต้องทำแล้วค่อยมาพิจารณาภายหลัง เนื่องจากโครงการนี้เกิดมาก่อนที่จะมีกฎหมายอีไอเอฉบับใหม่ออกมา แต่ที่ต้องทำหนังสือสอบถามไปยัง สผ.ก็เพื่อความมั่นใจ   นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับที่ดินโซน A เนื้อที่ 35 ไร่ ห่างสถานีกลางบางซื่อ 50-100 เมตร ซึ่งคณะกรรมการ PPP เห็นชอบในหลักการของโครงการให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ภายใต้รูปแบบ BOT คือ สร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ให้ ร.ฟ.ท. เมื่อครบกำหนดสัญญา ศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร ตามผลศึกษาโซน A จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร มีสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรมระดับ 3-4 ดาว สำนักงานให้เช่า และดีพาร์ตเมนต์สโตร์ เป็นโมเดลให้เอกชนนำไปเป็นแนวทางการพัฒนา ซึ่งบริเวณนี้ในผังเมืองรวม กทม.สามารถพัฒนาได้เต็มที่ มี FAR (อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) 8 : 1 และ OSR (อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม) 4% โดยโซน A จะสร้างได้ 448,000 ตร.ม. และได้รับโบนัสเพิ่ม 20% เป็น 537,600 ตร.ม. นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า คาดว่าจะได้ผลตอบแทนทั้งหมด 2,000 ล้านบาท โดยเอกชนที่ชนะประมูลจะต้องจ่ายเงินก้อนแรกให้กับ ร.ฟ.ท. จำนวน 162 ล้านบาท จากนั้นจ่ายเป็นรายปี และมีปรับค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี ยักษ์ค้าปลีกสนใจ “เร่งโซน A ก่อน เพราะติดสถานีบางซื่อ ของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะเปิดบริการในเดือน ม.ค. 2564 เพื่อให้ผู้ที่มาใช้บริการสะดวกขึ้น จะกำหนดให้เอกชนผู้ชนะประมูลเร่งเปิดพื้นที่ค้าปลีกก่อน ทั้งนี้ มีเอกชนรายใหญ่ให้ความสนใจจะลงทุนเป็นโครงการห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ ส่วนบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มี เพราะเป็นที่ดินให้เช่า อาจไม่จูงใจให้ลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะยาว แต่มีแนวคิดหากโซนไหนเป็นที่อยู่อาศัย หรือเป็นที่แปลงใหญ่ จะให้เอกชนเช่ายาว 50 ปี เป็นการจูงใจเหมือนกับโครงการอีอีซี” เปิดพิมพ์เขียวไจก้า นายวรวุฒิกล่าวว่า ปัจจุบันองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ทำรายงานแผนแม่บทย่านบางซื่อเสร็จแล้ว จะใช้เงินลงทุน 358,000 ล้านบาท (ไม่รวมย่าน กม.11) แยกเป็นส่วนก่อสร้าง 300,000 ล้านบาท อีก 58,000 ล้านบาท เป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เช่น รถบีอาร์ที ซึ่งไจก้าแนะนำให้รถไฟเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคมให้พร้อม รวมถึงต้องตั้งหน่วยงานเฉพาะมาดูแลพื้นที่โครงการแบบเบ็ดเสร็จ ใน 5 ปีแรก ไจก้าให้เริ่มพัฒนาโซน A 35 ไร่ ติดสถานีกลางบางซื่อ โซน D บางส่วนจะพัฒนาเป็นทางเดินลอยฟ้าเชื่อมระหว่างบางซื่อกับหมอชิตเก่า และโซน D ย่านตึกแดง 119 ไร่ เป็นลำดับแรก พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จะเปิดบริการถัดจากนั้นอีก 5 ปี จะพัฒนาโซน B (จตุจักร) โซน G ย่าน กม.11 และโซน C ตรง บขส. มีที่อยู่อาศัย สำนักงาน ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม ที่เหลือจะพัฒนาช่วง 5 ปีสุดท้าย เช่น โซน D อยู่ติดโรงซ่อม ฮับระบบราง-เมืองอัจฉริยะ ทั้งนี้ สถานีกลางบางซื่อทางญี่ปุ่นสนับสนุนเกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ เพราะเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทางด้านระบบรางมีทั้งรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟความเร็วสูง และรถไฟขนส่งสินค้า คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในอาเซียน และยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจและช็อปปิ้งมอลล์ มีศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน ศูนย์ประชุม รวมถึงเป็นย่านสมาร์ทซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะ ตามที่รัฐบาลกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายไว้ด้วย นอกจากนี้ยังให้สถานีบางซื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) และพัฒนาเมืองอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-295742

Person read: 2237

01 March 2019

ค้าปลีกปตท.เปิดเกมรอบใหม่ ขนแบรนด์ในเครือโกอินเตอร์ตามอเมซอน

เปิดเกมบุก ปั้น “คาเฟ่ อเมซอน” สู่โกลบอลแบรนด์ วางเป้าหมาย 5-10 ปีทะลุ 20,000 สาขาตามแผน ล่าสุดเตรียมเปิดสาขา “จีน-อินโดนีเซีย” ย้ำภาพร้านกาแฟระดับอินเตอร์ จากปัจจุบันเปิดแล้วใน 6 ประเทศ เร่งพัฒนาแบรนด์อื่น ๆ ในพอร์ต หวังสร้างการเติบโตอีกแรง พร้อมเตรียมนำ “ปตท.น้ำมันและค้าปลีก” เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯให้ทันปีนี้ เปิดเกมรุกอีกสเต็ป สำหรับ ปตท.น้ำมันและค้าปลีก กับเป้าหมายการปั้นแบรนด์ “คาเฟ่ อเมซอน” สู่โกลบอลแบรนด์ โดยล่าสุดเตรียมเจาะตลาดร้านกาแฟในจีน ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่และมีผู้เล่นทั้งโกลบอลแบรนด์และโลคอลแบรนด์ครองตลาดอยู่ อย่างไรก็ตาม แนวทางที่วางไว้ก็สอดรับกับนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวก่อนหน้าว่า ปี 2562 เตรียมนำบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด ซึ่งบริหารธุรกิจค้าปลีกและอาหาร เช่น ร้านกาแฟอเมซอน ฮั่วเซงฮง เป็นต้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และตั้งเป้าหมายว่าจะปั้นแบรนด์ร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” ให้เป็นโกลบอลแบรนด์ภายใน 5-10 ปี หรือคาดว่าจะมี 20,000 สาขา หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนสาขาของโกลบอลแบรนด์อย่างสตาร์บัคส์ ปั้น ปตท.ค้าปลีกเข้าตลาด นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือพีทีที โออาร์ กล่าวว่า สำหรับยุทธศาสตร์การเจาะตลาดต่างประเทศ ตอนนี้ยังให้รายละเอียดไม่ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างยื่นไฟลิ่ง (filing) ก.ล.ต. โดยปัจจุบันเปิดให้บริการ 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และโอมาน ในลักษณะมาสเตอร์แฟรนไชส์ โดยกลุ่มบริษัท โอมานออยล์ได้ตั้งบริษัท โอมานรีเทลขึ้น เพื่อบริหารร้านคาเฟ่ อเมซอนในโอมาน   ทั้งนี้คอนเซ็ปต์หลักของการขยายสาขาต่างประเทศ คือ การสร้างการรับรู้เรื่องรสชาติ ความสะดวก และชูความชุ่มชื้น ความร่มรื่นของธรรมชาติภายในร้าน ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งการเข้าไปในแต่ละประเทศก็ต้องเพิ่มและปรับรายละเอียดบางเรื่อง เช่น รสชาติ ขนาดให้เหมาะสมกับความต้องการดื่มกาแฟของผู้บริโภคแต่ละประเทศ แต่ท้ายที่สุดก็ยังคงจุดแข็งหลักของอเมซอนไว้ คือ โปรดักต์มาตรฐานของไทย และโปรดักต์ที่ต้องปรับให้สอดรับกับผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันคาเฟ่ อเมซอนมี 2,646 สาขา แบ่งเป็นไทย 2,459 สาขา และต่างประเทศ 187 สาขา “ตอนนี้แบรนด์คาเฟ่ อเมซอน ประสบความสำเร็จในไทยและอาเซียน รวมถึงประเทศแถบตะวันออกกลางด้วย เพราะรสชาติ การตกแต่งร้านชูความกรีน และการเข้าถึงได้ทุกที่ กลายเป็นจุดแข็งที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ และแสดงให้เห็นว่า แบรนด์อเมซอนมีความแข็งแรง ซึ่งตอกย้ำความเป็นโกลบอลแบรนด์ของเรา นั่นคือ การขยายไปยังต่างประเทศให้ได้มากกว่า 1 ภูมิภาค ซึ่งตอนนี้เปิดในอาเซียน ตะวันออกกลาง และกำลังจะขยายที่จีนใต้ด้วย” “อเมซอน” ลุยจีน-อินโดนีเซีย ทิศทางธุรกิจจากนี้ไปจะเดินหน้าปั้นแบรนด์ “คาเฟ่ อเมซอน” เป็นโกลบอลแบรนด์ตามแผนที่วางไว้ โดยปีนี้จะเข้าไปเปิดสาขาในจีน อินโดนีเซีย ซึ่งเบื้องต้นจะเข้าไปลงทุนเองก่อน เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์และทดลองตลาด ทั้งเรื่องรสชาติเครื่องดื่ม บริการ และรูปแบบการสื่อสารทางการตลาดว่าสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคประเทศนั้น ๆ หรือไม่ ส่วนนโยบายหลังจากนั้นก็เปิดกว้างสำหรับการร่วมทุน การหาพันธมิตร หรือการหามาสเตอร์แฟรนไชส์สำหรับการขยายสาขาต่อไป นอกจากนี้ยังมีแผนจะขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วย โดยล่าสุดได้ตั้งบริษัท พีทีที โออาร์ สิงคโปร์ จำกัดขึ้น เพื่อจะเปิดร้านอเมซอน 3 สาขาในปีนี้ “การแข่งขันของร้านกาแฟในจีน ถือว่าดุเดือดมาก เพราะมีทั้งโลคอลแบรนด์และโกลบอลแบรนด์เข้าไปเปิดสาขาจำนวนมาก แต่เราเชื่อว่าด้วยจำนวนประชากร และพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคที่กว้าง ทำให้ตลาดจีนจึงมีโอกาสเติบโตอีกมาก และเตรียมจะเข้าเปิดร้านอเมซอนที่จีนให้ทันในปลายปีนี้ด้วย” ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากรายงานของสำนักข่าวแชนเนลนิวส์ เอเชีย ระบุว่า ปัจจุบันตลาดกาแฟในจีนมีมูลค่าประมาณ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีโอกาสเติบโตอีกมาก เนื่องจากอัตราการบริโภคกาแฟของคนจีนเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 แก้วต่อปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับอัตราการบริโภคกาแฟของคนเกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวันที่เฉลี่ย 300 แก้วต่อปี พัฒนาแบรนด์อื่น ๆ ตามรอย นางสาวจิราพรขยายความว่า ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน โปรดักต์หลักของบริษัทที่ต่างประเทศรู้จัก คือ น้ำมัน ขณะที่ตอนนี้ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ดังนั้นโมเดลการจัดตั้งบริษัท พีทีที โออาร์ ที่สิงคโปร์ขึ้น เพื่อขยายธุรกิจรีเทลนั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการใช้แบรนด์คาเฟ่ อเมซอน เป็นหัวหอกหลักในการบุกตลาดต่างประเทศ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างการรับรู้ให้แก่แบรนด์ก่อน หลังจากนั้นก็เปิดกว้าง สำหรับการหาพันธมิตรในหลากหลายโมเดล รวมถึงมีแผนจะนำแบรนด์อื่น ๆ ที่อยู่ในพอร์ตขยายออกไปยังต่างประเทศด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันก็เดินหน้าพัฒนาแบรนด์อื่น ๆ ที่มีอยู่ควบคู่ตามไปด้วย โดยเมื่อปลายปีก่อน ได้ทดลองเพิ่มเมนูอาหารในร้านแด๊ดดี้ โด เช่น พิซซ่า พาย สปาเกตตี สลัด เป็นต้น จากเดิมที่ขายเฉพาะโดนัทและเครื่องดื่มเท่านั้น เพื่อสร้างความหลากหลายและทดลองโมเดลใหม่ ๆ ต่อเนื่อง หวังสร้างโอกาสทางการขาย สำหรับไก่ทอดเท็กซัส ซึ่งบริษัทได้สิทธิมาสเตอร์แฟรนไชส์ในไทยนั้น ปีนี้ยังเดินหน้าขยายสาขาต่อ แต่อาจจะเปิดเพิ่มไม่มาก เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านโลเกชั่น ประกอบกับราคาค่าเช่าพื้นที่ภายในศูนย์การค้าค่อนข้างสูง โดยตอนนี้มี 23 สาขา ทั้งในศูนย์การค้าและสถานีบริการน้ำมัน “การหาทำเลยากขึ้น ซึ่งจากนี้ก็จะเน้นการเปิดสาขาในปั๊มน้ำมัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ต่อเนื่อง เฉลี่ย 5 เดือนจะออกเมนูใหม่ เพื่อกระตุ้นตลาดและสร้างความแปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภคต่อเนื่อง” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/marketing/news-295671

Person read: 2369

01 March 2019

BOI ออกแพ็กเกจใหม่เร่งรถอีวี ค่ายยุโรป-จีนส้มหล่นผลิตพ่วงรถไฮบริด

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เตรียมออกแพ็กเกจใหม่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า “BEV พ่วง HEV” หวังกระตุ้นให้เกิดการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าและรถไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ให้เร็วขึ้น แต่เปิดทางเฉพาะค่ายรถยนต์ที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า BEV เท่านั้น ส่งผลให้ค่ายรถยนต์ยุโรป-ค่ายจีน “Benz-Audi-BMW-MG” มีสิทธิ์ขอรับส่งเสริมได้ประโยชน์จากมาตรการใหม่ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กำลังดำเนินความพยายามที่จะเร่งรัดให้เกิดการผลิต/ประกอบรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในเชิงพาณิชย์ให้เร็วขึ้น จนถึงกับคิดค้น “แพ็กเกจใหม่” ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์และจูงใจให้ผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ผลิตรถไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมาตรการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ได้หมดเขตขอรับการส่งเสริมไปตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมของปี 2560 และปี 2561 แล้ว ออกแพ็กเกจใหม่   น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ด BOI) ในต้นสัปดาห์สิ้นสุดลงว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการ “ปรับปรุง” มาตรการส่งเสริมการลงทุนแพ็กเกจรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หลังจากที่หมดการยื่นขอรับการส่งเสริมไปแล้วตั้งแต่สิ้นปี 2561 โดยการปรับปรุงครั้งนี้ถือเป็นมาตรการที่รัฐบาลต้องการให้เกิดการส่งเสริมการลงทุนและเร่งรัดให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (battery electric vehicles หรือ BEVs) ให้เร็วขึ้น ดังนั้น BOI จึงพิจารณาเสนอมาตรการกระตุ้นการใช้การผลิตชิ้นส่วนแบบ BEV พ่วง HEV ภายใต้แพ็กเกจรถยนต์ไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ การขอรับส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (hybrid electric vehicle หรือ HEV) ได้หมดเขตขอรับส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 ส่วนกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (plug-in hybrid electric vehicle หรือ PHEV) กับกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (battery electric vehicle หรือ BEV) ได้หมดเขตขอรับส่งเสริมการลงทุนในเดือนธันวาคม 2561 ปรากฏว่ารายชื่อค่ายรถยนต์ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI สำหรับการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้านั้น น.ส.ดวงใจกล่าวว่า จะพิจารณาให้ผู้ประกอบการรถยนต์ที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม หรือ HEV ได้ภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องมีองค์ประกอบของชิ้นส่วนหรือมีการผลิตหรือการใช้ “ชิ้นส่วนหลัก” มากกว่า 4 ชิ้นได้แก่ แบตเตอรี่ traction motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) จะต้องครบทั้งหมดจึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ “ที่เราต้องออกมาตรการเพิ่มเติมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าก็เพราะ BOI ต้องการให้เกิดการผลิตชิ้นส่วนในประเทศมากขึ้นเราต้องการให้มีคนผลิตชิ้นส่วนเพราะมันเป็นแหล่งของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหลักที่เราคัดเลือกวางเอาไว้เป็นนโยบาย มีการกำหนดการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเหล่านี้ไว้ในมาตรการแพ็กเกจรถยนต์ไฟฟ้า EV มาตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ เพราะเราต้องการว่าทำยังไงจะเร่งให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ BEV ให้เร็วขึ้น แน่นอนว่า BOI มีมาตรการหลักอยู่แล้ว แต่ต้องหาวิธีอื่นเพื่อให้เกิดเร็วขึ้นอีก” น.ส.ดวงใจกล่าว โดยผู้ประกอบการค่ายรถที่เคยยื่นขอส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปแล้วก่อนหน้านี้สามารถยื่นขอรับส่งเสริมเพิ่มเติมโดยใช้มาตรการใหม่นี้ได้ “ไม่ต้องขอยกเลิกส่งเสริมการลงทุนตามคำขอเก่า” สำหรับผู้ประกอบการรถยนต์รายใหม่ที่ไม่ได้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้ามาก่อนจะไม่สามารถขอแพ็กเกจนี้ได้ เนื่องจากการขอส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (แบบแบตเตอรี่ BEV-แบบผสมเสียบปลั๊ก PHEV) ได้หมดเขตขอรับส่งเสริมไปตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 แล้ว ด้านนายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องของสิทธิประโยชน์รถยนต์ไฟฟ้า EV ใหม่ที่ประชุมบอร์ดยังไม่ลงรายละเอียดมากนัก และให้กลับไปหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมกับกรมสรรพสามิตอีกครั้ง ถึงการลดอัตราภาษีรถยนต์ไฟฟ้า BEV จากเดิม 2% ให้เหลือ 0% ที่อาจจะมีการปรับให้หรือไม่ เนื่องจากมีบางค่ายรถยนต์ที่ต้องการผลิตรถไฟฟ้าหลายประเภทอยู่แล้ว จับตาค่ายรถยุโรป ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานเข้ามาว่า มาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (HEV) ซึ่งหมดเขตไปในเดือนธันวาคม 2560 เท่าที่ผ่านมาวงการรถยนต์คาดการณ์ว่ามีค่ายรถยนต์ที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งสิ้น 5 ราย แต่ได้รับการส่งเสริมไปแล้ว 4 ราย ได้แก่ โตโยต้า, ฮอนด้า, นิสสัน และมาสด้า ส่วนอีก 1 รายที่ยังไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน คือ ค่ายรถยนต์ซูซูกิ ส่วนมาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (PHEV) กับกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ที่หมดเขตขอรับส่งเสริมไปในเดือนธันวาคม 2561 มีผู้ขอรับส่งเสริมการลงทุนจากค่ายรถยนต์เยอรมัน ได้แก่ เมอร์เซเดส-เบนซ์, BMW และออดี้ (ประเทศไทย) ค่ายรถญี่ปุ่น ได้แก่ โตโยต้า, ฮอนด้า, มิตซูบิชิ, นิสสันและค่ายรถจีน MG โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ค่ายรถยนต์ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งรถ PHEV กับ BEV ได้แก่ นิสสัน และโตโยต้า “จะเห็นได้ว่า ค่ายรถยนต์ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นการใช้การผลิตชิ้นส่วนแบบ BEV พ่วง HEV ที่ BOI กำลังจะจัดทำข้อเสนอออกมานั้นจะมีแต่ค่ายรถยนต์ยุโรปกับค่ายรถจีนหากทั้ง 2 ค่ายนี้สนใจที่จะผลิต/ประกอบรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (HEV) โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายรถ BMW กำลังจะเปิดสายการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าเพื่อรองรับรถยนต์ PHEV ซีรีส์ 5-7 กำลังผลิต 1,000 หน่วยต่อปี โดยจะเปิดโรงงานที่ระยองกลางปีนี้” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-295723

Person read: 2368

01 March 2019

เอกชนขอมีส่วนร่วมออกกม.ลูก จับตาตั้งบอร์ดไซเบอร์-คุ้มครองข้อมูล

ผู้เชี่ยวชาญ-เอกชนประสานเสียง กม.ไซเบอร์จำเป็นต้องมี ชี้เวอร์ชั่นล่าสุดปรับปรุงดีขึ้น แต่ “คุ้มครองข้อมูล” ยังน่าห่วง เหตุเป็นเรื่องใหม่และเนื้อหาซับซ้อน แนะสังคมจับตาตั้งกรรมการ-สำนักงานใหม่ให้โปร่งใส   การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา มีวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นผู้เสนอ โดยจะมีผลบังคับใช้ทันที หาก สนช.เห็นชอบ และประกาศลงราชกิจจานุเบกษา นายสุธี ทวิรัตน์ กรรมการสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ร่างล่าสุดของ 2 พ.ร.บ.ถือว่าปรับปรุงได้ดีขึ้นระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จของเลขาธิการและสำนักงานใหม่ที่จะตั้งขึ้น “แต่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังไม่ถึงระดับมาตรฐานของ GDPR (กฎหมายคุ้มครองข้อมูลของสหภาพยุโรป) แต่มี ดีกว่าไม่มี และยังเป็นแค่กรอบ ต้องมีกฎหมายลูกระบุขั้นตอนปฏิบัติ ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดให้เห็น” ที่ต้องจับตาจากนี้คือการตั้งสำนักงานใหม่ตาม พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งตามบทเฉพาะกาลให้สำนักงานปลัดกระทรวงดีอีเป็นผู้ดำเนินการและปฏิบัติงานตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไปพลางก่อน รวมถึงแต่งตั้งกรรมการในบอร์ดชุดต่าง ๆ ใครกำกับ CII-มาตรฐานขั้นต่ำ ที่สำคัญสุดคือตามกรอบของร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ จะวางกลไกการกำกับดูแลหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ (CII) 8 ด้านที่สำคัญ โดยผ่านองค์กรกำกับดูแลของแต่ละอุตสาหกรรม ได้แก่ ความมั่นคงของรัฐ บริการภาครัฐที่สำคัญ การเงินการธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การขนส่งและโลจิสติกส์ พลังงานและสาธารณูปโภค สาธารณสุข และด้านอื่น ๆ ตามที่บอร์ดกำหนด เพื่อให้หน่วยงานที่ถูกกำหนดให้เป็น CII ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยที่กำหนด   “ปัญหาคือองค์กรกำกับ CII มีศักยภาพพอจะดูแล CII ได้หรือไม่ เห็นมีแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ดูแลสถาบันการเงินที่เข้มแข็งสุด แต่ด้านอื่น ๆยังไม่เห็นหน่วยงานเจ้าภาพ อย่างด้านสาธารณสุขจะเป็นใคร โลจิสติกส์จะเป็นใคร ไม่ให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ” นิยาม “วิกฤต” ต้องชี้เฉพาะกรณี พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน อดีตตำรวจไซเบอร์ยุคบุกเบิก และปัจจุบันเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไอซีที ของคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้คัดค้าน 2 ร่างกฎหมาย กล่าวว่า กฎหมายไซเบอร์ซีเคียวริตี้แก้ไขได้ดีขึ้น ตัดการรวบอำนาจของเลขาธิการและดึงอำนาจศาลในการออกคำสั่งเข้าตรวจค้นสถานที่และยึด-อายัดอุปกรณ์ ที่สำคัญคือแก้นิยามที่ไม่เปิดช่องให้ตีความไปกำกับเรื่องคอนเทนต์ ส่วนกรณีที่เปิดช่องให้สภาความมั่นคงแห่งชาติเข้ามาควบคุมสถานการณ์ระดับวิกฤตได้นั้น มองว่ายังจำเป็นในบางกรณี “ตามนิยาม ไม่ใช่ทุกเรื่องจะลากเป็นภาวะวิกฤต ไม่ต้องใช้คำสั่งศาลได้ทั้งหมด แต่ต้องมีบอร์ดรับรองว่า เป็นเหตุวิกฤตจริง ๆ ซึ่งการมีกฎหมายจะบังคับให้ CII ซึ่งสำคัญกับระบบเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตของประชาชน ต้องลงทุนด้านไซเบอร์ให้ระบบมั่นคงปลอดภัยขึ้น” สนช. ลงมติ 161 เสียง ผ่านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ห่วง กม.ข้อมูลส่วนบุคคล แต่ที่น่ากังวลคือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ยังมีความสับสนซับซ้อนในหลายมาตรการ ทั้งยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย จึงอาจจะมีปัญหาในการบังคับใช้ “ผู้ยกร่างเจตนาดี แต่ยกร่างแบบหัวมังกุท้ายมังกร มุ่งแต่จะให้ผ่านเกณฑ์ GDPR แต่ไม่ได้มุ่งไปที่วัตถุประสงค์หลักจริง ๆ ที่ควรจะทำคือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการเข้าใจว่าทางสหภาพยุโรปปูพื้นฐานเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ไทยเพิ่งจะเริ่ม ทั้งหน่วยงานรัฐ-เอกชน ยังไม่เข้าใจว่าอะไรควรปิด-ควรเปิด ฉะนั้นถ้าประกาศใช้แล้วต้องทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทั้งหมดมีความรู้ความเข้าใจจริง ๆ ไม่เช่นนั้นจะไปต่อไม่ได้” อีกส่วนที่สำคัญคือ ในการตั้ง 2 หน่วยงานใหม่ สำนักงานปลัดกระทรวงดีอีต้องไม่ผูกขาดอำนาจไว้คนเดียว ต้องเปิดโอกาสให้มีผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ฝ่ายเข้าร่วมทำงาน เปิดให้มีส่วนร่วมออก กม.ลูก นางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บมจ.อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะมุ่งโฟกัสที่กฎหมายไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นหลัก เพราะเป็นบริการที่เน้นให้ลูกค้าเชื่อมต่อเพื่อส่งผ่านข้อมูล แต่ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลใด ๆ ของลูกค้า ทั้งได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 27018 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลบนคลาวด์อยู่แล้ว “กม.ไซเบอร์ล่าสุดถือว่าสบายใจขึ้น เพราะดึงอำนาจศาลเข้ามาถ่วงดุล และชัดเจนเกี่ยวกับนิยามของทรัพย์สินสารสนเทศ ที่ไม่เกี่ยวกับคอนเทนต์แน่ ๆ แต่ พ.ร.บ.ยังเป็นแค่คอนเซ็ปต์ ยังต้องรอดูกฎหมายลูก ว่าจะประกาศรายละเอียดและระบุว่าหน่วยงานใดมีหน้าที่เป็น CII บ้าง ซึ่งหากมีการรับฟังความเห็นจากผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม ก็จะได้กฎหมายลูกที่ทำงานได้จริง” ในส่วนของ ISP ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าต้องมีการลงทุนเพิ่มมากน้อยเพียงใด เพราะต้องรอดูมาตรฐานตามกฎหมายลูก แต่ปกติลงทุนด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือ หน่วยงานที่เป็นผู้ให้บริการพื้นฐานสำคัญ แต่ไม่เคยตระหนักถึงการลงทุนระบบเป็นต้นทุนสำคัญธุรกิจยุคนี้ ด้านนายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ประธานกรรมการผู้บริหาร บริษัท เซ็นทรัล เจดี ฟินเทค โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ให้บริการ “Dolfin Wallet” บริษัทลูกของเซ็นทรัลกรุ๊ปและ JD.com กล่าวว่า ธุรกิจในยุคปัจจุบันต้องให้ความสำคัญกับการดูแลระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเทียบเท่ากับธนาคารและเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย “หาก 2 กฎหมายใหม่ประกาศใช้ ทางบริษัทก็ต้องปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และถึงไม่มีกฎหมายก็ถือว่าเป็นต้นทุนปกติที่บริษัทให้ความสำคัญมาตลอด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า เพราะหากเกิดข้อผิดพลาด ความเสียหายต่อ goodwill ของบริษัทซึ่งจะมีมูลค่ามหาศาลกว่าเงินลงทุนที่ใช้” ขณะเดียวกันอยากให้ภาครัฐให้การสนับสนุนด้วยการโปรโมตผู้ที่ปฏิบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐานซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการจูงใจให้เอกชนลงทุน และสร้างความเชื่อมั่นต่อโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รวมถึงสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/ict/news-295457

Person read: 2160

28 February 2019

ขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง1.6หมื่นล้าน บูมทำเล’มธ.รังสิต-ศาลายา’

ไฟเขียวขยายรถไฟฟ้าสีแดง 1.6 หมื่นล้าน เชื่อมนครปฐม-ปทุมธานี ยึด “ตลิ่งชัน-ศาลายา” และ “รังสิต-มธ.” เพิ่ม 4 สถานี “พระราม 6-บางกรวย-ฉิมพลี-ม.กรุงเทพ” ตอกเข็ม ส.ค. เปิดหวูดปี’65 ตลิ่งชัน-ศิริราช เคาะ 5 มี.ค. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายสายสีแดง 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 16,772.58 ล้านบาท แยกเป็น สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท มี 4 สถานี สถานีคลองหนึ่ง สถานีเชียงรากน้อย สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่สร้างเพิ่มใหม่ และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผุดสถานีใหม่เพิ่ม และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท โดยเงินลงทุนดังกล่าวรวมงานก่อสร้างสถานีอีก 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีพระราม 6 บริเวณเชิงสะพานพระราม 6 2.สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 ของเส้นทางช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่สร้างเสร็จไปเมื่อปี 2555 จากเดิมมี 3 สถานี คือ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน และ 3.สถานีบ้านฉิมพลี ของช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ที่สร้างเพิ่ม 1 สถานี เป็น 4 สถานี ได้แก่ สถานีฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา จะทำให้การเดินทางครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น ขั้นตอนต่อจากนี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้าง โดยประกวดราคาแบบ e-Bidding ภายใน 1-2 เดือนจะออกประกาศทีโออาร์ คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาและเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ส.ค. 2562 ใช้เวลาสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการในปี 2565 ในปีแรกจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 75,720 เที่ยวคนต่อวัน แยกเป็น ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 28,150 เที่ยวคนต่อวัน และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 47,570 เที่ยวคนต่อวัน “สายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วงนี้จะมาเติมเต็มโครงข่ายของสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2564 ทำให้การเดินทางเชื่อมต่อในกลางกรุงเทพฯกับชานเมืองด้านทิศเหนือ ไปยังพื้นที่ จ.ปทุมธานี และตะวันตกไปยัง จ.นครปฐม สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีสถานีกลางบางซื่อเป็นจุดเชื่อมต่อของการเดินทางด้านระบบรางทั้งหมด” นายอาคมกล่าวและว่า   5 มี.ค.เคาะตลิ่งชัน-ศิริราช สำหรับสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติวันที่ 5 มี.ค.นี้ เนื่องจากมีการปรับวงเงินลงทุนใหม่ โดยตัดการก่อสร้างโรงซ่อมหัวรถจักร ทดแทนโรงรถจักรธนบุรีเดิม วงเงิน 824.4 ล้านบาท ออกจากโครงการ ทำให้เงินลงทุนของสายสีแดงช่วงนี้เหลืออยู่ที่ 5,821 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลก่อสร้างภายในปีนี้และสร้างเสร็จในปี 2565 มีผู้โดยสารอยู่ที่ 55,200 เที่ยวคนต่อวัน แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า สำหรับสายสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช มี 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน อยู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนฉิมพลี 2.สถานีจรัญสนิทวงศ์ อยู่บริเวณสวนบางขุนนนท์ และ 3.สถานีธนบุรี-ศิริราช อยู่หลังโรงพยาบาลศิริราช ใกล้กับอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ห่างจากสถานีจรัญสนิทวงศ์ 1.3 กม. เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช และพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ย่านวังหลังถนนอรุณอมรินทร์ จรัญสนิทวงศ์ บางขุนนนท์ ตลาดน้ำตลิ่งชัน และบรมราชชนนี อนาคตจะเชื่อมสายสีส้มตะวันตก(ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) ที่สถานีบางขุนนนท์ อีกทั้งยังเชื่อมต่อ 3 ศูนย์การศึกษาด้านการแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ใช้งบประมาณ-เงินกู้สร้าง ด้าน พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย 2 โครงการ 16,772.58 ล้านบาท โดยระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศ ได้แก่ 1.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี ระยะทาง 14.8 กม. 10,202.18 ล้านบาท 2.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. 6,570.40 ล้านบาท จะมีเวนคืนที่ดินเพิ่ม 14 ไร่ ในท้องที่ ต.บ้านปทุม อ.สามโคกต.บางพูด ต.สวนพริกไทย อ.เมืองปทุมธานี และ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อสร้างทางเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท อย.5042 กับสถานีรถไฟ และย่านสถานีรถไฟ ทั้ง 2 โครงการจะเป็นรถไฟฟ้าวิ่งบนรางขนาด 1 เมตร เดินรถด้วยระบบไฟฟ้าที่จ่ายเหนือหัว วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารสายสีแดงทั้งระบบเพิ่มขึ้น   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-295395  

Person read: 2272

28 February 2019

“สมคิด”เชื่อมสัมพันธ์ฮ่องกง กระตุ้นตลาดการค้า1.5หมื่นล้านเหรียญ

แฟ้มภาพ สมคิดพบบิ๊กเขตบริหารพิเศษฮ่องกง นำทัพเยือนไทย รุกเจรจาการค้า-ลงทุน เซ็น MOU 4 ฉบับหนุนสตาร์ตอัพ-สมาร์ทซิตี้ หวังเป็นเกตเวย์เชื่อมจีน ปลุกตลาด 15,000 ล้านเหรียญ นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวถึงโอกาสที่นาง Carrie Lam ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง พร้อมคณะมาเยือนไทยวันที่ 27-28 ก.พ. 2562 ว่า มีกำหนดพบปะกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย-ฮ่องกง ซึ่งจะมีงานที่เซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว “ไทยเชื่อว่าจะเปิดโอกาสเรื่องการขยายความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมืออื่น ๆ ฮ่องกงถือเป็นประตูเข้าสู่ตลาดจีน กวางตุ้ง ที่ผ่านมาไทยและอาเซียนได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง จะมีผลบังคับใช้เร็วนี้ ๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก Greater Bay Area หรือ GBA ที่เป็นเขตเศรษฐกิจเชื่อมฮ่องกง มาเก๊า และเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ในมณฑลกวางตุ้ง รวมทั้งการเชื่อมโยงการลงทุนเข้ากับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย” ภายในงานได้จัดให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ไทย-ฮ่องกง 4 ฉบับได้แก่ ความร่วมมือการพัฒนา startup การจัดตั้ง smart city ซึ่งเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนและประสานงานของกระทรวงอุตสาหกรรม 3 ฉบับ ได้แก่ 1.innospace (Thailand) กับ HKTDC 2.innospace (Thailand) กับ Hong Kong Cyberport 3.innospace (Thailand) กับ Ho & Partners Architects Engineers & Devel-opment Consultants Limited (HPA) และฉบับที่ 4 ลงนามกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ HKTDC เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสด้านการลงทุน และการจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนระหว่างทั้งสองฝ่าย   หลังจากนั้นจะเปิดให้ความรู้และการใช้ประโยชน์ในข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ซึ่งจะบังคับใช้ปีนี้ เพื่อสร้างโอกาสการทำตลาดส่งออก หลังการมาเยือนของคณะผู้แทนฮ่องกงครั้งนี้ ส่วนเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2562 จะนำคณะนักลงทุนจากฮ่องกงมาประเทศไทย 50 ราย เพื่อศึกษาโอกาสการลงทุนในไทยด้วย นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงการเตรียมบังคับใช้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) ว่า หลังเจรจาจบ สมาชิกอาเซียน-ฮ่องกงจะให้สัตยาบันข้อตกลง ซึ่งเบื้องต้นมีสมาชิกอาเซียน 8 ใน 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันแล้วรวมถึงไทย คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ในกลางปีนี้ รายงานข่าวระบุว่า เมื่อ AHKFTA มีผลบังคับใช้ ไทยจะเริ่มลดภาษีนำเข้าสินค้า 6,300 รายการ เป็น 0% ใน 3 ปีแรกนับจากความตกลงมีผลบังคับใช้ ขณะที่ฝั่งฮ่องกง ส่วนใหญ่อัตราภาษีนำเข้าเป็น 0% อยู่แล้ว แต่การทำเอฟทีเอเป็นการล็อกภาษีนำเข้าในอนาคตไว้ที่ 0% เพราะยังมีโอกาสที่ฮ่องกงจะปรับขึ้นภาษีสินค้าที่ไม่ได้ตกลงไว้ใน WTO ถึง 53% ของสินค้าทั้งหมด สำหรับมูลค่าการค้าไทย-ฮ่องกง ปี 2561 เท่ากับ 15,473.24 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกไทยไปฮ่องกงปี 2561 เท่ากับ 12,523.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 1.83% จากปี 2560 นำเข้า 2,949.63 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 1.38% จากปีก่อน ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 9,573.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-295179

Person read: 2467

28 February 2019

บิ๊กดีล! ‘ทหารไทย-ธนชาต’ เซ็นควบรวมกิจการ ขึ้นแท่นแบงก์อันดับ6 สินทรัพย์พุ่ง 1.9 ล้านล้านบาท

“ธนาคารทหารไทย-ธนชาต” แจ้งลงนามบันทึกข้อตกลงควบรวมกิจการแล้ว ดันสินทรัพย์พุ่งแตะ1.9ล้านล้านบาท มีฐานลูกค้ากว่า10ล้านคน ขึ้นแท่นอันดับ 6 ในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไทย พร้อม Rebranding ใหม่ คาดธุรกรรมน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562 นี้ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต (TBANK) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า วันนี้ (26 ก.พ.) ธนาคารได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแบบไม่มีผลผูกพัน ทางกฎหมาย (Non-binding Memorandum of Understanding) (บันทึกข้อตกลง) กับ ธนาคารธนชาต (TBANK), ING Groep N.V. (ING), บมจ.ทุนธนชาต (TCAP) และ The Bank of Nova Scotia (BNS) เพื่อกำหนดกรอบความเข้าใจและหลักการสำหรับการเจรจาร่วมกันต่อไปเกี่ยวกับการเข้าทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรวมกิจการระหว่างธนาคาร และธนาคารธนชาต เพื่อร่วมดำเนินธุรกิจธนาคารด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น ขึ้นแท่นแบงก์อันดับ6 สินทรัพย์พุ่ง1.9ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ก่อนการรวมกิจการ TBANK จะดำเนินการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เพื่อเสริมบทบาทการดำเนินธุรกิจ Financial Holding Company ของทุนธนชาตให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเพื่อให้การดำเนินธุรกิจภายหลังการรวมกิจการสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจปัจจุบันของธนาคาร สำหรับสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ภายหลังการรวมกิจการจะมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านคน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่หกในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารทั้งสองแห่งมีจุดแข็งซึ่งส่งเสริมกัน กล่าวคือ ธนาคารทหารไทยมีจุดเด่นในการระดมเงินฝากด้วยกลยุทธ์ด้าน เงินฝากด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากที่แตกต่างจากการธนาคารแบบดั้งเดิม ขณะที่ธนาคารธนชาต เป็นผู้นำด้านสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์ การรวมกิจการจึงช่วยเพิ่มศักยภาพในการระดมเงินฝากจากฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และสร้างสมดุลให้กับโครงสร้างสินเชื่อได้เป็นอย่างดี เชื่อสร้างความแข็งแกร่งให้สถาบันการเงินในปท. การรวมกิจการจะส่งเสริมความสามารถในการทำกำไรและศักยภาพในการเติบโต สำหรับลูกค้า ธนาคารภายหลังการรวมกิจการจะสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายและครอบคลุมยิ่งขึ้น สำหรับพนักงาน มีโอกาสมากขึ้นจากขอบเขตหรือลักษณะงานใหม่ ๆ นอกจากนี้ การรวมกิจการนี้ยังสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจสถาบันการเงินของประเทศ   รูปแบบและโครงสร้างของธุรกรรม ก่อนการรวมกิจการ ธนาคารธนชาตจะมีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ โดยจะมีการโอนบริษัทในเครือและบริษัทที่เกี่ยวข้องบางส่วน ทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ถือหุ้นปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ทุนธนชาต และ/หรือ BNS และ/หรือ ผู้ถือหุ้นรายย่อย ตามที่มีการลงนามเข้าทำสัญญา ในกรณีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจนั้น เป็นที่คาดว่าผู้ถือหุ้นหลักของธนาคารธนชาตจะยังคงให้การสนับสนุนบริษัทย่อยและบริษัทในเครือดังกล่าว เพื่อให้จุดประสงค์ของการรวมกิจการบรรลุผล เมื่อการปรับโครงสร้างดังกล่าวแล้วเสร็จ ธนาคาร คาดว่าจะรวมกิจการกับธนาคารธนชาต ด้วยวิธีการโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติบุคคลเดียวตามกฎสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (Single Presence Rule) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่านการทำธุรกรรมต่าง ๆ ตามที่จะได้ตกลงกันต่อไป ทั้งนี้ โครงสร้างและขั้นตอนที่แน่นอนในการรวมกิจการนี้จะขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์ด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ และภาษี คาดธุรกรรมมีมูลค่ารวม 130,000-140,000 ล้านบาท ธนาคารคาดว่าธุรกรรมนี้จะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 130,000-140,000 ล้านบาท ทั้งนี้ อาจมีการปรับมูลค่าในขั้นตอนสุดท้าย เนื่องมาจากการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (Due Diligence) และมูลค่าหุ้นทางบัญชีของธนาคารธนชาต และบริษัทในเครือล่าสุด โดยคู่สัญญาจะตกลงชำระค่าตอบแทนให้แก่กันในรูปแบบของเงินสดและเงินสดส่วนหนึ่งจะนำกลับมาลงทุนในธนาคาร ภายหลังจากการเข้าทำธุรกรรมแล้วเสร็จและมีการเพิ่มทุนตามที่จำเป็น ING กระทรวงการคลัง และทุนธนชาต คาดว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นหลักของธนาคารภายหลังการรวมกิจการ โดย ING และทุนธนชาตจะถือหุ้นในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ส่วน BNS คาดว่าจะถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการจัดหาเงินทุน ธนาคารประสงค์จะจัดหาเงินทุนสำหรับการเข้าทำธุรกรรมครั้งนี้ ผ่านการระดมทุนทั้งการออกตราสารหนี้และการออกหุ้นเพิ่มทุน โดยเงินทุนจากการออกหุ้นเพิ่มทุนคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 70 ของมูลค่าธุรกรรม สำหรับในส่วนการออกหุ้นเพิ่มทุนประมาณ 50,000-55,000 ล้านบาท จะเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ ทุนธนชาต และ BNS โดยการออกหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ ทุนธนชาต และ BNS คาดว่าจะคิดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนของธนาคาร เท่ากับ 1.1 เท่าของมูลค่าทางบัญชีล่าสุดของธนาคาร ภายหลังปรับปรุงมูลค่าจากการจัดหาเงินทุน ทั้งนี้ มูลค่าดังกล่าวจะต้องไม่ต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่จะได้กำหนดไว้ในสัญญาต่อไป สำหรับเงินทุนจำนวนที่เหลืออีกประมาณ 40,000 – 45,000 ล้านบาท ธนาคาร คาดว่าจะออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของธนาคาร โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหลักปัจจุบันของธนาคาร รวมทั้งอาจจะมีการออกหุ้นเพื่อเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนต่อไป และ/หรือ บุคคลในวงจำกัดกับนักลงทุนรายใหม่หรือนักลงทุนรายเดิม ทั้งนี้ ธนาคารประสงค์ที่จะดำรงไว้ซึ่งฐานะเงินกองทุนที่ยั่งยืนภายหลังธุรกรรมเสร็จสิ้น Rebranding ใหม่-จัดการด้านบุคลากรอย่างเหมาะสม ส่วนชื่อทางการค้า (Branding) คาดว่าธนาคารภายหลังการควบรวมการดำเนินงาน (Integration) จะมีการใช้ชื่อทางการค้าใหม่ (Rebranding) โดยพิจารณาจากจุดแข็งในเชิงพาณิชย์ของชื่อทางการค้าเดิมของธนาคารและธนาคารธนชาต โดยชื่อทางการค้าใหม่ที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับการอนุมัติของคณะกรรมการธนาคารของธนาคาร ภายหลังการรวมกิจการ สำหรับเรื่องของพนักงาน การดำเนินการจัดการด้านบุคลากรและพนักงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ในกรณีที่ต้องมีการประเมินผลงานพนักงานจะมีการพิจารณาอย่างเป็นธรรมตามทักษะ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถ และคุณสมบัติของบุคคลนั้นๆ ภายหลังจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงแล้ว คู่สัญญาทุกฝ่ายประสงค์ที่จะตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ จัดเตรียม พิจารณา ต่อรอง และตกลงเข้าทำสัญญาตามที่คู่สัญญาจะได้ตกลงกันโดยทันที ทั้งนี้ธนาคารคาดว่าธุรกรรมน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562 ขึ้นอยู่กับการอนุมัติและการยินยอม โดยภายหลังจากที่ธุรกรรมเสร็จสิ้น ธนาคาร และธนาคารธนชาตจะเริ่มดำเนินการรวมธุรกิจของทั้งสองธนาคารไว้ภายใต้ธนาคารเดียว   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-294858

Person read: 2285

28 February 2019

เร่งคลอด “อีโคคาร์2” กลางปี โตโยต้าเทอีก 4 พันล้านโยก R&D ฮีโน่ลงไทย

“โตโยต้า” เดินเครื่องลุย “อีโคคาร์ เฟส 2” มั่นใจคลอดแน่สิงหาคมนี้ ชูเทคโนโลยีใหม่ตัวถัง TNGA ย้ำทั้งประหยัดและรักษ์โลก อ้อนรัฐคงเงื่อนไขสนับสนุนการลงทุน ยันญี่ปุ่นพร้อมใช้ไทยเป็นฐานหลังเข้าร่วมลงทุนรถยนต์ไฮบริด, ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และรถอีวี ล่าสุดฮีโน่เท 4 พันล้านเสริมเขี้ยวฐานผลิตในไทย แหล่งข่าวจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แผนรุกตลาดปีนี้ โตโยต้ากำลังเร่งมือทำคลอดอีโคคาร์ เฟส 2 ซึ่งน่าจะเปิดตัวได้ราวเดือนสิงหาคม ซึ่งต่อยอดความสำเร็จอีโคคาร์เฟสแรกทั้งสองรุ่น คือ ยาริสแฮตช์แบ็ก และเอทีฟ ซีดาน ทั้งนี้ เฟส 2 จะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่ม โดยเฉพาะระบบความปลอดภัย รวมถึงประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาบนแพลตฟอร์มใหม่ “Toyota New Global Architecture” หรือ “TNGA” มีอัตราสิ้นเปลืองไม่ต่ำกว่า 23 กิโลเมตรต่อลิตร ปล่อยไอเสียไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร “อีโคคาร์ เฟส 2 ตัวแรกน่าจะเริ่มที่ยาริสก่อน ซึ่งน่าจะได้การตอบรับที่ดี เนื่องจากลูกค้าได้รับประโยชน์จากอุปกรณ์ที่ใส่เพิ่มเข้าไป ขณะที่ราคาขายน่าจะไม่ได้ปรับสูงขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากในเฟสที่ 2 นี้ เราได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่ต่ำลง”   แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนการลงทุนภายใต้โครงการรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) โตโยต้าได้ยื่นขอรับส่งเสริมจากบีโอไอเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างดำเนินไปตามแผนธุรกิจ ซึ่งบีโอไอกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องผลิตรถยนต์ใน 3 ปี นับจากได้รับบัตรส่งเสริม ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้ค่ายรถหันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เร็วขึ้น ด้วยการจูงใจโดยจะให้ภาษีเป็น 0% แต่ต้องทำเร็วขึ้นภายใน 2 ปีหลังได้รับอนุมัติ และได้สิทธิ์นาน 3 ปีนั้น บริษัทคงต้องรอดูเงื่อนไขและรายละเอียดของความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวก่อน “เราเองไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายจากภาครัฐไปมา เพราะจะทำให้นักลงทุนตั้งคำถาม สิ่งสำคัญ วันนี้เราอยากให้รัฐบาลเฉย ๆ ไว้ก่อน อย่าเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายการลงทุน เรากำลังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดของแพ็กเกจว่าจะใช้โรงงานเกตเวย์ และบ้านโพธิ์นั้น เพื่อผลิตรถยนต์โมเดลใดให้เหมาะสมที่สุด และท้ายที่สุดแล้ว ประเทศไทยสมควรที่จะใช้รถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริดหรืออีวี ซึ่งโตโยต้าต้องใช้ระยะเวลาศึกษา ตอนนี้เราคลอดรถไป 2 รุ่น ซึ่งเป็นไฮบริด หลังจากที่ยื่นลงทุน รวมถึงเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในปีนี้แล้ว คือ ซี-เอชอาร์ และคัมรี” ส่วนความชัดเจน ภายหลังจากทีมผู้บริหารของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท โตโยต้าไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และบริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เข้าพบ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เมื่อวันก่อน รองนายกฯยืนยันว่า กลุ่มบริษัทโตโยต้าแจ้งว่า ยังคงเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ปี 2562 จะลงทุนอีก 1 หมื่นล้านบาท และปี 2563 จะลงเพิ่มอีก 1 หมื่นล้าน นอกจากนี้ ยังได้แนะนำ นายสมชาย เปลี่ยนแก้ว กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ให้เป็นผู้บริหารคนไทยที่มีตำแหน่งสูงสุดเป็นคนแรก แล้วยังได้รายงานว่า ฮีโน่ตัดสินใจย้ายศูนย์อาร์แอนด์ดีมาไว้ในบ้านเรา เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถบรรทุกในภูมิภาค ด้วยการลงทุนมูลค่า 4,000 ล้านบาทในปีนี้   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/motoring/news-294288

Person read: 2372

28 February 2019

อีสปอร์ตเปรี้ยงเกมเมอร์คึก กระฉูด400%อีเวนต์ท่วม

แฟ้มภาพ สมรภูมิ “อีสปอร์ต” ไทยบูมสุดตามเทรนด์ สินค้าเทงบฯ ลุยสร้างแบรนด์ ขยายตลาดเจาะเกมเมอร์กำลังซื้อสูง กลุ่มไอที สินค้าอุปโภคบริโภค รถจักรยานยนต์รุมแจมเป็นสปอนเซอร์ เผยหน้าใหม่ทั้ง “ไทย-เทศ” แห่ตั้งบริษัทจัดอีเวนต์แข่งขัน-ปั้นนักกีฬาคึกคัก ดันยอดจัดงานโต 400% อีเวนต์ใหญ่จัดถี่ งานเล็กมีทุกวัน   นายกฤษฎา เจียรวนนท์ ผู้บริหาร และเจ้าของสโมสร LYNX TH หนึ่งในทีมอีสปอร์ตไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากอีสปอร์ตได้รับการรับรองให้เป็นกีฬา และบรรจุในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ทำให้วงการเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดแข่งขันและอีเวนต์ที่เกี่ยวข้อง โดยในปีที่ผ่านมาเติบโตกว่า 400% และคาดว่าปีนี้จะโตต่อเนื่องจากเดิมกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับอีสปอร์ตเป็นแบรนด์สินค้าไอที และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต แต่ปัจจุบันขยายวงกว้างขึ้นเริ่มเห็นแบรนด์สินค้าอื่นที่จับตลาดผู้ชาย อายุ 15-25 ปี เข้ามาทำตลาด อาทิ สินค้าคอนซูเมอร์, มอเตอร์ไซค์ เป็นต้น ซึ่งในต่างประเทศมีมานานแล้วแต่ไทยเพิ่งเริ่ม และส่วนใหญ่บริษัทแม่จากต่างประเทศผลักดันให้เริ่มทำการตลาดช่องทางนี้ “ไอที” ลุยจัดทัวร์นาเมนต์ นางสาวสุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าไอทีกว่า 60 แบรนด์เริ่มหันมาโฟกัสตลาดเกมมิ่ง โดยลงทุนกว่า 10 ล้านบาท จัดงาน “SYNNEX GAMING & ESPORT TOURNAMENT 2019” สร้างการรับรู้ในแบรนด์ซินเน็คมากขึ้น “เกมมิ่งสร้างผลบวกให้อุตสาหกรรมไอที กำลังซื้อในตลาดนี้กล้าจ่ายเงินซื้อสินค้าพรีเมี่ยม โดยปีที่ผ่านมาตลาดอุปกรณ์เกมมิ่งมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท โตจากปีก่อน 15% คาดว่าปีนี้จะโตกว่า 15% ขณะที่ตลาดโน้ตบุ๊กทั่วไปไม่โตมาก แต่กลุ่มเกมเติบโตดี เฉพาะของซินเน็คโตขึ้น 30%”   ด้านแอนดรูว ฮู ประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ได้ทุ่มเงินกว่า 50 ล้านบาท (ไม่รวมเงินรางวัล) จัดงาน “Asia Pacific Predator League 2019” การแข่งขันอีสปอร์ตระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ชิงรางวัลกว่า 4 แสนเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 15-17 ก.พ.ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานกว่าหมื่นคนต่อวัน มียอดชมการแข่งขันทางออนไลน์กว่า 4.3 ล้านวิว โดยถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ Sport Marketing เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มด้านอีสปอร์ต ซึ่งการเติบโตของอุปกรณ์เกมมิ่งทั่วโลกในปัจจุบันอยู่ที่ราว 10% ต่อปี แต่มีโอกาสโต 25-30% ใน 3-4 ปี โดยเฉพาะตลาดในไทยมีโอกาสเติบโตอีกเยอะมาก ยอดจัดแข่งเพิ่ม 10 เท่า นายธนะกฤษฏิ์ วิริยะวรารักษ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เดอะดรีมแคสเตอร์ จำกัด ผู้ให้บริการธุรกิจอีสปอร์ตครบวงจร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ธุรกิจอีสปอร์ตทั่วโลกโตกว่าที่คาดมาก ปัจจุบันมีผู้เล่นกว่า 400 ล้านคน มีมูลค่ากว่า 870 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 90% มาจากค่าโฆษณา และคาดว่าจะเติบโตอีก 3 เท่า ภายในปี 2565 ครึ่งหนึ่งอยู่ในทวีปเอเชีย ขณะที่ไทยเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียมากขึ้น เกิดการแข่งขันเกมมากขึ้น รวมถึงบริษัทออร์แกไนซ์ด้านอีสปอร์ตเพิ่มขึ้น “ปีนี้จะมีบริษัทที่จัดอีสปอร์ตระดับโลกเข้ามาในไทยแน่ ๆ 1 ราย แต่บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้ในไทยยังน้อย ผู้จัดงานบางรายเป็นเพียงตัวกลางในการจ้างงานเท่านั้น ขณะที่การแข่งขันเล็ก ๆ โตขึ้นเป็น 10 เท่า งานระดับกลางเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากเดือนละ 1-2 ครั้ง เป็น 4-5 ครั้ง บริษัทที่จัดในขณะนี้มี 4 รายใหญ่ 10 รายขนาดกลาง หน้าใหม่ที่น่ากลัวคือต่างประเทศ เพราะเขาทำมานาน มีมาตรฐานสูง” สินค้าคอนซูเมอร์เทงบฯ นายธนะกฤษฏิ์กล่าวต่อว่า แบรนด์ไอทีปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การขายโดยหันมาจัดการแข่งขันเล็ก ๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้า ซึ่งนอกจากแบรนด์ไอทีแล้วยังมีแบรนด์อื่นมาเป็นสปอนเซอร์มากขึ้น รวมถึงมีการจัดงานเปิดตัวสินค้าใหม่ในการแข่งขันเกมเพิ่มขึ้น ทั้งสินค้าไอทีและอุปโภคบริโภค เช่น ฟาร์มเฮ้าส์, ยามาฮ่า, กานิเย่ เป็นต้น “อินโดนีเซียที่เป็นตลาดอีสปอร์ตเบอร์ 1 ในอาเซียนมีแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เป็นเบอร์ 1 ของประเทศทุ่มเงินมหาศาลในอีสปอร์ต” ด้านนายจิรยศ เทพพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท อินโฟเฟด จำกัด สตาร์ตอัพด้านอีสปอร์ต และเจ้าของ Thailand E-Sports Arena เปิดเผยว่า ตลาดเกมมิ่งและอีสปอร์ตในไทยมีมูลค่าราว 20,000 ล้านบาท เฉพาะอีสปอร์ตน่าจะอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้เติบโต 50% ในทิศทางเดียวกันตลาดโลก โดยปัจจัยที่ทำให้ตลาดเติบโตมาจากแบรนด์ต่าง ๆ เริ่มสนใจใช้อีสปอร์ตทำมาร์เก็ตติ้งเพื่อเข้าถึงคนรุ่นใหม่ เช่น แบรนด์เสื้อผ้า, อาหาร และเทเลคอม “ปีนี้เป็นช่วงทดลองตลาด เม็ดเงินลงทุนกว่า 40% ของอีสปอร์ตมาจากสปอนเซอร์ชิป 20% มาจากลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดเกม ที่เหลือมาจากการขายของที่ระลึกหรือบัตรเข้างาน ทุกอุตสาหกรรมสนใจอีสปอร์ตจึงไม่ใช่แค่การจัดแข่งขันเกม แต่จะมีรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ตรงกับแบรนด์นั้น ๆ เช่น อีสปอร์ตกับคอนเสิร์ต, อีสปอร์ตกับทอร์ค เป็นต้น” งานเล็กทุกวัน-งานใหญ่ทุกเดือน ที่ผ่านมางาน อีเวนต์ด้านอีสปอร์ต ถ้าเป็นงานขนาดเล็กมีจัดทุกวัน ส่วนงานขนาดกลางที่ใช้งบประมาณหลักแสนบาทมีแทบทุกอาทิตย์ ส่วนอีเวนต์ใหญ่งบฯหลักล้านมีจัดเดือนละ 1-2 ครั้ง ซึ่งปีนี้มีแนวโน้มจัดถี่ขึ้นในทุกระดับจึงอาจมีการจัดงานซ้อนกัน สำหรับอินโฟเฟดเองมีการจัดอีเวนต์ในอารีน่าเต็มทุกเสาร์-อาทิตย์ โดย 75% เป็นงานด้านอีสปอร์ต ทำให้ในปีนี้มีแผนขยายตลาดไปในประเทศ CLMV ยกระดับการจัดการแข่งขัน University E-Sports Championship หรือ UEC ซีซั่น 2 โดยนำ eArena แพลตฟอร์มการแข่งขันอีสปอร์ตออนไลน์มาสร้างมาตรฐานในการจัดการแข่งขัน และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีแผนปั้นแคสเตอร์ในสังกัดด้วย หน้าใหม่แห่งตั้งบริษัท ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” สำรวจข้อมูลการจัดตั้งบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ พบว่า มีการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ต, ทำทีมแข่งขันเกมออนไลน์ และการให้คำปรึกษาในการจัดสรรการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทไทยและต่างชาติ อาทิ บจ.อีสปอร์ต มาเก็ตติ้ง แอนด์ คอนซัลแทนซี จำกัด ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นมาเลเซียและสิงคโปร์, บจ.อสูร อีสปอร์ต จำกัด ทำทีมแข่ง และสร้างนักเล่นเกม, บจ.เอส เอส ที พี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ประกอบกิจการโซเชียลมีเดีย ด้านกีฬาอิเล็กทรอนิกส์, บจ.อีสปอร์ต เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด ให้คำปรึกษา และบริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และซอฟต์แวร์, บจ.อีสปอร์ต อัลลายแอนซ์ จำกัด ประกอบกิจการรับจัดทำการแข่งขันอีสปอร์ต เป็นต้น   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/ict/news-294413

Person read: 2213

26 February 2019

ไฟเขียว 5 โครงการลงทุนใหญ่กว่า 40,000 ล้าน ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภาฉลุย

แฟ้มภาพ บอร์ดบีโอไอเห็นชอบอนุมัติส่งเสริม 5 โครงการ อาทิ ไทยไลอ้อน ศูนย์ซ่อมอากาศยานการบินไทย เจนเนอรัลรับเบอร์ และในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 40,462 ล้านบาท คาดสร้างการใช้วัตถุดิบจากยางธรรมชาติในประเทศกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้การส่งเสริมโครงการขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ ศูนย์ซ่อมอากาศยาน และขนส่งทางอากาศ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.บริษัท เอดับเบิ้ลยู (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริม โครงการผลิตชุดเกียร์ส่งกำลังอัตโนมัติ เงินลงทุนทั้งสิ้น 7,244 ล้านบาท ตั้งโครงการในจังหวัดชลบุรี โครงการนี้จะผลิตเพื่อป้อนค่ายรถยนต์ชั้นนำ ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ซึ่งช่วยลดการนำเข้าชุดเกียร์ส่งกำลังอัตโนมัติจากต่างประเทศที่นำมาผลิตรถยนต์ในประเทศไทย 2.บริษัท เจนเนอรัล รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมโครงการผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะ เงินลงทุนทั้งสิ้น 9,721 ล้านบาท ตั้งโครงการในจังหวัดระยอง โครงการนี้จะสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากยางพาราในประเทศตามนโยบายรัฐบาล โดยจะใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นยางธรรมชาติในประเทศประมาณ 35,398 ตัน/ปี มูลค่าประมาณ 1,673 ล้านบาท/ปี   3.MR. XUNNING JU ได้รับส่งเสริมโครงการผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะ เงินลงทุนทั้งสิ้น 10,061 ล้านบาท ตั้งโครงการในจังหวัดชลบุรี โครงการนี้จะสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากยางพาราในประเทศตามนโยบายรัฐบาล โดยจะใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นยางธรรมชาติในประเทศประมาณ 23,838 ตัน/ปี มูลค่าประมาณ 1,433.3 ล้านบาท/ปี 4.เรืออากาศโท รณชัย วงศ์ชะอุ่ม ได้รับส่งเสริมโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน โดยเป็นการร่วมทุนของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กับบริษัทผู้ผลิตอากาศยานรายใหญ่ของโลก เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,468 ล้านบาท ตั้งโครงการที่เมืองการบินภาคตะวันออก (EEC-A) จังหวัดระยอง โครงการนี้จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานรุ่นใหม่ รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพของช่างอากาศยานตามมาตรฐานสากล รวมทั้งช่วยดึงดูดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานและการบินให้เข้ามาลงทุนในไทยมากยิ่งขึ้น 5.บริษัท ไทยไลอ้อน เมนทารี จำกัด ได้รับส่งเสริมโครงการขนส่งทางอาอากาศ เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,968 ล้านบาท โดยเป็นกิจการสายการบินราคาประหยัด ให้บริการทั้งเส้นทางการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-294010

Person read: 2450

26 February 2019

“ฟู้ดทรัก” ธุรกิจติดล้อ อู้ฟู่ 1.3 หมื่นล้าน…เตรียมลุย CLMV

คอลัมน์ จับกระแสตลาด กระแสความนิยมในธุรกิจฟู้ดทรัก หรือรถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่ กลายเป็นธุรกิจที่กำลังมาแรงและตอบโจทย์ความต้องการในแง่ของการเข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว ตรงกับผู้บริโภคเริ่มออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน ส่งผลให้คนรุ่นใหม่หันมาทำธุรกิจฟู้ดทรักมากขึ้น การทำธุรกิจ “ฟู้ดทรัก” จึงไม่ได้หมายถึงเพียงแค่รถเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยธุรกิจเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอีกมาก ทั้งธุรกิจรถยนต์, ธุรกิจการเงินและการบริการ, ธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าและประชาสัมพันธ์, ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจร้านค้า ศูนย์การค้า และตลาดนัด ซึ่งรวม ๆ แล้วคาดว่ามีมูลค่าทางเศรษฐกิจในระบบกว่า 12,000-13,000 ล้านบาท จึงไม่ต้องแปลกใจที่นอกจากผู้ประกอบการรายย่อย รายเล็กที่เข้ามาสู่ธุรกิจฟู้ดทรักนี้มากขึ้นแล้วนั้น แบรนด์ร้านอาหารและกลุ่มเครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งกลุ่มสเตชันนารี่ ก็เข้ามาให้ความสำคัญกับการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้นตามแหล่งชุมชนต่าง ๆ ผ่านรูปแบบ “รถทรัก” “ชนินทร์ วัฒนพฤกษา” ประธานและผู้ก่อตั้งองค์กรเครือข่ายธุรกิจฟู้ดทรัก เปิดเผยว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมฟู้ดทรักในประเทศไทย มีมูลค่ากว่า 13,000 ล้านบาท มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จากแบรนด์ใหญ่ ๆ ก็หันมาทำธุรกิจฟู้ดทรักมากขึ้น บวกกับเทรนด์รถอาหารเคลื่อนที่เริ่มได้รับความสนใจในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจทำอาชีพเสริม   ด้วยจุดเด่นของรถฟู้ดทรักจะสามารถย้ายสถานที่ขายได้ทุกที่ทุกเวลา ตามแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ตลาดนัด และงานเทศกาลต่าง ๆ ที่มีผู้คนสัญจรไปมา ถือว่าตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ที่ชอบหาประสบการณ์แปลกใหม่ในการรับประทานอาหารที่ไม่จำเจ ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ประกอบการรถฟู้ดทรัก หรือครัวติดล้อ มากกว่า 1,000 ราย ซึ่งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล 70% และต่างจังหวัด 30% โดยแบ่งเป็นธุรกิจประเภทอาหาร ร้อยละ 60 ที่เหลือร้อยละ 40 จะเป็นประเภทเครื่องดื่มและของหวาน ธุรกิจรถฟู้ดทรักแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ รถกระบะต่อเติม รถเทรลเลอร์หรือรถพ่วง และรถเก่าที่เอามาต่อเติมใหม่ ทำให้งบฯลงทุนไม่สูงมาก ประกอบกับการมีค่ายรถหลายยี่ห้อผลิตรถฟู้ดทรักออกมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจนี้โดยเฉพาะ โดยราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 1-3 แสนบาท/คัน ที่ผ่านมาองค์กรเครือข่ายธุรกิจฟู้ดทรักจะเน้นการให้ความรู้ผ่านการจัดอบรมสัมมนา ผ่านกลยุทธ์ “ฟู้ดทรักมาร์เก็ตติ้ง” ที่ใช้ต้นทุนต่ำและสามารถโปรโมตผ่านการตกแต่งรถให้โดดเด่น เพื่อสร้างการรับรู้ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้นพร้อมเดินหน้าประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขยายธุรกิจนี้เข้าไปในตลาด CLMV เพราะจะช่วยยกระดับและพัฒนาผู้ประกอบการรถฟู้ดทรักไทยได้อีกทาง ขณะที่กลุ่มร้านอาหาร เชนใหญ่ ๆ ระดับประเทศ ก็ขอชิงโอกาสในการขาย ทั้งส่งโมเดลและเมนูใหม่ หวังเจาะกลุ่มผู้บริโภคนอกพื้นที่ห้าง เริ่มต้นด้วยกลุ่มร้านอาหารเครือไมเนอร์ ส่ง “แดรี่ควีน” ในรูปแบบรถฟู้ดทรัก โดยเลือกโลเกชั่นที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย เช่น บริการโมบายยูนิต หรือนำรถฟู้ดทรัก เข้าไปตั้งในอีเวนต์ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ตามด้วย “อานตี้ แอนส์” ภายใต้การบริหารงานโดยบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (ซีอาร์จี) ในปีที่ผ่านมา ได้เปิดตัวโมเดล “อานตี้ แอนส์ ฟู้ดทรัก” ที่ถูกออกแบบให้ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ พร้อมเมนูใหม่ที่มีจำหน่ายเฉพาะที่ “อานตี้ แอนส์ ฟู้ดทรัก” เท่านั้น พร้อมเปิดตัว มิสเตอร์ โดนัท โมเดลใหม่ “มิสเตอร์ โดนัท ฟู้ดทรัก” รถบริการเคลื่อนที่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Donut and More…40 ปี มีดีมากกว่าโดนัท มาใช้ในการขยายธุรกิจของแบรนด์ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายและทำรายได้นอกศูนย์การค้า เช่น อาคารสำนักงาน งานอีเวนต์ งานแสดงสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มเครื่องดื่ม คอฟฟี่ เวิลด์ เปิดตัว “Coffee World Truck” ร้านกาแฟเคลื่อนที่ ที่ถูกออกแบบให้ทันสมัย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สังคมเมือง พร้อมคิดค้นเมนูใหม่จำหน่ายเฉพาะ คอฟฟี่ เวิลด์ ทรัก โดยเน้นเพิ่มช่องทางขายผ่านงานแสดงสินค้า ตลาดนัดกลางคืน และออกงานอีเวนต์ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค หรือแม้แต่กาแฟสดแบรนด์ “ชาวดอย” ในเครือ “อโรม่า กรุ๊ป” ได้ขยายโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ “ชาวดอย มูฟวิ่ง” ในรูปแบบ “รถตุ๊กตุ๊กขายกาแฟ” สามารถเปลี่ยนทำเลขาย และเข้าหาลูกค้าได้กว้างขึ้น ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 490,000 บาท เช่นเดียวกับ B2S ร้านค้าปลีกแคทีกอรี่คิลเลอร์ ในกลุ่มเครื่องเขียนและสินค้าที่ใช้ในสำนักงานของกลุ่มเซ็นทรัล ที่มีการเปิดตัว “B2S mini truck to you” รถมินิทรักที่ขายสินค้าเครื่องเขียน เริ่มทยอยออกไปจอดหน้าโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการใช้สินค้า สอดคล้องกับ “ศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นซีซี เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ หรือนีโอ กล่าวว่า มองเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจฟู้ดทรักในประเทศไทย เห็นได้จากปัจจัยการขยายตัวของผู้ประกอบการธุรกิจฟู้ดทรักมีมากขึ้น และเป็นเป้าหมายในการลงทุนของคนรุ่นใหม่ เนื่องจากสามารถลงทุนได้ง่ายกว่าร้านอาหารทั่วไป ที่จะต้องมีทั้งทำเล และการจ้างพนักงาน ขณะที่ต้นทุนธุรกิจฟู้ดทรักมีเพียงรถหนึ่งคันและลงทุนตกแต่งเล็กน้อย และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย จึงได้ร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายธุรกิจฟู้ดทรัก จัดงาน “Food Truck Expo 2019” เพื่อรวบรวมผู้ประกอบการรถฟู้ดทรัก และธุรกิจเชื่อมโยงสนับสนุนกว่า 200 ราย ทั้งที่เป็น big brand food truck และที่เป็นสมาชิกขององค์กรเครือข่าย รวมถึงธุรกิจเชื่อมโยง อาทิ รถยนต์เพื่อใช้ทำรถฟู้ดทรัก ธุรกิจดิจิทัลเทคโนโลยีที่ใช้บนรถฟู้ดทรัก ธุรกิจบริการทางการเงิน วัตถุดิบและอาหารสด เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมทางด้านธุรกิจฟู้ดทรักให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 25-28 เมษายน 2562 ณ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 5 เมืองทองธานี คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน 10,000 คน เรียกได้ว่าฟู้ดทรักถือเป็นธุรกิจติดล้อริมถนนที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน และกำลังเติบโตเป็นที่น่าจับตามอง   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/marketing/news-294329

Person read: 2631

26 February 2019

ถมลงทุนโซนอันดามัน ภูเก็ตทะลัก”พังงา-ระนอง”บูม

แฟ้มภาพ นักลงทุนไทย-เทศดาหน้าลงทุนจังหวัดโซนอันดามันรับนักท่องเที่ยวทะลัก “โรงแรม รีสอร์ต อสังหาฯ” พรึ่บยกแผง “5 ดาว” เพียบ มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าลักเซอรี่ “ยุโรป-อเมริกา” เผยกลุ่มทุนใหญ่โยกจากภูเก็ตขยายไป “กระบี่-พังงา-ระนอง” คอนโดฯ-โรงแรมดังทยอยปักหมุดเกลื่อน “อ่าวนาง” ส่วน “ตรัง” นายทุนทยอยกว้านซื้อที่ดินแปลงงามติดทะเลตุนรอขึ้นโปรเจ็กต์ จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยที่มีจำนวนสูงถึงกว่า 38 ล้านคน ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทะลุ 40 ล้านคนในปี 2562 นี้ ทำให้หลายหน่วยงานต่างเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุน โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวจากเมืองท่องเที่ยวหลักไปยังเมืองท่องเที่ยวใกล้เคียง เพื่อกระจายนักท่องเที่ยวออกสู่เมืองรองตามนโยบายรัฐบาล ทำให้เกิดปรากฏการณ์การโหมลงทุนในเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดในโซนอันดามันอย่าง ภูเก็ต กระบี่ พังงา สตูล ตรัง ระนอง ฯลฯ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ล้นทะลักมาจากจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวหลักที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและคนไทยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวสูงถึงปีละประมาณกว่า 13-14 ล้านคน หรือกระบี่ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามารวมกว่า 5-6 ล้านคน ลงทุนฝั่งอันดามันขยับยกแผง นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก เจ้าของโรงแรมอ่าวนาง ปริ้นซ์วิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา และอดีตประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้แนวโน้มการลงทุนในธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์ ในโซนจังหวัดฝั่งทะเลอันดามันทั้งพังงา สตูล ตรัง และระนอง กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นการกระจายตัวมาจากจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก โดยเฉพาะโรงแรมและรีสอร์ตระดับ 5 ดาว เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในฝั่งอันดามัน ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป อเมริกา เยอรมัน อังกฤษ ฯลฯ ที่มีกำลังซื้อสูงและต้องการพักผ่อนในเดสติเนชั่นคุณภาพและพรีเมี่ยม “ตอนนี้กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่จากจังหวัดภูเก็ตและจากต่างประเทศได้ขยายการลงทุนไปยังจังหวัดกระบี่, พังงา โดยเฉพาะในโซน ต.เขาหลัก อ.ตะกั่วป่า รวมถึงจังหวัดสตูลและระนอง ซึ่งเฉพาะกระบี่จังหวัดเดียวคาดว่าปีนี้น่าจะมีห้องพักใหม่เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 1,000 ห้อง เช่นเดียวกับในพังงา ที่คาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,000 ห้องเช่นกัน” นายอิทธิฤทธิ์กล่าว ชี้ลงทุนสนามบินปัจจัยหนุน   นายอิทธิฤทธิ์ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการกระจายตัวด้านการลงทุนแบบยกแผงนี้มาจาก 2 ส่วนหลัก ๆ คือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่ล้นภูเก็ต จึงเป็นโอกาสของจังหวัดใกล้เคียง และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะสนามบิน อาทิ การขยายสนามบินกระบี่ให้มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านคน เป็น 8 ล้านคน ภายในปี 2564 นี้, การสร้างสนามบินนานาชาติภูเก็ต แห่งที่ 2 ที่บ้านโคกกลอยอ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา, การสร้างสนามบินที่จังหวัดตรัง ของกรมการท่าอากาศยาน รวมถึงแผนการเพิ่มการให้บริการของสายการบินต่าง ๆ สู่สนามบินระนอง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเอื้อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในฝั่งอันดามันมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น “ดีวาน่า” ลงทุนโปรเจ็กต์ 5 ดาว นายศึกษิต สุวรรณดิษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีวาน่า กรุ๊ป จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจโรงแรมและสปา จังหวัดภูเก็ตและกระบี่ ในฐานะอุปนายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ กล่าวว่า ปัจจุบันทิศทางของการท่องเที่ยวในโซนภูเก็ต กระบี่ และจังหวัดในโซนอันดามันเริ่มขยับสู่กลุ่มลักเซอรี่มากขึ้น และยังคงมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม รีสอร์ต และเซอร์วิสเรซิเดนต์ ล่าสุดกลุ่มดีวาน่าปรับยุทธศาสตร์การลงทุนใหม่ ด้วยการขยับเข้าสู่ตลาดในระดับ 5 ดาวเป็นครั้งแรก จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ในตลาดระดับ 3-4 ดาวเป็นหลัก โดยปีนี้บริษัททำการศึกษาโครงการโรงแรมระดับ 5 ดาวแห่งใหม่ มูลค่าราว 1,200 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงประมาณปี 2022 และเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2024 นอกจากนี้ ยังได้ลงทุนรีโนเวตโรงแรมเก่าให้มีคุณภาพและมีความทันสมัย และสอดรับกับความต้องการตลาดที่เปลี่ยนไปอีกส่วนหนึ่งด้วย อาทิ ปรับโฉมใหม่โรงแรมดีวาน่า พลาซ่า กระบี่ อ่าวนาง และโรงแรมดีวาน่า ป่าตอง รีสอร์ท รวมถึงปรับปรุงและยกระดับภาพลักษณ์โรงแรมดีวาน่า พลาซ่า ภูเก็ต ป่าตอง คาดแล้วเสร็จประมาณกันยายน-ตุลาคม 2562 นี้ อ่าวนาง-เขาหลัก จับไฮเอนด์ นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้การลงทุนโรงแรมในภาคใต้ฝั่งอันดามันยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยหลัก ๆ จะมุ่งไปที่ 3 พื้นที่ ประกอบด้วย ภูเก็ต ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตกของเกาะ ส่วนในตัวเมืองเป็นการรีโนเวตและดัดแปลงตึกเก่ามาสร้างเป็นโรงแรม ขณะที่กระบี่มักนิยมลงทุนบริเวณอ่าวนางและพังงานิยมลงทุนบริเวณเขาหลัก โดยทั้ง 3 พื้นที่การลงทุนส่วนใหญ่จะสร้างเป็นโรงแรมขนาด 100 ห้องขึ้นไป ราคาห้องค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 3,000 บาท/คืน จนถึงหลักหมื่นบาท รองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวไฮเอนด์ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันยังมีการลงทุนโฮมสเตย์มากขึ้น บริเวณจังหวัดพังงา ระนอง และกระบี่ ตามแนวโน้มการท่องเที่ยวชุมชนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการลงทุนที่มุ่งไปสู่เอ็นเตอร์เทนเมนต์โฮเทล ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ของการท่องเที่ยวในฝั่งอันดามัน เช่น เครือกะตะกรุ๊ปอยู่ระหว่างเตรียมการสร้างสวนน้ำเพิ่มในพื้นที่โรงแรม เป็นต้น ส่วนตรัง และสตูล การลงทุนโรงแรมขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นของนักลงทุนท้องถิ่น สำหรับระนองถือเป็นจังหวัดการท่องเที่ยวใหม่ และปัจจุบันมีการเปิดเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ปัจจุบันมีการสร้างโรงแรมขนาด 40-60 ห้อง โดยปี 2562 มีโรงแรมเปิดเพิ่ม 2-3 แห่ง ในช่วงสิงหาคม-ตุลาคม ขณะที่ นายบรรจง นฤพรเมธี นายกสมาคมท่องเที่ยวและโรงแรมจังหวัดตรัง กล่าวว่า ปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนท้องถิ่นและต่างจังหวัดที่เข้ามาสอบถามบ้างในแง่ของการเตรียมหาซื้อที่ดิน ส่วนใหญ่ต้องการซื้อที่ดินติดชายทะเล ขนาดประมาณ 10-20 ไร่ขึ้นไป เพื่อขึ้นโครงการในอนาคต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผังเมืองรวมของจังหวัดตรังที่ยังมีข้อจำกัดการลงทุนอยู่พอสมควร ทางจังหวัดกำลังเสนอไปยังส่วนกลางเพื่อพิจารณาปรับแก้กระบี่ โปรเจ็กต์เพียบ นายอภิชัย อรัญญิก ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกระบี่ เปิดเผยว่า ขณะนี้นอกจากการลงทุนขนาดใหญ่ของ บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในการโครงการคลับเมด กระบี่ รีสอร์ท แอนด์ เดอะเรสซิเดนท์ ที่หาดยาว บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ มูลค่าโครงการนับพันล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างในไตรมาสที่ 2/2562 คาดว่าแล้วเสร็จเปิดให้บริการประมาณไตรมาสที่ 3/2564 ยังมีการลงทุนด้านโครงการอสังหาริมทรัพย์ คอนโดมิเนียมอีกหลายแห่ง พื้นที่บริเวณชายหาดอ่าวนาง ซึ่งมีนักลงทุนมาลงทุนด้านที่พักตากอากาศและคอนโดมิเนียมแล้วประมาณ 10 แห่ง ส่วนพื้นที่ตำบลหนองทะเล มีนักลงทุนกลุ่มบันยันทรีมาลงทุนธุรกิจด้านโรงแรมที่พัก ขณะนี้กำลังก่อสร้าง สำหรับพื้นที่เกาะลันตามีนักลงทุนมากว้านซื้อที่ดินจำนวนมากเช่นกัน แต่ติดในเรื่องของพื้นที่ควบคุมอาคาร   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-293584

Person read: 2269

26 February 2019

“คมนาคม” นั่งไม่ติด ปั๊มเมกะโปรเจ็กต์ ทิ้งทวน 5 ปี รัฐบาล คสช. 1.3 ล้านล้าน

หมุดหมายการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ใกล้เข้ามาทุกขณะ ไม่เกินกลางปีนี้น่าจะเห็นโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ ยังไม่รู้จะเป็นผู้นำหน้าเดิมหรือหน้าใหม่ โค้งสุดท้ายรัฐบาล คสช.  ทำให้ห้วงเวลาไม่ถึง 2 เดือนนี้ “รัฐบาล คสช.” ภายใต้บังเหียน “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ต้องใช้ทุกช่วงเวลาเร่งสปีดเค้นทุกผลงานให้ได้มากที่สุดหวังหวนคืนสู่การรั้งเก้าอี้ “นายกฯสมัยที่ 2” ท่ามกลางความอืมครึมทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เจอมรสุมทั้งปัจจัยภายในและภายนอกรุมเร้า “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” แม่ทัพใหญ่ด้านเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. จึงเดินสายไล่ขันนอตกระทรวงเศรษฐกิจ เร่งสารพัดโครงการและมาตรการต่าง ๆ สร้างความเชื่อมั่น ทั้ง “อุตสาหกรรม-พาณิชย์-คลัง” ล่าสุดเป็นคิว “คมนาคม” ซึ่งกุมเม็ดเงินลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ลงทุนนับล้านล้านแม้ที่ผ่านมาคมนาคมจะคลอด action plan หรือแผนปฏิบัติการเร่งด่วนประจำปี ขีดไทม์ไลน์ลงทุนรายโครงการแต่ยังติด ๆ ขัด ๆ ยกขบวนประมูลทุกปี เร่งลงทุนสร้างความเชื่อมั่น  “โครงการส่วนใหญ่ของรัฐบาล ขับเคลื่อนโดยกระทรวงคมนาคม หลังไปเร่งรัดการเบิกจ่ายกับกระทรวงการคลังมา ผมเห็นว่าในช่วงไตรมาส 1-2 ของปีนี้การลงทุนของภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่านักลงทุนต่างประเทศยัง wait and see เพราะต้องการเห็นความชัดเจนด้านการเลือกตั้ง แต่ไทยจะต้องเร่งลงทุนให้เกิดบาลานซ์กับการส่งออกซึ่งยังไม่ดีนัก หวังว่าครึ่งปีแรกไทยจะสามารถประคองตัวเองให้ผ่านพ้นไปสู่ครี่งปีหลังที่เรามีรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง จะทำให้ทุกอย่างกระเตื้องขึ้นมาได้” นายสมคิดกล่าวหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงคมนาคม 26 โครงการ 1.3 ล้านล้าน   ขณะที่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการลงทุนที่นายสมคิดเร่งรัดในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 26 โครงการ รวมเม็ดเงินลงทุน 1.36 ล้านล้านบาท คาดว่าแต่ละโครงการจะทยอยเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก.พ.-มี.ค.นี้ เร่ง บมจ.การบินไทยจัดหาเครื่องบิน 38 ลำ มูลค่า 200,000 ล้านบาทเสนอให้ ครม.อนุมัติสิ้นเดือน ก.พ.นี้ ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบิน (MRO) ที่สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,294 ล้านบาท เร่งบินไทยเจรจากับแอร์บัสกรุ๊ปให้ได้ความคืบหน้าเร็วที่สุดเพื่อเสนอ ครม. เค้น 4 โปรเจ็กต์ ทอท. ให้ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) เร่งรัด 4 โครงการสำคัญ ได้แก่ เร่งเบิกจ่ายงานก่อสร้าง อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 เงินลงทุน 16,176 ล้านบาทพัฒนาสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 วงเงิน 60,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงพิจารณาควบคู่ไปกับเร่งทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จก่อนเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป เดินหน้าสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 19,422 ล้านบาท ส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก 8,000 ล้านบาทตามแผนแม่บทเดิมปี 2553 ปิดดีลแหลมฉบัง-ไฮสปีด EEC  ส่วนทางน้ำมี 2 โครงการ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดให้ซื้อซองใหม่ มีเอกชนซื้อ 34 ราย จะให้สรุปผลการคัดเลือก มี.ค.นี้ และปรับปรุงท่าเรือระนอง 1,000 ล้านบาท กำลังจัดซื้อจัดจ้าง ขณะที่โปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง ในส่วนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ขั้นตอนการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบที่คณะกรรมการอีอีซีได้วางเอาไว้ ไทย-จีนคลอด TOR 5 สัญญา ส่วนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท ในเร็ว ๆ นี้จะเซ็นสัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. กับบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 3,115 ล้านบาท อีก 12 สัญญาค่าก่อสร้างกว่า 100,000 ล้านบาท ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกประกาศร่างทีโออาร์ 5 สัญญา รวมระยะทาง 144 กม. เงินลงทุนรวม 58,425 ล้านบาท แล้วอีก 7 ตอนที่เหลือจะทยอยออกให้ครบภายในเดือน พ.ค.นี้ ขณะที่รถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. เงินลงทุน 77,906 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงการจัดทำรายงาน PPP เสนอคณะกรรมการการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) พิจารณา และศึกษาขยายเส้นทางไปถึงสุราษฎร์ธานีเพื่อให้โครงการเกิดความคุ้มค่า ทางคู่ 8 เส้น มี.ค.มาแน่ ด้านรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทาง 1,851 กม. วงเงิน 340,129 ล้านบาท “อาคม” แจกแจงว่า คืบหน้ามากที่สุด คือ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 355 กม. 67,965 ล้านบาท จะเสนอ ก.พ.นี้ อีก 7 เส้นทาง จะเสนอ ครม.ได้ ก.พ.-มี.ค. ได้แก่ ขอนแก่น-หนองคาย 26,654 ล้านบาท, จิระ-อุบลราชธานี 37,523 ล้านบาท, ปากน้ำโพ-เด่นชัย 62,848 ล้านบาท, เด่นชัย-เชียงใหม่ 56,826 ล้านบาท, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 24,287 ล้านบาท, สุราษฎร์ธานี-สงขลา 57,369 ล้านบาท และหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 6,657 ล้านบาท รถไฟฟ้าจ่อเข้า ครม. ในส่วนของรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุน 120,459 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบก่อนจะจัดตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 สายสีแดง 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. เงินลงทุน 6,570 ล้านบาท, สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. เงินลงทุน 10,202 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. เงินลงทุน 7,469 ล้านบาท ในส่วน 2 สายแรก อยู่ระหว่างบรรจุวาระเข้า ครม. เร่งงาน ทล.-กทพ. “ยังมี 2 โครงการลงทุนที่รองนายกฯสมคิดให้ความสำคัญ คือ การเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี จะขอ ครม.ขยายกรอบค่าเวนคืน 8,000 ล้านบาท กำชับให้กรมทางหลวงเร่งทำข้อมูลเสนอบอร์ดสภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณเห็นชอบก่อนจะเสนอ ครม.อนุมัติโดยเร็วที่สุด” นอกจากนี้ กำชับให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ประมูลทางด่วนช่วงพระราม 3-ดาวคะนอง 31,244 ล้านบาท ให้เสร็จเดือน ก.พ.นี้ หลังได้เงินลงทุนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) แล้ว จะช้าไม่ได้เด็ดขาด โปรเจ็กต์ปิดท้ายจัดหารถเมล์จำนวน 3,000 คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท ตอนนี้กำลังรับมอบรถเมล์ NGV ใหม่จำนวน 489 คัน วงเงิน 4,261 ล้านบาท โดยจะรับมอบครบทั้งหมดในช่วงเดือน ก.พ.-กลางเดือน มี.ค.นี้ ส่วนที่เหลือ 2,511 คัน วงเงิน 7,731 ล้านบาท จะเสนอ ครม.ภายในเดือน มี.ค.นี้ ทุกโครงการมีไทม์ไลน์ชัดเจน หากสับเกียร์เดินหน้าเต็มสูบ ผูกโครงการไว้ก่อนหมดวาระ เชื่อว่าน่าจะได้รับการเดินหน้ามากกว่าที่จะถูกรื้อยกแผง ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-293138

Person read: 2144

25 February 2019

เงินบาทอ่อนค่า จับตาการเจรจาการค้าสหรัฐกับจีน-สถานการณ์ BREXIT

  แฟ้มภาพ เงินบาทกลับมาอ่อนค่าปลายสัปดาห์ แต่ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้นตามปัจจัยต่างประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปี ที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับทิศทางสินทรัพย์เสี่ยง เงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความคาดหวังต่อสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาทางการค้าสหรัฐฯ-จีน นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงกลางสัปดาห์อีกด้วย อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการพบกับระหว่างปธน. ทรัมป์ และรองนายกรัฐมนตรีของจีน ประกอบกับเงินบาทมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกไทยที่หดตัวลงมากกว่าคาดในเดือนม.ค. ในวันศุกร์ (22 ก.พ.) เงินบาทกลับมาอยู่ที่ 31.32 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ก.พ.)   สำหรับสัปดาห์ถัดไป (25 ก.พ.-1 มี.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.10-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนม.ค. และตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.พ. ขณะที่ จุดสนใจเพิ่มเติมในต่างประเทศ น่าจะอยู่ที่ความคืบหน้าของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ถ้อยแถลงของประธานเฟด สถานการณ์ BREXIT และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ของสหรัฐฯ และประเทศชั้นนำอื่นๆ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ดัชนีราคาบ้าน ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน และตัวเลขเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคา Core PCE Price Index เดือนธ.ค. ยอดขายบ้านที่รอปิดการขาย เดือนม.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ. และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2561 ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับที่ 1,659.20 จุด เพิ่มขึ้น 1.36% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 8.87% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 47,010.71 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai เพิ่มขึ้น 0.27% มาปิดที่ 384.27 จุด ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ปริมาณการซื้อขายเบาบาง อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ดีดตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยมีปัจจัยหนุนจากความคาดหวังเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังมีรายงานข่าวว่า คณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายกำลังร่างบันทึกความเข้าใจจำนวน 6 ฉบับที่เกี่ยวกับประเด็นเชิงโครงสร้าง ทั้งนี้ ปัจจัยบวกดังกล่าวมีส่วนช่วยหักล้างปัจจัยลบที่เข้ามากดดันตลาดช่วงปลายสัปดาห์อย่างข้อมูลการส่งออกของไทยที่หดตัวในเดือนม.ค. สำหรับสัปดาห์ถัดไป (25 ก.พ.–1 มี.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,650 และ 1,640 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,675 และ 1,685 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดรวมถึงเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูง รวมถึงสถานการณ์ BREXIT ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/61 ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลเดือนธ.ค. รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. ของญี่ปุ่น รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ.ของประเทศในยุโรปและเอเชีย ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-293738

Person read: 2692

25 February 2019

ทีโออาร์ “ดิวตี้ฟรี” ร้อน ! ส.ผู้ค้าปลีกไทยจับตาทุกย่างก้าว

  เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดหมายเมื่อมติที่ชุดคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การให้สิทธิประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ณ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท. ซึ่งประกอบด้วย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, เชียงใหม่, หาดใหญ่ (สงขลา) และภูเก็ต ในการให้สิทธิประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบแล้ว ทอท.เคาะ 3 สัญญาสัมปทาน โดยให้แยก 3 สัญญาใหญ่ คือ กิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (duty free) กิจกรรมเชิงพาณิชย์ (retail, F&B, service, bank) และกิจการให้บริการเคาน์เตอร์ส่งมอบสินค้าปลอดอากร (duty free pick-up counter) ออกจากกัน พร้อมทั้งเน้นให้เปิดกว้าง มีการแข่งขันกันอย่างเสรี โดยเฉพาะกิจการให้บริการเคาน์เตอร์ส่งมอบสินค้าปลอดอากร เพื่อให้ผู้ประกอบการในเมือง (downtown) สามารถส่งมอบสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท.ได้ และเห็นชอบหลักการในการคัดเลือกผู้ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากรและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ตามที่ฝ่ายบริหาร ทอท.เสนอ โดยให้ฝ่ายบริหาร ทอท.ตรวจสอบข้อกำหนดและรายละเอียด ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายก่อนดำเนินการประกาศต่อไป ส.ผู้ค้าปลีกไทยออกโรงต้าน แม้ว่าจะค่อนข้างชัดเจนแล้ว แต่ล่าสุดสมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังคงเรียกร้องให้ ทอท. วางแนวทีโออาร์โดยให้แบ่งย่อยสัญญาในส่วนของกิจการ duty free และกิจกรรมเชิงพาณิชย์ออกเป็นประเภทสินค้าอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดการแข่งขัน โปร่งใส และรัฐได้รับผลประโยชน์สูงสุด   “วรวุฒิ อุ่นใจ” ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า แม้ทีโออาร์ของบริษัทท่าอากาศยานไทยยังไม่ลงลึกในรายละเอียด แต่สมาคมยังคงยืนยันว่าไม่เห็นด้วยที่จะกำหนดเงื่อนไขสัมปทานดิวตี้ฟรีสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิเป็นแบบรายเดียว หรือ master concessionแต่ควรกำหนดเกณฑ์สัมปทานแบบหมวดหมู่สินค้า (by category) “ยืนยันว่ารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ คือ การกำหนดเกณฑ์สัมปทานแบบหมวดหมู่สินค้า เนื่องจากเป็นสนามบินที่มีขนาดใหญ่ถึง 12,000-15,000 ตารางเมตร และมีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการต่อปีมากกว่า 60 ล้านคนต่อปี อีกทั้งยังเป็นรูปแบบที่รัฐได้ผลตอบแทนสูงสุด” ยันควรมีไม่ต่ำกว่า 4 สัญญา “วรวุฒิ” ยังบอกด้วยว่า สำหรับสัญญาในส่วนของพื้นที่ดิวตี้ฟรีนั้น ทางสมาคมเห็นสมควรว่าควรแบ่งสัญญาไม่ต่ำกว่า 4 ราย อาทิ หมวดสินค้าเครื่องสำอาง, สุราและบุหรี่, หมวดแฟชั่น, หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้มีความหลากหลายและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจับจ่ายมากขึ้น อีกทั้งแก้ปัญหาการผูกขาดด้วย พร้อมยืนยันว่า การบริหารสัญญาแยกย่อยตามหมวดสินค้านั้นไม่ได้สร้างความยุ่งยากในการบริหารจัดการแต่อย่างใดหากมีการบริหารจัดการล่วงหน้าที่ดีและมีการจัดสรรพื้นที่ตั้งร้านค้าตามหมวดสินค้าให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของอาคารผู้โดยสารและเส้นทางการเดินของผู้โดยสาร และเห็นว่า ทอท.ควรแยกสัญญาของแต่ละสนามบินออกอย่างชัดเจน ไม่ควรเอาสัญญาทั้ง 4 สนามบินมารวมกัน สำหรับในประเด็นของจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะ หรือ pick-up counter นั้น “วรวุฒิ” บอกว่า เห็นด้วยที่ทำสัญญาแยกออกมาอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นด้วยที่ ทอท.จะให้ผู้ขอรับสัมปทานในส่วนของดิวตี้ฟรีเข้ามาประมูลในกิจการนี้ร่วมด้วย เนื่องจากจะล่วงรู้ข้อมูลของคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น หรืออีกแนวทาง คือ ทอท.ต้องเป็นผู้บริหารเอง เพื่อความเป็นกลาง หนุนรายได้เพิ่ม 5 หมื่นล้านต่อปี นอกจากนี้ยังมองว่า การดำเนินงานในส่วนของกิจการร้านค้าปลอดภาษีและเชิงพาณิชย์ของ ทอท. เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในปัจจุบันถือว่ายังต่ำมาก ไม่ว่าจะเป็น เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง และสิงคโปร์ และเชื่อว่าหาก ทอท.ยอมเปลี่ยนรูปแบบการให้สัมปทานมาตามหมวดสินค้าจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งคาดว่าจะทำให้ประเทศได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 50,000-100,000 ล้านบาทต่อปี และยังเชื่อว่า การแบ่งย่อยเป็นหลายสัญญาจะทำให้เกิดการแข่งขันทั้งในด้านคุณภาพและความหลากหลายของสินค้า รวมถึงสามารถกำหนดราคาที่สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น ค่าธรรมเนียมไทยต่ำสุดในโลก “วรวุฒิ” ยังให้ข้อมูลอีกว่า หากเทียบผลตอบแทนที่ภาครัฐได้รับจากสัมปทานดิวตี้ฟรีของแต่ละประเทศจะพบว่า ค่าธรรมเนียมของสัมปทานดิวตี้ฟรีของไทยถูกกว่าประเทศอื่น ๆ ถึงครึ่งหนึ่ง โดยปัจจุบันผู้รับสัมปทานสนามบินสุวรรณภูมิจ่ายผลตอบแทนให้ ทอท. ในอัตรา 15-21% ส่วนที่สนามบินดอนเมืองและภูเก็ต จ่ายค่าธรรมเนียมในอัตรา 19% เท่านั้น ขณะที่สนามบินอินชอน เกาหลีใต้ จ่ายค่าธรรมเนียม 40% สนามบินปักกิ่ง ประเทศจีน จ่ายค่าธรรมเนียม 43-48% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่อัตรา 30-40% “ถ้าเทียบกับเกาหลีใต้ ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมากกว่าเกือบ 3 เท่า แต่ตลาดดิวตี้ฟรีของไทยมีมูลค่าเล็กกว่าเกาหลีใต้ถึง 6 เท่าตัว เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากการการให้ผู้ประกอบการผูกขาดเพียงรายเดียว ขณะที่สนามบินอื่น ๆ มีผู้ประกอบการอย่างต่ำถึง 3 ราย นี่คือเหตุผลหนึ่งที่กลุ่มผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีทั่วโลกกำลังจับตามองประเทศไทยอยู่” ผลตอบแทนไม่ควรต่ำกว่า 30% สำหรับอัตราค่าตอบแทนสัมปทานที่เหมาะสมนั้น “วรวุฒิ” ให้ความเห็นว่า ไม่ควรต่ำกว่า 30% เพราะการบริหารร้านค้าดิวตี้ฟรีนั้น ผู้ประกอบการที่ได้สัมปทานไม่ต้องลงทุนในอาคารสถานี และไม่ต้องทำการตลาดมาก เนื่องจากภาครัฐเป็นหน่วยงานทำการตลาดดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศอยู่แล้ว “สิ่งที่ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยเรียกร้องอยู่ในขณะนี้คือ อยากให้ระบบธุรกิจของเราเป็นมาตรฐานเดียวกันกับทั่วโลก” ยันได้ผู้รับสัมปทานเดือน ก.ย.นี้ ขณะที่ “นิตินัย ศิริสมรรถการ” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ให้สัมภาษณ์ถึงไทม์ไลน์ในการดำเนินการว่าทอท.มีขั้นตอนการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง “ทีโออาร์” ประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์และดิวตี้ฟรีบนเว็บไซต์ ซึ่งมองว่าเป็นเวลามากเพียงพอให้ผู้สนใจและเอกชนได้แสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ ในเบื้องต้นคาดว่าจะเปิดจำหน่ายทีโออาร์ในส่วนของดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ในเดือนมีนาคมนี้ และได้ผู้ชนะการประมูลได้ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับสัมปทานมีเวลาทำงานอย่างน้อย 1 ปี ก่อนที่สัญญากับผู้ประกอบการรายเดิมจะสิ้นสุดลง สำหรับในส่วนของจุดส่งมอบสินค้านั้นบอร์ดเห็นชอบให้เปิดกว้างให้ผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีในเมืองทุกรายสามารถใช้ร่วมกันได้ ซึ่งในกระบวนการดำเนินงานนั้น ทอท.จะจำหน่ายทีโออาร์และทำการประมูลได้ภายในปีนี้เช่นกันทุกการเคลื่อนไหวของ ทอท. สำหรับการประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์และดิวตี้ฟรีในสนามบินสุวรรณภูมิ ภูเก็ต หาดใหญ่ และเชียงใหม่ รอบนี้ จึงเป็นประเด็นที่น่าติดตามอย่างยิ่ง   ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-293736

Person read: 2134

25 February 2019

ทาวน์เฮาส์ 8 หมื่นล้านเดือด น้องใหม่ท้ารบยักษ์เจ้าตลาด

ตลาดทาวน์เฮาส์ 8 หมื่นล้านเดือด “ออลล์ อินสไปร์ฯ” ผุดโครงการ 1,400 ล้าน ต่ำ 5 ล้าน ลาดพร้าว-นวมินทร์ เกทับชูจุดขายถนนซอยทั้งโครงการ 12 เมตรเหนือคู่แข่ง ขยายพื้นที่เท่าบ้านเดี่ยว 180-220 ตารางเมตร เจ้าตลาด “เอพี-พฤกษาฯ-โกลด์-เพอร์เฟค”ชี้โมเดลธุรกิจแพ้-ชนะต้องรบกันยาว ๆ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลาดทาวน์เฮาส์ที่มีมูลค่าตลาดรวมปีละ 80,000 ล้านบาท มีแรงกระเพื่อมจากการเข้าสู่ตลาดของน้องใหม่ค่ายออลล์ อินสไปร์ฯ ซึ่งจุดพลุการแข่งขันตั้งแต่ต้นปีด้วยการเปิดตัวทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น “เดอะวิชั่น ลาดพร้าว-นวมินทร์” โดยเคลมว่าเป็นรายแรกของประเทศไทยที่ลงทุนตัดถนนซอย 12 เมตรทั้งโครงการ เจ้าแรกถนนซอย 12 เมตร นายธนากร ธนวริทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทกำหนดเปิดพรีเซลทาวน์เฮาส์ 3 ชั้นโครงการแรกของบริษัทแบรนด์ “เดอะวิชั่น ลาดพร้าว-นวมินทร์” วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562 ทำเลอยู่ในซอยนวมินทร์ 85 ทั้งโครงการมี 303 ยูนิต แต่เปิดขายเฟสแรกก่อน 100 ยูนิต ล่าสุดมีผู้สนใจจองสิทธิ์ซื้อ 250 ราย คอนเซ็ปชวลดีไซน์เป็นทาวน์เฮาส์ XL ขยายทุกอย่างให้ใหญ่กว่าคู่แข่ง อาทิ ไซซ์บ้านมี 2 ขนาด คือ 180 กับ 220 ตารางเมตร เทียบเท่าบ้านเดี่ยวไฮเอนด์, ฟังก์ชั่น 4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ โดยห้องน้ำทุกห้องมีชาวเวอร์หรือส่วนเปียกสำหรับอาบน้ำได้จริง, ระเบียงติดตั้งกระจกเทมเปอร์เต็มบาน, มี 2 ห้องนอนใหญ่ หรือ 2 มาสเตอร์เบดรูมจุดขายในพื้นที่ส่วนกลาง คลับเฮาส์ทำเป็นอาคาร 2 ชั้น มีสระว่ายน้ำความยาว 30 เมตร โดยมีไฮไลต์อยู่ที่การตัดถนนภายในโครงการให้มีขนาดใหญ่พิเศษ จากปกติถนนซอยหรือถนนย่อยในโครงการทาวน์เฮาส์กฎหมายจัดสรรมีข้อกำหนดให้ทำเลต่างจังหวัดขั้นต่ำกว้าง 8 เมตร และในพื้นที่กรุงเทพฯ จังหวัดเดียวที่ถนนซอยขั้นต่ำ 9 เมตรเดอะวิชั่นฯต้องการสร้างความแตกต่างและสร้างการจดจำแบรนด์ ดังนั้น จึงลงทุนตัดถนนมีความกว้าง 12 เมตรทั้งโครงการ ในขณะที่แลนด์แบงก์เต็มแปลง 30 ไร่ มีรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู สามารถตัดถนนซอย 9 เมตรก็ได้ แต่บริษัทยืนยันลงทุนถนน 12 เมตร   “เหตุผลที่ต้องทำถนนกว้างพิเศษเพื่อแก้ปัญหาการจอดรถหน้าบ้านแล้วมีการกระทบกระทั่งกันระหว่างเพื่อนบ้าน ซึ่งออลล์ อินสไปร์ฯเคลมว่าเราเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยที่กล้าให้อย่างนี้” นายธนากรกล่าว พฤกษาฯกร้าวรักษาแชมป์ นายธีรเดช เกิดสำอางค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มโครงการทาวน์เฮาส์ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดทาวน์เฮาส์ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลมีมูลค่ารวมปีละ 80,000 ล้านบาท โดยพฤกษาฯมีส่วนแบ่งอันดับ 1 ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีฐานลูกค้าราคา 3-5 ล้าน สัดส่วน 21% จึงเป็นตลาดที่ต้องปกป้องการแข่งขันไว้ให้ได้ “ทาวน์เฮาส์แพ็กที่ขายดี คือ แบบ 2-3 ชั้น โจทย์ธุรกิจคือ ต้นทุนที่ดินแพงขึ้นทำให้ต้องขยับเซ็กเมนต์สูงขึ้น พฤกษาฯต้องการขยายฐานลูกค้าไปหาตลาดกลาง-บนมากขึ้น ปีนี้มีโปรดักต์ใหม่แบบ 3 ชั้นครึ่งกับดูเพล็กซ์ ทำเลโฟกัสย่านพัฒนาการ พระราม 9 ซึ่งถือเป็นโซน connecting ที่เหมาะทำสินค้าทาวน์เฮาส์มากที่สุด” สำหรับแผนลงทุน พฤกษาฯวางแผนพัฒนาเซ็กเมนต์ 3-5 ล้านบาทแบบรักษาฐานที่มั่น มูลค่าโครงการ 5,000-6,000 ล้านบาทเนื่องจากประเมินเศรษฐกิจลำบาก แต่วางแผนบุกหนักในปี 2563 ในขณะที่ปีนี้เตรียมเปิดทาวน์เฮาส์ดูเพล็กซ์ โซนพัฒนาการ หน้ากว้าง 7.5 เมตร พื้นที่ใช้สอย 226 ตารางเมตร ราคา 6.9 ล้านบาท เอพีมั่นใจคนรุ่นใหม่ซื้อ 70% นายภมร ประเสริฐสรรค์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจแนวราบ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2562 นี้ ตลาดแนวราบคึกคักมากขึ้น โดยเฉพาะทาวน์โฮมในเมืองระดับกลาง-บน ราคา 4-9 ล้านบาท/ยูนิต ซึ่งเอพีเป็นเจ้าตลาดเซ็กเมนต์นี้ มีฐานลูกค้าคนรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 35 ปี เดิมซื้อในสัดส่วน 39% ปัจจุบันลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มสัดส่วนเป็น 70% มาจากจุดขายพื้นที่ใช้สอย สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ และโลเกชั่นเข้าเมืองสะดวก “จุดแข็งเอพีเรามีแบรนด์บ้านกลางเมืองเจาะตลาดทาวน์โฮม 3 ชั้น ราคา 4-9 ล้านบาท และแบรนด์พลีโน่เจาะตลาด 2 ชั้น ราคา 2-4 ล้าน มีแบบบ้านให้เลือกมากกว่า 10 โมเดล นำแนวคิด stanford design thinking เข้ามาใช้ในกระบวนการออกแบบ ทุกพื้นที่ต้องใช้งานได้จริงไม่เกิดพื้นที่ทิ้งเปล่า” โกลด์ตะลุยดัก 2 ทำเล นายภวรัญชนม์ อุดมศิริ กรรมการผู้จัดการโครงการทาวน์เฮาส์ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือโกลเด้นแลนด์ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าภาพความสำเร็จในตลาดทาวน์เฮาส์ของโกลด์ช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา ทำให้คนคิดว่าตลาดโต แต่จริง ๆ แล้วตลาดทาวน์เฮาส์ไม่ได้โตขึ้น เพียงแต่โกลด์มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 จากการแข่งขันที่ดึงมาจากเบอร์ 1 และกลุ่มทุนโลคอล สำหรับการเข้ามาแข่งขันของรายใหม่ ๆ มองว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาและประสบการณ์ ต้องมี learning curve อีกเยอะ โดยเฉพาะต้นทุนก่อสร้างซึ่งต้องบริหารให้ต่ำกว่า 10,000 บาท/ตารางเมตร ปัจจุบันมีโกลด์กับกลุ่มพฤกษา เรียลเอสเตท ที่ทำต้นทุนพัฒนาโครงการได้ดี “ตลาดทาวน์เฮาส์ฐานใหญ่สุด คือ ราคา 2-3 ล้าน ซึ่งเราเปิดเกือบครบทุกทำเลแล้ว ในขณะที่ราคา 4-5 ล้าน มีขนาดตลาดปีละ 10,000 ล้านมีเอพี เป็นเบอร์ 1 โกลด์ก็ลงทุนปีละ 3-4 พันล้านอยู่แล้ว พร้อมทุกเมื่อถ้ามีจังหวะบุกเพิ่มได้ก็จะบุก” “ข้อกำหนดถนน 9 เมตร กับ 12 เมตร คอสต์ต่างกัน 35% ถ้าทำ 12 เมตร เท่ากับกำลังสนับสนุนให้คนจอดรถหน้าบ้าน ถ้าสนับสนุนอย่างนั้นคอสต์วิ่งกลับไปหาลูกค้าหมด ซึ่งเชื่อว่ามีลูกค้าทั้งที่ต้องการจ่ายกับไม่จ่าย บิสซิเนสโมเดลต้องดูให้จบ ดูยาว ๆ รบยาว ๆ” เพอร์เฟคชูโปรดักต์ 4 ล้าน นายวสันต์ ศรีรัตนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาธุรกิจ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แนวโน้มทาวน์เฮาส์ยังมีดีมานด์สูง เพอร์เฟคตั้งเป้าเติบโต 10% ยอดขาย 2,000 ล้านบาท มี backlog 400-500 ล้านบาท รูปแบบการแข่งขันเดิมแข่งด้วยราคา ปัจจุบันบิ๊กแบรนด์หันไปแข่งดีไซน์กับฟังก์ชั่นมากขึ้นเพื่อจับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ โดยเพอร์เฟคมีจุดเน้นเพิ่มฟังก์ชั่นให้น่าสนใจมากขึ้น เช่น ชั้นล่างปรับให้มีทั้งห้องนั่งเล่น ห้องครัว และเพิ่มห้องอเนกประสงค์ ในขณะที่ห้องเก็บของซึ่งเป็นฟังก์ชั่นของบ้านเดี่ยวก็ต้องมี ชั้นบนจัดระเบียงเล็กไว้สำหรับปลูกต้นไม้ได้ บางแบบบ้านเพิ่มห้องน้ำในห้องนอนใหญ่ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-294070

Person read: 2256

25 February 2019

ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ เผยโต 7.03% รายได้รวม 750 ล้านบาท ชูจับพาร์ทเนอร์ขยายธุรกิจครบวงจร

ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ แจงผลประกอบการปี 61 รายได้รวม 750.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.03% จากปีก่อน เตรียมจับมือพันธมิตรใหม่ในประเทศเพื่อนบ้านขยายการบริการให้ครบวงจร   นายอภิชาติ ชโยภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) หรือ RP เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัทว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2561 ของบริษัท มีรายได้รวม 177.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 7.21% ทำให้ทั้งปี 2561 มีรายได้รวม 750.43 ล้านบาท เติบโต 7.03% จากปี 2560 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการขายและการให้บริการ เนื่องจากในปีที่ผ่านมา บริษัทได้ลงทุนเพิ่มทั้งการซื้อเรือลำใหม่และปรับปรุงระบบบริการหลายด้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า “บริษัทได้ปรับแผนธุรกิจเน้นเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เริ่มจากการเตรียมขยายท่าเทียบเรือฝั่งดอนสักเพิ่มอีก 2 ท่า จากเดิม 3 ท่า เพื่อให้การบริหารจัดการเรือมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น พร้อมปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการซึ่งคาดว่าจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในปีนี้” นายอภิชาติกล่าว สำหรับแผนธุรกิจในปี 2562 ราชาเฟอร์รี่เตรียมศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการขยายธุรกิจต่างประเทศ โดยอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายธุรกิจบริการเดินเรือและรถให้ครบวงจร สอดรับกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ทำให้เดินทางระหว่างกันไร้พรมแดน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-293039

Person read: 2315

22 February 2019

เตรียมลุย “เอมิเรตส์ ทราเวล แฟร์ 2019” สิ้นเดือนนี้ พร้อมดีลสุดพิเศษในงาน

สายการบินเอมิเรตส์พร้อมจัด “เอมิเรตส์ ทราเวล แฟร์ 2019” เสนอดีลสุดพิเศษภายในงาน พร้อมโชว์โซนจำลองและขนทัพลูกเรือมาสร้างบรรยากาศเสมือนจริง 28 ก.พ. – 3 มี.ค. 62 นี้ ณ สยามพารากอน นายมูฮัมหมัด ซาร์ฮาน ผู้จัดการประจำประเทศไทย เมียนมาร์และกัมพูชา สายการบินเอมิเรตส์ เปิดเผยว่า สายการบินเอมิเรตส์กลับมาอีกครั้งกับ “งานเอมิเรตส์ ทราเวล แฟร์ 2019” ที่สายการบินจัดขึ้นเพื่อมอบข้อเสนอพิเศษมากมายในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมทั่วโลกให้กับลูกค้า ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2562 ณ แฟชั่นฮอล์ ชั้น 1 สยามพารากอน เวลา 10.00 น. – 21.00 น.   โดยภายในงาน นักเดินทางไทยสามารถเลือกซื้อบัตรโดยสารราคาพิเศษในชั้นประหยัดและชั้นธุรกิจ ไปยังจุดหมายปลายทางในเครือข่ายของเอมิเรตส์ที่ครอบคลุมทั่วโลก อาทิ ฮ่องกง ลอนดอน ซูริค ซิดนีย์ ปารีส มอสโก ดูไบ เวียนนา ลอสแอนเจลิส และนิวยอร์ก และผู้ร่วมงานยังสามารถสัมผัสประสบการณ์เต็มรูปแบบของสายการบินเอมิเรตส์ในโซนห้องรับรองจำลอง พร้อมทีมลูกเรือนานาชาติ และมาสคอตช้างสุดน่ารักที่คอยให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น รวมถึงยังมีธนาคารพันธมิตรมาร่วมงานเพื่อนำเสนอดีลสำหรับบัตรโดยสาในงานนี้และยังมีรางวัลสุดพรีเมี่ยมสำหรับ Top Spender Award ด้วยบัตรโดยสารชั้นธุรกิจ ไปกลับ กรุงเทพ-ฮ่องกง “จากความสำเร็จอย่างล้นหลามของงานในปีก่อนที่มีผู้ร่วมงานกว่า 1,000 คน เราหวังว่างานในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ประชาชนไทยสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายของสายการบินเอมิเรตส์ ซึ่งเรามุ่งมั่นส่งเสริมการเดินทางโดยการสร้างแรงบันดาลใจและประสบการณ์การเดินทางให้เหนือกว่าผ่านจุดหมายปลายทางทั่วโลก พร้อมด้วยระบบความบันเทิงบนเที่ยวบินชั้นนำ อาหารรสเลิศ และการบริการระดับโลก” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-293080

Person read: 2174

22 February 2019

จับตา! ระเบียบใหม่ธุรกิจนำเที่ยวฯ ยกเลิก “Job Order” ป่วนธุรกิจท่องเที่ยว

เป็นกระแสฮือฮาในกลุ่มธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์อย่างมากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ระเบียบคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ว่าด้วย มาตรฐานการประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดที่จะออกมาบังคับใช้แทนฉบับ พ.ศ. 2561 และมีประกาศออกมาและลงนามโดย “ทวีศักดิ์ วาณิชย์เจริญ” รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และประธานกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ไปตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา โดยระเบียบใหม่นี้จะมีผลทันทีหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประกาศใหม่ยกเลิก Job Order ทั้งนี้ สาระสำคัญของระเบียบคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ฉบับใหม่นี้อยู่ที่ประเด็นการยกเลิก “ใบสั่งงานมัคคุเทศก์” หรือที่ในวงการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เรียกกันว่า “job order” ที่ปกติผู้ประกอบการนำเที่ยวหรือบริษัททัวร์ต้องมีเพื่อให้นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบการทำงานของบริษัททัวร์ต่าง ๆ แหล่งข่าวในบริษัทธุรกิจนำเที่ยวรายหนึ่งกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าประเด็นดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ทางสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยพยายามผลักดันให้ยกเลิกมานานแล้ว โดยใช้ข้ออ้างเรื่อง “ความไม่สะดวก” ในการปฏิบัติงาน อีกทั้งยังเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของไทย เมื่อ “มัคคุเทศก์” ถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบการดำเนินงาน   พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า ใบ job order คือ ตัวสร้างปัญหาต่อระบบการทำงานของมัคคุเทศก์และบริษัทนำเที่ยว เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานต้องทำรายการตามใบสั่งงาน ไม่สามารถยืดหยุ่นและทำทัวร์นอกโปรแกรมได้ ส.มัคคุเทศก์แจงถึงเวลาปลดล็อก “วิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์” นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า job order เป็นประเด็นที่ทางสมาคมไม่เห็นด้วยมานานแล้ว เพราะเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดความวุ่นวายและยุ่งยากในการทำงานของมัคคุเทศก์ โดยเฉพาะประเด็นการตรวจจับของเจ้าหน้าที่รัฐ ยกตัวอย่างเช่น หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้ไม่สามารถทำทัวร์ได้ตามโปรแกรมที่ระบุไว้ บริษัททัวร์ไม่สามารถปรับโปรแกรมทัวร์ แม้ว่าสถานที่จะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันก็ตาม หลายครั้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจจับทำให้นักท่องเที่ยวเสียเวลา 2-3 ชั่วโมง สร้างความเสียหายกับนักท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ของประเทศไทย เรียกว่าทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่อยากจับก็จับ กลายเป็น “อุปสรรค” ของการทำงานอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา “เรื่องนี้เราเรียกร้องให้ยกเลิกนานแล้ว เพราะมองว่าใบสั่งงานไม่ใช่สาระสำคัญ และที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะใช้กับตลาดจีนในสมัยที่มีประเด็นเรื่องทัวร์ศูนย์เหรียญ แต่กลายเป็นว่าตำรวจตรวจจับหมดทุกตลาด กระทั่งเป็นช่องทางในการหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่ม ซึ่งเรื่องนี้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ (วีระศักดิ์ โควสุรัตน์) ก็เห็นชอบด้วย จึงมองว่าน่าจะถึงเวลาที่วงการทัวร์ต้องปลดล็อกเรื่องนี้ได้แล้ว” ผู้ประกอบการทัวร์รุม “ค้าน” ขณะที่แหล่งข่าวในธุรกิจนำเที่ยวรายหนึ่งกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เป็นประเด็นที่น่าแปลกใจมากที่ระเบียบคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ว่าด้วย มาตรฐานการประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2562 ที่มีการลงนามโดยรองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และประกาศออกมาไม่มีเรื่องของใบสั่งงาน หรือ job order อยู่ในระเบียบดังกล่าว เนื่องจากมติที่ประชุมคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (บอร์ด) ที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวแต่อย่างใด “จ็อบออร์เดอร์เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์ ซึ่งบริษัททัวร์ทุกแห่งต้องมีใบสั่งงานให้มัคคุเทศก์ทุกคนที่ออกปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจทำให้ขั้นตอนการทำงานยุ่งยากนิดหน่อย แต่มันเป็นเรื่องของมาตรฐานและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว เพราะหากยกเลิกไปแล้ว ต่อไปใครก็ไปรับนักท่องเที่ยวได้ ไม่รู้ว่าใครเป็นมัคคุเทศก์จริง ใครเป็นมัคคุเทศก์ปลอม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะยิ่งมั่วและปั่นป่วนมากกว่าที่เป็นอยู่” “รณรงค์ ชีวีนสิริอำนวย” นายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวสัมพันธ์ไทย-จีน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะทำการยกเลิก เพราะ job order จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ว่า กรุ๊ปทัวร์ที่มานั้นมาจากไหน และมีโปรแกรมไปเที่ยวไหนบ้าง และมีใครเป็นมัคคุเทศก์ หากเกิดปัญหาสามารถติดตามนักท่องเที่ยวได้ หากรัฐประกาศยกเลิกไปจะเป็นการเปิดทางให้มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะประเด็นการหลอกลวงนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกับ “ชนะพันธ์ แก้วกล้าไชยวุฒิ” เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวสัมพันธ์ไทย-จีน ที่มองว่า มัคคุเทศก์ที่มองว่า job order คือ อุปสรรคและปัญหาในการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่เป็นมัคคุเทศก์ที่ไม่ได้รับงานจากบริษัทโดยตรง และทำทัวร์เถื่อน “ถ้าเราไม่มีรายละเอียดทัวร์ วงการทัวร์จะทำงานกันอย่างไร ทุกวันนี้ขนาดมีใบสั่งงาน ปัญหายังเกิดมากมายขนาดนี้ ถ้ายกเลิกไปแล้วจะยิ่งวุ่นวายขนาดไหน เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถตราวจสอบข้อมูลได้เลย มัคคุเทศก์ที่มีบัตรประจำตัวก็ใช่ว่าจะเป็นคนดีทุกคน” ชี้เอื้อผู้ประกอบการ “เลี่ยงภาษี” สอดรับกับ “มานพ แซ่เจีย” นายกสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ ที่กล่าวยืนยันว่า การยกเลิกมาตรการดังกล่าวนี้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีแน่นอน เพราะจะไม่สามารถตรวจสอบมัคคุเทศก์เถื่อนได้อีกต่อไป แถมยังเป็นการเปิดทางให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาทำมาหากินได้อย่างเสรีมากยิ่งขึ้นด้วย “ส่วนตัวผมจะค้านให้ถึงที่สุด การที่สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยเห็นด้วยและสนับสนุนให้มีการยกเลิกไม่ได้หมายความว่า สมาคมมัคคุเทศก์ในจังหวัดอื่น ๆ จะเห็นด้วย ที่สำคัญ มติของที่ประชุมครั้งล่าสุดเสียงส่วนใหญ่ก็ยังไม่เห็นด้วยให้ทำการยกเลิกแต่อย่างใด” “มานพ” ยังบอกด้วยว่า นอกจากใบ job order จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลและรายละเอียดโปรแกรมเที่ยวแล้ว ข้อดีอีกประการหนึ่ง คือ ภาครัฐสามารถใช้ใบนี้สำหรับติดตามผู้ประกอบการในเรื่องภาษีได้ด้วย และนี่คือ เหตุผลและต้นตอสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายดิ้นเพื่อชงให้ “ยกเลิก” ใบสั่งงานมัคคุเทศก์ หรือ job order ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-293097

Person read: 2157

22 February 2019

กพท. สั่ง 19 สายการบินส่งข้อมูลปล่อยก๊าซคาร์บอน พบปล่อยเกินต้องจ่ายเงินชดเชย

นายศรัณย เบ็ญจนิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ได้กำหนดให้สายการบินทั่วโลก ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะให้เริ่มเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซฯ ตั้งแต่ปี 2562-63 และในปี 2564 เพื่อใช้เป็นฐานในการควบคุมไม่ให้สายการบินปล่อยก๊าซฯ เกินระดับข้อมูลของปี 2562-63 หากปล่อยเกินสายการบินต้องจ่ายค่าชดเชยปริมาณก๊าซที่ปล่อยเกิน ตามขั้นตอนการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต (Emission Unit) ทั้งนี้ กพท. ได้แจ้งให้สายการบินของไทยที่ทำการบินระหว่างประเทศ ทั้ง 19 สายการบินทราบแล้ว บางสายเริ่มทยอยส่งข้อมูลการใช้ปริมาณน้ำมันบ้างซึ่งใช้ในการคำนวนคาร์บอนมาบ้างแล้ว จากนั้นจะเก็บข้อมูลอีกครั้งในปีหน้า และปี 2564 จะเริ่มบังคับให้ทุกสายการบินไม่ปล่อยปริมาณก๊าซฯ เพิ่มเติมจากเดิม เบื้องต้นสายการบินตื่นตัวเรื่องมาตรการลดการปล่อยก๊าซฯ อาทิ ล้างเครื่องบินไม่ให้มีฝุ่น เพื่อช่วยลดการต้านอากาศได้มากกว่าปกติ และล้างเครื่องยนต์ เพราะการที่ไม่มีคราบเขม่าจะทำให้ประสิทธิภาพของการปล่อยก๊าซฯ ลดน้อยลง   นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อกับการบิน เช่น บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และสนามบินได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการขึ้น-ลง ของเครื่องบินให้มีความรวดเร็วมากขึ้น ช่วยให้เครื่องบินไม่ต้องบินวน และเผาไหม้น้ำมันทิ้ง อย่างไรก็ตาม จากสถิติข้อมูลการปล่อยก๊าซฯ ของสายการบินของไทย พบว่าประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซฯ ต่อกิโลเมตร (ก.ม.) ต่อที่นั่งดีขึ้นทุกปี เห็นได้จากปี 2553 อยู่ที่ 1.14 กิโลกรัม (ก.ก.) ต่อ กม. ต่อที่นั่ง, ปี 2557 อยู่ที่ 0.87 ก.ก. ต่อก.ม. ต่อที่นั่ง และปี 2560 อยู่ที่ 0.82 ก.ก.ต่อก.ม. คาดว่าในอนาคตจะลดต่ำลงต่อเนื่องซึ่งช่วยเรื่องปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-293156

Person read: 2138

22 February 2019