ใช้เครื่องไฟฟ้า . . . หน้าฝน (momypedia) ขึ้นชื่อว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็เป็นที่รู้กันละค่ะว่าไม่ถูกกับน้ำ ยิ่งฝนตกฟ้าคะนองด้วยแล้ว ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าค่ะ อ่านเคล็ดลับการใช้เครื่องไฟฟ้าให้ปลอดภัย ในหน้าฝน ต้องทำอย่างไร เราไปดูกันเลย คอมพิวเตอร์ : หลังใช้อินเตอร์เน็ตแล้ว อย่าลืมถอดสายโทรศัพท์ออกจากตัวโมเด็มเพื่อป้องกันไฟฟ้ากระชากมาตามสายโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้โมเด็มเสียหายได้ และจะดีมากถ้าถอดปลั๊กคอมพิวเตอร์ออกจากเต้าเสียบไฟบ้านด้วย โทรทัศน์ : ควรติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรง และห่างจากแนวสายไฟแรงสูง กะระยะว่าหากเสาอากาศล้มหรือหักลงมาจะต้องไม่โดนสายไฟฟ้าแรงสูง หากที่บ้านหรืออาคารที่อยู่ไม่ได้มีสายล่อฟ้า ก็ควรถอดสายอากาศออกจากทีวีทุกครั้ง (โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน) รวมทั้งไม่เปิดทีวีขณะที่ฝนตกฟ้าร้องด้วย เครื่องทำน้ำอุ่น : ต้องย้ำกับช่างผู้มาติดตั้งให้ต่อสายดินให้เรียบร้อยนะคะ และไม่ควรใช้เครื่องทำน้ำอุ่นหากไม่แน่ใจว่าต่อสายดินหรือไม่ เครื่องปรับอากาศ : พอเข้าหน้าฝนก็ควรมีการตรวจสอบสภาพเครื่องกันหน่อยว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะสายไฟฟ้าที่ใช้ต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศ และเครื่องปรับอากาศต้องไม่ติดตั้งใกล้สารหรือวัตถุไวไฟ โคมไฟสนาม : ต้องหมั่นดูแลตรวจสอบสภาพเปลือกสายไฟให้ดีอยู่เสมอ ตัวเสาโคมก็ควรต่อสายกลับไปที่แผงสวิตซ์แล้วต่อลงดิน เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน เพราะหากเกิดไฟรั่วขึ้นลูกอาจจะไปสัมผัสทำให้ได้รับอันตรายได้ สวิตช์กริ่งไฟฟ้า : หากมือเปียกชื้นหรือยืนอยู่ในพื้นที่แฉะไม่ควรสัมผัสกริ่งโดยตรง เพราะจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทำให้เกิดไฟดูดได้ ทางที่ดีควรติดตั้งสวิตช์กริ่งไฟฟ้าที่กันฝน มีฝาปิด และหมั่นตรวจตราให้อยู่ในสภาพปลอดภัยพร้อมใช้งาน อย่ามองข้ามสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้นะคะ เพราะหากไม่ใส่ใจการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธี หรือไม่รีบแก้ไขเมื่อชำรุดเสียหาย อาจจะเป็นภัยต่อชีวิตของคนทั้งครอบครัวได้ค่ะ 8 วิธีป้องกันไฟฟ้าดูด 1. หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์และสายไฟ และควรซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด 2. ควรวางสายไฟให้พ้นทางเดิน และบริเวณที่วางสายไฟไม่ควรวางสิ่งของที่หนักๆ ทับ 3. ห้ามใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ 4. ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้ 5. ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับเต้าเสียบปลั๊กไฟตัวเดียว 6. ต่อสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น (ที่จำเป็น) เพื่อให้ไฟฟ้าลงดิน 7. อย่าแตะอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อร่างกายเปียกชื้น เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้สะดวก 8. ควรจะติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและเป็นการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า รู้หรือเปล่าว่า . . . ควรติดตั้งสวิตซ์และเต้ารับที่มีขั้วสายดิน เช่น ติดตั้งเต้ารับแบบหลุมไว้ภายในบ้าน เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจุดต่อสายดินหรือมีเครื่องหมาย (มีรูปเครื่องหมายให้ค่ะ) กำกับอยู่ และควรติดตั้งสวิตซ์และเต้ารับในตำแหน่งที่ปลอดภัย สูงพ้นมือเด็กเล็ก หรือห่างจากสภาพที่อาจเกิดอันตรายหรือน้ำท่วมถึงได้ ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก โดย: พู่กันต์ ที่มา : https://hilight.kapook.com/view/37283
จำนวนผู้อ่าน: 6327
12 กรกฎาคม 2018
นอกจากบ้านที่ได้รับการออกแบบมาอย่างสวยงามแล้วแสงสว่างก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้บ้านของเราสวยงามน่าอยู่มากขึ้น แสงมีวิธีใช้หลายรูปแบบ และยังช่วยปรับอารมณ์ให้ห้องแต่ละห้องเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน และสิ่งสำคัญ แสงสว่างจะทำให้เรามองเห็นทุกอย่างได้ชัดเจน ป้องกันการสะดุด หกล้ม เตะตู้ หรือแม้แต่ช่วยให้เราแต่งหน้าได้ไม่พลาดหากเลือกใช้หลอดไฟถูกประเภท โทนสีของหลอดไฟ 1. แสง Warm White • แสงโทนสีแดงอมส้ม นิยมใช้สร้างบรรยากาศให้ดูผ่อนคลาย • แสง Warm White ทำให้สีของวัตถุผิดเพี้ยน • นิยมใช้ในห้องนั่งเล่น ห้องนอนให้ความรู้สึกนุ่มนวล อบอุ่น ชวนพักผ่อน 2. แสง Cool White • แสงโทนสีขาวอยู่ระหว่างแสง Daylight กับแสง Warm White • ให้ความรู้สึกทันสมัย สว่างสะอาด • ใช้กับห้องที่ต้องการความสดใสเช่น ห้องทำงาน 3. แสง Daylight • แสงโทนสีขาวอมฟ้า มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด • คล้ายแสงธรรมชาติในตอนกลางวันจึงได้ค่าสีไม่เพี้ยน • ใช้กับบริเวณที่ต้องการเห็นรายละเอียดชัดเจน เช่น โต๊ะแต่งหน้า โต๊ะทำงานฝีมือ 1. Ambient Light / ไฟบริเวณ ไฟที่ให้แสงสว่างพื้นที่โดยรวมของห้องนั้นๆ เช่น ไฟซาลาเปา ไฟแขวนกลางห้อง 2. Accent Light / ไฟส่องเน้น ไฟที่ช่วยส่งเสริมความสวยงามของพื้นที่ให้เป็นจุดสนใจ เช่น ไฟส่องภาพแขวนผนังหรืองานศิลปะ 3. Task Light / ไฟเฉพาะจุด ไฟที่ให้แสงสว่างเฉพาะจุด เช่น โคมไฟตั้งโต๊ะ ไฟแขวนเหนือโต๊ะกินข้าว ไฟหัวเตียง 4. Concealed Light / ไฟหลืบ ไฟที่ติดตั้งในตำแหน่งที่เราไม่สามารถมองเห็นหลอดไฟ เห็นเพียงแต่แสงสว่างเท่านั้น เช่น ไฟหลืบในผนัง ไฟใต้ตู้ในครัว Living Room ให้ความสว่างที่สามารถปรับเพิ่ม - ลดได้ตามการใช้งาน • ไฟเพดาน • ไฟตั้งโต๊ะ • ไฟส่องผนัง • ไฟตกแต่ง Dining Room ให้แสงที่สวยงามเหนือโต๊ะอาหารสร้างมิติของแสงรอบ ๆ ห้อง • ไฟแขวนเหนือโต๊ะอาหาร • ไฟส่องผนัง Kitchen ต้องการความสว่างของแสงที่เหมาะสมสำหรับการทำอาหาร • ไฟเพดาน • ไฟใต้ตู้แขวน • ไฟเหนือเตา Home Office ให้ความสว่างและสว่างมากในบางจุด • ไฟส่องผนัง • ไฟตั้งโต๊ะที่ปรับได้ Bathroom ให้ความสว่างแต่ไม่สว่างจนเกินไป • ไฟเพดาน • ไฟซ่อนหลังกระจก Bedroom ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ชวนพักผ่อน • ไฟผนัง • ไฟตั้งโต๊ะ ขอบคุณบทความจาก : sanook.com
จำนวนผู้อ่าน: 7535
21 พฤศจิกายน 2017
พวกแมลงและศัตรูพืช มักจะหาที่อยู่อาศัยที่สามารถเข้าถึงน้ำและอาหารได้ง่าย และพวกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ มักจะเข้ามาในบ้านของเราตามท่อแอร์ พวกมันจะได้กลิ่นอาหารจากแอร์ และได้น้ำจากน้ำที่หยดออกมาจากคอมเพรสเซอร์ เมื่อพวกมันหาวิธีเข้ามาในบ้านเราทางท่อแอร์ได้แล้ว มันก็จะรบกวนทั้งเราและสัตว์เลี้ยงในบ้าน เราจึงต้องรู้วิธีกำจัดพวกมันอย่างถูกต้อง ดังนี้ 1.ไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดแมลงในท่อแอร์ : คนส่วนใหญ่ เมื่อเห็นแมลงเข้ามาในบ้าน ก็จะกำจัดด้วยการฉีดยาฆ่าแมลง ซึ่งหาซื้อมาได้ง่าย ๆ แต่สำหรับแมลงในท่อแอร์นี้ การใช้ยาฆ่าแมลงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเมื่อเราเปิดแอร์ใช้งาน ยาฆ่าแมลงที่อยู่ในท่อแอร์นั้น ก็จะถูกพ่นออกมา ทำให้คุณภาพอากาศในบ้านของเราเสียไป และอาจจะทำให้คนและสัตว์เลี้ยงในบ้านป่วยได้อีกด้วย 2.ควรให้มืออาชีพมาช่วยทำความสะอาด : ทางเลือกที่ดีที่สุดในการกำจัดแมลงในท่อแอร์ก็คือ การทำความสะอาด เพื่อที่จะขจัดแมลงออกไป และป้องกันการกลับเข้ามาใหม่ การทำความสะอาดท่อแอร์โดยช่างแอร์ หรือมืออาชีพ ช่วยได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในบ้านด้วย 3.เมื่อกำจัดแมลงออกจากท่อแอร์ได้แล้ว ก็ต้องป้องกันพวกมันไม่ให้เข้ามาอีก : หลังการล้างทำความสะอาดท่อแอร์แล้ว ให้ติดตาข่ายถี่ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันเข้ามาในท่อแอร์ได้อีก จากนั้น เราก็จะสามารถใช้งานแอร์ได้อย่างสบายใจ ขอบคุณบทความจาก : sanook.com
จำนวนผู้อ่าน: 6777
29 ตุลาคม 2017
งานทางเดินเข้าบ้านที่มุ่งเน้นการตกแต่งที่สวยงาม ทันสมัยและน่าอยู่อาศัยโดยโฟกัสที่งานปูทางเดิน สวนบริเวณด้านหน้าและความแข็งแรงแล้วนั้น อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันนั้นคือ การติดตั้งระบบไฟเพื่อเพิ่มความส่องสว่างตามจุดต่างๆ โดยความสำคัญของการติดตั้งความส่องสว่างบริเวณงานทางเดินเข้าบ้านนั้น ช่วยเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัยเพราะในช่วงเวลากลางคืนหากบริเวณดังกล่าวมึดทืบนอกจากทำให้บ้านดูไม่สวยงาม อาจจะเกิดอุบัติเหตุและอันตรายจากสัตว์มิพิษได้ ฉะนั้นการป้องกันและเตรียมการตั้งแต่ต้นน้ำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ระบบไฟที่นำมาติดตั้งงานปูทางเดินส่วนใหญ่จะอยู่ตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผนังกำแพงบ้าน ใต้แผ่นวัสดุปูพื้น ตลอดจนบริเวณเพดานและประตู ซึ่งในวันนี้ทาง Homify พร้อมนำเสนอเทคนิคการติดตั้งระบบไฟเพื่อเพิ่มความส่องสว่างบริเวณทางเดินเข้าบ้าน เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้ เสริมความปลอดภัยสำหรับการอยู่อาศัยที่ดีต่อไป 1.ความส่องสว่างจากขั้นบันได สำหรับงานทางเดินเข้าบ้านหลังนี้ได้นำเอาโคมไฟฝังพื้นมาติดตั้งบริเวณขั้นบันได สามารถเพิ่มความส่องสว่างระหว่างก้าวเดินได้เป็นอย่างดี ป้องกันการสะดุดและหกล้ม อีกทั้งมีความกลมกลืนกับผนังและยกระดับบันไดให้สวยงามและทันสมัย อย่างไรก็ดีด้านความเชื่อมั่นการนำโคมไฟแบบดังกล่าวมาติดตั้งมีความปลอดภัยสูงเพราะระบบไฟจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบในผนัง ลดการรั่วและอันตรายยามฝนตก 2.ความส่องสว่างจากผนังและกำแพงบ้าน สำหรับบริเวณหน้าบ้านของที่อยู่อาศัยหลังนี้ได้เพิ่มความส่องสว่างทางเดินเข้าด้วยการติดตั้งโคมไฟติดผนังหรือโคมแขวนไว้บริเวณกำแพงบ้านตามจุดต่างๆหลายดวง เพื่อเสริมความส่องสว่างและวิสัยทัศน์ในการมองเห็นบริเวณหน้าบ้านได้อย่างกว้างขวาง อย่างไงก็ดีนอกจากความส่องสว่างดีไซน์ที่สวยงามของโคมไฟที่ทำมาจากอลูมิเนียมเสริมให้บ้านดูหรูหรา ทันสมัย ขึ้นมาในทันตา ต้องการความช่วยเหลือสำหรับโปรเจคของคุณ?ติดต่อเราได้เลย REQUEST FREE CONSULTATION 3.ความส่องสว่างจากมุมกระถางต้นไม้ หนึ่งมุมสุดสร้างสรรค์ที่ออกแบบและติดตั้งโคมไฟติดผนังไว้บริเวณกระถางต้นไม้ที่ออกแบบชิดกับราวกำแพงบ้านบริเวณทางเข้าบ้านอย่างกลมกลืน โดยการติดตั้งโคมไฟชนิดดังกล่าวนี้สามารถเพิ่มความส่องสว่างของทางเดินเข้าบ้านได้อย่างทั่วถึง ไม่เพียงเท่านั้นแสงที่ตกกระทบลงกับวัสดุปูพื้นอย่างเช่นกระเบื้องเซรามิกทำให้บ้านดูสวยงาม มันวาว และหรูหรา อย่างไรก็ดีสำหรับคนที่กังวลการเกิดไฟรั่วเพราะบริเวณดังกล่าวต้องรดน้ำต้นไม้ สบายใจและเชื่อมั่นได้เพราะโคมไฟชนิดดังกล่าวฝังสายดินและระบบไฟไว้ในผนังอย่างแน่นหนาป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี 4.ความส่องสว่างสุดโมเดิร์น บริเวณหน้าบ้านของบ้านหลังนี้เพิ่มความส่องสว่างอย่างทั่วถึงด้วยการติดตั้งโคมไฟติดผนังบริเวณขั้นบันได โดยหลอดที่นำมาใช้เป็นหลอดไฟประเภท LED ซึ่งเสริมความส่องสว่างที่มากขึ้น ไม่เพียงแต่ขั้นบันไดบริเวณผนังใกล้ๆกันกับประตูทางเข้าก็ได้ติดตั้งโคมไฟติดผนังเช่นกัน ทำให้มุมทางเดินข้าวของบ้านหลังนี้ส่องสว่างอย่างกว้างขวาง หายห่วงในเรื่องอุบัติเหตุหกล้มต่างๆและอันตรายจากสัตว์มีพิษ อย่างไรก็ดีนอกจากการเพิ่มความส่องสว่างยังแสดงออกถึงงานออกแบบบ้านที่ทันสมัย สวยงามในแบบฉบับสไตล์โมเดิร์น 5.ติดตั้งในทำเลที่เหมาะสม สำหรับผู้ที่มีงบประมาณไม่สูงและมุ่งเน้นความเรียบง่าย การเลือกติดตั้งโคมไฟติดผนังในทำเลที่เหมาะสมช่วยได้เป็นอย่างดี โดยจุดในการเพิ่มความส่องสว่างบริเวณหน้าบ้านที่ควรติดตั้งหลอดไฟนั้นควรอยู่บริเวณประตูทางเข้าเพราะในจุดนี้เป็นจุดเชื่อมโยงทางเข้าบ้านและทางเดินไปสู่หน้าบ้าน และอีกจุดที่ไม่ควรมองข้ามคือบริเวณผนังหรือกำแพงบ้านโดยหลอดไฟในจุดนี้จะเสริมความส่องสว่างในมุมกว้างทำให้ทางเข้าบ้านพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวัน กลางคืน และในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนดังเช่นไอเดียบุคภาพนี้เป็นต้น 6.ความส่องสว่างจากโคมไฟปักดิน ด้านงานปูทางเดินและส่วนหน้าของที่อยู่อาศัยหลังนี้ ได้เพิ่มความส่องสว่างบริเวณโดยรอบด้วยการติดตั้งโคมไฟแบบปักดินซึ่งใช้หลอดแบบ LED ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณ สวนหน้าบ้าน มุมกระถางต้นไม้ งานปูทางเดินสามารถเพิ่มความส่องสว่างด้านหน้าทางเข้าอย่างทั่วถึง ยิ่งไปกว่านั้น แสง LED ที่ตกกระทบลงสู่พื้นช่วยสนับสนุนให้บ้านดูสวยงาม โดดเด่นและมีสไตล์ 7.ความส่องสว่างจากประตูทางเข้า อีกหนึ่งแนวคิดที่สร้างความส่องสว่างให้กับงานบริเวณหน้าบ้านคือการติดตั้งโคมไฟติดผนังไว้บริเวณโดยรอบของประตูทางเข้าและทางเดินเข้าบ้านบริเวณพื้น เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุและเด็กสามารถมองเห็นและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นการติดตั้งความส่องสว่างในบริเวณดังกล่าวทำให้ทางเข้าบ้านดูสว่างไสว น่าสนใจ ที่สำคัญยกระดับประตูบ้านให้ดูโดดเด่น สวยงาม 8.ติดตั้งความส่องสว่างบริเวณผนังของตัวบ้าน สำหรับบ้านหลังนี้มุ่งเน้นการสร้างความส่องสว่างอย่างทั่วถึงทั้งในส่วนทางเข้าและงานปูทางเดินด้วยการนำเอาโคมไฟติดผนังที่ทำจากอลูมิเนียมสีดำมาติดตั้งบริเวณผนังของบ้าน โดยเว้นช่องไฟห่างประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งการติดตั้งไฟในลักษณะทำให้บริเวณโดยรอบของบ้านดูสว่างอย่างทั่วถึง สอดรับกับโทนสีบ้าน ทำให้ที่อยู่อาศัยดูสวยงามมากยิ่งขึ้นในเวลากลางคืน ที่สำคัญเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์การใช้สอยทั้งในแง่ความปลอดภัยและสะดวกสบาย 9.ความส่องสว่างจากโคมไฟภายในบ้าน สำหรับทางเข้าบ้านที่มีขนาดคับแคบและมีพื้นที่จำกัดการสร้างความส่องสว่างบริเวณทางเข้าจากภายในสามารถช่วยเสริมความส่องสว่างภายนอกได้เป็นอย่างดี ด้วยการนำเอาโคมไฟขนาดใหญ่มาจัดวางหรือติดตั้งบริเวณประตูทางเข้าเพื่อให้แสงสว่างลอดผ่านประตูกระจกออกมาเพิ่มความส่องสว่างทางเข้าได้อย่างสะดวกสบาย แม้จะดูไม่กว้างแต่ยังสามารถช่วยบรรเทาและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้อีกระดับ ในทางกลับกันแสงที่มีอยู่จำกัดทำให้มุมทางเข้าบ้านหลังนั้นน่าสนใจ สวยงามและรู้สึกอบอุ่น ความส่องสว่างเป็นหัวใจที่สำคัญสำหรับการอยู่อาศัยในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น ความปลอดภัย ความสวยงามและความสะดวกสบาย โดยเฉพาะอย่างบริเวณด้านหน้าทางเข้าและงานปูทางเดินของบ้าน เพราะเปรียบเสมือนเป็นหน้าตาของที่อยู่อาศัย ที่มา:www.homify.co.th
จำนวนผู้อ่าน: 5318
06 ตุลาคม 2017
ถ้าพูดถึงค่าใช้จ่ายภายในบ้าน หลายคนถึงขั้นต้องเอามือก่ายหน้าผากกันเลยใช่ไหมคะ ? ไหนจะค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหารการกิน ค่าน้ำ และที่สำคัญเลย นั่นก็คือ ค่าไฟ เพราะในชีวิตประจำวันเราต้องพึ่งพาไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้ยอดค่าไฟสูงจนน่าปวดหัว ฉะนั้นการเลือกใช้หลอดไฟจึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้าน โดยวิธีการเลือกให้คุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้านกันค่ะ 1. เลือกจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน สิ่งของทุกอย่างต่างก็มีอายุการใช้งานที่จำกัด หลอดไฟก็เช่นกัน แต่เมื่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หลอดไฟก็ถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ ทั้งที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย แถมยังใช้งานได้ยาวนานอีกต่างหาก แล้วเราจะทนใช้หลอดไฟแบบเก่า ๆ ให้สิ้นเปลืองไปทำไม หากจะมองหาหลอดไฟที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องคิดคำนวณอะไรให้ยุ่งยาก แค่เลือกใช้หลอด LED รับรองคุ้มค่าคุ้มราคากับเงินเสียไป เพราะหลอดไฟชนิดนี้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดไฟชนิดอื่น ๆ และยังกินไฟน้อยอีกต่างหาก 2. เลือกจากค่าความถูกต้องของสี ค่าความถูกต้องของสี (Color Rendering Index) หรือ CRI คือค่าวัดความถูกต้องของแสงสว่าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-100 โดยหลอดไฟที่ดีควรจะให้แสงที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติหรือแสงอาทิตย์มากที่สุด ถ้าหากเราเลือกหลอดไฟที่มีค่าความถูกต้องสีผิด ก็อาจจะทำให้เกิดการรับรู้ที่ผิดพลาดได้ เช่น การรับรู้สีของเสื้อผ้าต่างออกไปจากตอนที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ๆ หรือตัดสินใจใช้สีในผลงานศิลปะผิดไปก็เป็นได้ ดังนั้นหลอดไฟที่เลือกมาใช้ในบ้าน ควรมีค่าความถูกต้องของสีหรือค่า CRI ให้อยู่ในระดับ 70-90 เพราะให้สีใกล้เคียงกับธรรมชาติและสมจริงมากที่สุด 3. เลือกระดับความสว่างให้เหมาะกับพื้นที่ การตกแต่งแสงไฟภายในบ้าน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ไฟชนิดเดียวกันหมด เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเกินความจำเป็น เนื่องจากบางจุดต้องการแสงสว่างน้อย เช่นเดียวกันบางจุดก็ต้องการแสงสว่างที่มากเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งต้องรู้ให้แน่ชัดก่อนว่า พื้นที่ไหนเหมาะสมและต้องการระดับความสว่างแบบใด อย่างเช่น พื้นที่ที่เน้นการตกแต่งเพื่อความสวยงาม และพื้นที่เน้นการปรับเปลี่ยนอารมณ์นั้น ต้องเลือกใช้หลอดไฟที่สบายตา แต่ถ้าหากเป็นพื้นที่ที่ใช้ทำงานก็ต้องเลือกใช้หลอดไฟที่ให้แสงหลัก สามารถสามารถมองเห็นวัตถุได้อย่างชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันมีหลอดไฟให้เลือกใช้ที่มีทั้งให้แสงที่สบายตาและเห็นได้อย่างชัดเจนในหลอดเดียวกันด้วย 4. เลือกระดับความสว่างให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เพราะไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง จึงทำให้ระดับความสว่างนั้นสำคัญ บางวันเราก็อยากอ่านหนังสือใต้แสงไฟที่สว่างสดใส มองเห็นตัวหนังสือได้อย่างชัดเจน แต่บางวันกลับอยากสร้างบรรยากาศให้ดูนุ่มนวล ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามอารมณ์ แต่จะให้ติดตั้งอุปกรณ์หรือสวิตช์ไฟเพิ่ม ก็คงจะสิ้นเปลืองไม่ใช่น้อย ดังนั้นเราควรจะเลือกหลอดไฟให้เหมาะกับการใช้ชีวิตมากที่สุด เช่น หลอดไฟที่สามารถปรับความสว่างได้ 3 ระดับในหลอดเดียว หรือหลอดไฟที่สามารถเปลี่ยนโทนสีได้ทั้งแสงขาวและแสงเหลืองได้ในหลอดเดียวกัน 5. เลือกที่รูปทรงเหมาะกับการตกแต่ง รูปทรงของหลอดไฟก็มีผลต่อการใช้งานเช่นเดียวกัน ถ้าพื้นที่นั้นต้องการแสงสว่างที่สม่ำเสมอ อย่างเช่น ห้องรับแขก ห้องทำงาน ห้องครัว และห้องน้ำ แต่ดันไปเลือกหลอดไฟรูปทรงที่ไม่เหมาะสมมาใช้ก็จะทำให้แสงกระจายได้ไม่เพียงพอ เลยต้องติดตั้งไฟเพิ่มให้เปลืองค่าไฟ เช่น หลอดไฟแอลอีดีทรงกลม ที่สามารถกระจายแสงในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ปราศจากความร้อน และรังสี UV ที่ทำให้เฟอร์นิเจอร์เสียหายก่อนกำหนดอีกด้วย 6. เลือกแบบที่หรี่ไฟได้ หากจะต้องนำของเก่าอย่างหลอดไส้มาใช้ใหม่ เพื่อให้ได้ความสว่างในสไตล์คลาสสิกอย่างที่ต้องการ ก็อาจต้องเสียเงินเพื่อติดอุปกรณ์ช่วยเพิ่มเติม แถมผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจไม่คุ้มค่ากับจำนวนเม็ดเงินที่เสียไป ฉะนั้นอาจจะเลือกหลอดไฟที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สามารหรี่ไฟได้ เพื่อให้สามารถปรับแสงได้ในระดับที่ต้องการ ทั้งแบบสว่างสดใสหรือแสงนวล ๆ ดูโรแมนติก หรือบิวท์บรรยากาศเก่า ๆ ให้ดูคลาสสิก เข้ากับอารมณ์หรือการตกแต่ง ก็ได้ด้วยหลอดเดียว 7. เลือกจากโทนสี ที่ปรับตามอารมณ์ได้ จะแต่งบ้านทั้งทีก็ต้องเลือกโทนสีหลอดไฟให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน ซึ่งเรื่องเหล่านี้แลดูเป็นเรื่องยากที่เราไม่สามารถจะตัดสินใจได้ เพราะบางครั้งเราก็อยากได้บรรยากาศที่หลากหลายภายในพื้นที่เดียว จะดีกว่าไหมหากเลือกหลอดไฟที่กินไฟน้อย มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และปรับได้ 2 โทนสีทั้งสีขาวคูลเดย์ ไลท์ หรือสีเหลือง วอร์ม ไวท์ แถมยังใช้คู่กับสวิทช์ไฟอันเดิมที่บ้านมีอยู่ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนสวิชต์ให้ยุ่งยากอีกต่างหาก เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าวิธีการเลือกหลอดไฟให้คุ้มค่า ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้ ไม่ว่าจะตกแต่งบ้าน รีโนเวท หรือซ่อมแซมไฟ ก็อย่าลืมนำเทคนิคเลือกหลอดไฟดี ๆ แบบนี้ไปใช้กันดูนะคะ เพราะหลอดไฟไม่ได้มีแค่ฟังก์ชั่นแสงสว่างเพียงเดียวอีกต่อไป หากเลือกนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม รับรองมีเงินเหลืออีกเพียบ ที่มา: home.kapook.com
จำนวนผู้อ่าน: 3593
27 กันยายน 2017
ระบบไฟฟ้า 1.การดูแลตรวจสอบทั่วไป สายไฟฟ้า ให้สังเกตดูฉนวน สี รอยแตก อุณหภูมิ หากผิดปกติควรเปลี่ยนใหม่ เซอร์กิดเบรคเกอร์ ให้ใช้หลังมือ และดูอุณหภูมิ หากสูงผิดปกติก็ควรตรวจแก้ไข ขั้วต่อสาย ให้ใช้หลังมือและดูอุณหภูมิตัวเบรกเกอร์ หรือใช้ตัววัดอุณหภูมิแบบใช้แสง หากผิดปกติก็ควรขันให้แน่น และตรวจสายไฟฟ้าที่ใช้งานรวมทั้งพิกัดโหลด ระบบระบายอากาศในห้องไฟฟ้า ตรวจวัดอุณหภูมิภายในห้อง หากสูงเกินปกติให้หาทางระบายอากาศออก หรือใช้เครื่องปรับอากาศ ตรวจแบตเตอรี่ โดยทดสอบกดปุ่มทดสอบสำหรับไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และทดลองสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ได้ภายใน 30 วินาที รวมถึงตรวจดูระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดูชั่วโมงทำงานของอุปกรณ์ เป็นการตรวจดูว่าชั่วโมงทำงานครบตามกำหนดการบำรุงรักษาแล้วหรือไม่ 2. การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงต่ำ -ทดสอบกลไกการทริบ -ทำความสะอาด -ร่องรอยของความร้อน -การต่อหรือขั้วต่อโดยดูการเปลี่ยนสี -การตั้งค่าของ trip unit ตู้เมนสวิตซ์บอร์ด MDB -ฝาปิดเปิดหลวมหรือความเสียหาย -หลอดไฟแสดงสภาวะการทำงานต่าง ๆ ใช้ได้หรือไม่ -มิเตอร์ อุปกรณ์เครื่องวัดต่าง ๆ ใช้งานได้หรือไม่ -Busbar สายชำรุดหรือไม่ -สายดิน ระบบการต่อลงดิน -สิ่งกีดขวางพื้นที่ว่างในการปฏิบัติงาน -ควรมีที่ว่างในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอห่างจากกำแพง 1.05 ม.กรณีมีตู้เมน 1 ตู้ -ควรมีที่ว่างในการปฏิบัติงานห่างกันประมาณ 1.20 ม. กรณีมีตู้เมน 2 ตู้ -ต้องมีทางเข้าอย่างน้อย 1 ทาง กว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 0.60 ม. และสูง มากกว่า หรือเท่ากับ 2.00 ม. -ต้องมีทางเข้าอย่างน้อย 2 ทางในกรณีตู้เมนค่อนข้างกว้าง ประมาณ 1.80 ม. เพราะ ถ้ามีทางเข้าทางเดียวอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ -ที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานต้องเพียงพอสำหรับการเปิดประตูตู้หรือฝาตู้ได้อย่างน้อย 90 องศาในทุกกรณี -ระยะห่างระหว่างแผงสวิตซ์แรงต่ำกับเพดาน ในกรณีเพดานทนไฟมากกว่า 0.60 ม. ในกรณีเพดานไม่ทนไดมากกว่า 0.90 ม. แผงย่อย -ฝาปิดเปิดหลวมหรือความเสียหาย -ตรวจขันขั้วต่อสายให้แน่นเสมอ -Busbar สาย ชำรุด หรือมีรอยบาด มีรอยArc -สายดิน ระบบการต่อลงดิน ถูกต้องหรือไม่ -ความร้อน การระบายอากาศ -สิ่งกีดขวาง พื้นที่ว่างในการปฏิบัติงาน ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.75 ม. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า -หลอดไฟ อุปกรณ์เครื่องวัดของControl Panel -อุปกรณ์ป้องกันขั้วต่อต่าง ๆ -สายดิน ระบบการต่อลงดิน ถูกต้องหรือไม่ -น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น น้ำหล่อเย็น -กรองอากาศ สายพาน ซีลยางต่าง ๆ -สิ่งกีดขวาง ระบบระบายอากาศ -แบตเตอรี่ และชาร์จเจอร์ ที่มา : www.moro.co.th
จำนวนผู้อ่าน: 3878
22 กันยายน 2017
ในปัจจุบัน ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นทุกบ้าน ที่ต้องใช้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในทางกลับกันก็มีโทษเช่นกัน หากไม่รู้จักป้องกันและช่วยกันระมัดระวังภายในบ้านและที่อยู่อาศัย อาจจะทำให้เกิด ไฟฟ้าลัดวงจร และอัคคีภัยได้ การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรนั้นทำได้ไม่ยากคะ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และ อัคคีภัยมีวิธีการง่ายๆดังนี้ ก่อนอื่นสำรวจสายไฟฟ้าภายในบ้าน ว่าเก่ามาก และมีรอยชำรุดหรือไม่ หากมีการติดเทปพันจุดต่อสายไฟไว้ ให้สังเกตดูว่าแน่หนาดีพอมั้ย หลุดหรือหลวม ให้รีบแจ้งช่างไฟฟ้ามาดำเนินการแก้ไข หรือเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น การต่อแยกสายไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆภายในบ้าน ที่ต้องการใช้งาน จุดต่อทุกจุดต้องต่อให้แน่น หรือเชื่อมบัดกรีให้เรียบร้อย หากต่อสายไม่แน่นจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่สะดวก ทำให้เกิดแรงต้านทานและเกิดความร้อนขึ้นบริเวณรอยต่อ และอาจทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นได้ เมื่อต่อสายแน่นแล้วให้ใช้เทปพันสายไฟ พันให้แน่นอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้คนภายในบ้านถูกไฟฟ้าดูดได้ การเลือกสายไฟฟ้าเพื่อใช้ในอาคารบ้านเรือน ต้องเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสม กับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน เพราะหากใช้สายเล็กเกินไป เมื่อใช้ไฟมากจะเกิดความร้อนตามสายเนื่องจากกระแสไฟฟ้าไหลมากเกินไป ทำให้ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าชำรุดเสียหายและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก สายไฟฟ้าต้องได้มาตรฐาน ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งจะสังเกตได้ มีพิมพ์ติดไว้บนสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานทุกเส้น และไม่ควรใช้สายไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตราฐาน ถึงแม้จะมีราคาที่ถูกกว่า แต่เทียบกว่าความปลอดภัยแล้วไม่คุ้มค่าซักเท่าไหร่นัก ฟิวส์ ต้องทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติหลอมละลายตัวเอง เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมีปริมาณเกินพิกัดของฟิวส์จะขาด เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า ป้องกันมิให้อุปกรณ์อื่นชำรุด อันเกิดจากการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง และป้องกันการเกิดอัคคีภัยขึ้น ฉะนั้นเมื่อฟิวส์ภายในบ้านขาดควรหาฟิวส์ใหม่มาใส่ ไม่ควรเอาลวดทองแดง หรือสายไฟ ไปใช้แทนฟิวส์โดยเด็ดขาด และไม่ควรใส่ฟิวส์ขนาดใหญ่เกินไป แต่ก่อนจะเปลี่ยนฟิวส์ควรตรวจหาจุดที่ชำรุด ที่ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรให้พบและแก้ไขเสียก่อน แล้วจึงใส่ฟิวส์ใหม่เข้าไป บัลลาสต์ที่ใช้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ หากมีคุณภาพต่ำเมื่อใช้งานนานๆ มักจะร้อนจัดและมีเสียงคราง ดังนั้นเมื่อท่านติดตั้งบัลลาสต์ใช้งานใหม่ ให้ลองเปิดไฟทิ้งใว้สักครู่ แล้วใช้มือสัมผัสที่ตัวบัลาสต์ หากปรากฎว่าบัลลาสต์ร้อนผิดปรกติ หรือมีเสียงครางดังผิดปรกติก็ไม่ควรใช้งานต่อไป เพราะอาจจะทำให้ร้อนและระเบิดได้ในที่สุด การเลือกซื้อควรเลือกซื้อบัลลาสต์ที่มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภันณ์อุตสาหกรรมพิมพ์ใว้ที่ตัวบัลลาสต์ด้วย จะช่วยได้อีกทาง เต้ารับและเต้าเสียบไฟฟ้าปลั๊กตัวผู้หรือปลั๊กตัวเมีย หากเสียบเข้าไปแล้วหลวม หรือปลั๊กแตก หัก ควรเปลี่ยนใหม่ และไม่ควรใช้สายไฟฟ้าที่ไม่มีปลั๊กเสียบต่อกัน เพราะอาจเกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นได้ และในช่วงที่ถอดปลั๊กตัวผู้ควรจับที่ตัวปลั๊กไม่ควรดึงที่สายไฟฟ้าให้ปลั๊กหลุดออกมา ซึ่งจะทำให้สายไฟฟ้าขาดในหรือสายขาดได้ วิธีการถอดควรจับที่ปลั๊กตัวผู้ดึงออก ซึ่งเชื่อว่าหลายๆคนชอบดึกปลั็กโดยใช้มือจับสาย ซึ่งเป็นอันตรายมาก เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เช่น เตารีด เตาไฟฟ้า กระทะไฟฟ้า ฯลฯ ต้องระมัดระวังอย่าตั้งใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย หรือเสียบปลั๊กทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล และเมื่อเลิกใช้งานแล้วต้องถอดปลั๊กตัวผู้ออกทุกครั้ง จะเห็นว่าสาเหตุที่เกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยตรง แต่เกิดจากความบกพร่องอันเนื่องมาจากการใช้ไฟฟ้าที่ผิดวิธี ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการละเลยขาดการเอาใจใส่ดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ดังนั้นผู้ใช้ไฟฟ้าหมั่นศึกษาและปฏิบัติตามหลักวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยจากการถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าลัดวงจร และป้องกันการเกิดอัคคีภัยอีกทางหนึ่งด้วย นี้ก็นเป็นเพียงการเริ่มต้นง่ายสำหรับทุกท่านที่ใช้ไฟฟ้า อยู่เป็นประจำเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราไม่ควรมองข้ามค่ะ เพราะนั้นหมายถึงอันอันตรายถึงชีวิตไม่ใช่แค่เพียงตัวเราแต่ยังเป็นคนในครอบครับของเราอีกด้วย เพราะฉะนั้นเสียเวลาซักเล็กน้อยในการหันมาใส่ใจและสักเกตดูคะ เพื่อความปลอดภัยของท่านและคนที่ท่านรัก ที่มา: www.3mbuildingfilm.com
จำนวนผู้อ่าน: 3606
19 กันยายน 2017
คลิปวิดีโอแนะนำการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
จำนวนผู้อ่าน: 3469
09 กันยายน 2017
ร้อนค่ะร้อน อากาศร้อนขึ้นทุกวัน อาบน้ำแป๊บเดียวเหงื่อแตกจนแทบอยากจะไปอาบน้ำใหม่ หรือบางทีพอตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าเหงื่อออกเหนอะหนะไปทั้งตัว มาดามป้าเลยอยากมาแนะนำวิธีที่จะทำให้เราผ่านหน้าร้อนแบบนี้ไปสบายๆ แถมเย็นฉ่ำ 1.เช็คเรื่องการล้างแอร์ การล้างแอร์ปีละครั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แอร์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งาน 2.เช็คเรื่องตำแหน่งตั้งแอร์ ควรตั้งแอร์ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสามารถกระจายลมและความเย็นได้ทั่วห้อง 3.เช็คตำแหน่งการวางคอมเพรสเซอร์แอร์ ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในการวางคอมเพรสเซอร์แอร์คือ บนดาดฟ้า พื้นซีเมนต์กลางแดด สิ่งสำคัญคืออย่าให้คอมเพรสเซอร์แอร์ตากแดด เพราะแสงแดดจะทำให้ท่อเดินน้ำยาแอร์เสื่อมสภาพเร็ว 4.เช็คอุณหภูมิให้อยู่ที่ 25 องศา ซึ่งอุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิที่ทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นสบาย และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าการปรับอุณหภูมิแอร์ทุกๆ 1 องศาเซลเซียสจะช่วยประหยัดพลังงาน 5.เช็คว่าเราไม่ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้นโดยใช่เหตุ เช่นไม่ควรปลูกต้นไม้หรือตากผ้าในห้องแอร์ เพราะมันจะทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น ปิดผ้าม่านหรือปิดประตู หน้าต่างไม่สนิทขณะเปิดแอร์ การเปิดพัดลมระบายอากาศในขณะที่เปิดแอร์ยิ่งทำให้แอร์ทำงานหนักรวมทั้งไม่ควรให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเช่นตู้เย็น หม้อต้มน้ำร้อน เครื่องชงกาแฟอยู่ในห้อง เพราะจะทำให้แอร์หรือเครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป ขอบคุณบทความจาก : sanook.com
จำนวนผู้อ่าน: 3428
28 สิงหาคม 2017
ยุคนี้อะไรๆ ก็ต้องประหยัด ยิ่งเรื่องพลังงานยิ่งต้องประหยัดแล้วเลือกใช้อย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบไหน ต้องใส่ใจทั้งรูปลักษณ์ คุณสมบัติ สำคัญต้องช่วยประหยัดพลังงานช่วยเซฟเงินในกระเป๋าเราด้วย อย่างนี้ถึงเรียกว่าคุ้มจริง ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตัวช่วยสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เพราะฉลากจะบอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด ทั้งระดับการใช้ไฟฟ้า ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ค่าใช้จ่ายต่อปี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพดี ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังที่ได้มาตราฐานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด รู้จักเบอร์ 5 ต้องเลือกให้เป็น การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้รับการรับรอง “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” จะช่วยเราคำนวณค่าใช้จ่ายโดยประมาณต่อปี ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการช่วยประหยัดพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน แล้วบนฉลากบอกอะไรกับเราบ้าง 1 ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งประหยัดไฟ 2 ฉลากต้องมีระบุปีที่ทำการทดสอบค่าพลังงาน 3 มีระบุประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า 4 ต้องมีลายน้ำสัญลักษณ์กระทรวงพลังงาน ตรงกลางฉลาก 5 แสดงตัวเลขการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปีและค่าไฟฟ้าต่อปี ส่วนนี้จะช่วยเปรียบเทียบว่ายี่ห้อไหนประหยัดได้มากกว่ากัน 6 แสดงหน่วยงานที่กำกับดูแล ด้วยสัญลักษณ์ “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” และกระทรวงพลังงานด้วยตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีเขียว 7 มีข้อมูลสำหรับสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ด้านล่างฉลาก *ข้อมูลบนฉลากเหล่านี้ต้องครบถ้วน แน่ใจได้ว่าเป็นฉลากแท้* วิธีคำนวณประมาณการค่าใช้จ่ายต่อปีเพื่อความมั่นใจว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราเลือกประหยัดจริง ด้วยวิธีคิดง่ายๆ ค่าใช้จ่าย (บาท) = หน่วยพลังงานไฟฟ้า (kWh) × ค่าพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วย ตัวอย่าง การคำนวณหน่วยพลังงานไฟฟ้า (kWh) และการประมาณการผลการประหยัดค่าใช้จ่าย/ปีของเครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 BTU/hr โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานเบอร์5 และมาตรฐาน มอก. หมายเหตุ 1. กำหนดให้เครื่องปรับอากาศใช้งาน 8 ชั่วโมง/วัน 2. ค่าพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วย = 3.28 บาท/หน่วย การประมาณการผลการประหยัดค่าใช้จ่าย/ปี ค่าใช้จ่าย (บาท) = 954.62 kWh × 3.28 บาท =3131.14 บาท เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดกินไฟแค่ไหน เราต้องรู้ *เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ช่วยชาติลดการใช้ไฟฟ้ากว่า 53,000 ล้านบาท ลดความต้องการไฟฟ้ากว่า 27,000 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ 9.87 ล้านตัน ซึ่งตอนนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ โฮมโปร จัดกิจกรรม “ลดไฟหน้าร้อน เปลี่ยน...เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5” หวังกระตุ้นประชาชน “เปลี่ยน” มาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 คาดจะสามารถลดพลังงานไฟฟ้ากว่าปีละ 15.7 ล้านหน่วย หรือ 62 ล้านบาท และลด CO2 ได้ 8 พันตัน ขอบคุณบทความจาก : sanook.com
จำนวนผู้อ่าน: 4280
28 สิงหาคม 2017
เปรียบเทียบความประหยัด หลอดไฟ LED ? หลอดไฟ LED นั้นเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่อาจจะก้าวเข้ามาแทนที่หลอดไฟแบบปกติทั่วไปเลยก็ได้ ซึ่งเจ้าหลอดไฟ LED นั้นจะแตกต่างจากหลอดไฟแบบปกติอย่างไร และจะมาแทนที่กันได้หรือไม่ วันนี้เราไปชมกันเลยดีกว่าครับ – หลอดไฟแบบธรรมดานั้น จะมีอายุการใช้งานที่น้อย ยิ่งถ้าใช้งานตลอด 24 ชั่วโมงแล้วหล่ะก็ อายุการใช้งานจะยิ่งสั้นลงไปอีก ซึ่งต่างจากหลอดไฟ LED ที่มีอายุการใช้งานถึง 50,000 ชั่วโมงเลยทีเดียว – หลอดไฟแบบธรรมดานั้น กินไฟเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับปริมาณการกินไฟของหลอดไฟ LED ทำให้การใช้งานหลอดไฟ LED นั้นช่วยประหยัดไฟได้มากกว่ามากเลยทีเดียว – หลอดไฟแบบธรรมดานั้น เมื่อเปิดใช้งานนานๆจะทำให้มีความร้อนที่สูงขึ้นมาก ต่างจากหลอดไฟ LED ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพียงเล็กน้อย – หลอดไฟ LED เมื่อทำการเปิดสวิทซ์ไฟแล้วหลอดจะติดพร้อมใช้งานทันที ไม่เหมือนหลอดไฟปกติที่จะกระพริบก่อน – ในปัจจุบัน หลอดไฟ LED มีราคาเท่ากับ หลอดไฟแบบธรรมดาแล้ว! แต่ค่าไฟ ของหลอด LED นั้นถูกกว่า หลอดไฟแบบธรรมดามาก เกือบ 3-4 เท่าตัว ( หลอดไฟ LED มีอัตราการกินไฟที่น้อยกว่ามาก W วัตต์ต่ำ ) เห็นแบบนี้แล้วก็ลองเปรียบเทียบกันดูนะครับ ว่าจะลองหันมาใช้หลอดไฟ LED หรือยังคงใช้ไฟแบบธรรมดาอยู่ ซึ่งอย่างไงก็ตามก็ลองคำนวณจุดคุ้มทุนกันดู รับรองว่าต้องได้คำตอบที่ลงตัวแน่ๆ ที่มา : aecexport.com
จำนวนผู้อ่าน: 4689
27 กรกฎาคม 2017
ผู้ที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้าต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือดังนี้ 1.อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้า หรือตัวนำที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าจนได้รับอันตรายไปด้วยอีกผู้หนึ่ง 2.รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้าโดยฉับไว จะด้วยการถอดปลั๊กหรืออ้าสวิทช์ออกก็ได้ 3.ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง ไม้แห้ง เชือกที่แห้ง สายยาง หรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยาง หรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วถึงผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว เขี่ยสายไฟให้หลุดออกจากตัวผู้ประสบอันตราย 4.หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงให้พยายามหลีกเหลี่ยง แล้วรีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงให้เร็วที่สุด (ดูข้อควรระวังจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด) 5.อย่าลงไปในน้ำกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขัง ต้องหาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยไปช่วยผู้ประสบอันตราย **การช่วยผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าดังที่กล่าวมาแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ และระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย อ้างอิงข้อมูลจาก www.mea.or.th
จำนวนผู้อ่าน: 3293
27 กรกฎาคม 2017
สายดิน มีประโยชน์อย่างไร ป้องกันไม่ให้มีผู้ถูกไฟฟ้าดูดกรณีมีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไหลลงดินทางสายดิน โดยไม่ผ่านร่างกายผู้สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เป็นผลทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และ/หรือไฟฟ้ารั่วจะตัดกระแสไฟฟ้าออกทันที เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารอาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์หรือชำรุดได้ง่ายหากไม่มีสายดิน สายดินที่ต่อใช้ในบ้าน มีอยู่ 2 วิธีดังนี้ 1.ต่อเข้ากับสายเมนขั้วN (บัสบาร์)ลงดินด้านหลังทองแดง เพื่อเป็นการลดความต้องการของสายดิน เพื่อป้องกันกระแสไฟตก 2.ต่อจากตัวถังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าที่รั่วออกมาให้ลงดินไป โดยไม่ไหลผ่านตัวคน เมื่อมีคนไปจับต้องเครื่องใช้ไฟฟ้า อ้างอิงข้อมูลจาก www.mea.or.th
จำนวนผู้อ่าน: 3356
27 กรกฎาคม 2017
1. ไฟฟ้าลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร กระแสไฟฟ้าลัดวงจร คือ การที่ จุด 2 จุด ในวงจรไฟฟ้าหรือส่วนของวงจรไฟฟ้าซึ่งมีศักดาไฟฟ้าต่างกัน (มีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน) มาแตะหรือสัมผัสกัน หรือมีตัวนำซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำ ๆ มาสัมผัสกันระหว่าง 2 จุดนั้นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลระหว่าง 2 จุด นั้นจำนวนมาก (เกิดการถ่ายเทพลังงานกัน) เรียกว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร 2. ผลของกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเป็นอย่างไร การเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจะทำให้เกิดผลดังนี้ เกิดความร้อน เกิดประกายไฟขึ้นที่จุดบริเวณที่เกิดการลัดวงจรซึ่งหากมีสิ่งที่ติดไฟได้อยู่ใกล้ก็อาจเป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยขึ้นซึ่งเราก็เคยได้ยินบ่อย ๆ ในเรื่องนี้ ทำให้ฉนวนของกระแสไฟฟ้าบริเวณจุดที่ลัดวงจรเสื่อมหรือชำรุด เนื่องจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรมีปริมาณมากกว่าปกติมากเป็นเหตุให้เกิดความร้อนในสายและจุดลัดวงจรมาก ถ้าอุปกรณ์ตัดตอนกระแสไฟฟ้า เช่น เบรกเกอร์ขัดข้องไม่ทำงานหรือฟิวส์ไม่ขาดจะทำให้เกิดการลัดวงจรอยู่นานซึ่งนอกจากฉนวนดังกล่าวจะเสื่อมชำรุดแล้วยังทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดหรือเสียหายหากเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรทีภายในอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า อันเนื่องมาจากความร้อนและประกายไฟที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้สูญเสียไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ลัดวงจร ไม่ใช่กระแสไฟฟ้าปกติในวงจร แต่เป็นกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่สูญเปล่าในรูปความร้อนซึ่งทำให้เกิดผลเสียดังกล่าวโดยเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้รับประโยชน์จากกระแสไฟฟ้าส่วนนี้เลย แต่กลับทำให้แรงดันไฟฟ้าตก และอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้เช่นมอเตอร์ ทำให้เกิดอันตรายหากอยู่ใกล้หรืออยู่ในจุดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยอาจถูกประกายไฟลวกหรือกระเด็นเข้าตา หรืออาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้ หากมีส่วนของร่างกายที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดระเบิดอันตรายได้ เช่น เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรภายในหม้อแปลงที่ระบายความร้อนด้วยของเหลว หรือคาปาซิเตอร์ที่บรรจุของเหลวภายใน 3. สาเหตุที่ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร สาเหตุที่ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรมีดังนี้ เกิดจากฉนวนสายไฟชำรุด หรือพันเทปจุดต่อสาย หรือจุด ต่าง ๆ ในวงจรไม่ดี ทำให้ส่วนของวงจรมาแตะกัน หรืออยู่ใกล้กันมาก ๆหรือมีสื่อไฟฟ้ามาแตะจึงเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรดังกล่าวแล้ว เกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าไม่ถูกวิธี เช่น ฉนวนสายไฟฟ้าใกล้แหล่งที่มีความร้อน ถูกขอหนักกดทับ ถูกของมีคมบาด เกิดการเสียดสีเกิดการหักพับบ่อย ๆ หรือใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำลังที่สายไฟจะรับได้ เช่น ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องที่เต้ารับอันเดียวหรือต่อไฟฟ้าจากจุดเดียวไปใช้หลาย ๆ จุด ซึ่งสิ่งดังกล่านี้จะทำให้ฉนวนสายไฟฟ้าเสื่อม ชำรุด เกิดการลัดวงจรดังกล่าว เกิดจากสายไฟฟ้าที่เปลือย (ไม่มีฉนวนหุ้ม) ซึ่งเดินบนฉนวนเช่น ลูกรอกลูกถ้วนแกว่งมาใกล้กันหรือแตะกันหรือมีสิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้ามาแตะระหว่างสายไฟฟ้านั้น เกิดจากสายไฟฟ้าขาดและส่วนหนึ่งที่เป็นตัวนำของสายไฟฟ้า ซึ่งยังมีแรงดันไฟฟ้าไปแตะสายในวงจรอื่น หรือแตะพื้นดินทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร แต่ถ้าสิ่งไปแตะนั้นมีค่าความต้านทานไฟฟ้ามากก็จะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไปยังสิ่งนั้นยังไม่เกิดการลัดวงจรหากเกิดกระแส ไฟฟ้ารั่วอยู่นานก็อาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรตามมาได้ 4. แนวทางป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในอาคาร เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์) เมื่อฟิวส์ขาดต้อง ใช้ขนาดเดิมไม่ควรใช้ ขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือดัดแปลงใช้วัสดุตัวนำอื่นมาทดแทน ตรวจสอบสายไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเมื่อพบว่าชำรุดควรรีบซ่อมบำรุง โดยเฉพาะไฟฟ้า ที่ฉนวนชำรุด ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเช่น ในแผงสวิทช์และไฟต่างๆเพราะอาจมีตัวแมลง เข้าไปทำรัง หรือมีฝุ่นละอองเกาะ เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพอาจดูได้จากเครื่องหมายรับประกันคุณภาพรับรองคุณภาพ ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ขอบคุณบทความจาก : เซฟ ที คัท โกลด์
จำนวนผู้อ่าน: 3603
27 กรกฎาคม 2017
1. หลักการทำงานของตู้คอนซูเมอร์ยูนิต ทำไม่ต้องมีเมน ทำไมต้องมีตัวลูกย่อย ตู้เมนหรือตู้คอนซูเมอร์ยูนิต เป็นจุดศูนย์รวมของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน แล้วกระจายไปตามจุดต่างๆ เมนเบรกเกอร์ที่รับไฟจากมิเตอร์การไฟฟ้าเข้ามา แล้วไฟฟ้าก็ผ่านตัวเมนไปที่บรัชบาร์ด้านหลังแล้วก็จ่ายให้กับลูกย่อย 2. การเดินสายไฟจากการไฟฟ้าจะไหลเข้ามาตามเบรคเกอร์ตัวเมน ซึ่งการเดินสายไฟจะมีสองเส้น สายไลน์กับสายนิวตรอน สายไลน์ก็จะเดินตรงเข้ามาเลยที่ขั้วด้านไลน์ของเบรกเกอร์เมน ส่วนสายนิวตรอนก็เข้ามาที่บรัชบาร์กราวด์ก่อน ที่อยู่บริเวณด้านบน แล้วจากบาร์กราวด์ก็มาเข้าที่ขั้วนิวตรอนของเบรกเกอร์เมน นี่คือการเดินสายทางด้านเข้า 3.เมื่อไฟเข้ามาได้แล้วอยู่ที่เมนเบรกเกอร์เสร็จแล้ว จะใช้ไฟยังไง จากเบรกเกอร์เมนก็จ่ายไฟไปตามบรัชบาร์ ก็คือจะมีกระแสไฟออกไปจากเมนเบรกเกอร์ไปรออยู่ที่บรัชบาร์ด้านบน บรัชบาร์ด้านบนก็จะจ่ายไฟให้กับเบรกเกอร์ลูกย่อย 4.การเดินสายของเบรกเกอร์ลูกย่อยทำอย่างไร เบรกเกอร์ลูกย่อยเราจะเดินสายเส้นหนึ่งออกที่อุปกรณ์โหลดต่างๆ เช่น ปลั๊ค แอร์ แสงสว่าง แล้วก็ต้องมีสายนิวตรอนอีกเส้นหนึ่ง ปกติต้องมี2เส้นตลอด คุณเคจะสังเกตเห็นที่ปลั๊คจะมี3รู เวลาเดินไปที่อุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องมี3เส้นเหมือนกัน มีสายเส้นที่เดินจากลูกย่อยไปที่วงจรนั้น มีนิวตรอนหรือสายที่เดินจากบรัชบาร์นิวตรอนไปที่อุปกรณ์ และสายสุดท้าย สายกราวด์หรือสายดินที่เดินจากบรัชบาร์กราวด์ไปที่วงจรเช่นกัน 5. ตู้คอนซูเมอร์ไฮบริค คืออะไร ตู้คอนซูเมอร์ไฮบริด เป็นการผสมระหว่างโลหะด้านหลัง บรัชบาร์ต่างๆก็จะถูกฝังอยู่บนตู้เหล็ก ข้อดีก็คือความแข็งแรงทนทาน ใช้ได้นาน ไม่เกิดความเสียหาย ไม่ละลาย ไม่หลอม แต่เสียเรื่องของรูปร่างหน้าตา รุ่นไฮบริดก็เลยทำฝาหน้าทั้งชิ้นเป็นพลาสติกแบบพิเศษ ไม่ลามไฟ ไม่เหลือง เหมือนกับแอร์ แรกๆก็ขาว ใช้ไปเรื่อยๆเริ่มเหลือง ซึ่งเป็นการเอาข้อดีของเหล็กและพลาสติกมารวมกัน ได้มาเป็นตู้รุ่นนี้ของชไนเดอร์ รุ่นอีแอล ซึ่งพลาสติกตัวนี้มีการใส่สารป้องกันแสงยูวี ป้องกันไม่ให้เหลือง ไม่ให้ลามไฟ 6.ความต่างของระบบวงจรภายในเป็นอย่างไร ระหว่างตู้คอนซูเมอร์ทั่วไป กับตู้คอนซูเมอร์ไฮบริค นอกจากความสวยงามแล้วก็ยังไม่ลืมส่วนสำคัญของตู้ไฟฟ้า ก็คือเรื่องของความปลอดภัยของผู้ใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นหน้าที่หลัก จะให้สวยยังไง ความปลอดภัยก็ต้องควบคู่มาด้วย ซ้ำตู้นี้นอกจากความสวยงามแล้ว ก็มีฟังชั่นเรื่องความปลอดภัยที่เรียกว่า สปริทบรัช จากเดิมที่บ้านดูแข็งๆ พอเราเปลี่ยนเข้าไปก็ดูสวยงามมากขึ้น ที่นี้ผมจะพูดเรื่องของสปริทบรัช ที่เราเคยเห็นมาตลอดก็จะเป็นแบบซิงเกิลบรัช เป็นบรัชบาร์เดี่ยว ก็คือมีชิ้นเดียวยาวๆ เมน1ตัว ลูกย่อยเป็นแพเป็นชิ้นเดียวกันเลย ซึ่งบรัชบาร์เดี่ยวจะมีช่องวงจรย่อยให้เลือก4ช่อง แต่ตัวอย่างที่นำมามี6ช่อง ถ้าบ้านหลังใหญ่ วงจรเยอะๆก็ต้องมี2กล่อง แล้วก็เลือกจำนวนช่องตามความต้องการปริมาณไฟที่ต้องใช้ อีกอันที่เพิ่มจากความสวยงามก็คือสปริทบรัช จากเดิมที่มี1บรัชบาร์ ก็จะมี2บรัชบาร์ จะมีด้านซ้ายอันนึง ด้านขวาอันนึง ซึ่งให้ประโยชน์ในเรื่องของความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีฟังชั่นกันดูดเพิ่มเข้ามา แต่ถ้าเป็นอพาร์ทเม้นต์เล็กๆ30ตารางเมตร 4ช่องก็พอ แสงสว่างวงจรนึง ปลั๊คไฟวงจรนึง แอร์วงจรนึง อีกอันอาจจะเป็นเครื่องทำน้ำอุ่น อีกอันที่เพิ่มจากความสวยงามก็คือสปริทบรัช จากเดิมที่มี1บรัชบาร์ ก็จะมี2บรัชบาร์ จะมีด้านซ้ายอันนึง ด้านขวาอันนึง ซึ่งให้ประโยชน์ในเรื่องของความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีฟังชั่นกันดูดเพิ่มเข้ามา ขอบคุณบทความจาก : ช่างรู้คู่บ่าน changrukubaan.com
จำนวนผู้อ่าน: 7403
27 กรกฎาคม 2017
วิถีถอดทำความสะอากเครื่องปรับอากาศ ด้วยตัวเราเอง เครดิต: โดยรายการ ช่างประจำบ้าน ทางช่อง AMARIN TV HD
จำนวนผู้อ่าน: 4001
29 มิถุนายน 2017