Photo by Mladen ANTONOV/AFP ดีเวลอปเปอร์แข่งขันกันเอง ผลประโยชน์ย่อมตกกับผู้ซื้อปฏิบัติการมาราธอนบนช่องทางออนไลน์ นำเสนอผลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ 26 จังหวัดของ “REIC-ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์” ลากยาว 4-11 มิถุนายน 2563 ปิดฉากลง รายละเอียดดีมานด์-ซัพพลาย ณ ครึ่งปีหลัง 2562 ไม่มีอะไรพลิกโผในเมื่อตลาดใหญ่คือเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 6 จังหวัดเป็นช่วงขาลง อีกตลาดที่มัดรวม 20 จังหวัดจำแนกได้เป็น 6 ภูมิภาคย่อมไม่อาจฝืนแรงโน้มถ่วงไปได้ ผลกระทบในปี 2562 นอกจากสารพัดปัจจัยลบจากเทรดวอร์ เงินบาทแข็งค่า กำลังซื้อตกต่ำแล้ว ยังมีมาตรการ LTV-loan to value แบงก์ชาติบังคับเงินดาวน์ 20% ในการขอสินเชื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เพราะต้องการตอนนักเก็งกำไร ปรากฏว่าเดี้ยงไปทั้งตลาด ทั้งนี้ “ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์” เจ้าของผลงาน “สองนคราประชาธิปไตย” วิเคราะห์แง่มุมทางรัฐศาสตร์การเมืองที่มีคนอยู่ 2 นครก็คือ กลุ่มนครเมืองหลวง กับกลุ่มนครจังหวัดในภูมิภาค บทสรุปสุดท้ายบอกว่า คนต่างจังหวัดเลือกตั้งรัฐบาล คนกรุงโค่นรัฐบาล วันนี้หยิบโมเดลความเป็น “สองนคราฯ” ในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มานำเสนอ เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบว่าใครกันแน่ที่ควบคุมตลาดในหัวเมืองภูมิภาค ระหว่างทุนเมืองกรุงกับเจ้าถิ่นประจำจังหวัด บิ๊กดาต้าเมืองกรุง+6 ภูมิภาค “ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์” ผู้ตรวจการ ธอส. และรักษาการผู้อำนวยการ REIC เปิดเวทีด้วยบิ๊กดาต้าก้อนใหญ่ ภาพรวมซัพพลายบ้านจัดสรรและอาคารชุด ณ ครึ่งปีหลัง 2562 มีซัพพลายสะสมรวมกัน 355,145 หน่วย อันดับ 1 ของประเทศคือ 6 จังหวัดของกรุงเทพฯ-ปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร) ครองส่วนแบ่งตลาด 59.1% จำนวน 209,868 หน่วย อันดับ 2 เป็นสถิติของพื้นที่ภาคตะวันออก 3 จังหวัดที่เรียกว่าโซน EEC (ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา) สัดส่วน 22.2% ซัพพลายรวม 78,780 หน่วย อันดับ 3-4 ส่วนแบ่งตลาดเท่ากันคือ 5% ต่างกันที่ซัพพลาย โดยอันดับ 3 ภาคใต้ 4 จังหวัด (ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช) มีซัพพลาย 17,928 หน่วย อันดับ 4 ภาคเหนือ 4 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ตาก) ซัพพลายรวมกัน 17,843 หน่วย อันดับ 5 ภาคอีสาน 5 จังหวัด (นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี มหาสารคาม) ครองส่วนแบ่งตลาด 4.2% ซัพพลายรวม 14,853 หน่วย อันดับ 6 ภาคกลาง 2 จังหวัด (พระนครศรีอยุธยา สระบุรี) สัดส่วน 2.6% ซัพพลายรวม 9,078 หน่วย อันดับ 7 ภาคตะวันตก มีส่วนแบ่งตลาด 1.9% ซัพพลายรวม 6,795 หน่วย ทั้งนี้ จับสถิติมาเรียงใหม่พบว่า ส่วนแบ่งตลาด 20 จังหวัดอยู่ในมือของผู้ประกอบการท้องถิ่นสัดส่วน 73-100% ในขณะที่เป็นการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่จากกรุงเทพฯสัดส่วน 0-27% (ดูตารางประกอบ) ส่งออกหดทุบชลบุรีเดี้ยงหนัก บิ๊กดาต้ารัว ๆ โฟกัสโซน EEC “ชลบุรี” มีบ้านและคอนโดมิเนียมอยู่ระหว่างขาย 675 โครงการ รวม 50,655 หน่วย มูลค่า 176,116 ล้านบาท เทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2562 เพิ่มขึ้น 1.8% มีโครงการเปิดขายใหม่เพียง 6,593 หน่วย มียอดขายใหม่ 6,270 หน่วย ลดลงจากครึ่งปีแรก -27.5% มีหน่วยเหลือขาย 44,385 หน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 8% มูลค่ารวม 155,838 ล้านบาท ในด้านอัตราดูดซับหรืออัตราขายได้ลดต่ำลงอยู่ที่ 2.1% คาดว่าปี 2563 จะสาละวันเตี้ยลงเหลือ 1.1-1.3% “ภาพรวมอสังหาฯชลบุรีได้รับผลกระทบมากกว่ากรุงเทพฯ เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจพึ่งพิงอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโควิดค่อนข้างรุนแรง ความมั่นใจและกำลังซื้อของผู้บริโภคในชลบุรีลดลง เช่น มีการปิดโรงงานอุตสาหกรรม หรือลดโอทีพนักงาน” ภูเก็ตอัตราขายเหลือ 1.1-1.8% “ภูเก็ต” มีซัพพลาย 133 โครงการ รวม 9,291 หน่วย ลดลง -13.5% จากครึ่งปีแรก 2562 อัตราดูดซับลดเหลือ 2.8% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่มีอัตราดูดซับเฉลี่ย 4.4% รวมทั้งต่ำกว่าสถิติครึ่งปีแรก 2562 ที่มีอัตราดูดซับ 3.5% แนวโน้มปี 2563 คาดว่ามีที่อยู่อาศัยเหลือขาย 8,966 หน่วย มีโครงการเปิดขายใหม่ 2,700 หน่วย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปีที่มีการเปิดขายปีละ 4,800 หน่วย ทำให้คาดว่าปีนี้อัตราดูดซับจะลดทุกกลุ่มสินค้าเหลือ 1.1-1.8% 3 จังหวัดใต้ทาวน์เฮาส์รอดตัว “สงขลา” มีซัพพลาย 127 โครงการ รวม 3,822 หน่วย มีหน่วยขายได้ใหม่ 768 หน่วย เหลือขาย 3,054 หน่วย มูลค่า 11,739 ล้านบาท หน่วยสร้างเสร็จเหลือขาย 599 หน่วย มูลค่า 2,262 ล้านบาท อัตราดูดซับเพิ่มขึ้น 3.3% เทียบกับครึ่งปีแรก 2562 แนวโน้มปี 2563 คาดว่าอัตราดูดซับจะลดต่ำลงทั้งคอนโดฯและบ้านจัดสรร แต่สถานการณ์ไม่น่ากังวลเพราะ inventory มีไม่มากนัก “สุราษฎร์ธานี” มีซัพพลาย 89 โครงการ รวม 3,188 หน่วย มีหน่วยขายได้ใหม่ 237 หน่วย หน่วยเหลือขายมี 2,951 หน่วย มูลค่า 9,334 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 2,767 หน่วย มูลค่า 8,743 ล้านบาท อาคารชุด 184 หน่วย มูลค่า 591 ล้านบาท แนวโน้มปี 2563 คาดว่าอัตราดูดซับจะทรงตัว หน่วยเหลือขาย 3,421 หน่วย เพิ่มขึ้นจากครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งมีจำนวน 3,259 หน่วย โดยทาวน์เฮาส์-บ้านแฝดทำยอดขายได้ดีกว่าบ้านเดี่ยว “นครศรีธรรมราช” มีซัพพลาย 35 โครงการ รวม 1,627 หน่วย ขายได้ใหม่ 86 หน่วย เหลือขาย 1,541 หน่วย มูลค่า 6,164 ล้านบาท แนวโน้มปี 2563 คาดว่าอัตราดูดซับทรงตัวที่ 1,620 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ซึ่งมี 1,601 หน่วย เทรนด์ตลาดจะสอดคล้องกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีกล่าวคือ สินค้าทาวน์เฮาส์กับบ้านแฝดขายดีกว่าบ้านเดี่ยว โคราช-ขอนแก่นซัพพลายท่วม “นครราชสีมา” มีซัพพลาย 129 โครงการ รวม 6,876 หน่วย มูลค่า 24,805 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก -0.9% โดยมีโครงการเปิดขายใหม่เพียง 1,291 หน่วย แบ่งเป็นอาคารชุด 104 หน่วย บ้านจัดสรร 1,187 หน่วย มีซัพพลายสร้างเสร็จพร้อมโอน 1,442 หน่วย มูลค่า 5,552 ล้านบาท แนวโน้มปี 2563 คาดว่ามีการเปิดขายใหม่ 1,100 หน่วย ส่วนใหญ่เป็นบ้านจัดสรร และคาดว่าเหลือขาย 6,755 หน่วย คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ลดลงมาอยู่ที่ 5,942 หน่วย มูลค่า 11,293 ล้านบาท หน่วยลดลง -7.5% มูลค่าเพิ่มขึ้น 2.2% สูงกว่าค่าเฉลี่ยซึ่งมีมูลค่า 10,152 ล้านบาท “ขอนแก่น” มีซัพพลาย 79 โครงการ รวม 4,031 หน่วย ขายได้ใหม่ 435 หน่วย มูลค่า 1,268 ล้านบาท ลดลง -41.1% เทียบกับครึ่งปีแรก 2562 แต่เพิ่มขึ้น 10.4% เทียบกับครึ่งปีหลัง 2561 ในด้านอัตราดูดซับ 1.8% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปี และต่ำลงต่อเนื่องเทียบกับครึ่งปีแรก 2562 ที่มีอัตราดูดซับ 3.1% แนวโน้มปี 2563 คาดว่าเหลือไม่เกิน 1.0 % โครงการเปิดใหม่ไม่เกิน 600 หน่วย แต่มีซัพพลายคงค้างทำให้ตลาดรวมชะลอตัว อุดร-อุบล-สารคามประคองตัว “อุดรธานี” มีซัพพลาย 44 โครงการ รวม 1,727 หน่วย ขายได้ใหม่ 177 หน่วย เหลือขาย 1,550 หน่วย มูลค่า 6,092 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 1,410 หน่วย มูลค่า 5,792 ล้านบาท, อาคารชุด 140 หน่วย มูลค่า 300 ล้านบาท แนวโน้มปี 2563 ภาพรวมทรงตัวโดยมีอาคารพาณิชย์ประเภทเดียวที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี อยู่ที่ 2.3% ในขณะที่หน่วยเหลือขายทุกประเภทจะมีจำนวน 1,587 หน่วย “อุบลราชธานี” มีซัพพลาย 42 โครงการ รวม 1,464 หน่วย ขายได้ใหม่ 201 หน่วย เหลือขาย 1,263 หน่วย มูลค่า 3,727 ล้านบาท อัตราดูดซับลดเหลือ 2.3% เทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2562 ที่มีอัตราดูดซับ 3.3% แนวโน้มปี 2563 คาดว่าเหลือขาย 1,343 หน่วย คาดว่าโอน 1,992 หน่วย มูลค่า 3,303 ล้านบาท “มหาสารคาม” มีซัพพลาย 21 โครงการ รวม 755 หน่วย ขายได้ใหม่ 88 หน่วย เหลือขาย 667 หน่วย มูลค่า 1,786 ล้านบาท อัตราดูดซับแม้เพิ่มสูงจากปี 2561 อยู่ที่ 1.9% แต่ภาพรวมยังทรงตัว แนวโน้มปี 2563 คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือขาย 688 หน่วย เชียงใหม่สต๊อก 3.5 หมื่นล้าน “เชียงใหม่” มีซัพพลาย 11,465 หน่วย เพิ่มขึ้น 7% จากครึ่งปีแรก 2562 และลดลง -0.6% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 แบ่งเป็นอาคารชุด 2,582 หน่วย สัดส่วน 22.5% บ้านจัดสรร 8,883 หน่วย สัดส่วน 78.5% เป็นซัพพลายใหม่ 1,554 หน่วย เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรก 22.7% แต่ลดลง -43.5% จากครึ่งปีหลัง 2561 มีหน่วยขายได้ใหม่ 2,316 หน่วย มูลค่า 7,394 ล้านบาท หน่วยเหลือขายสะสมมี 9,149 หน่วย มูลค่า 35,426 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5% จากครึ่งปีแรก 2562 และเพิ่ม 2.7% เทียบกับครึ่งปีหลัง 2561 เป็นอาคารชุด 1,935 หน่วย มูลค่า 6,468 ล้านบาท บ้านจัดสรร 7,214 หน่วย มูลค่า 28,958 ล้านบาท เชียงรายอัตราดูดซับเหลือ 0.4% “เชียงราย” มีซัพพลาย 3,009 หน่วย เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรก 2562 อยู่ที่ 56.1% และเพิ่มขึ้น 115.7% เทียบกับครึ่งปีหลัง 2561 หน่วยสร้างเสร็จเหลือขายมีจำนวน 2,710 หน่วย อัตราดูดซับปี 2563 เทียบกับค่าเฉลี่ยปี 2561-2562 อาคารชุดแนวโน้มลดเหลือ 0.4% จากค่าเฉลี่ย 1%, ทาวน์เฮาส์ลดเหลือ 0.8% จากค่าเฉลี่ย 1.7%, บ้านเดี่ยวลดเหลือ 0.5% จากค่าเฉลี่ย 0.7%, บ้านแฝดลดเหลือ 0.5% จากค่าเฉลี่ย 0.9% พิษณุโลก-ตากกำลังซื้อวูบ “พิษณุโลก” มีซัพพลาย 2,595 หน่วย ลดลงจากครึ่งปีแรก 2562 อยู่ที่ -0.8% และเพิ่มขึ้น 17.6% เทียบกับครึ่งปีหลัง 2561 หน่วยสร้างเสร็จเหลือขายมี 2,461 หน่วย เป็นบ้านจัดสรร 2,093 หน่วย มูลค่า 6,084 ล้านบาท อาคารชุด 368 หน่วย มูลค่า 551.1 ล้านบาท “ตาก” มีซัพพลาย 774 หน่วย เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรก 2562 อยู่ที่ 62.6% และเพิ่มขึ้น 81.3% เทียบกับครึ่งปีหลัง 2561 ในด้านหน่วยสร้างเสร็จเหลือขายมีจำนวน 736 หน่วย แนวโน้มการโอนปี 2563 คาดว่ามี 751 หน่วย หดตัว -11.6% จากปี 2562 มูลค่าการโอน 1,275 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2% จากปี 2562 “ภาพรวม 4 จังหวัดภาคเหนือเศรษฐกิจหลักอิงกับธุรกิจท่องเที่ยวและการค้าชายแดน ทำให้รับผลกระทบจากโควิดชัดเจน มีหน่วยเหลือขายค่อนข้างมาก ขณะที่ยอดขายไม่เข้าเป้าแรงกระตุ้นจากคนนอกพื้นที่ และลูกค้าต่างชาติก็หายไป” ดร.วิชัยกล่าวสรุป ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-479118
จำนวนผู้อ่าน: 2290
19 มิถุนายน 2020
คอลัมน์ จับกระแสตลาด จะเรียกว่าคึกคักขึ้นทันตาเห็นเลยทันทีก็คงไม่ผิดนัก สำหรับบรรดาผู้ประกอบการร้านอาหารที่เริ่มมีลูกค้าทยอยเข้าไปใช้บริการอย่างหนาตาตั้งแต่ช่วงเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา (12 มิถุนายน) และยังต่อเนื่องมาถึงช่วงเย็นย่ำค่ำวันเสาร์-อาทิตย์ หลังจากที่ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ารแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ว่า ศบค. การอนุญาตให้กิจกรรมเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ให้ภัตตาคาร สวนอาหาร โรงแรม และร้านอาหาร สามารถจำหน่ายสุราและนั่งดื่มในร้านได้ ส่วนสถานบริการ ผับ บาร์ และคาราโอเกะ ยังไม่อนุญาตเปิดบริการ ถัดมาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อวางมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 รองรับการผ่อนปรนในระยะที่ 4 ซึ่งจะมีผลในวันที่ 15 มิ.ย.เป็นต้นไป โดยในส่วนของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงแรม ร้านอาหารทั่วไป สามารถทำได้ แต่ต้องไม่เกินเวลา 24.00 น. และไม่อนุญาตให้แสดงดนตรีสด ขณะที่สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ยังไม่อนุญาตเปิดดำเนินการ ด้าน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ย้ำว่า ทั้งนี้ ร้านอาหารก็ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 โดยเฉพาะเรื่องของการสวมหน้ากาก จัดจุดล้างมือ ทำความสะอาดบ่อย ๆ การเว้นระยะห่าง และการไม่ให้แออัด โดยจำกัดจำนวนบุคคลภายในร้าน โดยพิจารณาว่าร้านสามารถรองรับคนได้เท่าไร และผู้เข้ารับบริการต้องไม่เกินตามจำนวนที่กำหนดไว้ และต้องลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์มไทยชนะ อย่างไรก็ตาม ศบค.ยังให้งดกิจกรรมส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ เช่น โปรโมชั่นลดราคา ขายพ่วง พนักงานเชียร์เบียร์โฆษณา และให้งดการจำหน่ายและบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณที่ต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เช่น ชายหาด สวนสาธารณะของทางราชการ ฯลฯ ปลดล็อก…”ตัวช่วย” ร้านอาหาร” ธนิวรรณ กุลมงคล” นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การปลดล็อกเฟส 4 ที่อนุญาตให้ลูกค้านั่งดื่มกินเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร้านอาหารน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า-เบียร์ จะเป็นสัดส่วนรายได้เพียง 15-20% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับผับบาร์ นอกจากนี้ ยกเลิกเคอร์ฟิว ที่เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายนนี้ ยังจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น ร้านอาหารต่าง ๆ สามารถจะขยายเวลาบริการได้นานขึ้น ลูกค้านั่งทานในร้านได้นานขึ้น นอกจากร้านจะมีรายได้เพิ่มแล้ว ขณะเดียวกันก็จะทำให้ซัพพลายเชน หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับร้านอาหารค่อย ๆ ฟื้นตัวดีขึ้น สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากผู้ประกอบการร้านอาหารรายใหญ่รายหนึ่ง ที่แสดงความเห็นหลังจากทราบข่าวว่า ทางการอนุญาตให้ลูกค้าสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ว่า จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยดึงให้คนออกมาใช้จ่ายเพิ่มได้บ้าง และเบื้องต้นรายได้หรือยอดขายของร้านจะมีเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง และคงไม่เท่ากับหรือไม่เหมือนเดิมกับก่อนหน้านี้ เนื่องจากยังมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของความกังวลกับโควิด-19 เวลาการให้บริการ รวมถึงการระมัดระวังการจับจ่ายจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว และกำลังซื้อที่ไม่ดีนัก “การปลดล็อกดังกล่าวจะส่งผลในแง่ของการทำให้ซัพพลายเชนของธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเริ่มมีการขยับตัว เริ่มมีความเคลื่อนไหว และจะช่วยให้วงจรเศรษฐกิจเริ่มค่อย ๆ กลับมาหมุนได้อีก และคาดว่าแนวโน้มจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ” เหล้า-เบียร์ ค่อย ๆ ฟื้นตัว แหล่งข่าวจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่ แสดงความเห็นว่า การอนุญาตให้ร้านอาหารที่มีใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับมาขายเหล้าเบียร์ได้ และอนุญาตให้ลูกค้านั่งดื่มกินในร้านได้ สำหรับบริษัทเหล้า-เบียร์ ในแง่ของยอดขายคงเป็นอะไรที่ไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด ประกอบกับยอดขายจากช่องทางดังกล่าวยังถือเป็นสัดส่วนรายได้ที่ไม่มากนัก หรือประมาณ 10-15% เท่านั้น จึงเชื่อว่าทุกคนคงจะยังไม่นำตัวเลขนี้มาใช้ประกอบแผนการผลิต แผนการตลาด ในภาพรวม และจะต้องรอดูสถานการณ์ไปอีกสักระยะจนกว่าจะมั่นใจ “มาตรการนี้จะช่วยให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยโดยรวม ๆ ดูดีขึ้น มีความคึกคักมากขึ้น ที่สำคัญคือ จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ซัพพลายเชนของธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับร้านอาหารมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่ซัพพลายเชนสะดุดไปและหลาย ๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก” ด้านผู้บริหารระดับสูงบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายสุราต่างประเทศรายใหญ่ กล่าวในเรื่องนี้ว่า การที่ภาครัฐยังไม่ปลดล็อก สถานบันเทิง ผับบาร์ ย่อมมีผลกระทบกับตลาดเหล้านอกเป็นธรรมดา เนื่องจากช่องทางนี้ถือเป็นช่องทางหลักของสุราต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม หวังว่าหลังจากนี้ไปทางการคงจะพิจารณาปลดล็อกกิจการที่มีความเสี่ยง หรือกิจการที่อยู่ในโซนแดง “การปลดล็อกในเฟส 4 ดังกล่าวจะเป็นผลในเชิงจิตวิทยาที่กระตุ้นให้คนออกมาใช้จ่ายดื่มกินมากขึ้น ร้านอาหารจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เหล้าเบียร์จะมีตัวเลขที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ก็คงไม่เหมือนกับช่วงก่อนหน้าที่จะมีโควิด-19” การปลดล็อกเฟส 4 ที่เกิดขึ้น ในทางปฏิบัติอาจจะไม่ทำให้รายได้หรือยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนัก แต่อีกด้านหนึ่งก็ช่วยให้บรรยากาศโดยรวมดีขึ้น จากนี้ไป ซัพพลายเชนที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ จะค่อย ๆ ฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น และคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในไม่ช้านี้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/marketing/news-479326
จำนวนผู้อ่าน: 2143
19 มิถุนายน 2020
Shipping containers are seen at the cargo terminal area of Tokyo port on October 6, 2015. Japanese Prime Minister Shinzo Abe hailed a deal to create the world's largest free trade area October 6 as the start of a "new century" for Asia, and expressed hope China might one day join the historic accord. AFP PHOTO / KAZUHIRO NOGI “เอดีบี แบงก์” ชี้ความเสี่ยงเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาเอเชียโตเพียง 0.1% ต่ำสุดในรอบเกือบ 60 ปี จากผลกระทบกิจกรรมเศรษฐกิจชะลอช่วงโควิดระบาด ฟากเศรษฐกิจไทยมีโอกาสทรุดหนัก -6.5% จากเดิมคาด -4.8% ในเดือน เม.ย. เหตุบริโภค/ลงทุนต่ำ-ส่งออกหดตัวรุนแรง ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี รายงานว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะเติบโตไม่มากนักในปี 2563 เนื่องจากมาตรการควบคุมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลให้เกิดการชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจและทำให้ความต้องการจากภายนอกลดลง โดยในรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย (Asian Development Outlook: ADO) ฉบับเพิ่มเติมล่าสุด (Supplement) เผยแพร่ในวันที่ 18 มิ.ย.63 ระบุว่า ในปี 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะเติบโตเพียง 0.1% ซึ่งลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.2% ในเดือนเมษายน และตัวเลขนี้คาดว่าจะเป็นการเติบโตที่ช้าที่สุดสำหรับภูมิภาคตั้งแต่ปี 2504 สำหรับการเติบโตในปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.2% สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะหดตัวที่ 2.7% ในปีนี้ ก่อนที่จะกลับมาเติบโต 5.2% ในปี 2564 โดยการหดตัวดังกล่าวเกิดจากประเทศเศรษฐกิจหลักในอนุภูมิภาคได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมโรคระบาดซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศ สำหรับไทยคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวที่ 6.5% ซึ่งหดตัวเพิ่มมากขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 4.8% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนที่ลดต่ำอันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 กอรปกับแนวโน้มอุปทานภายนอกที่อ่อนแอส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการลดต่ำลง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของไทยคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นที่ 3.5% ในปี 2564 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.5% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในปี 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะเติบโตเพียง 0.1% (ตารางที่ 1) ซึ่งลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.2% ในเดือนเมษายน และตัวเลขนี้คาดว่าจะเป็นการเติบโตที่ช้ที่สุดสำหรับภูมิภาคตั้งแต่ปี 2504 สำหรับการเติบโตในปี 2564 คาคว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.2% เช่นที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คาดว่าจะยังคงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้และต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤติ ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย (ไม่รวมเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ของฮ่องกง จีน เกาหลี สิงคโปร์ และไทเป) คาดว่าจะเติบโตที่ 0.4% ในปีนี้ และ 6.6% ในปี 2564 “เศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิกจะยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในปีนี้ แม้ว่าการปลดล็อคจะค่อยๆ คลี่คลายและมีการผ่อนปรนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบ ‘ปกติใหม่’ “ นายยาซูยูกิ ซาวาดะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอดีบี กล่าว นายยาซูยูกิ กล่าวอีกว่า ในขณะที่เราเห็นแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นสำหรับภูมิภาคในปี 2564 แต่นั่นเป็นเพราะตัวเลขที่อ่อนแอในปีนี้และจะไม่ใช่การฟื้นตัวในรูปแบบตัววี (V-shaped recovery) รัฐบาลควรดำเนินมาตรการเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบเชิงลบของ COVID-19 และทำให้มั่นใจว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดของโรคระลอกใหม่ แนวโน้มทางเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยขาลงจากผลกระทบของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้นหลายระลอกในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง บวกกับหนี้ฐบาลและวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ ยังมีความเสียงจากการเพิ่มระดับความตึงเครียดทางการคำที่เกิดขึ้นใหม่ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนอีกด้วย เอเชียตะวันออกคาคว่าจะเติบโต 1.3% ในปี 2563 ซึ่งเป็นอนุภูมิภาคเดียวที่ยังมีการเติบโตในปีนี้ ในขณะที่การเติบโตในปี 2564 คาคว่าจะฟื้นตัวอยู่ที่ 68% การเติบโตของจีนคาดว่าจะอยู่ที่ 1.8% ในปีนี้ และ 7.4% ในปี 2564 เมื่อเทียบกับประมาณการเมื่อเดือนเมษายนที่ 2.3% และ 7.3% ตามลำดับ เศรษฐกิจของเอเชียใต้คาคว่าจะหดตัว 3.0% เมื่อเทียบกับการเติบโต 4.1% ที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน เนื่องจากมีการแพร่ระบาดอย่างหนักของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอนุภูมิภาค ส่วนแนวโน้มการเติบโตในปี 2564 ถูกปรับลดลงเหลือ 4.9% จาก 6.0% เศรษฐกิจของอินเดียคาดว่าจะหดตัว 4.0% ในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ก่อนจะกลับมาเติบโตที่ 5.0% ในปีงบประมาณถัดไป กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะหดตัวที่ 2.7% ในปีนี้ ก่อนที่จะกลับมาเติบโต 5.2% ในปี 2564 การหดตัวดังกล่าวเกิดจากประเทศเศรษฐกิจหลักในอนุภูมิภาคได้ดำเนินมาตรการต่งๆ เพื่อควบคุมโรคระบาดซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศ โดยคาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเชียจะหดตัวที่ 10% ฟิลิปปินส์หดตัว 3.8% และไทยจะหดตัวที่ 6.5% ตามลำดับ ในขณะที่เวียดนามคาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ 4.1% ในปี 2563 ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายน 0.7 จุด แต่ยังคงเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจของเอเชียกลางคาคว่าจะหดตัว 0.5% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายนที่ 2.8% เนื่องจากการหยุดชะงักทางการคและการตกต่ำของราคาน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตาม การเติบโตคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวที่ 4.2% ในปี 2564 มาตรการจำกัดการค้าและจำนวนการท่องเที่ยวที่ลดลงส่งผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคแปซิฟิก โดยคาดว่เศรษฐกิจของอนุภูมิภาคจะหดตัวที่ 4.3% ในปี 2563 ก่อนที่จะกลับมาเพิ่มขึ้น 1.6% ในปี 2564 อัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนาในอเชียคาคว่ำจะอยู่ที่ 2.9% ในปี 2563 ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.2% ในเดือนมษายนซึ่งสะท้อนถึงอุปสงศ์และราคาน้ำมันที่ลดลง ส่วนในปี 2564 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 2.4% ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-479375
จำนวนผู้อ่าน: 2090
19 มิถุนายน 2020
REUTERS/Joshua Roberts/File Photo วันที่ 19 มิถุนายน 2563 ข่าวสดรายงานอ้างข้อมูลจากบีบีซี ว่า สายการบินอเมริกันแอร์ไลนส์ ของสหรัฐฯ ได้ เชิญผู้โดยสาร ที่ปฏิเสธสวมหน้ากากอนามัย ออกจากเที่ยวบิน อ้างเป็นนโยบายป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยผู้โดยสารคนดังกล่าว คือ นายแบรนดอน สตรากา อดีตนักแสดงและนักออกแบบทรงผม ซึ่งได้รับการขอร้องให้สวมหน้ากากอนามัย บนเที่ยวบิน 1263 เส้นทางการบินนิวยอร์ก-ดัลลัส รัฐเท็กซัส เหตุเกิดเมื่อวันพุธที่ 17 มิถุนายน แต่เจ้าตัวปฏิเสธ จึงถูกเชิญออกจากเที่ยวบิน เขาจึงเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก “ผมไม่สวมหน้ากากก็ถูกเชิญออกจากเที่ยวบิน เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นแบบนี้ นี่ไม่ใช่กฎหมายรัฐบาลกลางสักหน่อย” นายสตรากา ทวีตข้อความจากสนามบินลากวาร์เดียของนิวยอร์ก Brandon Straka✔@BrandonStraka I was just removed from my flight for not wearing a mask. 1st time this has happened. Not a federal law. @AmericanAir staff standing over me telling me it’s THE LAW. So much for “please respect those who can not wear a mask”. When I pointed out this wasn’t a law I was removed. 25K 23:43 - 17 มิ.ย. 2563 ข้อมูลโฆษณาของทวิตเตอร์และความเป็นส่วนตัว 17.2K คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ นอกจากนี้ นายสตรากา ยังอัดคลิปตัวเองและโพสต์ลงทวิตเตอร์ ระบุข้อความว่า นโยบายการสวมหน้ากากอนามัย “สุดบ้าคลั่ง” และ “เราไม่มีทางเลือกอีกต่อไป” เผยด้วยว่า ลูกเรือแจ้งข้อมูลอย่างผิดๆ แก่ตน ว่า การสวมหน้ากากอนามัยบนเครื่องบิน “เป็นกฎหมาย” “เมื่อผมบอกว่า นี่ไม่ใช่ความจริง ลูกเรือยังบอกใช่ ก่อนจะเปลี่ยนเรื่องและพูดว่า นี่เป็นนโยบายของเรา หากคุณไม่ทำตาม จะไม่สามารถเดินทางไปกับเราได้ ผมบอกไปว่า ไม่มีใครถามผมว่ามีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้หรือไม่ แต่ลูกเรือทั้งหมดยืนรอบๆ และข่มขู่ผม” นายสตราการะบุ Brandon Straka✔@BrandonStraka https://www.pscp.tv/w/cbjwdDF4ZUtXWE5acWJOalB8MWdxeHZhZVhuWGVKQjGmxLO-fUmbFV1wUYQXcd4BwA2TVnPMagRTvo08Y01i … Brandon Straka @BrandonStraka BrandonStraka was LIVE pscp.tv 2,548 23:53 - 17 มิ.ย. 2563 ข้อมูลโฆษณาของทวิตเตอร์และความเป็นส่วนตัว 3,347 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ เป็นหนึ่งในผู้โดยสารบนเที่ยวบินดังกล่าวพอดี จึงได้ใช้โทรศัพท์มือถืออัดคลิปเหตุการณ์ ระหว่างที่ นายสตรากา โต้เถียงกับลูกเรือ ซึ่งต่อมาถาม นายสตรากา ว่า มีโรคประจำตัวหรือไม่ และมีเอกสารยืนยันหรือไม่ จากนั้น ลูกเรืออีกคนตะโกนใส่ว่า “คุณสวมหน้ากากอนามัยได้ไหมหรือจะลงไป” Steadman™✔@AsteadWesley · 17 มิ.ย. 2563 กำลังตอบกลับถึง @AsteadWesley he just got off the plane and ppl applauded lmaooo Steadman™✔@AsteadWesley 23.3K 23:35 - 17 มิ.ย. 2563 ข้อมูลโฆษณาของทวิตเตอร์และความเป็นส่วนตัว 2,239 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ ขณะที่ อเมริกันแอร์ไลนส์ชี้แจงว่า กฎการสวมหน้ากากอนามัยจะยกเว้นสำหรับเด็กและผู้โดยสารเวลากินหรือดื่ม และผู้มีโรคประจำตัว ส่วนกรณีของนายสตรากา ต่อมาได้ยินยอมที่จะปฏิบัติตามนโยบายการสวมหน้ากากอนามัยของสายการบิน และจองเที่ยวบินใหม่ในภายหลัง อย่างไรก็ตาม นายสตรากา ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ตนได้สวมหน้ากากอนามัยที่สายการบินจัดมาให้ก่อนจะขึ้นเที่ยวบิน แต่ถอดออกไปเมื่ออยู่บนเครื่องบิน เมื่อซีเอ็นเอ็น สอบถามเพิ่มเติมว่า นายสตรากามีโรคประจำตัวหรือไม่ เขาปฏิเสธที่จะตอบคำถามดังกล่าว บอกแต่เพียว่า รู้สึกเป็นการยากที่จะห้ามสวมหน้ากากอนามัย ทั้งนี้ แม้ว่าสหรัฐฯ จะไม่ออกกฎหมายรัฐบาลกลาง บังคับให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากบนเครื่องบิน แต่เกือบทุกสายการบินของสหรัฐฯ บังคับใช้กฎการสวมหน้ากากอนามัยสำหรับผู้โดยสารและลูกเรือมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สำหรับอเมริกันแอร์ไลนส์ ได้ประกาศนโยบายเพิ่มความเข้มงวดในการสวมหน้ากากอนามัย เมื่อวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม ว่า ผู้โดยสารที่ปฏิเสธสวมหน้ากากอนามัยจะไม่ได้รับอนุญาตขึ้นเครื่องบิน และถูกห้ามการเดินทางกับสายการบินในอนาคต มติชนรายงานอีกดราม่าที่เกี่ยวกับการบังคับสวมหน้ากากอนามัยบนเครื่องบิน โดยอ้างข้อมูลจากจาการ์ต้าโพสต์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา ระบุว่า สายการบินการูดา สายการบินแห่งชาติของอินโดนีเซียเตรียมยกเลิกมาตรการให้พนักงานต้อนรับสวมหน้ากากอนามัย โดยให้เหตุผลว่าถูกผู้โดยสารหลายรายร้องเรียนว่ามองไม่เห็นหน้า เลยไม่รู้ว่ายิ้มอยู่หรือไม่ ภาพจากเว็บไซต์ www.garuda-indonesia.com สายการบินการูดา กลับมาให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ที่ผ่านมา หลังจากต้องหยุดบินไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก โดยพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้องสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือ ตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของสายการบิน อย่างไรก็ตาม นายอิร์ฟาน เซเตียปุตรา ประธานอำนวยการของสายการบินการูดา เผยว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้โดยสารจำนวนมากว่า มองไม่เห็นหน้าของพนักงานต้อนรับ ทำให้ไม่เห็นว่าพนักงานต้อนรับกำลังยิ้มหรือทำหน้าบึ้งอยู่ อิร์ฟาน ระบุว่า สายการบินจะค่อยๆ ลดการให้พนักงานต้อนรับใช้หน้ากากอนามัยลง และจะเปลี่ยนไปเป็นการใช้เฟซชิลด์ แทน แต่ในเวลานี้จะยังคงให้พนักงานต้อนรับใช้หน้ากากอนามัยไปก่อน โดยกรอบเวลาสำหรับนโยบายใหม่นั้น จะมีการประกาศต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/world-news/news-479519
จำนวนผู้อ่าน: 2045
19 มิถุนายน 2020
“กสิกรไทย” เผยเทรนด์เศรษฐีที่ดิน “เสิร์ชฟอร์ยีลด์” แห่นำที่ดินให้แบงก์บริหารจัดการลงทุน รับคลายล็อกดาวน์ “โควิด” ภาวะการลงทุน “หุ้น-บอนด์” เริ่มกระเตื้อง ชี้รัฐลดภาระภาษีที่ดิน 90% ไม่มีผล ประเมินเฉพาะครึ่งปีหลังยอดสินเชื่อ “แลนด์โลน” พุ่ง 5 พันล้านบาท ตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้ทั้งปี 1 หมื่นล้านบาท จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติปรับลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทลง 90% โดยจะเริ่มเก็บในเดือน ส.ค.ปีนี้ ในมุมผลกระทบต่อลูกค้าที่นำที่ดินมาให้ธนาคารบริหารจัดการ (land loan for investment) นั้น ไม่ได้มีผลกระทบแต่อย่างใด โดยปัจจุบันลูกค้านำที่ดินเข้ามาให้ธนาคารบริหารอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีการชะลอตัวลงไปบ้างในช่วงต้นปี 2563 ที่เจอผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ หลังมีการคลายล็อกดาวน์ทำให้ลูกค้าเริ่มมีความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่สัญญาณการลงทุนก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้งในส่วนของตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น ทำให้ลูกค้าที่มีที่ดินต้องการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนและสร้างกระแสเงินสด โดยนำที่ดินมาเป็นหลักประกัน ซึ่งแบงก์จะให้วงเงินสินเชื่อ พร้อมนำวงเงินดังกล่าวไปลงทุนสร้างผลตอบแทน ทั้งนี้ ในปี 2563 นี้ทั้งปีแบงก์ตั้งเป้าหมายสินเชื่อเพื่อการลงทุนที่ 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มียอดสินเชื่ออยู่ที่ 5,000 ล้านบาท “คาดว่าภายใน 2-3 เดือนข้างหน้าจะมียอดสินเชื่อเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น 2,500 ล้านบาท และภายในครึ่งปีหลังจะปล่อยสินเชื่อเพิ่มได้รวม 5,000 ล้านบาทคือ ตอนนี้ตลาดการลงทุนปรับดีขึ้น และลูกค้าหลายคนมองว่าในวิกฤตยังมีโอกาส ซึ่งหลายคนเห็นโอกาสในการนำที่ดินมาลงทุน จากเดิมลูกค้า land loan จะสนใจเอามาให้ธนาคารบริหาร เพราะประเด็นเรื่องภาษีที่ดิน แต่ปัจจุบันแม้ว่าภาษีที่ดินปรับลดลง แต่ลูกค้าก็ยังนำที่ดินมาให้เราบริหาร เพราะส่วนหนึ่งต้องการสร้าง cash flow (กระแสเงินสด) ซึ่งในช่วงดอกเบี้ยต่ำเราจึงเห็นมีลูกค้าเข้าเรื่อย ๆ ช่วงนี้จากที่ต้นปีชะงักไป” นายจิรวัฒน์กล่าว สำหรับที่ดินที่ลูกค้านำมาให้ธนาคารบริหารจัดการส่วนใหญ่ จะมีมูลค่าตั้งแต่ 300-800 ล้านบาท ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการประเมินหลักประกันและจำนองที่ดินประมาณ 2-3 สัปดาห์ รวมถึงมีกระบวนการพิจารณาอนุมัติการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ลูกค้าต้องการ โดยที่ดินบางแห่งอาจจะมีเจ้าของหลายรายจึงต้องบริหารให้มีความชัดเจน นายจิรวัฒน์กล่าวว่า การนำเงินไปลงทุนจะพิจารณา 3 รูปแบบคือ 1.ปิดความเสี่ยงระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และผลตอบแทน โดยเน้นลงทุนในตลาดตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน และมีส่วนต่างผลตอบแทนเหลือเฉลี่ย 1% เช่น ตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3.5% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ 2.2-2.5% และ 2.ลงทุนในกองทุนผสม เพื่อสร้างสมดุลพอร์ตการลงทุน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 5-8% และ 3.ลงทุนในกองหุ้น ซึ่งความเสี่ยงจะค่อนข้างสูง โดยในยามสถานการณ์ปกติจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประมาณ 5-8% แต่ปัจจุบันจะเห็นตลาดหุ้นค่อนข้างตึงตัวและย่อลงมาเล็กน้อย โดยจะเห็นผลตอบแทนเฉลี่ยน้อยกว่า 7-8% จากปกติจะสูงกว่า 7-8% ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุนจะพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ประมาณ 50% จะเน้นลงทุนแบบปิดความเสี่ยงและให้ส่วนต่างผลตอบแทนประมาณ 1% ซึ่งโดยเฉลี่ยการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ราว 3.5-4 ปี “ในช่วงที่คนตื่นตระหนก ทิ้งตราสารหนี้ดี ๆ กันหมด ตอนนี้กองทุนรวมระยะสั้น 1 ปี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 1.6-1.8% หากอยากลงทุนให้คุ้มกับดอกเบี้ยกู้ที่เป็นแบบลดต้นลดดอก effective rate ที่อยู่ตั้งแต่ 2.2-2.5% จะต้องถืออย่างน้อย 3.5-4 ปี โดยตอนนี้ลูกค้าหันมาลงทุนมากขึ้น เพราะมองว่ามีที่ดินก็ถือโอกาสนำมาสร้างประโยชน์ หรือกิจการถูกดิสรัปชั่นก็นำมาทำ land loan เพื่อหาผลตอบแทน” นายจิรวัฒน์กล่าว ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-479281
จำนวนผู้อ่าน: 2169
19 มิถุนายน 2020
มีข่าวสะพัด! จากกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ คาดว่าจะมีการปรับใหญ่ ครม. หลัง “บิ๊กป้อม” ขึ้นเป็นหัวหน้าพลังประชารัฐ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการหัวหน้าพรรค ได้ลงนามในหนังสือเชิญประชุมกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ชุดรักษาการทั้ง 34 คน ในวันศุกร์ ที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 10.00 นาฬิกา ที่ทำการพรรค อาคารปานศรี ถนนรัชดา สำหรับวาระการประชุมประกอบด้วย วาระที่ 1 การเตรียมการประชุมใหญ่พรรค ซึ่งต้องตกลงร่วมกันให้มีการกำหนดวัน เวลา สถานที่การประชุม การเชิญสมาชิกเข้าร่วม แหล่งข่าวในกรรมการบริหารรายหนึ่งระบุว่า วาระการประชุมใหญ่ กำหนดให้มีวาระสำคัญ คือการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งรองหัวหน้าพรรครักษาการ จะเสนอให้นัดประชุมในวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 นาฬิกา ที่เมืองทองธานี ซึ่งเป็นการเลื่อนให้เร็วขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะเป็นวันที่ 3 กรกฏาคม 2563 โดยที่ประชุมวันดังกล่าว มีการบรรจุวาระ และเป็นที่แน่นอนแล้วว่าพรรคจะเสนอชื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานยุทธศาสตร์พรรค เป็นหัวหน้าพรรค โดยไม่มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นเข้ามาแข่ง สำหรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค กรรมการบริหารและผู้มีอิทธิพลในพรรค สรุปให้ส่งชื่อ “นายอนุชา นาคาศัย” ส.ส.ชัยนาท ผู้เป็นหัวหอกในการเคลื่อนไหวของ “กลุ่มสามมิตร” และผลักดันให้ “นายสันติ พร้อมพัฒน์” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้อำนวยการพรรค คาดว่าหลังจากนี้ จะมีการเคลื่อนไหวให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีตำแหน่งที่อยู่ในการข่ายที่ต้องปรับ-เปลี่ยน สลับตำแหน่ง ประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน, กระทรวงการคลัง,กระทรวงอุตสาหกรรม,กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/politics/news-479436
จำนวนผู้อ่าน: 2117
19 มิถุนายน 2020
ซมหนัก - ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำนักท่องเที่ยวจากตลาดหลักหายกว่า 90%ผู้ประกอบการโรงแรมบางส่วนเริ่มประกาศขายกิจการ เช่น เกาะสมุย เป็นต้น ผู้ประกอบการโรงแรม “เกาะสมุย” คาดอีก 2 เดือนเล็งประกาศขายกิจการอีกเพียบ เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ซอฟต์โลน “ออมสิน-แบงก์เอสเอ็มอี” เหตุไร้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม พึ่งรายได้จากต่างชาติกว่า 90% นายวิทยา หวังพัฒนธน กรรมการผู้จัดการ เฉวงรีเจนท์ บีชรีสอร์ท เกาะสมุย ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สุราษฎร์ธานี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้หลายโรงแรมเริ่มเปิดบริการ แต่หลายโรงแรมยังเลื่อนการเปิดดำเนินการออกไปอีก เพื่อรอดูสถานการณ์อีกสักระยะหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยว และผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ยังไม่ฟื้นกลับคืนมาได้ เนื่องจากตลาดหลักกว่า 90% เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เช่น เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย และจีน โดยเฉพาะตลาดยุโรปโควิดยังมีแพร่ระบาดการเปิดน่านฟ้ายังทำไม่ได้ ดังนั้น หลายโรงแรมมีการเลิกจ้างพนักงาน เพราะสถานการณ์ไม่ชัดเจน และอาจยืดเยื้อ จึงอยากขอให้ภาครัฐช่วยเพิ่ม 1.ให้รัฐงดเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้ให้ผู้ประกอบการได้นำไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจ 2.เรื่องกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ให้ภาครัฐสนับสนุนเรื่องค่าที่พัก ตั๋วเครื่องบิน การจ่ายซื้ออาหาร-เครื่องดื่ม ให้สามารถนำไปเคลมเป็นส่วนลดได้ วิทยา หวังพัฒนธน นอกจากนี้ บนเกาะสมุยมีเรื่องข้อพิพาทระหว่างโรงแรมกับกรมที่ดิน โดยเฉพาะบนหาดเฉวง โรงแรม 77 แห่ง รวมกว่า 2,000 ห้อง ยังมีข้อพิพาทอยู่ถึง 55 โรงแรม ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถไปกู้เงิน หรือได้รับสิทธิ์การเยียวยาจากภาครัฐ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และยืดเยื้อมานานถึง 5-6 ปีแล้ว หลายโรงแรมประกอบธุรกิจมา 30 ปี ไม่เคยมีปัญหา จนเมื่อ 5 ปีก่อน ที่การขอใบอนุญาตโรงแรมแล้วเกิดมีข้อพิพาทว่า โรงแรมไปสร้างทับที่ทางสาธารณะ โดยมีการนำภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศจากฝ่ายทหารมาเปรียบเทียบ พบว่าไม่ได้เป็นที่สาธารณะ แต่ในเอกสารของกรมที่ดินยังระบุว่าเป็นที่ทางสาธารณะ ทำให้ภาครัฐไม่สามารถออกใบอนุญาตโรงแรมได้ ทำให้มีปัญหาเรื่องการกู้เงิน การประกันภัย และการออกไปทำตลาดในต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่พอสมควร ส่วนเรื่องการขายกิจการโรงแรมขณะนี้ ไม่ได้มีเฉพาะที่เกาะสมุย แต่ในเมืองท่องเที่ยวหลัก ๆ ทั้งเชียงใหม่ ภูเก็ต กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีการบอกขายกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะโรงแรมที่เพิ่งเปิดใหม่ โดยมีนักธุรกิจทั้งจากเมืองจีน หรือจากกรุงเทพฯเริ่มเข้ามาดูในกิจการที่ค่อนข้างดี และราคาไม่สูง “สำหรับเฉวงรีเจนท์เองรอดูสถานการณ์อีกระยะ โดยเฉวงรีเจนท์ เรามีเงินสำรองระดับหนึ่งสามารถอยู่ได้ถึงสิ้นปี แต่คาดหวังว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม สถานการณ์ระบาดของโรคโควิดจะเริ่มนิ่ง และในช่วงปลายปีช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ ซึ่งเป็นฤดูหนาวของยุโรป น่าจะมีการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้” ด้านนายปัญญา แสงสุริยันต์ เจ้าของโรงแรมร้อยเกาะ กล่าวว่า การขายกิจการโรงแรม เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน สำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้า 1.รัฐต้องหาเงินมาจ่ายให้ผู้ประกันตน ไม่ว่าจะถูกปิดกิจการ หรือปิดกิจการเอง อย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน 2.หยุดดอกเบี้ยทุกประเภท อย่างน้อย 1 ปี โดยรัฐอาจเข้าไป subsidize ให้ธนาคารโดยตรง 3.เรื่องภาษีค้างจ่าย เบี้ยปรับเงินเพิ่มต่าง ๆ ให้ระงับไว้ก่อน ซึ่งมาตรการเหล่านี้ แม้ช่วยผู้ประกอบการได้เพียงระดับหนึ่ง แต่รัฐต้องทำเพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่รอดในเรื่องปากท้องให้ได้ก่อน ปัจจุบันคนเดินทางน้อยลง และจับจ่ายใช้สอยอย่างระมัดระวัง โรงแรมต่าง ๆ ขายห้องพักได้ไม่เกิน 20 ห้องต่อวัน ซึ่งวิเคราะห์จากแขกที่เข้าพักโรงแรม 6 กลุ่ม คือ 1.คนที่พักแรมระหว่างเดินทาง 2.เซลส์ 3.นักลงทุนมาติดต่อราชการ เช่น โอนที่ดิน ขออนุญาตต่าง ๆ 4.นักท่องเที่ยวคนไทย 5.นักท่องเที่ยวต่างชาติที่อยู่ในไทย และ 6.คนมาอบรมสัมมนา สำหรับโรงแรมร้อยเกาะ ทุกวันนี้มีแขกเข้าพักประมาณ 4-8 ห้อง สถานการณ์ปัจจุบันดำเนินการอยู่ได้ไม่เกิน 2 เดือน เนื่องจากยังมีเงินเก็บอยู่บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่หาก 2 เดือนข้างหน้า สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น คงต้องปิดกิจการต่อไปอีก ซึ่งหมายความว่า พนักงานยังไม่มีงานทำ และไม่มีรายได้ต่อไปอีก ต้องยอมรับว่า วันนี้ยังมองไม่เห็นว่าจะมีรายได้เข้ามาจากทางไหน สถานการณ์ขาลงของการท่องเที่ยว เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนานแล้ว ตั้งแต่นักท่องเที่ยวยุโรปไม่เข้ามา ต่อมานักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาแทน เคยขายห้องพักให้นักท่องเที่ยวยุโรปคืนละ 5,000 ถึงหลักหมื่นบาท แต่พอจีนเข้ามาขายได้เพียง 1,500-2,500 บาท “ตอนนี้ยอมรับว่า มองไม่เห็นว่าจะไปต่อในทิศทางไหน อย่างไร สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ เราต้องเริ่มทำแผนฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว โดยเริ่มจากระดับจังหวัดก่อน” ด้าน นายสมเชาว์ โกศล นายกสมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าของเขาสกคาบาน่ารีสอร์ท เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีปัญหา อุปสรรคอีกหลายประเด็นที่อยากเรียกร้องให้รัฐดำเนินการแก้ไข คือ 1.เรื่องการทำประกันภัยนักท่องเที่ยว ที่มีความซับซ้อน ไม่เอื้อให้นักท่องเที่ยวเข้ามา 2.ให้รัฐทบทวนมติของคณะกรรมการธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ ที่มีมติให้การจัดโปรแกรมนำเที่ยว 50 คน ใช้มัคคุเทศก์ 1 คน และนักท่องเที่ยวไม่เกิน 15 คน ไม่ต้องใช้มัคคุเทศก์ ซึ่งมติดังกล่าวส่งผลกระทบต่อมัคคุเทศก์อาชีพโดยตรง โดยในความเป็นจริง นักท่องเที่ยวเพียง 1 คนสามารถใช้บริการมัคคุเทศก์ได้ และนักท่องเที่ยว 50 คนใช้มัคคุเทศก์เพียงคนเดียวนั้นไม่เพียงพอ นอกจากนั้น ทางสมาพันธ์ยังเสนอให้มัคคุเทศก์รับงานเองโดยตรงได้ โดยไม่ต้องมีใบสั่งงาน และผลักดันให้มีการจัดตั้งสภามัคคุเทศก์แห่งประเทศไทยด้วย ด้าน นายอเนก นุรักษ์ รองประธานสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์การช่วยเหลือ เยียวยาผู้ประกอบการในภาคธุรกิจท่องเที่ยวยังมีปัญหาอีกมากมายหลายประเด็น โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ที่รัฐบาลอนุมัติวงเงินผ่านธนาคารออมสิน 10,000 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่ยื่นขอกู้เงินดังกล่าวประมาณ 2,000 รายได้รับการอนุมัติเพียง 36 ราย ทั้งนี้ เนื่องจากเงื่อนไขการกู้เงินไม่ได้แตกต่างจากช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็น SMEs นั้น ทางสมาพันธ์ได้เข้าเจรจาพูดคุยกับกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยตรง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการหลายรายได้รับอนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำไปบ้างแล้ว ส่วนที่ยังกู้ไม่ผ่าน ส่วนใหญ่ติดปัญหาเรื่องใบอนุญาตโรงแรม ซึ่งรัฐต้องช่วยปลดล็อก 2 เรื่อง คือ 1.ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ได้เป็นนิติบุคคล และ 2.ผู้ประกอบการไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงวงเงินกู้ หรือมาตรการเยียวยาจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวจะเป็นส่วนที่สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ก่อนภาคส่วนอื่น ๆ หลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านไป เนื่องจากภาคท่องเที่ยวไม่ต้องสร้างอาคาร หรือสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพราะทั้งแหล่งท่องเที่ยว และโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวเรามีพร้อมอยู่แล้ว และการท่องเที่ยวไม่ต้องรอฤดูกาล สามารถเที่ยวได้ทุกฤดู แต่ทั้งนี้ต้องประคับประคองให้ผู้ประกอบการยืนอยู่ได้จนกว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะดีขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องวางแผนการทำงาน การทำตลาดควบคู่กันไปด้วย เมื่อถึงเวลาเริ่มต้นจะเดินหน้าได้ทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-479111
จำนวนผู้อ่าน: 2248
19 มิถุนายน 2020
ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันที่ 18 มิถุนายน 2563 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (18/6) ที่ระดับ 31.17/19 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดในวันพุธ (17/6) ที่รดับ 31.23/25 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินบาทยังคงผันผวนในกรอบตามแรงซื้อ-ขายของผู้ประกอบการและนักลงทุน แม้เย็นวานนี้ (17/6) ค่าเงินบาทวิ่งอ่อนค่าเหนือ 31.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทได้รับแรงหนุนจากแรงขายดอลลาร์สหรัฐเพื่อรับเป็นเงินบาทจากผู้ส่งออกและนักลงทุน ทำให้ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าต่ำกว่า 31.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐอีกครั้ง ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 31.08-31.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 31.09/11 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ด้านเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นปรับตัวแข็งค่าเทียบค่าเงินสกุลหลัก โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุน ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสหรัฐ สำนักข่าวรายงานว่ารัฐอริโซน่า ฟลอริดา โอกลาโฮมา และเท็กซัส พบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงเป็นประวัติการณ์ในวันอังคารที่ผ่านมา (16/6) ขณะที่ยอดผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในรัฐเท็กซัส เนวาดา และฟลอริดา ทำสถิติสูงสุดเช่นกัน โดยสหรัฐเปิดเผยว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้พุ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ใน 6 รัฐ ทั้งนี้ เท็กซัสเป็นหนึ่งในรัฐแรก ๆ ที่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยมีการอนุญาตให้ภาคธุรกิจกลับมาดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการพุ่งขึ้นของผู้ป่วยโรคโควิด-119 ในเท็กซัสจะเป็นหลักฐานเน้นย้ำให้รัฐต่าง ๆ ไม่คลายมาตรการล็อกดาวน์เร็วเกินไป สำหรับสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศจีนนั้น กรุงปักกิ่งได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดแห่งใหม่ หลังพบผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้กรุงปักกิ่งประกาศยกระดับเตือนภัยฉุกเฉินเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดจากระดับ 3 สู่ระดับ 2 และสั่งปิดโรงเรียนทุกแห่งเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเมื่อวานี้ (17/6) หลังจากพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 รายในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อีกทั้ง สายการบินจีนหลายแห่งประกอบด้วย แอร์ไชน่า, ไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ เซาเทิร์น แอร์ไลน์ ยังได้ระงับเที่ยวบินเส้นทางเข้าและออกกรุงปักกิ่งด้วย นอกจากนั้นความตึงเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบของคาบสมุทรเกาหลีที่ยังไม่มีการเจรจาระหว่างผู้นำของสองประเทศ รวมถึงเหตุปะทะที่บริเวณชายแดนประเทศอินเดียและประเทศจีน จนส่งผลให้ทหารอินเดียเสียชีวิตกว่า 20 นาย นั้นเป็นอีกปัจจัยที่หนุนให้นักลงทุนกลับเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย ในส่วนของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐนั้น กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ในเดือนพฤษภาคม สู่ระดับ 974,000 ยูนิต หลังจากลดลงร้อยละ 26.4 ในเดือนเมษายน โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบรายปี ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง ร้อยละ 23.2 ในเดือนพฤษภาคม สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (18/6) ที่ระดับ 1.1231/35 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (16/6) ที่ระดับ 1.1234/38 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรทรงตัวขณะที่ตลาดฝั่งยุโรปรอดูผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหราชอาณาจักรเย็นวันนี้ (18/6) โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหราชอาณาจักรจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1230-1.1252 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1246/49 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (18/6) ที่ระดับ 106.73/76 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (16/6) ที่ระดับ 107.37/40 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนแข็งค่าในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เช่นเดียวกับดอลลาร์สหรัฐและราคาทองคำ เนื่องจากนักลงทนกังวลกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ดูจะกลับมารุนแรงอีกครั้งในประเทศมหาอำนาจ และสถานการณ์ความไม่สงบในแถบภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 106.70-107.01 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 106.96/99 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหราชอาณาจักร (BOE) (18/6), จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐ (18/6), รายงานดัชนีการผลิตรัฐฟิลาเดเฟีย สหรัฐ เดือนมิถุนายน (18/6), ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม (19/6) และ ยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักร เดือนพฤษภาคม (19/6) สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -0.40/-0.20 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -0.50/+1.20 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-479390
จำนวนผู้อ่าน: 2033
19 มิถุนายน 2020
ชื่อผู้ท้าชิง-ผู้นำหมายเลข 1 แห่งวังบางขุนพรหม แทนนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะสิ้นวาระในเดือนกันยายนปีนี้ มีทั้งคนใน-คนนอก ประธานกรรมการสรรหา จะนัดประชุมในวันที่ 25 มิถุนายน 2563 เพื่อเปิดรายชื่อและคุณสมบัติของผู้สมัครทั้งหมด “ประชาชาติธุรกิจ” แง้มแฟ้มรายชื่อผู้สมัคร พบว่ามีผู้สมัคร 4 ราย มีคนในที่ถูกอ้างว่าเป็นแคนดิเดต มี 2 ราย นายเมธี สุภาพงษ์ และ นายรณดล นุ่มนนท์ ส่วนคนนอกตามโผ มีทั้ง นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร และ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการนโยบายการเงิน “ไม่มีอยู่ในใบสมัคร” เสียงก้องจากตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ดังถึงวังบางขุนพรหม แซดว่า อาจขยายเวลาพิจารณาคัดสรร “ผู้ว่าการแบงก์ชาติ” ออกไป เพื่อให้ “ลงตัว” กับจังหวะการปรับคณะรัฐมนตรี แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเปิดรับสมัครผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหาผู้ที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งต่อจากนายวิรไท ผู้ว่าการ ธปท.คนปัจจุบัน ที่จะครบวาระในสิ้นเดือน กันยายนนี้ ซึ่งหลังจากเริ่มเปิดให้ยื่นใบสมัครมาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ปรากฏว่า มีผู้ส่งใบสมัครกันในช่วง 2 วันสุดท้าย โดยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน มียื่นเข้ามา 3 ราย และวันที่ 16 มิถุนายน ยื่นเข้ามาอีก 1 ราย รวมมีผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ทั้งสิ้น 4 ราย ผู้ที่ยื่นใบสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. มีคนในยื่น 2 ราย และอีก 2 รายเป็นคนนอก สำหรับคนในนั้น เป็น นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน และ นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ร่วมชิงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ในรอบนี้ รายชื่อใบสมัคร บุคคลภายนอก ยื่นสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รายหนึ่งที่เป็นผู้หญิง ก็คือ นางต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด รายที่สอง คือ นายสุชาติ เตชะโพธิ์ไทร อดีตรองกรรมการผู้จัดการประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุนและผู้จัดการกองทุนรวม ของบลจ.อยูธยา เจเอฟอีกราย ใบสมัครทั้ง 4 ราย มีทั้ง “ตัวจริง-ตัวหลอก” หรืออาจจะเป็น “ม้ามืด” ส่วนที่กล่าวขวัญกันว่า มีชื่อในโผตั้งแต่ไก่โห่-แต่อาจพลิกผัน คือ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ที่มีเสียงสนับสนุนจากทีมอำมาตย์ใหญ่ใน-นอกตึกไทยคู่ฟ้า ตัดสินใจไม่ลงสมัคร รวมถึง นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ 1 ในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และเพิ่งครบวาระจากบอร์ด ธปท.ไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ก็ไม่ได้ลงสมัครตามที่มีกระแสข่าวแต่อย่างใด นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ประธานกรรมการคัดเลือกผู้ว่าการ ธปท. ระบุขั้นตอนว่า หลังจากปิดรับสมัครแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกจะประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 25 มิถุนายน 2563 เพื่อเปิดซองและพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัคร และจะนัดสัมภาษณ์ช่วงปลายเดือนมิถุนายน จากนั้นจะเร่งสรุปเลือกอย่างน้อย 2 รายชื่อ เสนอให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณา ก่อนวันที่ 2 กรกฏาคม 2563 “คณะกรรมการคัดเลือกคงต้องมาพิจารณาว่า จากผู้ที่สมัครเข้ามาทั้งหมดนี้ เพียงพอหรือยัง หากดูแล้วยังไม่เพียงพอ หรือยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ก็อาจจะขยายเวลาการรับสมัครออกไปอีกได้ ซึ่งสามารถทำได้ แม้จะเกินกรอบ 90 วันที่ก่อนที่ผู้ว่าการ ธปท.คนปัจจุบันจะครบวาระก็ตาม” แหล่งข่าวระดับสูงจากทำเนียบรัฐบาล วิเคราะห์ว่า ปัจจัยชี้ขาดในการเลือกผู้ว่าการแบงก์ชาติในยุคนี้ จำเป็นต้องได้ฉันทานุมัติจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม และทีมที่ปรึกษา “ชั้นในสุด” บนตึกไทยคู่ฟ้า สนธิกำลัง-ดับเบิลเช็กกับทีมกุนซือเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยนักธุรกิจ-อำมาตย์ใหญ่ ไว้วางใจ เห็นได้จากการที่มีการเลือกตั้งประธานกรรมการคัดเลือกผู้ว่าการ ธปท. จากผู้ที่มีความใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีให้ความไว้วางใจ อย่างนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ที่ร่วมหัว-จมท้ายกันมาตั้งแต่เป็นคณะกรรมการธนาคารทหารไทย และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรียุค คสช. ตระหง่านอยู่ในทำเนียบรัฐบาลมานานหลายปี “ด้วยกลไกการสรรหา ก็ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการ ธปท. ต้องได้รับไฟเขียว-สายตรงจากนายกฯและทีมที่ปรึกษา เพราะที่ผ่านมามีบทเรียนว่าเลือกผู้ที่ค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองสูง จะค่อนข้างมีผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในภาวะการบริหารเศรษฐกิจ ที่ต้องการการประสานงานกันระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเป็นอย่างดี” แหล่งข่าวกล่าว จังหวะก้าวที่จะต้องเปลี่ยนผู้กุมบังเหียนนโยบายการเงิน คู่ขนานการปฏิบัติการใช้เงินกู้ตามนโยบายการคลังคาบเกี่ยวกับการปรับทีมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นไปได้ว่า นายกรัฐมนตรีจะใช้ช่วงเวลานี้พิจารณาวางตัวบุคคลที่ร่วมงานกันทั้ง 3 ฝ่าย อย่างไร้รอยต่อ การขยายเวลารับสมัครผู้ว่าการแบงก์ชาติออกไป จึงมีเหตุ-มีผล ผู้ลงสมัครท้าชิง จึงต้องดูทิศทางลมทั้งจากทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงการคลัง บุคคลที่เห็นในโผวันนี้ จึงอาจไม่ใช่ตัวจริง-เสียงจริง จนกว่าจะถึงวันเปิดแฟ้มประวัติ ของกรรมการสรรหา วันที่ 25 มิถุนายน 2563 เปิดอีกชื่อ “ต้องใจ” ลูกสาวอดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ โดดชิงเก้าอี้ผู้นำวังบางขุนพรหม ชิงผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ 4 ราย คนนอก-ใน ฝ่ายละ 2 คน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-479340
จำนวนผู้อ่าน: 2071
19 มิถุนายน 2020
ภาพ Pixabay ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) เปิดเผยว่า จากการสำรวจข้อมูลโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลใน 5 เดือนแรกปี 2563 พบว่า ในเดือนพฤษภาคม 2563 สถานการณ์เริ่มฟื้นตัว มีการเปิดตัวบ้าน-คอนโดมิเนียมโครงการใหม่ 32 โครงการ รวม 44,71 หน่วย รวมมูลค่า 24,330 ล้านบาท เฉลี่ยหน่วยละ 5.442 ล้านบาท คาดการณ์ 7 เดือนหลังมีแนวโน้มดีกว่าช่วง 5 เดือนแรก 20% เท่ากับแนวโน้มมีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ปีนี้ 357 โครงการ ต่ำกว่าปี 2562 ที่เปิดตัว 480 โครงการ ลดลง -26% จำนวนหน่วยลดลง -39% ที่ 72,875 หน่วย เทียบกับปี 2562 ที่เปิดตัวใหม่ 118,975 หน่วย และมูลค่าการพัฒนาคาดว่าลดลง -36% เหลือ 305,096 ล้านบาท เทียบกับปีที่แล้วลดลงกว่าปี 2562 ที่เปิดตัวมูลค่าโอเคยังไม่รู้เลยปิดอะไรเลย 476,911 ล้านบาท ข้อสังเกตราคาขายเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพราะลดการผลิตที่อยู่อาศัยราคาถูก เพราะผู้มีรายได้น้อยไม่มีอำนาจการซื้อเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามหากภายในปี 2563 นี้สถานการณ์ไม่ดีขึ้น จำนวนการเปิดตัวโครงการก็อาจลดลงต่ำกว่านี้อีก เพราะอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจดี ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็จะดี แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี กระตุ้นอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไปก็ไร้ประโยชน์ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-479425
จำนวนผู้อ่าน: 2113
19 มิถุนายน 2020
Photo by SAEED KHAN / AFP การบินไทยเร่งแก้ 79 สัญญาหลังพ้นรัฐวิสาหกิจ จับตาสัญญาให้สิทธิประกอบกิจการกับ AOT อาจต้องแปลงเป็น “สัญญาร่วมลงทุน” พร้อมส่งทรัพย์สินบางส่วนคืนให้ธนารักษ์ ก่อนศาลไต่สวน 17 ส.ค. นี้ ดึงแบงก์กรุงไทยปล่อยกู้ระยะสั้นเติมสภาพคล่อง เร่งเจรจาเจ้าหนี้ “แฮร์คัต” กางแผน “ลดทุน” ก่อนหาผู้ลงทุนใหม่ ด้าน ทอท.ชี้ประชุมบอร์ด 17 มิ.ย. ถกนโยบายการทำธุรกิจร่วมกับการบินไทย แก้สัญญาติดเงื่อน “รัฐวิสาหกิจ” นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงความคืบหน้าในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทยว่า คณะกรรมการติดตามฯ ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน จะมีการนัดประชุมกับทางการบินไทยถึงปัญหาข้อสัญญาต่าง ๆจากที่การบินไทยได้ทำไว้ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเมื่อพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจแล้ว ก็ต้องดำเนินการปรับแก้สัญญาต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ รวมถึงต้องทบทวนบทบาทของการบินไทยที่มีตัวแทนเข้าไปร่วมใน “คณะกรรมการ” หรือ “คณะทำงาน” ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเมื่อไม่เป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว เป็นเพียงบริษัทมหาชนก็อยู่ในกรรมการไม่ได้ เพราะจะกลายเป็น conflict of interest ที่มีความได้เปรียบกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลในการเจรจาทำความตกลงการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ “ในสัปดาห์นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการติดตามฯแก้ไขปัญหาการบินไทยก็จะให้การบินไทยมานำเสนอว่ามีสัญญาอะไรบ้างที่จะต้องปรับแก้ ตอนนี้ทีมกฎหมายของการบินไทยกำลังรวบรวม โดยการแก้สัญญาต่าง ๆ ก็ควรทำให้เรียบร้อยก่อนวันที่ศาลนัดไต่สวน (17 ส.ค. 2563) เพราะหากยังไม่แก้ให้สมบูรณ์อาจมีปัญหาในช่วงการทำแผนฟื้นฟู ก็จะต้องเร่งแก้ไขเพื่อไม่ให้มีอุปสรรคในการฟื้นฟู ทุกคนก็รับทราบและรับโจทย์นี้แล้ว” นายประภาศกล่าวและว่า สำหรับสัญญาเช่าเครื่องบิน เท่าที่สอบถาม การทำสัญญาไม่ได้มีการใช้สิทธิประโยชน์จากการเป็นรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด รวมทั้งสิทธิการบินและเส้นทางบินที่การบินไทยเคยได้รับอยู่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ รื้อสัญญาการบินไทย-AOT นายประภาศอธิบายว่า ข้อสัญญาที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษน่าจะเป็นสัญญากับ บมจ. ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT เพราะมีจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเปลี่ยนเป็น “สัญญาร่วมลงทุน” ตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนรัฐ-เอกชนแทน “ทีมที่ปรึกษากฎหมายของการบินไทยได้เตรียมดูข้อกฎหมายไว้แล้ว ถ้าต้องแก้ในส่วนไหน คณะกรรมการติดตามฯก็จะเรียกหน่วยงานนั้นมาเลย จะทำให้ขั้นตอนรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลามานั่งเจรจา” อย่างไรก็ตามการแก้สัญญาจะไม่ให้กระทบถึงสิทธิของคู่สัญญา เป็นการปรับแก้สัญญาเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยสัญญาเดินมาถึงจุดไหนก็มาต่อเชื่อมได้ใน พ.ร.บ.ร่วมลงทุน นายประภาศกล่าวว่า หลังจากที่การบินไทยพ้นสถานะจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทั้งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังก็ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแล โดยกระทรวงการคลังมีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (49%) และเจ้าหนี้ และถ้าศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ อำนาจก็จะหมดไป ซึ่งอำนาจจะไปอยู่กับผู้ทำแผน บอร์ดก็มีหน้าที่แค่ติดตามการทำงานของผู้ทำแผน เปิด 79 สัญญาที่มีปัญหา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเอกสารรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาของ บมจ.การบินไทย เมื่อ 8 มิ.ย. 2563 ระบุว่า เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินธุรกิจของการบินไทยมีความเกี่ยวพันกับรัฐหรือหน่วยงานของรัฐค่อนข้างมาก เช่น การใช้พื้นที่ท่าอากาศยาน การกู้เงินต่อจากกระทรวงการคลัง การแก้ไขปัญหาหุ้นกู้ของการบินไทย เป็นต้น การพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของการบินไทย ที่เดิมมีการใช้ทรัพย์สินของรัฐ หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในบางกรณีจำเป็นต้องส่งคืนทรัพย์สินให้กับกระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) และบางกรณีจะต้องเจรจากับหน่วยงานรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ หรืออาจจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยการบินไทยอยู่ระหว่างการรวบรวมสัญญาทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องมีการทบทวนประมาณ 79 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานกับธนาคารของรัฐจำนวน 5 สัญญา, สัญญาให้สิทธิประกอบกิจการกับ ทอท.จำนวน 47 สัญญา, สัญญาเช่าที่ดินและสถานที่กับกรมท่าอากาศยาน 17 สัญญา และสัญญาอื่น ๆ 10 สัญญา เกมเจรจา “แฮร์คัตหนี้” นายประภาศกล่าวว่า ในส่วนการเจรจากับเจ้าหนี้ ทีมกฎหมายการบินไทยกำลังเร่งเจรจา โดยเฉพาะเจ้าหนี้ให้เช่าเครื่องบิน เจ้าหนี้การค้า และเจ้าหนี้สถาบันการเงิน เพื่อให้เห็นชอบกับการฟื้นฟูและผู้ทำแผนที่บริษัทเสนอ ซึ่งเป็นการเจรจาแบบไม่เป็นทางการ ก่อนวันที่ศาลนัดไต่สวน (17 ส.ค. 63) ถ้าเจ้าหนี้ไม่มีข้อโต้แย้ง หรือมีข้อโต้แย้งน้อยที่สุด จะทำให้กระบวนการฟื้นฟูสามารถดำเนินการได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในกระบวนการนี้ถือว่าสำคัญมาก อย่างไรก็ตามจะเกิดผลอย่างเป็นทางการได้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งคณะผู้ทำแผน โดยศาลจะพิจารณาใน 2 ประเด็นคือ มีเหตุที่จะฟื้นฟูกิจการหรือไม่ และผู้ทำแผนที่ลูกหนี้เสนอ เจ้าหนี้คัดค้านหรือไม่ ซึ่งเหตุที่จะฟื้นฟูกิจการคิดว่าจะไม่มีประเด็นโต้แย้ง เนื่องจากเข้าข้อกฎหมายทุกอย่างที่จำเป็นต้องฟื้นฟู และหากสุดท้ายเจ้าหนี้ไม่มีข้อโต้แย้งเรื่อง “ผู้ทำแผน” ศาลก็อาจจะไม่ต้องไต่สวน นายประภาศกล่าวว่า โอกาสการเจรจาเจ้าหนี้สำเร็จน่าจะเป็นไปได้สูง ในภาวะที่อุตสาหกรรมการบินประสบปัญหาทั่วโลก ซึ่งถ้าเจ้าหนี้จะขอรับหนี้เท่าเดิมก็คงเป็นไปได้ยาก ซึ่งในหลักการเจ้าหนี้ก็รับรู้อยู่แล้วว่าต้องมีการ “แฮร์คัตหนี้” ซึ่งการเจรจานอกรอบก็จำเป็นต้องพูดถึงกรอบดังกล่าว ก่อนที่ศาลจะเห็นชอบคำร้องและตั้งผู้ทำแผน ซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าหนี้แต่ละราย ทั้งนี้หากเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของการบินไทย ก็อาจร่วมกันเพื่อคัดค้านและเสนอผู้ทำแผนขึ้นแข่งได้ โดยเจ้าหนี้ที่ยื่นคัดค้านต้องมีหนี้รวมกันไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของหนี้ทั้งหมด เจ้าหนี้ 2.5 ล้านรายเป็นใคร “เจ้าหนี้หลัก ๆ จะมีอยู่ประมาณ 100-200 รายเท่านั้น จากจำนวนเจ้าหนี้ทั้งหมดราว 2.5 ล้านราย เหตุที่เจ้าหนี้การบินไทยมีจำนวนมากเพราะมีกลุ่มสมาชิกรอยัล ออคิด พลัส (ROP) ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมายด้วย เนื่องจากมีสิทธิในการเรียกร้อง นอกจากนี้ยังมีเจ้าหนี้กลุ่มผู้ซื้อตั๋วเครื่องบินที่ยังไม่ได้เดินทางอีกจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มผู้ถือหุ้นกู้” โดยการบินไทยต้องส่งคำร้องขอฟื้นฟูให้เจ้าหนี้ทั้งหมด 2.5 ล้านราย ซึ่งถือเป็นปัญหายุ่งยากในการจัดการ โดยประมาณ 80% เป็นกลุ่ม ROP อย่างไรก็ตามก่อนที่การบินไทยจะยื่นคำร้องขอฟื้นฟูฯ ศาลได้แก้ข้อบังคับให้ลูกหนี้สามารถส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าหนี้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล์) ได้ จึงทำให้กระบวนการต่าง ๆ สะดวกคล่องตัวขึ้น และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับคำร้องครบถ้วนเพื่อไม่ให้มีข้อโต้แย้ง ก็จะมีการแจ้งผ่านทางสื่อออนไลน์ด้วย เปิดเจ้าหนี้ 3.5 แสนล้าน นายประภาศกล่าวว่า โดยหนี้ที่ยื่นคำร้องศาลฯมูลหนี้ 352,484 ล้านบาท เป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศ 65% และเจ้าหนี้ในประเทศ 35% โดยเจ้าหนี้หลัก ๆ จะเป็นเจ้าหนี้การค้า อย่างผู้ให้เช่าเครื่องบิน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีมูลหนี้สูงสุด และเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ทั้งแบงก์พาณิชย์และแบงก์รัฐ รวมถึงกระทรวงการคลังก็เป็นเจ้าหนี้ 1.3 หมื่นล้านบาท เพราะในอดีตกระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อมาให้การบินไทยกู้ต่อเพื่อลดต้นทุนเรื่องดอกเบี้ย ทำให้ตอนนี้กระทรวงการคลังนอกจากเป็นผู้ถือหุ้นการบินไทยก็มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ด้วย สำหรับรายละเอียดของหนี้ ประกอบด้วยหนี้ตามสัญญาเช่าเครื่องบิน (42 ลำ) 97,449 ล้านบาท, หนี้สัญญาเช่าทางการเงิน (32 ลำ) 47,797 ล้านบาท, หุ้นกู้ 74,180 ล้านบาท, เจ้าหนี้การค้า 13,642 ล้านบาท, ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 15,010 ล้านบาท, เงินกู้สถาบันการเงิน 12,511 ล้านบาท, เงินกู้กิจการที่เกี่ยวข้อง 26,583 ล้านบาท, รายรับล่วงหน้า (ขายตั๋ว) 18,093 ล้านบาท, หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 32,049 ล้านบาท และหนี้สินอื่น ๆ 15,236 ล้านบาท ดึงกรุงไทยเติมสภาพคล่อง นายประภาศกล่าวถึงสภาพคล่องของการบินไทยว่า จากที่ผู้บริหารการบินไทยรายงานสภาพคล่องบริษัทน่าจะอยู่ได้ถึงเดือน ส.ค. แต่จะปล่อยให้ถึงเวลานั้นไม่ได้ จะต้องมีเงินสำรอง เพราะถ้าศาลรับทำแผนฟื้นฟู ตั้งคณะผู้ทำแผนแล้วจะได้ไม่มีปัญหา ดังนั้นตอนนี้จึงพยายามทำทุกอย่างไม่ให้ขัดข้อง จึงต้องมีการหาสภาพคล่องระยะสั้นเข้าไปเพื่อให้การบินไทยสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้การบินไทยส่วนใหญ่ก็เป็นแบงก์รัฐ ตอนนี้ก็มีการหารือเพื่อที่ธนาคารกรุงไทยจะช่วยปล่อยเงินกู้เสริมสภาพคล่องระยะสั้น แม้ว่าแบงก์ที่ใส่เงินให้ช่วงก่อนที่ศาลฯจะเห็นชอบตั้งผู้ทำแผน แบงก์จะไม่ได้บุริมสิทธิ (สิทธิเหนือเจ้าหนี้อื่น) แต่เพื่อให้แบงก์กล้าใส่เงิน ก็จะต้องมีเงื่อนไขพิเศษคือต้องไม่ถูกแฮร์คัตเหมือนเจ้าหนี้เดิม ซึ่งส่วนนี้ก็ต้องมีการเจรจาทำความตกลงกับเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ให้รับรู้ว่าการบินไทยจะมีการใส่เงินเข้าไปใหม่แลกกับเงื่อนไข ซึ่งโดยภาวะขณะนี้เชื่อว่าเจ้าหนี้เก่าไม่คัดค้าน เพื่อให้การบินไทยมีเงินหมุนเวียนเพื่อสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ สำหรับในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟู นายประภาศกล่าวว่า ตามหลักการหลังจากที่มีการ “แฮร์คัตหนี้” และ “ลดทุน” ในส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งก็ต้องดูว่าผู้ทำแผนจะเสนอให้ลดทุนเหลือศูนย์หรือไม่ และหลังจากนั้นกระทรวงการคลังหรือภาครัฐจะกลับเข้ามาเพิ่มทุนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลต้องการให้สถานะของการบินไทยหลังการฟื้นฟูฯเป็นอย่างไร รวมถึงความเป็นไปได้ในการหาพันธมิตรร่วมทุนใหม่ ยื่นคุ้มครองรายประเทศ นายประภาศกล่าวเพิ่มเติมถึงการปกป้องทรัพย์สินของการบินไทยในต่างประเทศว่า ปัจจุบันการบินไทยได้ยื่นขอรับรองการฟื้นฟูกิจการของไทยในต่างประเทศ (recognition) โดยเป็นการยื่นขอรับรองต่อศาลประเทศนั้น ๆ ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นเรียบร้อยแล้ว 2 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ และอยู่ระหว่างดำเนินการอีกหลายประเทศ ทั้งฝรั่งเศสและญี่ปุ่น ส่วนกรณีมีคำถามว่า จะต้องยื่นฟื้นฟูกิจการ Chapter 11 ในศาลสหรัฐหรือไม่ เท่าที่ทีมกฎหมายพิจารณาขณะนี้ไม่จำเป็นแล้ว เพราะเป้าหมายต้องการคุ้มครองเครื่องบินเป็นหลัก เมื่อเปิดทำการบินไปต่างประเทศ จึงเลือกการยื่นศาลประเทศนั้น ๆ เพื่อให้ต่างประเทศรับรองถึงการยื่นฟื้นฟูที่ศาลในประเทศไทย และถ้าดึงเจ้าหนี้มาฟื้นฟูในศาลไทยได้ทั้งหมด และไม่ใช้สิทธิในต่างประเทศ ก็ไม่จำเป็นต้องยื่น Chapter 11 ศาลสหรัฐ ทอท.รอ สคร.เคาะสิทธิบินไทย นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันที่ 17 มิ.ย.จะมีประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. จะมีวาระเรื่องการบินไทยคู่สัญญาเช่าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลจะนัดไต่สวนในวันที่ 17 ส.ค.นี้ โดยให้บอร์ดพิจารณาเร่งด่วนว่า ทอท.จะมีจุดยืนอย่างไร เช่น เรื่องการเงิน เรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจ และเรื่องความต่อเนื่องในการปฏิบัติการที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วนก่อนที่ศาลจะนัดไต่สวน “ปัจจุบันการบินไทยมีสัญญาเช่ากับ ทอท.จำนวนมากในการเช่าพื้นที่อาคาร โรงซ่อมอากาศยาน ฝ่ายครัวการบิน ฝ่ายคลังสินค้า เคาน์เตอร์เช็กอิน จนถึงพื้นที่เลานจ์ ทั้งสัญญาระยะสั้นและระยะยาว ใน 6 สนามบินอยู่ในความดูแลของ ทอท. ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง หาดใหญ่” นายนิตินัยกล่าวอีกว่า ทอท.ยังได้ทำหนังสือสอบถามไปยัง สคร.ถึงแนวทางการดำเนินการหลังจากที่การบินไทยเปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนแล้ว จะยังคงสัญญาเช่าต่อตามเดิมหรือต้องเริ่มต้นใหม่ตามกฎหมายร่วมทุน รอคำตอบจาก สคร.อยู่ เปิดไทม์ไลน์แผนฟื้นฟู “การบินไทย” ลุ้น 7 ปีพ้นบ่วงหนี้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-479377
จำนวนผู้อ่าน: 2303
19 มิถุนายน 2020
สถาบันปิดทองหลังพระ ใช้ปัญญาทุกวิถีทาง ช่วยเกษตรกรปลูกผักใช้น้ำน้อย แต่ได้ผลผลิตมาก ด้วยการอาศัยความรู้จาก “ปัญญาภิวัตน์” ใช้เทคโนโลยีตัดวงจรปัญหา “น้ำแล้ง” สร้างอาชีพเสริม นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เปิดเผยว่า ปิดทองหลังพระฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ศึกษาวิจัยระบบการปลูกผักในโรงเรือนที่ใช้น้ำน้อย เพื่อหาความเหมาะสมการปลูกผักในโรงเรือนในพื้นที่แห้งแล้ง และหารูปแบบ แนวทางในการขยายผลการทำเกษตรแบบ “ทำน้อย ได้มาก” เป็นทางเลือกการประกอบอาชีพให้กับให้กับเกษตรกร และผู้ต้องการมีอาชีพเสริม สถาบันปิดทองหลังพระ ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรือน ในพื้นที่ที่เกิดปัญหาภัยแล้ง ให้กับเกษตรกรต้นแบบ 10 ราย ในพื้นที่โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี พื้นที่ต้นแบบที่ปิดทองหลังพระทำงานในพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งที่ผ่านมากการปลูกผักในโรงเรือนสามารถเป็นอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรต้นแบบประมาณเดือนละ 3,000 บาทต่อราย ผู้อำนวยการสถาบันปิดทองหลังพระ กล่าวว่า “ผลที่ได้จากการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา คือ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เพื่อทำการศึกษาและวิจัยโครงการปลูกผักโรงเรือนแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เป็นโมเดลที่ผู้ที่สนใจสามารถนำไปขยายผลที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ทั้งในพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่อื่นที่มีปัญหาภัยแล้ง” ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่จะนำไปถ่ายทอดต่อ ทั้งวิธีการทำ รูปแบบการปลูกผักในโรงเรือนที่เหมาะสม เรียนรู้ปัจจัยที่มีผลต่อการการเจริญเติบโตของผักในโรงเรือนแต่ละฤดูกาล การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผักที่ปลูกได้ ให้ได้มูลค่าสูงขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาด และโมเดิร์นเทรด ตลอดจนการลงทุนที่เหมาะสมและความคุ้มค่าในการลงทุน นายมนตรี คงตระกูลเทียน คณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า โครงการปลูกผักในโรงเรือนครั้งนี้ ปัญญาภิวัฒน์จะนำความรู้ทั้งด้านนวัตกรรมการเกษตร รวมถึงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีอยู่มาช่วยในการพัฒนาอย่างครบวงจร เกิดความน่าเชื่อถือ ให้เกษตรกรขยายการผลิตได้ นำไปสู่ภาพใหม่ของเกษตรกรคือการทำการเกษตรและการค้าที่ให้รายได้ดีขึ้น เช่น การทำ Home delivery ที่จะส่งสินค้าอย่างไรให้ไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-479328
จำนวนผู้อ่าน: 2654
19 มิถุนายน 2020
คอลัมน์ สามัญสำนึก โดย สมปอง แจ่มเกาะ คืนวันจันทร์ที่ผ่านมาเป็นคืนแรกที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยกเลิก “เคอร์ฟิว” ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน หลังจากที่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมานานกว่า 2 เดือน ทบทวนความจำกันนิดหนึ่ง เริ่มแรก ศบค.ประกาศใช้เคอร์ฟิวเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น. จากนั้นเมื่อสถานการณ์โควิด-19 ค่อย ๆ คลี่คลาย จึงได้มีการปรับลดเคอร์ฟิวมาเป็น 23.00-04.00 น. และลดลงอีกครั้งเมื่อ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา เป็น 23.00-03.00 น. ทันทีที่ ศบค.ยกเลิกเคอร์ฟิว บรรยากาศโดยรวมก็เริ่มคึกคักขึ้นมาเลยทีเดียว บรรดาผู้ประกอบการร้านค้าบริการต่างขานรับกันถ้วนหน้า เริ่มจากร้านสะดวกซื้อที่ประกาศกลับมาเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงเหมือนเดิม ขณะที่ศูนย์การค้าห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ที่ทยอยประกาศขยายเวลาการให้บริการ เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดิน ที่ต่างก็กลับมาขยายเวลาการเดินรถ ตั้งแต่ประมาณ 05.30 น.จนถึง 24.00 น. รวมถึงรถเมล์ ขสมก ที่กลับมาให้บริการตามเวลาปกติ เพื่อรองรับการเดินทางของคนเมืองกรุงที่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ใครจะคิดอย่างไรไม่รู้ แต่โดยส่วนตัวแล้วมีความรู้สึกว่า ไม่ว่าจะมีเคอร์ฟิวหรือไม่มีเคอร์ฟิว การดำเนินชีวิตประจำวัน ในแต่ละวันก็ไม่ได้มีความแตกต่างอะไรกันมากนัก แต่ข้อดีอย่างหนึ่งที่เห็นและสัมผัสได้ในช่วง 2 เดือนเศษ ๆ ที่มีเคอร์ฟิว คือคนไทยมีความสุขมากขึ้น ทุกคนกลับบ้านเร็วขึ้น ไม่เถลไถล ได้อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตาพ่อ-แม่-ลูก ได้กินข้าวพร้อมกัน ได้พูดคุยสั่งสอน ได้มีโอกาสทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างร่วมกัน เสาร์-อาทิตย์ ได้หยุดอยู่กับบ้าน บางครอบครัวอาจจะทำสวนหย่อม บางครอบครัวปลูกต้นหมากรากไม้ ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ บางคนอาจจะเก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น ประโยชน์ของโควิด-19 และการมีเคอร์ฟิวอีกอย่างหนึ่งคือ คนไทยหันมาใส่ใจกับสุขภาพ หลาย ๆ คนหันมาเริ่มออกกำลังกาย เดินบ้าง วิ่งบ้าง หลายคนลดละเลิกของมึนเมา ดื่มเหล้าเบียร์น้อยลง ทำให้ประหยัดมากขึ้น มีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น หรือหลาย ๆ คนก็หาอาหารเสริม ยาบำรุงมากินบำรุงร่างกายเพื่อป้องกันและสู้กับไวรัสร้าย จะเรียกว่าสุขทั้งกายสุขทั้งใจก็คงไม่ผิดนัก และที่ชัดเจนมากอีกประการหนึ่งคือ สถิติตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุ จากเหตุเมาแล้วขับ เด็กแว้น ฯลฯ ที่ลดลงทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เป็นการช่วยลดการบาดเจ็บ การเสียชีวิต และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้อย่างมากมายเลยทีเดียว นี่พอประกาศยกเลิกเคอร์ฟิวแล้ว จากนี้ไปคุณหมอ-คุณพยาบาล ห้องฉุกเฉิน คงต้องเตรียมพร้อมเต็มอัตราศึก เพื่อรับมือกับตัวเลขอุบัติเหตุที่จะดีดกลับมาใหม่ ไม่มีเคอร์ฟิวแล้ว ก็อย่าเพิ่งหลงระเริง เพราะบ้านนี้เมืองนี้ยังมีอะไรให้ปวดหัวอีกมากมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง อย่าลืมว่า ผลพวงจากพิษร้ายของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ทำให้เดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้า ธุรกิจการค้าการทำมาค้าขายฝืดเคือง หลายบริษัทต้องปิดกิจการ ต้องเลิกจ้าง ปลดคนงานระลอกแล้วระลอกเล่า จากสิบเป็นร้อยจากร้อยเป็นพัน คนตกงานมีเพิ่มไม่เว้นแต่ละวัน ไหนจะผ่อนบ้านผ่อนรถ ไหนจะหนี้สิน คนทุกข์ยากลำบากมากมาย ปากท้องลูกเมียต้องกินทุกวัน ต้องคิดให้หนักไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ ฟันธงไว้ ณ ตรงนี้เลยว่า กว่าที่การทำมาค้าขายจะฟื้นกลับขึ้นมาได้ คงใช้เวลาอีกหลายปี หรือหากพลิกฟื้นขึ้นมาได้แต่ก็คงไม่เหมือนเดิม นาทีนี้ต้องพยายามประคับประคองตัวให้รอด ตนย่อมเป็นที่พึ่งของตน อย่าไปยืมจมูกรัฐบาลมาหายใจ ขอเพียงสู้และอดทน ท่องให้ขึ้นใจ อดทน ขยัน ประหยัด มีกินครบ 3 มื้อ ถือว่าโชคดีแล้ว ครม. เห็นชอบ “เที่ยวปันสุข” รัฐจ่ายค่าโรงแรม-เครื่องบินให้ 40% ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/columns/news-479311
จำนวนผู้อ่าน: 2072
19 มิถุนายน 2020
ลำพังไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ธุรกิจประกันปีนี้ก็ยากลำบากอยู่แล้วทั้งผลกระทบจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ และกำลังซื้อที่ชะลอตามเศรษฐกิจ ยิ่งเมื่อเจอวิกฤตโควิดเข้าไปด้วยก็ยิ่งกระทบหนัก ล่าสุด 2 นายกจาก “สมาคมประกันชีวิตไทย-สมาคมประกันวินาศภัยไทย” ได้มาสะท้อนภาพธุรกิจปีนี้ การพยายามปรับตัวของผู้ประกอบการ ตลอดจนมองข้ามชอตไปถึงปีหน้า 4 เดือนประกันชีวิต -1.24% เริ่มจาก “นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์” นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากโควิดกดดันให้ช่วง 4 เดือนแรก อุตสาหกรรมประกันชีวิตติดลบไป 1.24% โดยสมาคมได้ปรับลดเป้าหมายเบี้ยรับรวมใหม่ คาดว่าสิ้นปี 2563 จะติดลบในระดับ 3-5% จากที่เมื่อต้นปีคาดการณ์ว่าจะติดลบ 0-2% “ความกดดันมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่ได้จากการลงทุนลดลงมาก ทั้งจากตราสารหนี้ หุ้นกู้ เกิดการด้อยค่าลากยาวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน ก็มีความเสี่ยงจากการลงทุนเพิ่มมากขึ้นด้วย กลายเป็น high risk low yield (ความเสี่ยงสูงผลตอบแทนต่ำ) ทำให้ประกันออมทรัพย์ที่เคยเป็นพระเอกขายยากขึ้นหลายบริษัทต้องปรับตัวไปขายสินค้าความคุ้มครองและสุขภาพที่มีขนาดเบี้ยที่เล็ก” “โควิด” ทุบกำลังซื้อวูบหนัก นอกจากนี้ ในแง่รายได้และความสามารถในการซื้อประกันของประชาชน ก็อาจจะชะลอตัวไปอีกในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้านี้ แม้เดือน เม.ย.จะเริ่มเห็นสัญญาณเบี้ยรับรายใหม่กลับมาเติบโตดีขึ้น ขณะที่เบี้ยชำระครั้งเดียว (ซิงเกิลพรีเมี่ยม) ยังคงติดลบ ดิ้นปรับตัวลดต้นทุน นายกสมาคมประกันชีวิตไทยคาดหวังว่าปี 2564 เบี้ยจะกลับมาเป็นบวกได้ โดยหลังพ้นโควิด ประชาชนน่าจะให้ความสนใจกับการทำประกันสุขภาพมากขึ้น และคาดว่าผู้บริโภคจะปรับไปใช้ช่องทางดิจิทัลกันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของแต่ละบริษัทได้มาก ประกันวินาศภัยปีนี้พลิก -5% ฟาก “อานนท์ วังวสุ” นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบโควิด-19 จะกดดันอัตราเติบโตของตลาดประกันวินาศภัยปีนี้ติดลบ 5% หรือเบี้ยหายไปจากระบบราว 1.2 หมื่นล้านบาทของเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 2.4 แสนล้านบาท แม้ว่าช่วง 4 เดือนแรกเบี้ยรวมจะยังเติบโตเป็นบวก 5.4% แต่หากไม่รวมเบี้ยโควิดที่เข้ามา 4 พันล้านบาทแล้ว จะโตแค่ 2.5% ส่วนประกันรถยนต์เบี้ยติดลบถึง 1.2% โดยผลกระทบหลักมาจากตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัว อย่างในเดือน เม.ย.ยอดขายหดตัวกว่า 60% ประกันโควิดช่วยพยุงธุรกิจ “สินค้าที่โตแรงคือประกันสุขภาพ โดยเบี้ยประกันโควิดช่วยอุตสาหกรรมให้โตได้ระดับหนึ่ง แต่หลังจากนี้การระบาดน้อยลง ยอดขายคงลดลงไป” นอกจากเศรษฐกิจที่ชะลอ ยังมีการยกเลิกความคุ้มครองความเสี่ยง ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในหลายกลุ่มธุรกิจ ที่ทำให้เบี้ยหายไปกว่า 50% โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจโรงแรมรายใหญ่ที่ทุนประกันสูง ที่ขอยกเลิกหรือทำประกันคุ้มครองเฉพาะภัยธรรมชาติและอัคคีภัย เนื่องจากต้องหยุดดำเนินการจากการไม่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการ ไม่มีการขยายการลงทุนใหม่ และผลกระทบจากการด้อยค่าจากการลงทุนทั้งพันธบัตรและตลาดหุ้น “ตัวเลขที่คาดการณ์แม้ดูจะเลวร้าย แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้เดือดร้อนมากนักเพราะการเคลมประกันก็หายไปด้วย โดยเฉพาะรถยนต์ในต่างจังหวัดยอดเคลมลดลงตั้งแต่ปลาย มี.ค. และลดลงแรงสุดในเดือน เม.ย.ไม่มีเคลมกว่า20 วัน หรือลดลงเกือบ 10% จากยอดเคลมรถยนต์ (loss ratio) ทั้งระบบเฉลี่ยที่ 60% และยังมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อย ๆ ในช่วงที่เหลือของปีจากการใช้รถที่ยังไม่กลับมาเต็มที่ ทำให้น่าจะถัวเฉลี่ยกับเบี้ยที่หายไปได้ เพราะแม้รายได้ลดลงแต่รายจ่ายก็ลดตามไปด้วย” นายอานนท์กล่าว เทรนด์ประกัน New Normal ทั้งนี้ ปีนี้ยังดีที่พอมีเบี้ยใหม่จากยอดขายประกันโควิดเข้ามา ส่วนปีหน้าประเมินเบื้องต้นตลาดประกันวินาศภัยคงจะกลับมาเติบโตเป็นบวกได้ตามภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวและจากฐานต่ำ “คาดว่าเทรนด์ตลาดประกันสุขภาพกลุ่มไมโครอินชัวรันซ์จะเป็น new normal ของธุรกิจในอนาคตที่จะเฉพาะเจาะจงโรคมากขึ้นทำให้เบี้ยถูกซื้อง่ายผ่านออนไลน์ได้ รวมไปถึงกลุ่มเปิด-ปิด หรือคุ้มครองระยะสั้น ก็คงได้รับความนิยมมากขึ้นด้วย” ปีนี้คงเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับทุกธุรกิจ สิ่งที่ทำได้ก็คือ พยายามประคองตัว ปรับตัวกันไป และหวังว่าปีหน้าอะไร ๆ คงจะดีขึ้น ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-479268
จำนวนผู้อ่าน: 2329
19 มิถุนายน 2020
Photo by MADAREE TOHLALA / AFP สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนประชาชนชาวไทย ชม “สุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย” วันที่ 21 มิ.ย.63 เวลา 13:00-16:10 น. ภาคเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากที่สุด พร้อมแนะนำชมผ่านอุปกรณ์กรองแสง ห้ามดูด้วยตาเปล่า หรือแว่นกันแดดโดยเด็ดขาด วันที่ 18 มิถุนายน 2563 นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ในวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2563 จะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาวงแหวน” แนวคราสวงแหวนพาดผ่านสาธารณรัฐอัฟริกากลาง คองโก เอธิโอเปีย ตอนใต้ของปากีสถาน ตอนเหนือของอินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนประเทศไทยจะเห็นเป็น “สุริยุปราคาบางส่วน” ดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง สามารถสังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย แต่ละภูมิภาคจะมองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากน้อยแตกต่างกัน ส่วนสถานที่ที่ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดบริเวณภาคเหนือที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประมาณร้อยละ 63 ส่วนภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 16 สำหรับกรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังประมาณร้อยละ 40 สามารถสังเกตได้ในช่วงเวลาประมาณ 13:00 – 16:10 น. ตามเวลาประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะปรากฏเว้าแหว่งมากที่สุด เวลาประมาณ 14:49 น “สุริยุปราคาบางส่วน” เกิดจากอะไร สำหรับ “สุริยุปราคาบางส่วน” เกิดจากโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ไม่ได้เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน ขณะเกิดสุริยุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์จึงบดบังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้มีเพียงเงามัวของดวงจันทร์ทอดผ่านพื้นผิวโลก ผู้สังเกตบนโลกภายในบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่านจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบังเพียงบางส่วนเท่านั้น นายศุภฤกษ์ กล่าวเน้นย้ำ สำหรับผู้สนใจชมปรากฏการณ์ว่า ห้ามสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่า แว่นกันแดด ฟิล์มเอ็กซ์เรย์ หรือแผ่นซีดี เนื่องจากแสงอาทิตย์สามารถทำลายเซลส์ประสาทตาจนตาบอดได้ ควรสังเกตการณ์ผ่านอุปกรณ์เฉพาะ ที่มีคุณสมบัติกรองแสงได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การระบาดขอไวรัสโควิด-19 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมจากการตั้งจุดสังเกตการณ์หลักเพื่อให้บริการประชาชน มาเป็นการถ่ายทอดสดปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน จากหอดูดาวภูมิภาคทั้ง 4 แห่ง ของ สดร. ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา ในวันที่ 21 มิถุนายน 2563 ตั้งแต่เวลา 13:00 – 16:10 น. สามารถติดตามได้ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ส่วนปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งต่อไปที่สามารถสังเกตได้ในประเทศไทยคือ สุริยุปราคาบางส่วน ในวันที่ 2 สิงหาคม 2570 ซึ่งจะต้องรออีก 7 ปี ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-479262
จำนวนผู้อ่าน: 2040
19 มิถุนายน 2020
อคส. จ่อลงนามสัญญาขายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลลอตสุดท้าย 1.4 แสนตัน ให้ผู้ชนะ 8 ราย 22 มิ.ย.นี้ เมินเสียงต้านเจ้าของคลัง “โรงสีสิงห์โตทอง” ยืนกรานใช้สิทธิยึดหน่วงข้าวบีบรัฐจ่ายค่าเช่า พ.ต.อ.รุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา ได้ประชุมร่วมกับผู้ชนะการประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล 8 ราย ตัวแทนเจ้าของคลัง เพื่อขอความเห็นและข้อมูลประกอบการพิจารณาจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลตามที่อคส.ได้เปิดประมูลครั้งที่ 1/2563 ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญากับทั้ง 8 ราย ได้ภายในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ ในปริมาณรวมกว่า 1.4 แสนตัน จากปริมาณที่เปิดประมูล 2 แสนตัน “กรณีที่บริษัทโรงสีสิงห์โตทองผู้รับฝากข้าวจะใช้สิทธิยึดหน่วงข้าวสาร 1.4 แสนตัน ที่จัดเก็บในคลังของบริษัทนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ทางบริษัทสามารถทำได้แต่ทาง อคส.ต้องดำเนินการทำสัญญากับผู้ชนะการประมูล ตามทีโออาร์การประมูลข้าวซึ่งมีกำหนดเดดไลน์ 22 มิ.ย.นี้ ส่วนการดำเนินการทางคดีก็ต้องดำเนินการต่อไป จากการหารือครั้งนี้ผู้ชนะการประมูลข้าวทุกรายยืนยันว่าจะทำสัญญารับมอบข้าวต่อไม่ว่าบริษัทจะใช้สิทธิในการยึดหน่วงข้าวหรือไม่” รายงานข่าวระบุว่า ผลการประมูล ครั้งที่ 1/2563 มีผู้ชนะทั้งหมด 8 บริษัท รวมปริมาณ 147,298 ตัน มูลค่ารวม 1,559 ล้านบาท (กราฟิก) สำหรับภาพรวมราคาประมูลที่เสนอซื้อมีตั้งแต่ตันละ 8,278 บาทไปจนถึงราคาสูงสุด 13,421 บาทซึ่งถือว่าเป็นระดับราคาที่สูงมาก หากเทียบกับราคาตลาดปัจจุบัน โดยชนิดข้าวที่นำมาประมูลมีทั้งข้าวหอมจังหวัด ได้ราคาตันละ 13,421 บาท ข้าวเหนียว10% และข้าวขาว 5% ราคาตั้งแต่ 8,200-13,000 บาท ข้าวหอมมะลิ100% ตันละ 13,167 บาท ชั้น 2 และปลายข้าวขาว A1 เลิศ ตันละ 8,510-9,230 บาท นายมนต์ชัย รุ่งชาญชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือสิงห์โตทองกรุ๊ป กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทาง อคส.ได้เชิญให้เข้าร่วมประชุม แต่ไม่สามารถเดินทางไปร่วมได้ และได้แจ้ง อคส.ไปแล้วว่า บริษัทจะใช้สิทธิยึดหน่วงข้าวสารจนกว่าจะได้รับการชำระหนี้ ตามที่ได้เคยมีหนังสือถึง อคส.ไปก่อนหน้านี้ “ผู้ชนะการประมูลจะได้รับมอบข้าวที่เก็บในคลังของสิงห์โตทองก็ต่อเมื่อทาง อคส.เคลียร์หนี้สินให้กับบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยไม่สามารถระบุได้ว่าจะให้รับมอบได้เมื่อไร” สำหรับข้อกำหนดเรื่องการรับมอบข้าวตามทีโออาร์ประมูลกำหนดว่า ผู้ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินค่าสินค้าก่อนที่จะรับมอบและต้องรับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจากการรับมอบและขนย้ายแต่เพียงฝ่ายเดียว หากซื้อปริมาณไม่เกิน 10,000 ตัน ต้องรับมอบให้เสร็จภายใน 20 วันนับถัดจากวันทำสัญญา, หากซื้อ 10,000-20,000 ตัน ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันทำสัญญา และผู้ซื้อเกินกว่า 20,000 – 50,000 ตันภายใน 60 วันนับถัดจากวันทำสัญญา ซึ่งหากชำระเงินค่าข้าวแล้วรับมอบไม่ทันเวลาผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบค่าเก็บรักษาที่เหลือ และขนย้ายตามสัญญาโดยไม่มีค่าปรับ แต่หากชำระเงินไม่ครบและรับมอบไม่เสร็จต้องรับผิดชอบค่าปรับ และค่าเก็บรักษาตามปริมาณคงเหลือทั้งหมด โรงสี “สิงห์โตทอง” ค้านประมูลข้าวจำนำลอตสุดท้าย ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-479259
จำนวนผู้อ่าน: 2006
19 มิถุนายน 2020
photo : bangkokair.com วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA แจ้งเปิดให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศเพิ่มเติมอีก 4 เส้นทาง โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ได้แก่ เส้นทาง (ไป-กลับ) กรุงเทพฯ-สุโขทัย วันละ 1 เที่ยวบิน เส้นทาง (ไป-กลับ) กรุงเทพฯ-ลำปาง วันละ 1 เที่ยวบิน เส้นทาง (ไป-กลับ) กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วันละ 2 เที่ยวบิน เส้นทาง (ไป-กลับ) กรุงเทพฯ-ภูเก็ต วันละ 2 เที่ยวบิน บริษัทมีความจำเป็นต้องเลื่อนการเปิดให้บริการเที่ยวบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-สุโขทัย เป็นเริ่มวันที่ 6 มิถุนายน 2563 และเส้นทางกรุงเทพฯ-ภูเก็ต เริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากสนามบินสุโขทัย และสนามบินภูเก็ตยังไม่เปิดให้บริการด้านการบิน ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าเกี่ยวกับผลกระทบในการประกอบกิจการที่เป็นนัยสำคัญ บริษัทจะรายงานให้ทราบต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-471871
จำนวนผู้อ่าน: 2319
01 มิถุนายน 2020
เปิดเงื่อนไขการรับโอนเงินของ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็กแรกเกิด และคนพิการ รวมจำนวนกว่า 13 ล้านคน ตามนโยบายเยียวยา “กลุ่มเปราะบาง” ซึ่งจะเริ่มจ่ายเงินงวดแรกภายในเดือนนี้ สำหรับการช่วยเหลือดังกล่าว จะเป็นการอุดหนุนเงินจำนวนเดือนละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่พฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 โดยเพิ่มจำนวนเข้าไปในส่วนของเงินสนับสนุนหรือเบี้ยต่างๆ ที่ผู้มีสิทธิ์แต่ละกลุ่มได้รับอยู่แล้วทุกเดือน ดังนั้น ผู้สูงอายุ เด็กแรกเกิด และคนพิการ ที่มีชื่อและได้รับเงินจากรัฐบาลตามระบบเป็นประจำทุกเดือนอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแต่อย่างใด แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือใดๆ รัฐบาลขอให้ไปลงทะเบียนที่สำนักงานเขต หรือ อบต. เพื่อให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องหาทางช่วยเหลือต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากเดือนพฤษภาคมได้สิ้นสุดลงแล้ว การจ่ายเงินช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางจะยกยอดของเดือนพฤษภาคม จำนวน 1,000 มาบวกเข้ากับงวดเดือนมิถุนายน ดังต่อไปนี้ เงื่อนไขโอนเงินเยียวยา 3 กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจำนวนในระบบประมาณ 9.66 ล้านคน ที่ปกติจะได้รับ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” โอนเข้าบัญชีธนาคารอยู่แล้ว จำนวนตั้งแต่ 600 บาท สำหรับกลุ่มอายุ 60-69 ปี ไล่ไปจนถึง 1,000 บาท สำหรับกลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับโอนเพิ่มในเดือนมิถุนายนเป็น 2,600-3,000 บาท – โอนวันที่ 10 มิถุนายน 2563 จำนวน 2,600-3,000 บาท – โอนวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 จำนวน 1,600-2,000 บาท กลุ่มเด็กแรกเกิด กลุ่มเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 6 ปี จากครัวเรือนยากจน ซึ่งมีจำนวนราว 1.45 ล้านคน ตามปกติจะได้รับเงิน จากมาตรการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดอยู่แล้ว จำนวน 600 บาท ต่อเดือน ซึ่งกรมบัญชีกลางจะโอนเงินตามกำหนดการเดิมในวันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563 นี้ บวกกับเงินช่วยเหลือมาตรการ รวมเป็นจำนวน 2,600 บาท (600 + 1,000 + 1,000 บาท) – โอนวันที่ 10 มิถุนายน 2563 จำนวน 2,600 บาท – โอนวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 จำนวน 1,600 บาท กลุ่มคนพิการ กลุ่มคนพิการ ซึ่งมีรายชื่ออยู่ในระบบประมาณ 2 ล้านคน ตามปกติจะได้รับเบี้ยความพิการ จำนวน 800 บาทต่อเดือนอยู่แล้ว ซึ่งตามปฏิทินการจ่ายเงินของกรมบัญชีกลาง กำหนดงวดการจ่ายเงินไว้วันเดียวกับเบี้ยผู้สูงอายุ นั่นคือ วันที่ 10 มิถุนายน 2563 โดยกลุ่มผู้พิการจะได้รับเงินรวมเพิ่มเป็น 2,800 บาท – โอนวันที่ 10 มิถุนายน 2563 จำนวน 2,800 บาท – โอนวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 จำนวน 1,800 บาท กลุ่มเปราะบางที่ไม่ยังไม่เคยได้รับเงินมาก่อน สำหรับผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็กแรกเกิด ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับเงินหรือเบี้ยช่วยเหลือใดๆ จะยังไม่มีชื่อและข้อมูลในระบบ รัฐบาลขอให้ไปติดต่อที่สำนักงานเขต เทศบาล หรือสำนักงาน อบต. ตามภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย โดยกระทรวงการคลังและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระุบว่ากำลังหารือถึงแนวทางช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนเหล่านี้ให้ได้รับควาช่วยเหลือเช่นเดียวกัน กรมบัญชีกลาง แจงไม่มีการตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา ผ่าน e-Social Welfare โฆษก ศบค.แย้มมีลุ้น เดือนกรกฎาคมได้หยุด “ชดเชยสงกรานต์” เพิ่ม ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-471845
จำนวนผู้อ่าน: 2101
01 มิถุนายน 2020
พรรคพลังประชารัฐต่อสู้กันดุเดือด เด็ก “บิ๊กป้อม” เปิดเกมโชว์ 18 ใบลาออก บีบ “อุตตม-สนธิรัตน์” พ้นกรรมการบริหารพรรค วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เตรียมแถลงข่าวลาออกจากกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) เวลา 13.30 น. ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ อาคารปานศรี โดยมีกระแสข่าวว่า มีกรรมการบริหารพรรคจำนวน 18 คน ลาออกจากกก.บห.พรรค ภายหลังกลุ่มของนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ประธานวิปรัฐบาล และร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ระดมส.ส.ในสังกัดเพื่อวัดพลังว่าใครมีจำนวน ส.ส.ในมือมากกว่ากัน เมื่อวันที่ 31 พ.ค.63 ที่ผ่านมา หลังจากลงมติพ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ แหล่งข่าวระดับสูงพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงความขัดแย้งภายในพรรคว่า จุดแตกหักระหว่าง กลุ่มของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานยุทธศาสตร์พรรค ซึ่งกรรมการบริหารบางส่วนต้องการดันขึ้นเป็น “หัวหน้าพรรค” มีการเคลื่อนไหวให้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคทั้งชุดโดยให้กรรมการบริหารเกินกึ่งหนึ่ง “ลาออก” เพื่อให้ นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค รมว.คลัง และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค รมว.พลังงาน พ้นจากตำแหน่งโดยปริยาย แหล่งข่าวคนเดิมวิเคราะห์ว่า “การลาออกของกรรมการบริหารส่วนใหญ่ คงไม่ถึงขั้นพรรคแตก หรือ แยกออกไปตั้งพรรคใหม่ แต่หากกรรมการบริหารพรรค ยื่นใบลาออกเกินครึ่ง หรือ 18 คน จากทั้งหมด 34 คน ข้อบังคับพรรคกำหนดให้ต้องเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งจะเป็นการรีเฟรชพรรค แต่หัวหน้าพรรค หรือ เลขาธิการพรรคอาจจะเป็นคนเดิม หรือคนใหม่ ขึ้นอยู่กับการต่อรอง” นายวิเชียร ชวลิต นายทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ยังไม่มีการยื่นใบลาออกจากกก.บห.พรรคมายังตน แต่นายไพบูลย์ จะแถลงข่าวว่าได้รวมรวบใบลาออกจากกก.บห.พรรคได้แล้ว 18 คน ซึ่งตามข้อบังคับพรรค ถ้ากก.บห.พรรคลาออกเกินกึ่งหนึ่ง จะทำให้คณะกก.บห.พรรคพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งจะทำให้คณกรรมการกก.บห.พรรคที่เป็นอยู่เดิม จะเป็นผู้รักษาการเพื่อทำหน้าที่ของพรรคต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกคณะกก.บห.พรรคชุดใหม่ภายใน 45 วัน “การช่วงชิงทำอะไรโดยพละการจะขัดกับข้อบังคับพรรค จะเป็นปัญหา ไม่ชอบด้วยข้อบังคับข้อที่ 15 ทำให้เป็นโมฆะต่อ และจะเป็นข้อโต้แย้งกัน” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อบังคับข้อที่ 15 กรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งคณะพ้นจากตําแหน่งเมื่อ (1) ครบวาระการดํารงตําแหน่งตามข้อบังคับพรรคการเมือง (2) ความเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองของหัวหน้าพรรคการเมืองสิ้นสุดลง ตามข้อ 14 (3) กรรมการบริหารพรรคการเมืองว่างลงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ทั้งนี้ ข้อบังคับพรรคข้อที่ 14 ระบุว่า ความเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ขาดจากสมาชิกภาพ (4) อื่น ๆ ตามที่กฎหมายหรือข้อบังคับพรรคการเมือง เมื่อตําแหน่งกรรมการบริหารพรรคว่างลงตามวรรคหนึ่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองแต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมืองคนใดคนหนึ่งที่เหมาะสมเข้าทําหน้าที่แทนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งแทนตําแหน่งที่ว่างซึ่งต้องกระทําภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตําแหน่งว่างลง ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/politics/news-471859
จำนวนผู้อ่าน: 2318
01 มิถุนายน 2020
วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย สะสม 3,082 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม เสียชีวิตสะสม 57 ราย หายป่วยแล้ว 2,965 ราย ยังรักษาอยู่โรงพยาบาล 60 ราย ผู้ป่วยโควิดรายใหม่ เป็นหญิงไทยอายุ 43 ปี เดินทางกลับจากประเทศรัสเซีย เดินทางเข้าวันที่ 20 พ.ค. อยู่ในสถานที่ที่รัฐจัดหาให้ ตรวจเชื้อครั้งที่ 1 ไม่พบเชื้อ ตรวจครั้งที่ 2 พบเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ เข้ารับการรักษาใน รพ. จ.ชลบุรี แล้ว ถือว่า ในประเทศไม่พบเชื้อติดต่อกันมา 7 วันแล้ว โดยย้อนหลับ 7 วัน เป็นการพบผู้ป่วยในสถานกักกันที่เดินทางกลับจากต่างประเทศทั้งหมด “ถือว่าในประเทศไม่พบเชื้อติดต่อกันมา 7 วันแล้ว โดยย้อนหลัง 7 วัน เป็นการพบผู้ป่วยในสถานกักกันที่เดินทางกลับจากต่างประเทศทั้งหมด” นายแพทย์ทวีศิลป์กล่าว ต่อข้อสอบถามที่ว่า ศบค.ได้มีการหารือเรื่องวันหยุดชดเชยกรณีวันสงกรานต์ ที่เคยระบุก่อนหน้้ว่าจะชดเชยให้ภายหลัง หรือในเดือนกรกฎาคมนี้นั้น นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า เดือนกรกฎาคมต้องมาดูว่าจะมีหรือไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการผ่อนคลายระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ ถ้าเราสามารถผ่านเหตุการณ์ระยะที่ 3 ของการระบาดนี้ไปได้อย่างดี ทั้งนี้ต้องขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนในการดูแลสุขลักษณะการดูแลส่วนตัวของตัวเอง ซึ่งการ์ดจะต้องไม่ตกตั้งแต่ตอนต้น ซึ่งเราทำได้ดี แต่ ณ วันนี้หลายคนออกมาบอกว่า ใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้าน้อยลง ทำความสะอาดพื้นผิวน้อยลง อย่างชัดเจน เพราะฉนั้นนี่คือความเสี่ยงที่จะติดโรค และไม่เพียงแต่โรคโควิด โรคอื่นๆที่จะตามมา เช่นขณะนี้ที่มีโรคตามฤดูกาลเข้ามา อย่างใข้เลือดออกที่เกิดขึ้นแล้วในภาคอีสาน ซึ่งก็จะต้องมีการควบคุมโรคเช่นเดียวกัน “เพราะฉนั้นตรงนี้นำเรียนว่า ในเดือนกรกฎาคม ตามที่ครม.ได้บอกว่าอาจจะมีการหยุดชดเชยสงกรานต์ ที่เราไม่ได้หยุดกัน ก็อาจจะเกิดขึ้น ถ้าเดือนมิถุนายน เราผ่านกันไปได้ด้วยดี” โฆษก ศบค.กล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ภาพข่าวทุกครั้งเวลาเราเห็นการเริ่มต้นของระยะต่างๆก็จะฟ้องว่า มีเรื่องของการแออัดเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งก็มีข้อกังวลออกมา แต่วันนี้ถ้าเราพร้อมเพรียง เป็นไปได้ไหมวันนี้ เห็นแต่่ความเรียบร้อย เห็นแต่ภาพดีๆที่จะเกิดขึ้น แล้วเราก็จะมีอนาคตร่วมกันว่า กรกฎาคมนี้ จะไม่มีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และจะมีวันหยุดเพิ่มเติมของพวกเราขึ้นมา หรือกรกฎาคมนี้เราไม่มีเชื้อไวรัสโควิดในประเทศไทยทั้งหมด “นี่คือความหวังที่เราจะได้ทำร่วมกัน ตั้งแต่วันนี้และเดี๋ยวนี้ ต้องฝากพวกเราทุกคนร่วมกัน”นายแพทย์ทวีศิลป์กล่าวทิ้งท้าย ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-471858
จำนวนผู้อ่าน: 2055
01 มิถุนายน 2020
การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยวันนี้ (1 มิ.ย.) ดัชนี SET Index ปิดตลาดภาคเช้า อยู่ที่ระดับ 1,357.45 จุด ปรับขึ้น +14.60 จุด หรือคิดเป็น +1.09% มีมูลค่าซื้อขายรวมทั้งสิ้น 33,452 ล้านบาท โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 1,353.92-1,359.52 จุดตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนี SET50 ปรับขึ้น +9.59 จุด หรือ +1.07% อยู่ที่ 905.60 จุด โดยมีมูลค่าซื้อขายรวม 19,987 ล้านบาท (คิดเป็นราว 59.75% ของ SET) 10 อันดับหุ้นที่มีมูลค่าซื้อ-ขายโดดเด่นที่สุดช่วงเช้าที่ผ่านมา 1. CPALL ซื้อขาย 1,595.63 ล้านบาท ราคาหุ้น +0.50 (+0.71%) 2. SUPER ซื้อขาย 1,455.42 ล้านบาท ราคาหุ้น +0.10 (+12.35%) 3. KBANK ซื้อขาย 1,269.05 ล้านบาท ราคาหุ้น +2.50 (+2.60%) 4. PTT ซื้อขาย 1,047.49 ล้านบาท ราคาหุ้น +0.75 (+2.11%) 5. BANPU ซื้อขาย 998.25 ล้านบาท ราคาหุ้น +0.20 (+3.20%) 6. BBL ซื้อขาย 947.36 ล้านบาท ราคาหุ้น +4.00 (+3.67%) 7. SCB ซื้อขาย 902.55 ล้านบาท ราคาหุ้น +1.50 (+2.03%) 8. STA ซื้อขาย 822.49 ล้านบาท ราคาหุ้น +1.50 (+5.66%) 9. AOT ซื้อขาย 812.54 ล้านบาท ราคาหุ้น +0.25 (+0.40%) 10. TASCO ซื้อขาย 781.66 ล้านบาท ราคาหุ้น +1.50 (+6.82%) ส่วนตลาด mai ปรับขึ้น +3.54 จุด หรือ +1.24% ในทิศทางเดียวกัน อยู่ที่ระดับ 288.41 จุด มูลค่าซื้อขาย 835.68 ล้านบาท ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-471812
จำนวนผู้อ่าน: 1999
01 มิถุนายน 2020
ทีเอ็มบี เดินหน้าสนับสนุน SME ตั้งรับเชิงรุก ก้าวข้ามวิกฤต COVID-19 รับมือการก้าวสู่ New Normal ส่งโซลูชันทางการเงิน SME Business Solutions เครื่องมือช่วยเหลือธุรกิจ ตอบโจทย์การลดต้นทุนแท้จริง ทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ผ่านการทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งหมด สะดวก ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ปลอดภัยไม่ต้องเดินทางไปสาขา เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น นายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า ธุรกิจ SME มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะถือเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนมากที่สุดกว่า 3 ล้านราย และเป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ที่สุดในสัดส่วนสูงถึง 82% ของแรงงานทั้งหมด กระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME มีผลกระทบโดยตรงต่อการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือนจำนวนมาก ดังนั้น หากสามารถสนับสนุนให้ SME เดินหน้าฝ่าสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ไปได้อย่างแข็งแกร่ง ก็จะส่งผลดีต่อแรงงานอีกหลายล้านชีวิต รวมทั้งระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่ง ทีเอ็มบี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ SME และพัฒนาโซลูชันทางการเงินมากมาย ให้ตอบโจทย์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ SMEสามารถไปต่อได้ “เพื่อรับมือกับ New Normal นี้ สำหรับ SME ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเตรียมความพร้อมใน 3 เรื่องสำคัญ นั่นคือ การเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ การเพิ่มช่องทางการขายใหม่ และสุดท้ายคือการลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้ได้มากที่สุด ทีเอ็มบี จึงเสนอ SME Business Solutions เครื่องมือที่จะช่วย SME ลดต้นทุนอย่างแท้จริง โดยโซลูชันเหล่านี้เป็นการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่าย ยังประหยัดเวลาการเดินทางไปสาขา เพราะ สามารถทำได้ ทุกที่ ทุกเวลา ได้อย่างสะดวกปลอดภัย อีกทั้งยังมีข้อมูลธุรกรรมมาใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมของผู้คนในวิถี New Normal” นายเสนธิปกล่าว SME Business Solutions มีทั้งบริการด้านการจ่ายเงินและการรับเงิน ผ่าน บัญชีธุรกิจ SME One Bank โดยในด้านการจ่ายเงิน ลูกค้าธุรกิจ SME สามารถทำธุรกรรมได้ฟรี ผ่าน BIZ TOUCH โมบายแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงินหรือชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้คู่ค้า การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ หรือ การจ่ายเงินเดือนพนักงาน (Smart Payroll) โดยสามารถโอนได้ในประเทศสูงสุดถึง 5 ล้านบาทต่อวัน ส่วนด้านการรับเงิน ลูกค้า SME สามารถนำฝากเช็คข้ามจังหวัด ข้ามธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม และยังมี แอปพลิเคชัน Smart Shop รองรับธุรกิจที่มีหน้าร้านให้สามารถรับเงินผ่าน QR CODE โดยไม่ต้องจับเงินสด รู้ทันทีเมื่อมีเงินเข้าด้วยการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ และสามารถเรียกดูรายงานยอดขายรายวันหรือรายเดือน เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และวางแผนการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และอีกบริการเพื่อลูกค้า SME ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ คือบริการโอนเงินไปต่างประเทศ ที่สามารถโอนได้ถึง 14 สกุลเงินได้ทั่วโลก ผ่าน BIZ TOUCH โมบายแอปพลิเคชัน ทำได้ ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถโอนได้สูงสุด 1,500,000 บาทต่อวัน และในช่วงสถานการณ์ COVID-19 นี้ ทีเอ็มบี มีโปรโมชั่นที่ยิ่งช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้อีก อาทิ เช่น ฟรี! ประกัน COVID-19 เพื่อคุ้มครองพนักงานสูงสุด 150,000 บาท เมื่อสมัครใช้บริการ Smart Payroll เพื่อจ่ายเงินเดือนพนักงานบนช่องทางดิจิทัล ผ่านช่องทาง BIZ TOUCH โมบายแอปพลิเคชัน หรือ Internet Banking – Business CLICK ตั้งแต่ วันนี้ – 30 มิถุนายน 2563 ฟรี! ค่าบริการโอนเงินไปต่างประเทศ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผ่าน BIZ TOUCH โมบายแอปพลิเคชัน โดย ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2563 ลูกค้า SME สามารถสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME 02-828-2828 ตั้งแต่วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 8:00 – 20:00 ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดธนาคาร หรือติดต่อผู้จัดการดูแลธุรกิจท่าน “ทีเอ็มบี ในฐานะผู้นำแนวคิด Make REAL Change เชื่อว่าการร่วมมือและช่วยเหลือกัน จะช่วยให้ทุกคนผ่านวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ไปได้ ซึ่งธนาคารอยากช่วยให้ SME มีการตั้งรับเชิงรุก พร้อมปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจภายใต้ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัว และเราจะเป็นพันธมิตรที่คอยสนับสนุนให้ SME ก้าวข้ามสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ พร้อมฟื้นตัวโดยเร็ว เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นต่อไป” นายเสนธิปกล่าวทิ้งท้าย ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-471826
จำนวนผู้อ่าน: 1993
01 มิถุนายน 2020
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย สะสม 3,082 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม เสียชีวิตสะสม 57 ราย หายป่วยแล้ว 2,965 ราย ยังรักษาอยู่โรงพยาบาล 60 ราย ผู้ป่วยโควิดรายใหม่ เป็นหญิงไทยอายุ 43 ปี เดินทางกลับจากประเทศรัสเซีย เดินทางเข้าวันที่ 20 พ.ค. อยู่ในสถานที่ที่รัฐจัดหาให้ ตรวจเชื้อครั้งที่ 1 ไม่พบเชื้อ ตรวจครั้งที่ 2 พบเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ เข้ารับการรักษาใน รพ. จ.ชลบุรี แล้ว ถือว่า ในประเทศไม่พบเชื้อติดต่อกันมา 7 วันแล้ว โดยย้อนหลับ 7 วัน เป็นการพบผู้ป่วยในสถานกักกันที่เดินทางกลับจากต่างประเทศทั้งหมด สำหรับผู้ป่วยโควิดรายใหม่ เป็นหญิงไทยอายุ 43 ปี เดินทางกลับจากประเทศรัสเซีย เดินทางเข้าวันที่ 20 พ.ค. อยู่ในสถานที่ที่รัฐจัดหาให้ ตรวจเชื้อครั้งที่ 1 ไม่พบเชื้อ ตรวจครั้งที่ 2 พบเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ เข้ารับการรักษาใน รพ. จ.ชลบุรี แล้ว “ถือว่าในประเทศไม่พบเชื้อติดต่อกันมา 7 วันแล้ว โดยย้อนหลัง 7 วัน เป็นการพบผู้ป่วยในสถานกักกันที่เดินทางกลับจากต่างประเทศทั้งหมด” นายแพทย์ทวีศิลป์กล่าว ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-471790
จำนวนผู้อ่าน: 2067
01 มิถุนายน 2020
เตือนเกษตรกรที่ไม่ได้รับสิทธิ์จากมาตรการเยียวยาเกษตรกร สามารถยื่นอุทธรณ์สิทธิ์ได้ถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 นี้เท่านั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการคัดกรอง ซึ่งคาดว่าเป็นกลุ่มสุดท้ายจำนวน 8.25 แสนราย ให้กับทาง ธ.ก.ส. แล้ว ซึ่งนั่นหมายความว่าระบบได้คัดกรองรายชื่อเกษตรกรทั้งหมดราว 6.7 ล้านรายแล้ว ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการรับสิทธิ์ได้ทาง เว็บไซต์ สิทธิเยียวยาเกษตรกร.com และหากพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์คัดกรองยังสามารถยื่นอุทธรณ์สิทธิ์ได้ โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนไปติดต่อที่ 8 หน่วยงานที่กำหนด พร้อมกรอกแบบฟอร์มอุทธรณ์ ภายในวันที่ 5 มิ.ย. นี้ วิธีอุทธรณ์ “เยียวยาเกษตรกร” สำหรับผู้ไม่ได้รับเงิน 5 พันบาท ธ.ก.ส. เตือนระวัง SMS หลอกลวง “www.เยียวยาเกษตรกร.com” 8 หน่วยงานรับเรื่องอุทธรณ์ เยียวยาเกษตรกร สำหรับ 8 หน่วยงานที่สามารถไปติดต่อเพื่อยื่นอุทธรณ์สิทธิ์เยียวยา ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอและจังหวัด สำนักงานประมงอำเภอและจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์อำเภอและจังหวัด สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขตหรือศูนย์เครือข่ายใกล้บ้าน เขตบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย 1-8 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายภาคที่ 1-4 สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด การยางแห่งประเทศไทย (จังหวัด/สาขา) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ก่อนหน้านี้ ธ.ก.ส. ยังได้แจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ ข้อความ SMS หลอกลวงของมิจฉาชีพ ในลักษณะแจ้งว่า ธ.ก.ส.โอนเงินผิด และให้โอนเงินคืนไปยังเลขที่บัญชีที่กำหนด หรือขอรหัสต่างๆ เช่น เลขบัตรประชาชน หรือ รหัสบัตร ATM ซึ่งทางธนาคารยืนยันว่าไม่มีนโยบายส่งข้อความถึงผู้ลงทะเบียนโดยเด็ดขาด สำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์ ธ.ก.ส. จะทยอยโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารที่แจ้งไว้ โดยกลุ่มล่าสุดจะได้รับเงินรวมเป็นจำนวน 10,000 บาท ซึ่งเป็นเงินเยียวยาของเดือน พฤษภาคม และ มิถุนายน พร้อมกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-471763
จำนวนผู้อ่าน: 2052
01 มิถุนายน 2020
Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้มีการหารือกับนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ฐานะรองประธานรักษาการกรรมการ ผู้อำนายการใหญ่ และบอร์ดใหม่ เรื่องความคืบหน้าแผนการฟื้นฟูการบินไทย โดยทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแผน และการเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งรวมถึงธนาคารกรุงไทย โดยการบินไทยจะสามารถดูแลสภาพคล่อง และเดินหน้าต่อไปได้ “ส่วนกรณีที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หักเงินจากบัญชีลูกค้าที่จ่ายชำระหนี้ให้กับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ที่ให้สิทธิ์การบินไทย พักชำระหนี้ได้ทันทีนั้น ผมยังไม่ทราบรายละเอียด ท่านเพียงรายงานในภาพรวม ว่าตอนนี้ยังไม่มีปัญหาอะไร การบินไทยสามารถที่จะเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งสภาพคล่องจะเพียงพอหรือไม่นั้น ท่านก็บอกว่าสามารถดูแลได้” นายอุตตมกล่าว ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-471753
จำนวนผู้อ่าน: 1943
01 มิถุนายน 2020
เกษตรกรจำนวนราว 8.25 แสนราย เตรียมเช็คสถานะโอนเงินผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com ได้ตั้งแต่วันนี้ หลัง ธ.ก.ส. ยืนยันว่าจะเร่งโอน 10,000 บาทให้ภายในวันที่ 1-2 มิ.ย. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (29 พ.ค.) กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งมอบรายชื่อเกษตรกรจำนวนประมาณ 825,000 ราย ซึ่งคาดว่าเป็นรายชื่อกลุ่มสุดท้ายที่ผ่านการตรวจสอบของกระทรวงฯ มายัง ธ.ก.ส. เป็นที่เรียบร้อย นายกษาปณ์ ระบุว่า ธ.ก.ส. จะรีบดำเนินการโอนเงินให้เกษตรกรกลุ่มนี้ แต่เนื่องจากได้รับรายชื่อในช่วงใกล้สิ้นเดือนพฤษภาคม จึงคาดว่าจะสามารถโอนเงินให้เกษตรกรกลุ่มดังกล่าวได้ภายในวันที่ 1-2 มิถุนายน 2563 โดยเกษตรกรกลุ่มนี้จะได้รับเงิน 2 รอบของเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน รวมเป็น 10,000 บาท พร้อมกัน คัดกรองครบแล้ว 2 กลุ่ม ทั้งนี้ เกษตรกรจำนวนราว 8.25 แสนรายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรกรกลุ่มที่ 2 จำนวน 1.57 ล้านราย ซึ่งปรับปรุงหรือขึ้นทะเบียนเกษตรกร ระหว่างวันที่ 1-15 พ.ค. 2563 ซึ่งบางส่วน ธ.ก.ส. ได้เริ่มโอนเงินไปให้แล้ว เช่นเดียวกับ เกษตรกรอีกประมาณ 6.7 ล้านราย (กลุ่มที่ 1) ซึ่งปรับปรุงทะเบียนตั้งแต่ก่อนวันที่ 30 เม.ย. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ เกษตรกรที่ตรวจสอบสถานะผ่านเว็บไซต์ สิทธิเยียวยาเกษตรกร.com แล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์คัดกรองยังสามารถยื่นอุทธรณ์สิทธิ์ได้ โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนไปติดต่อที่ 8 หน่วยงานที่กำหนด ภายในวันที่ 5 มิ.ย. นี้ วิธีอุทธรณ์ “เยียวยาเกษตรกร” สำหรับผู้ไม่ได้รับเงิน 5 พันบาท ขอบคุฯข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-471744
จำนวนผู้อ่าน: 2017
01 มิถุนายน 2020
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี เปิดเผยแนวโน้มตลาดหุ้นไทยเช้าวันที่ 1 มิ.ย.63 ว่า ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นกลาง โดยคาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ SET (SET Index) จะแกว่งตัวทดสอบ 1,330 – 1,350 จุด แม้ว่าดัชนีจะถูกกดดันจากความกังวลการประท้วงที่ลุกลามเพิ่มขึ้นในสหรัฐ และส่งผลให้หลายเมืองใหญ่ต้องประกาศเคอร์ฟิว รวมถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนที่เพิ่มขึ้น หลัง สหรัฐยกเลิกสถานะพิเศษของฮ่องกงเพื่อตอบโต้จีนที่ใช้กฏหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ในฮ่องกง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อทิศทางการลงทุนในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัจจัยบวกภายในประเทศจะช่วยหนุนให้ดัชนีสลับรีบาวด์ขึ้น หลังสภาฯ ผ่าน พ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นเหนือ 35 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซของสหรัฐลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นั้นจะเป็นบวกต่อกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ด้านกลยุทธ์การลงทุน แนะนำเลือกลงทุนรายตัว (Selective Buy) ในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ PTT, PTTEP, TOP, PTTGC, IRPC, SPRC และ IVL อานิสงส์ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้น ถัดมาแนะนำ MINT, CENTEL, ERW และ AOT คาดหวังรัฐออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังคลายล็อกดาวน์ และกลุ่มที่คาดว่างบไตรมาส 2/63 จะเติบโตขึ้น ได้แก่ CKP, TASCO, STA และ RS ส่วนหุ้นเด่นแนะนำวันนี้ ได้แก่ PTTGC (ราคาปิดล่าสุด 43.00 บาท แนะนำซื้อ/เป้า 50.00 บาท) เชื่อว่าผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ขณะที่การคลายล็อกดาวน์จะช่วยเพิ่มดีมานด์ทั้งฝั่งปิโตรฯ และโรงกลั่น และยังได้เปรียบต้นทุนเพราะ PTTGC ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบราคาจะปรับขึ้นช้ากว่าคู่แข่งที่ใช้นาฟทาซึ่งราคาจะปรับขึ้นตามราคาน้ำมันทันที ถัดมา JMART (ปิด 8.65 บาท ซื้อ/เป้า IAA consensus 9.40 บาท) โดยประเมินว่าตลาดมองข้ามผลประกอบการที่คาดว่าจะอ่อนแอในไตรมาส 2 ไปแล้ว และคาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ส่วนระยะสั้นสัปดาห์นี้ยังได้บรรยากาศเชิงบวกจากภาครัฐขยายเวลาปิดห้างเป็น 3 ทุ่ม หนุนให้ผู้เข้าใช้บริการเพิ่มขึ้น ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-471740
จำนวนผู้อ่าน: 1982
01 มิถุนายน 2020
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเตรียมออกกองทุนดูแลผู้ประกอบการรายย่อย ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ หลังจากที่ผ่านมาได้มีการออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ออกมาเพื่อต้องการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบได้เร็ว ซึ่งยังมีผู้ประการรายย่อยบางส่วนยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ “สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบในหลักการสำหรับมาตรการเสริมเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนแล้ว โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังเร่งทำอยู่ ซึ่งคาดว่าจะใช้วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นล้านบาท โดยหากแล้วเสร็จจะเสนอเข้าสู่ ครม. ให้เร็วที่สุด” นายอุตตม กล่าว ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารออมสินก็ได้ออกซอฟต์โลนวงเงิน 1.5 แสนล้านบาท เพื่อดูแลเอสเอ็มอี ทราบว่าสามารถทยอยอนุมัติสินเชื่อแล้ว ซึ่งอาจจะมีข้อเรียกร้องจากภาคการท่องเที่ยวที่มีปัญหาไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ กระทรวงการคลังก็มีการรับฟังและนำกับไปพิจารณา ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-471732
จำนวนผู้อ่าน: 1945
01 มิถุนายน 2020
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากที่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ทั้ง 3 ฉบับผ่านการอภิปรายจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ระยะต่อไปกระทรวงการคลังจะเตรียมแผนดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นเข้าไปดูแล และสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ ทั้งเกษตรอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน และการดูแลหนี้นอกระบบ ซึ่งจะมีการส่งทีม “เราไม่ทิ้งกัน” เข้าไปดูแลในพื้นที่ตามที่ได้จัดตั้งขึ้น ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสัปดาห์หน้า “ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เข้ามาเป็นหัวหอกในการดูแล ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมทีมเราไม่ทิ้งกัน โดยในสัปดาห์นี้จะมีการลงพื้นที่สำรวจมาตรการทางการเงิน เพื่อเตรียมออกสินเชื่อรองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ นอกเหนือจากสินเชื่อใหม่ที่เคยออกมา” นายอุตตมกล่าว สำหรับมาตรการที่จะออกมาจะมีทั้งรูปแบบมาตรการทางการเงิน ผ่านการออกสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งจะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไปได้ นอกจากนี้ จะมีการหารือร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เนื่องจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS8 ใช้เต็มวงเงินแล้ว จะต้องพิจารณาออกโครงการเพื่อมาดูแลต่อไป ทั้งนี้ จะต้องมีมาตรการที่ไม่ใช่ทางการเงินประกอบด้วย โดยจะสร้างการจ้างงาน ให้สอดรับกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับเด็กจบใหม่และคนที่ตกงาน เช่น จะร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดูแลบัณฑิตจบใหม่ที่ตกงาน ซึ่งกระทรวงการคลังจะรับหน้าที่ให้ทีมเราไม่ทิ้งกันดูแลในภาพใหญ่ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-471699
จำนวนผู้อ่าน: 1949
01 มิถุนายน 2020
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่ม บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค บริษัทชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ของ “นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ” เปิดโครงการสมัครใจลาออก พร้อมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย+เงินช่วยเหลือตามระเบียบบริษัท+เงินช่วยเหลือพิเศษ รวมสูงสุด 18.3 เดือน โดยเปิดให้พนักงานสมัครเข้าโครงการตั้งแต่ 26 พ.ค.-16 มิ.ย. 2563 และพนักงานจะทำงานวันสุดท้าย 20 มิ.ย. 2563 โดยให้เหตุผลว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รุนแรง บริษัทมีความจำเป็นต้องปรับสมดุลจำนวนพนักงานของบริษัท ให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตตามความต้องการของลูกค้า จึงได้เปิดโครงการสมัครใจลาออก ผู้ที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ต้องเป็นพนักงานประจำทุกระดับของบริษัทในกรุ๊ปเท่านั้น ทั้งนี้ กลุ่ม บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค ประกอบด้วย บริษัทไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค จำกัด บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค บางปะกง จำกัด พนักงานที่ได้รับการพิจารณาเข้าโครงการจะได้รับรับเงินชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษดังนี้ – อายุครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 30 วัน เงินช่วยเหลือพิเศษ 30 วัน รวมเป็น 60 วัน – ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปไม่ครบ 3 ปี ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 90 วัน เงินช่วยเหลือพิเศษ 30 วัน รวมเป็น 120 วัน – ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปไม่ครบ 6 ปี ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 180 วัน เงินช่วยเหลือ 30 วันพิเศษ รวมเป็น 210 วัน – ตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 240 วัน เงินช่วยเหลือพิเศษ 30 วัน รวมเป็น 270 วัน – ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปไม่ครบ 15 ปี ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 300 วัน เงินช่วยเหลือพิเศษ 30 วัน รวมเป็น 330 วัน – ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปไม่ครบ 20 ปี ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 300 วัน เงินช่วยเหลือตามระเบียบบริษัท 30 วัน เงินช่วยเหลือพิเศษ 30 วัน รวมเป็น 360 วัน – ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปไม่ครบ 25 ปี ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 400 วัน เงินช่วยเหลือตามระเบียบบริษัท 60 วัน เงินช่วยเหลือพิเศษ 30 วัน รวมเป็น 490 วัน – ตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปไม่ครบ 30 ปี ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 400 วัน เงินช่วยเหลือตามระเบียบบริษัท 90 วัน เงินช่วยเหลือพิเศษ 30 วัน รวมเป็น 520 วัน – ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย 400 วัน เงินช่วยเหลือตามระเบียบบริษัท 120 วัน เงินช่วยเหลือพิเศษ 30 วัน รวมเป็น 550 วัน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/motoring/news-471691
จำนวนผู้อ่าน: 2121
01 มิถุนายน 2020
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า สายการบินอีซี่เจ็ต (EasyJet) ของอังกฤษเปิดเผยว่า บริษัทเตรียมปรับลดพนักงาน 30% หรือราว 4,500 ตำแหน่ง หลังจากที่อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกได้ผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าสายการบินจะเริ่มกลับมาให้บริการอีกครั้งในวันที่ 15 มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ อีซี่เจ็ตระบุว่าบริษัทจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากระดับการเดินทางโดยสารเครื่องบินลดลงอย่างมาก โดยบริษัทได้หยุดให้บริการมาตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางที่รัฐบาลบังคับใช้เพื่อควบคุมโรคระบาด และคาดว่ายังจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยจนถึงปี 2023 ระดับการเดินทางจึงจะกลับมาเทียบเท่ากับปี 2019 ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นปี 2020 สายการบินได้จ้างพนักงานเพิ่มราว 15,000 คน ส่งผลให้บริษัทต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาลในช่วงที่ขาดรายได้จากโควิด-19 โดยในไม่กี่วันที่จะถึงนี้ อีซี่เจ็ตจะเริ่มกระบวนการชี้แจงและให้คำปรึกษาแก่พนักงานเกี่ยวกับแผนการปรับลดตำแหน่งงานครั้งนี้ โยฮัน ลันด์เกรน ซีอีโอของอีซี่เจ็ตระบุว่าบริษัทกำลังวางแผนลดขนาดฝูงบินและลดต้นทุนด้วย “เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายและฐานธุรกิจของเรา รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น” พร้อมทั้งระบุว่า “เราตระหนักดีว่านี่คือช่วงเวลาที่ยากลำบากและเราต้องพิจารณาสิ่งที่ยากในการตัดสินใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อพนักงานของเรา แต่เราต้องการปกป้องงานไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระยะยาว” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/world-news/news-470846
จำนวนผู้อ่าน: 2062
29 พฤษภาคม 2020
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอ้างอิงการเปิดเผยข้อมูลจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (เอ็นเอสเอ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (29 พ.ค. 2020) ซึ่งระบุว่า กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับหน่วยข่าวกรองทางการทหารของรัสเซียได้ทำการเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ผ่านช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ “ลีนุกซ์” โดยทางเอ็นเอสเอ เปิดเผยว่า กลุ่มแฮกเกอร์นามว่า “แซนด์วอร์ม กรุ๊ป” ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ภายใต้หน่วยงานด้านการข่าวของกองทัพรัสเซีย (จีอาร์ยู) ได้ทำการเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ผ่านช่องโหว่ของโปรแกรม Exim ซึ่งเป็นโปรแกรมส่งอีเมล์ของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ นับตั้งแต่เมื่อ ส.ค. 2019 อย่างไรก็ตามทางเอ็นเอสเอไม่ได้ระบุว่าแฮกเกอร์กลุ่มนี้ได้เจาะเข้าระบบของหน่วยงานใดบ้าง โดย “แซนด์วอร์ม กรุ๊ป” เป็นกลุ่มทีอยู่เบื้องหลังการโจมตีระบบเครือข่ายกริดไฟฟ้าและสาธารณูปโภคพื้นฐานของยูเครน เมื่อปี 2015 นอกจากนี้ทางหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐยังกล่าวหาอีกว่าแฮกเกอร์กลุ่มนี้เป็นผู้อยู่เบื้องหลังไวรัส Notepetya ซึ่งได้ทำการโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทหลายแห่งของสหรัฐอเมริกา เช่น “เมอร์ค” บริษัทผู้ผลิตยา ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/world-news/news-470827
จำนวนผู้อ่าน: 1984
29 พฤษภาคม 2020
Photo by INDRANIL MUKHERJEE / AFP) เตรียมเปิดหาดพัทยา-เกาะล้าน วันที่ 1 มิถุนายน นี้ เข้มงวดรักษาระยะห่าง-งดรวมตัวมั่วสุม วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ผ้สื่อข่าวรายงานว่า นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป บริเวณพื้นที่ชายหาด จะเปิดให้ประชาชนให้กับนักท่องเที่ยว ได้เข้าไปใช้พื้นที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นน้ำอาบแดด การใช้บริการเตียงผ้าใบ แต่รูปแบบในการให้บริการจะเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการจัดระยะห่างทางสังคม เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัส โดยเตียงผ้าใบจะต้องมีการเว้นระยะห่างตามมาตรฐาน ที่ได้มีการกำหนดไว้ และจะทำให้ผ้าใบมีจำนวนน้อยลง ในการนี้ผู้ประกอบการก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เมืองพัทยาและผู้ประกอบการได้มีการสร้างรูปแบบการให้บริการของธุรกิจแต่ละประเภท เช่นเดียวกับเรื่องห้างสรรพสินค้าในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเป็นการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชัน ไทยชนะ โดยจะมีการเช็คอิน เช็คเอาท์ ส่วนของธุรกิจอื่น ๆ เช่นร้านอาหารหรือว่าสถานที่ให้บริการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สถานบันเทิง จะมีวิธีการให้บริการตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขส่วนกลางได้มีการประกาศ ทั้งนี้ จะให้ความมั่นใจของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากยิ่งขึ้น สำหรับธุรกิจการนวดสปา จะมีการออกแบบวิธีการให้บริการของตัวเอง จะเน้นย้ำให้เน้นด้านความปลอดภัยเป็นที่สุด โดยไม่มีการสัมผัสโดยตรง เพื่อที่จะทำให้ลดการแพร่ระบาด โดยหลังจากที่มีการผ่อนปรนให้ใช้พื้นที่ชายหาดแล้ว ทางเมืองพัทยาจะคอยสังเกตุพฤติกรรม ไม่ให้มีการรวมตัวมั่วสุมกัน และการเว้นระยะห่างทางสังคนในพื้นที่ชายหาดด้วย ส่วนเกาะล้าน จะเปิดให้กับประชาชนเริ่มเดินทางไปท่องเที่ยวได้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2563 เช่นเดียวกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-470754
จำนวนผู้อ่าน: 2115
29 พฤษภาคม 2020
REUTERS/Jonathan Ernst สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดี เกี่ยวกับการกำกับดูแลบริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติในกฎหมายเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย โดยทรัมป์ระบุว่าเพื่อเป็นการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ “ทวิตเตอร์” บริษัทโซเชียลมีเดียรายใหญ่แสดงแถบแจ้งเตือน “ข้อมูลเท็จ” บนข้อความในทวิตเตอร์ส่วนบุคคลของทรัมป์ คำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีดังกล่าวพุ่งเป้าไปที่การแก้ไขกฎหมายความเหมาะสมด้านการสื่อสาร (Communications Decency Act) ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองทางกฎหมายบางประการต่อบริษัทโซเชียลมีเดีย โดยในมาตรา 230 ที่ระบุว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่โพสต์โดยผู้ใช้งาน และสามารถปิดกั้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมอย่างเนื้อหาลามกอนาจาร การล่วงละเมิด และความรุนแรงได้ คำสั่งของประธานาธิบดีทรัมป์เรียกร้องให้มีการทบทวนมาตรา 230 ดังกล่าว โดยชี้ว่ากฎหมายไม่ได้ครอบคลุมการแก้ไขเนื้อหาของผู้ใช้งานโดยบริษัทโซเชียลมีเดีย รวมถึงการปิดกั้นหรือลบโพสต์ด้วยเหตุผลอื่นนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ ประธานาธิบดีทรัมป์ยังเรียกร้องให้รัฐสภาสหรัฐพิจารณาทบทวนเพื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงมาตรา 230 ให้ชัดเจน โดยยกเลิกความคุ้มครองทางกฎหมายในประเด็นดังกล่าวต่อบริษัทโซเชียลมีเดีย โดยประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทเหล่านี้มี “อำนาจไร้ขีดจำกัด” นอกจากนี้ คำสั่งพิเศษนี้ระบุให้ คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐ (เอฟซีซี) เป็นผู้พิจารณาว่า การดำเนินการปิดกั้นหรือลบเนื้อหาใดของบริษัทโซเชียลมีเดียที่เป็นการกลั่นแกล้ง ไม่มีเหตุผล หรือไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของผู้ให้บริการ รวมทั้ง รัฐบาลสหรัฐจะมีการทบทวนว่าแพลตฟอร์มเหล่านั้นมีการจำกัดมุมมองที่หลากหลายหรือไม่ และจะมีการจัดตั้ง “ช่องทางร้องเรียนอคติทางเทคโนโลยี” เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถร้องเรียนการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมของบริษัทโซเชียลมีเดียเข้ามายังทำเนียบขาวโดยตรงได้ด้วย อย่างไรก็ตาม คำสั่งพิเศษดังกล่าวต้องมีการพิจารณาว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระบุว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการของสหรัฐต้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาดำเนินการตามคำสั่งพิเศษนี้ ในการเปลี่ยนแปลงหรือตีความกฎหมายเกี่ยวกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ ก่อนหน้านี้ ทวิตเตอร์ได้แสดงข้อความแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ตรวจสอบข้อเท็จจริงบนข้อความของทรัมป์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งผ่านทางไปรษณีย์ ที่ทรัมป์โจมตีว่าสามารถก่อให้เกิดการทุจริตได้ง่าย ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับประธานาธิบดีทรัมป์ ที่ระบุว่าทวิตเตอร์กำลังแทรกแซงการเลือกตั้ง และขู่ว่าจะดำเนินการปิดบริษัทโซเชียลมีเดียดังกล่าวก่อนหน้านี้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/world-news/news-470798
จำนวนผู้อ่าน: 1909
29 พฤษภาคม 2020
ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,325-1,345 จุด รอความชัดเจนทั้ง “ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐ-การพิจารณาคลายมาตรการ Lockdown เฟส 3 ของไทย” จับตาแถลงการณ์ทรัมป์คืนวันนี้ หวั่นตึงเครียดเพิ่มหลังสหรัฐเตรียมดำเนินคดี CFO ของ Huawei ที่ได้รับการส่งตัวจากแคนาดา ด้าน”ร้านนวดไทย-โรงภาพยนตร์-ร้านอาหารนั่งได้โต๊ะละหลายคน” มีลุ้นเปิดเพิ่ม พร้อมการปรับเวลาเคอร์ฟิวเป็น 5 ทุ่มถึงตี 3 บริษัท หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รายงานแนวโน้มตลาดหุ้นไทยเช้าวันศุกร์ที่ 29 พ.ค.63 ว่า ดัชนี SET INDEX มีแนวโน้มแกว่ง Sideways ในกรอบ 1,325-1,345 จุด โดยมีปัจจัยทั้งจากภายในและภายนอกที่กำลังรอความชัดเจน ได้แก่ 1.ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐ และ 2.การพิจารณาคลายมาตรการ Lockdown เฟสที่ 3 ของไทย สำหรับความขัดแย้งจีนและสหรัฐวานนี้จีนผ่านกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของฮ่องกง จึงน่าจับตาการแถลงการณ์ของ ปธน.ทรัมป์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในคืนวันนี้ ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งสหรัฐเตรียมดำเนินคดี CFO ของ Huawei ที่ได้รับการส่งตัวจากแคนาดา จะเข้ามาเป็นประเด็นความตึงเครียดเพิ่มเติมได้อีก ส่วนการพิจารณาคลายมาตรการ Lockdown เฟสที่ 3 วันนี้ต้องติดตามผลพิจารณาของไทยจากที่ประชุม ศบค. โดยกลุ่มธุรกิจที่มีลุ้นได้เปิดเพิ่มเติม ได้แก่ ร้านนวดไทยและโรงภาพยนตร์ รวมถึงการอนุญาตให้เดินทางข้ามจังหวัด ร้านอาหารให้นั่งได้โต๊ะละหลายคน และการปรับเวลาเคอร์ฟิวเป็น 5 ทุ่มถึงตี 3 นอกจากนี้มีการปรับดัชนี MSCI มีผล ณ ราคาปิดวันนี้ ประกอบด้วย MSCI Global Standard Indexes: เข้า: AWC, BAM, KTC ออก: BANPU MSCI Global Small Cap Indexes: เข้า: BANPU ออก ANAN, BEAUTY, BEC, ERW, GGC, ITD, LPN, PLAT, PSL, GLOBAL, SVI, TTA, U, UNIQ, UV, WORK ท้ายที่สุดจับตามาตรการภาครัฐหลังผ่าน พ.ร.ก.กู้เงิน โดยกลุ่มธุรกิจต่างๆ เริ่มเดินหน้าขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ อาทิ กลุ่มอสังหาฯ เตรียมยื่นขอผ่อนเกณฑ์ LTV และรอสภาพคล่องจาก Soft Loan ที่จะมาหนุนการปล่อยสินเชื่อให้กับคอนโดราคา 1-3 ล้านบาท ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-470794
จำนวนผู้อ่าน: 2038
29 พฤษภาคม 2020
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Kapook.com ชี้แอปพลิเคชันใหม่ “ไทยชนะ” ของธนาคารกรุงไทยที่รัฐบาลเพิ่งเปิดตัวเมื่อวานนี้ สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” หรือ “Thaichana” เริ่มเปิดให้ดาวน์โหลดเมื่อวานนี้ โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนนำไปใช้เพื่อลงทะเบียนเข้าออกร้านค้าและสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ระบุว่า นอกจากจะสะดวกกว่าการกรอกข้อมูลแล้ว ยังสามารถป้องกันการปลอมแปลง QR Code หรือใส่เลขโทรศัพท์ผิดเบอร์ได้ อย่างไรก็ตาม นายปรเมศวร์ มินศิริ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Kapook.com ได้ออกมากล่าวเตือนผ่านเฟซบุ๊กว่า การใช้แอปฯ ดังกล่าว ผู้ใช้จะต้องอนุญาตให้แอปฯ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวบนโทรศัพท์ รวมถึง ไฟล์รูปถ่าย และ วิดีโอ ในโพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าว นายปรเมศวร์ ระบุว่า การใช้งานตามฟังก์ชั่นของแอปฯ ไทยชนะ ผู้ใช้งานจะต้องอนุญาตให้แอปฯ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ตำแหน่งของโทรศัพท์ (Location) “ถ้าเจ้าของไม่เปิด GPS ก็จะระบุได้คร่าวๆจากโครงข่ายผู้ให้บริการมือถือ แต่ถ้ามือถือนั้นเปิด GPS ก็จะระบุตำแหน่งเป๊ะๆได้เลยจากพิกัดดาวเทียม” และยัง “สามารถเข้าถึงไฟล์รูปภาพ มีเดีย(วิดีโอ) และไฟล์ต่างๆได้” “เป็นที่น่าสงสัยว่าถ้าจะแก้ปัญหาสองอย่างนี้ มีความจำเป็นจะต้องขอเข้าถึงตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือรวมถึงการเข้าถึงรูป,วิดีโอและไฟล์ของผู้ใช้หรือไม่???” นายปรเมศวร์ เขียนผ่านเฟซบุ๊ก “เพื่อความสะดวก ผู้ที่ติดตั้งแอพนี้ควรทราบข้อมูลนี้ด้วยว่า นี่คือการยินยอมให้รัฐบาลเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ของท่านด้วยนะครับ” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/ict/news-470753
จำนวนผู้อ่าน: 2024
29 พฤษภาคม 2020
ราคาทองวันนี้ (29 พ.ค.) ปรับลง 50 บาท เมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ โดยทองคำแท่ง 96.5% ในประเทศ มีราคารับซื้ออยู่ที่บาทละ 25,750 บาท ขายออกที่ราคาบาทละ 25,950 บาท ตามข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ของ สมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 9:28 น. ที่ผ่านมา ขณะที่ ราคาทองรูปพรรณ 96.5% รับซื้ออยู่ที่ราคาบาทละ 25,286.88 บาท และขายออกที่ราคา 26,450 บาท ส่วนราคาทองคำโลก หรือ Gold Spot อยู่ที่ 1,721.00 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ สรุปราคาซื้อ-ขายทองคำในประเทศไทย ล่าสุด ประจำวันที่ 29 พ.ค. 2563 ประกาศราคาซื้อ-ขายทองคำในประเทศไทย ครั้งที่ 1 ทองแท่ง • รับซื้อ บาทละ 25,750 บาท • ขายออก บาทละ 25,950 บาท ทองรูปพรรณ • รับซื้อ บาทละ 25,286.88 บาท • ขายออก บาทละ 26,450 บาท ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-470747
จำนวนผู้อ่าน: 2152
29 พฤษภาคม 2020
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ (29 พ.ค.) ที่ระดับ 31.86 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.85 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้อยู่ที่ 31.75-31.95 บาทต่อดอลลาร์ โดยตลาดการเงินสหรัฐเริ่มตึงตัวจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน เห็นได้จากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่ (Initial Jobless Claims) ในระดับ 2.1 ล้านคนสัปดาห์ก่อน หมายความว่าในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา มีผู้ขอยื่นสวัสดิการการว่างงานกว่า 40 ล้านคนในสหรัฐ แม้ในปัจจุบันจะมีผู้ขอรับสวัสดิการต่อเนื่องลดลงเหลือ 21.1 ล้านคนจาก 24.9 ล้านคนในสัปดาห์ก่อน แต่ก็ถือว่าเป็นระดับการว่างงานที่สูงผิดปกติ เช่นเดียวกันตัวเลขจีดีพีสหรัฐไตรมาสแรกที่หดตัวเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 5.0% ในการรายงานครั้งที่สอง (เทียบกับไตรมาสก่อนปรับเป็นรายปี) พร้อมกับปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (Durable Goods Orders) ที่หดตัวลง 17.2% ในเดือนเมษายน ภาพดังกล่าวส่งผลให้ดัชนี S&P500 ของสหรัฐปรับตัวลดลง 0.2% สวนทางกับดัชนีหุ้นยุโรป Stoxx 600 ที่ปรับตัวขึ้นต่อได้ถึง 1.6% นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบก็ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องด้วย โดยล่าสุด ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ขยับขึ้นแตะระดับ 35.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล บวก 1.8% ขณะเดียวกันราคาทองคำก็กลับมายืนได้ที่ 1719 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากปรับตัวลงไปต่ำกว่า 1700 ดอลลาร์ต่อออนซ์เพียงหนึ่งวัน ฟากของตลาดเงิน ก็เห็นได้ชัดว่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร (EUR) ทันทีที่ตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวแข็งแรงกว่าฝั่งสหรัฐ กดดันให้ดัชนีดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลง 0.5% โดยมีเพียงเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่ทรงตัวในระดับ 107.7 เยนต่อดอลลาร์ และดอลลาร์แคนาดา (CAD) ที่ปรับตัวลงในคืนก่อน ดร.จิติพลกล่าวด้วยว่า ในส่วนของเงินบาทก็น่าสนใจเมื่อแข็งค่าลงมาสู่ระดับที่เชื่อว่าเป็น “แนวรับ” ของผู้นำเข้าส่วนใหญ่ พร้อมกันกับที่ฝั่งของตลาดหุ้น ก็เริ่มติดแนวต้านที่ระดับ 1350 จุด ชี้ว่าเงินบาทควรชะลอการแข็งค่าลงได้บ้าง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องจับตาทิศทางของการค้าระหว่างประเทศที่จะกลับมาฟื้นตัว ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไปด้วย เพราะถ้าการส่งออกกลับมาได้เร็ว เงินบาทก็จะถูกกดดันอีกครั้งทันที และในระยะสั้นมีเพียงภาพการแข็งค่าของดอลลาร์จากภาวะตลาดทุนที่พักฐานเท่านั้นที่สามารถดึงให้เงินบาทอ่อนค่ากลับขึ้นไปได้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-470723
จำนวนผู้อ่าน: 1953
29 พฤษภาคม 2020
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า % Arabica ร้านกาแฟชื่อดังสไตล์มินิมอล จากญี่ปุ่น ได้ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก “Arabica Thailand” ถึงการเปิดสาขาแรกที่ไอคอนสยามอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ และถือเป็นสาขาที่ 58 ในโลก โดยมีการปรับเวลาทำการให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 คือ วันจันทร์ – วันพฤหัส เปิด 11.00 – 20.00 น. และวันศุกร์ – วันอาทิตย์ 10.00 – 20.00 น. โดยเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว % Arabica ระบุว่ามีแผนที่จะเปิดในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะประกาศอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ว่าจะเปิดสโตร์ในเดือนเมษายน แต่ก็ต้องเลื่อนไปจากสถานการณ์โควิด รวมถึงการที่บริษัทแม่ ได้ออกมาระบุเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า “ตอนนี้สโตร์ที่กรุงเทพฯใกล้จะเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ค่อยชอบการตกแต่งกระจกบริเวณเพดานสักเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามกำลังคิดหาวิธีแก้ไขอยู่” ก่อนที่จะมีประกาศอีกครั้งว่าจะขยับเวลาเปิดเป็นช่วงเดือนมิถุนายน ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/marketing/news-470710
จำนวนผู้อ่าน: 2050
29 พฤษภาคม 2020
ธ.ก.ส. ระดมกำลังพนักงานทั่วประเทศ ออกปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ในพื้นที่ไม่เว้นวันหยุดราชการ เพื่อเร่งทบทวนสิทธิ์ให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามมาตรการเราไม่ทิ้งกัน ของกระทรวงการคลัง โดยกำหนดจุดนัดหมายในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทะเบียน และง่ายต่อการสอบทาน พร้อมยึดหลักการบริหารจัดการตามหลัก Social Distancing คาดตรวจสอบข้อมูลแล้วเสร็จภายใน 17 พ.ค.นี้ นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผย ภายหลังการร่วมลงพื้นที่พร้อมกับพนักงาน ธ.ก.ส. ที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ ณ วัดหนองจอก เขตมีนบุรี และสาขาบางเขน ว่า ธ.ก.ส. ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อย่างเต็มที่ ซึ่งในส่วนของภารกิจผู้พิทักษ์ที่ ธ.ก.ส.ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลัง ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของผู้ยื่นทบทวนสิทธิ์ตามมาตรการเราไม่ทิ้งกัน เพื่อขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยการไปพบตัวผู้ลงทะเบียนเพื่อถ่ายรูปบุคคล หลักฐานการประกอบอาชีพ และบัตรประชาชน ผ่าน APP ผู้พิทักษ์ เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาช่วยเหลือต่อไป ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้รับยอดให้สอบทานสิทธิ์ 2 ครั้ง รวมจำนวน 54,819 ราย และได้ดำเนินการยืนยันตัวตนผู้ขอทบทวนไปแล้วกว่า 83% และล่าสุดได้รับตัวเลขเพื่อร่วมตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มอีก 36,841 ราย รวมจำนวน 91,660 ราย ซึ่ง ธ.ก.ส.จะเร่งตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด โดยมอบหมายให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ทั่วประเทศกว่า 8,000 ราย ออกไปตรวจสอบข้อมูลถึงในพื้นที่ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ พร้อมกำหนดจุดนัดหมายที่สามารถอำนวยความสะดวกทั้งผู้ขอทบทวนสิทธิ์ และการสอบทานของเจ้าหน้าที่ ควบคู่การยึดหลักการบริหารจัดการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยคาดหมายว่าจะดำเนินการสอบทานสิทธิ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 17 พฤษภาคม 2563 หรือเร็วที่สุดตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังกำหนด นายกษาปณ์กล่าว ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-460259
จำนวนผู้อ่าน: 2287
06 พฤษภาคม 2020
กรณีการรายงานผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก (active case findind) ใน จ.ยะลา ที่พบว่ามีผู้ติดเชื้อผลเป็นบวก 40 ราย ภายหลังจึงมีการตรวจสอบและนำเชื้อไปตรวจที่ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.สงขลา อีกครั้งผลปรากฏว่าเป็นลบทุกราย สรุปได้ว่าผลออกมาขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง จึงได้มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการแห่งที่ 3 คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศไทยในการตรวจหาเชื้อ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล “โควิด-19” ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เบื้องต้นทางกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานว่าใน 40 รายนี้ไม่พบผู้ป่วยยืนยัน ผลการตรวจออกมาเป็นลบทุกราย โดยหลังจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีการแถลงข่าวในรายละเอียดต่อไป ที่เกี่ยวกับข้องกับเทคนิควิธีการต่างๆ โดยทางกระทรวงฯ จะเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างและแสดงความมั่นใจในระบบที่ดำเนินการอยู่ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบในถึงกระบวนการ รวมทั้งจะพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-460255
จำนวนผู้อ่าน: 2105
06 พฤษภาคม 2020
REUTERS สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานอ้างคำกล่าวของ “จอห์น แรคคลิฟต์” แคนดิเดตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐ (ดีเอ็นไอ) ระหว่างการกลั่นกรองคุณสมบัติและความเหมาะสมของการดำรงตำแหน่งโดยคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภา เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (5 พ.ค. 2020) ซึ่ง “จอห์น แรคคลิฟต์” ระบุว่า จีนเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งของสหรัฐ ขณะที่เรื่องเร่งด่วนที่สุดคือการหาต้นตอของการระบาดของไวรัสวิด-19 โดย “จอห์น แรคคลิฟต์” กล่าวว่า จีนเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการขยายอิทธิพลผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (บีอาร์ไอ) รวมถึงการแข่งขันกันเป็นผู้นำโลกทางเทคโนโลยี เช่น เอไอ, 5G และควอนตัมคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม “จอห์น แรคคลิฟต์” ชี้ว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นภัยคุกคามเร่งด่วนที่ประเทศกำลังเผชิญ โดยหากตนได้รับการรับรองให้ดำรงตำแหน่งจะมุ่งเน้นไปที่การหาสาเหตุของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ “โดนัลด์ ทรัมป์” เป็นผู้เลือกให้ “จอห์น แรคคลิฟต์” ดำรงตำแหน่งผู้นำประชาคมข่าวกรองของสหรัฐ โดยสร้างความกังวลว่าประธานาธิบดีสหรัฐอาจแทรกแซงการทำงานของหน่วยงานด้านการข่าวของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหาสาเหตุต้นตอการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เป็นอีกประเด็นขัดแย้งของสหรัฐและจีน อย่างไรก็ตาม “จอห์น แรคคลิฟต์” จะต้องได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติและรับรองการดำรงตำแหน่งจากทางวุฒิสภาที่ยังคงสงสัยในความเหมาะสมของแคนดิเดตรายนี้อยู่ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/world-news/news-460252
จำนวนผู้อ่าน: 2222
06 พฤษภาคม 2020
ประสานขอความร่วมมือหน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อย่างเข้มงวด แม้จะมีการผ่อนปรนล็อกดาวน์ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า จากกรณีที่จุดสับรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ระหว่างสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสถานีสยาม ฝั่งมุ่งหน้าปลายทางสถานีบางหว้า เกิดเหตุขัดข้อง เมื่อเวลา 05.00 น. ของวันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2563 ส่งผลให้การเดินรถสายสีลมล่าช้า เกิดความหนาแน่นของผู้โดยสารในสถานีรถไฟฟ้าที่เริ่มออกมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น หลังจากรัฐบาลประกาศผ่อนปรนล็อกดาวน์ในบางกิจกรรม เช่น ร้านอาหารขนาดเล็กที่ไม่ติดแอร์ ตลาดสด ตลาดนัด ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม และห้างสรรพสินค้า จนทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ/แพร่เชื้อ จากความหนาแน่นของผู้โดยสารกรมได้ประสานไปยังบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ดูแลและให้บริการระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสให้เร่งดำเนินการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นอีก รวมทั้งได้ประสานไปยังหน่วยงานผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางอื่นๆ ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ให้ดำเนินการเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลรักษาสภาพรถโดยสาร ระบบการเดินรถ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความพร้อมสมบูรณ์ในการให้บริการ และไม่เกิดเหตุขัดข้องอย่างกรณีดังกล่าว และหากมีความหนาแน่นของผู้โดยสารในแต่ละสถานี ให้หน่วยงานผู้ให้บริการฯ ดำเนินมาตรการบริหารการเข้าสู่ระบบของผู้โดยสาร โดยคำนึงถึงมาตรการพึงปฏิบัติการจัดการระบบขนส่งทางรางภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) จากบุคคลอื่นๆ ในระยะอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อรับบริการตามความเหมาะสม โดยให้ดำเนินการแบ่งเป็นกลุ่ม (Group Release) 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ก่อนการขึ้น-ลง เข้าสู่ชั้นจำหน่ายตั๋ว ตอนที่ 2 ก่อนการผ่านหน้าประตูกั้นจัดเก็บค่าโดยสาร และตอนที่ 3 ก่อนเข้าสู่ขบวนรถ พร้อมทั้งให้เพิ่มการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในการเผื่อเวลาการเดินทางเพื่อลดความหนาแน่น ซึ่งเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อ/แพร่เชื้อ ทั้งนี้ขอให้ประชาชนวางแผนเผื่อเวลา เตรียมการเดินทางในวันทำงาน ซึ่งจากสถิติการเดินทางเมื่อวันที่ 4 พ.ค.2563 หลังจากรัฐบาลเริ่มผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีประชาชนใช้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งในเขตกรุงเทพฯ เฉลี่ย เกือบ 400,000 เที่ยวคนต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสภาวะการณ์ช่วง วันที่ 1 พ.ค.2563 มีเฉลี่ยเพียง 189,000 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าตัว หรือ 100% “คาดการณ์ว่าพรุ่งนี้ (7 พ.ค.) น่าจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอีก กรมขอให้ประชาชนวางแผนเดินทาง รักษาสุขอนามัย สวมใส่หน้ากาก เผื่อเวลาเดินทาง เว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อช่วยทำให้ประเทศชาติ ประชาชน ปลอดภัยปราศจากโควิด” ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/property/news-460246
จำนวนผู้อ่าน: 2170
06 พฤษภาคม 2020
“หม่อมเต่า” เร่งประกันสังคมเดินหน้าอนุมัติสิทธิว่างงานเหตุสุดวิสัย ล่าสุดจ่ายไปแล้วกว่า 2.5 พันล้าน รมว.แรงงาน เผยการดำเนินงานจ่ายสิทธิประโยชน์ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย มีผู้ประกันตนยื่นขอรับสิทธิเกือบ 1 ล้านราย ได้รับอนุมัติสิทธิแล้ว 4.9 แสนราย จ่ายไปแล้ว2.5 พันล้าน พร้อมเร่งประสานนายจ้างรับรองการหยุดงานของลูกจ้าง ภายในวันที่ 8 พ.ค. 63 เพื่อเดินหน้าจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แล้วเสร็จงวดแรก ให้ครบภายในวันที่ 15 พ.ค. 63 นี้ หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการดำเนินงานจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในกรณีที่ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน อันเนื่องมาจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือเนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนได้รับผลกระทบ และไม่ได้รับค่าจ้างสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ได้รับคือ สิทธิกรณีว่างงานร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน ซึ่งจากการได้ลงพื้นที่เร่งรัดให้ดำเนินการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยนั้นแล้วเสร็จ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้าง ผู้ประกันตน นั้น สำนักงานประกันสังคมได้ทยอยจ่ายเสร็จสิ้นไปกว่าครึ่งจากจำนวนผู้มีสิทธิ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 จำนวน 990,523 ราย เจ้าหน้าที่วินิจฉัยอนุมัติแล้ว จำนวน 492,273 ราย เป็นเงินจำนวน 2,563.612 ล้านบาท ซึ่งในเรื่องนี้ ตนได้สั่งการให้ดำเนินการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แล้วเสร็จงวดแรก ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 สำหรับในกรณีที่สถานประกอบการที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว และไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมขอให้สถานประกอบการกลุ่มดังกล่าวเร่งดำเนินการรับรองการหยุดของลูกจ้าง ซึ่งพบว่ามีผู้ประกันตน จำนวน 289,104 ราย ที่รอนายจ้างเข้ามารับรองสิทธิ สถานประกอบการกลุ่มนี้ จะได้รับการประสานงานจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน รวมทั้งได้รับหนังสือแจ้งเตือนจากสำนักงานประกันสังคม เร่งรัดให้เข้ามารับรองการหยุดงานของลูกจ้าง ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ในส่วนกรณีลูกจ้าง ผู้ประกันตน ที่ได้รับการวินิจฉัยปฏิเสธไม่ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย นั้น สำนักงานประกันสังคม ได้เตรียมความพร้อมรองรับข้ออุทธรณ์จากผู้ที่ได้รับการปฏิเสธสิทธิดังกล่าว โดยมีคณะกรรมการอุทธรณ์ในการร่วมพิจารณาวินิจฉัยให้กับผู้ที่ได้รับการปฏิเสธการขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยแล้ว อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ประกันตนที่ได้รับการปฏิเสธสิทธิดังกล่าว รีบยื่นอุทธรณ์ต่อสำนักงานประกันสังคมโดยทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-460241
จำนวนผู้อ่าน: 2053
06 พฤษภาคม 2020
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 6 พฤษภาคม 2563 วันที่ 4 ของการเริ่มต้นผ่อนปรนมาตรการ 6 กิจการและกิจรรม ระยะที่ 1 (14 วัน) ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. ภายในห้องโถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย รวมมีผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 2,989 ราย ผู้เสียชีวิต 1 ราย รวมมีผู้เสียชีวิตสะสม 55 ราย หายป่วยแล้ว 2,761 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 173 ราย นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า สาเหตุของผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เพศหญิง อายุ 27 ปี กลับมาจากประเทศรัสเซีย ส่วนผู้เสียชีวิต 1 ราย มาจากจังหวัดพังงา มีโรคประจำตัว หอบหืด ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-460229
จำนวนผู้อ่าน: 2076
06 พฤษภาคม 2020
นายกฤษณะกร เศวตนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อาวดี้ ประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดทำข้อเสนอพิเศษให้กับคุณหมอ ซื้อรถออดี้ทุกรุ่นดาวน์ 0% ผ่อนดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 4 ปี ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 มิถุนายน 2563 “การอนุมัติสินเชื่อจะพิจารณาหลักฐานใบประกอบวิชาชีพจากแพทย์สภา” ส่วนลูกค้าทั่วไปมีโปรโมชั่น ผ่อนสบายๆ 7 ปี ดอกเบี้ย 1.99% และซื้อปีนี้ผ่อนปีหน้า ลูกค้าเริ่มชำระค่างวดเดือนมกราคม 2564 (84 งวดเหลือ 77 งวด) สามารถผ่อนเงินดาวน์กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการนานสูงสุด 6 เดือนดอกเบี้ย 0% นอกจากนี้หากเป็นลูกค้าการบินไทยยังสามารถนำไมล์สะสมของการบินไทย 50,000 ไมล์ มาแลกเป็นส่วนลด 50,000 บาท “ลูกค้าใช้เซอร์วิส มีค่าบริการหมื่นบาทขึ้นไป ผ่อนชำระได้ถึง 3 เดือน ดอกเบี้ย 0% สิ้นสุด 30 มิถุนายน เรามีรถทดลองขับที่บ้าน จองรถใหม่ ทำสัญญา ส่งมอบรถ รวมถึงการบริการหลังการขาย บริการ รับ-ส่ง รถฟรี” ออดี้รับประกันรถใหม่ 5 ปี หรือ 150,000 กิโลเมตร มีบริการช่วยเหลือทั่วประเทศ 24 ชั่วโมง นาน 5 ปี ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/motoring/news-460215
จำนวนผู้อ่าน: 2099
06 พฤษภาคม 2020
ภาพ Pixabay วันที่ 6 พฤษภาคมนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรวจเชื้อชาวบ้าน 40 คนจาก จ.ยะลา ซึ่งเป็นการตรวจรอบที่ 3 ผลจากห้องแล็บจะออกมาวันนี้ว่าทั้งหมดติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ หลังจากตรวจรอบแรกพบติดเชื้อ แต่ผลตรวจรอบที่ 2 กลับพบว่าไม่ติดเชื้อ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กระบวนการทางห้องปฎิบัติการ (แล็บ) ใน จ.ยะลา ที่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ประชาชน 40 คน ใน จ.ยะลา ให้ผลเป็นบวก แต่ผลตรวจรอบที่ 2 จากห้องแล็บที่ จ.สงขลา ระบุว่าผลเป็นลบทั้งหมด จนต้องส่งตัวอย่างเชื้อไปรอบที่ 3 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ ห้องแล็บที่ยะลา เป็นห้องแล็บที่ผ่านเกณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการตรวจให้กับประชาชนใน จ.ยะลา ไปแล้วกว่า 4,000 ตัวอย่าง ดังนั้นสิ่งที่เขาปฏิบัติเป็นสิ่งที่มีมาตรฐานดำเนินงาน ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไม การตรวจตัวเปรียบเทียบที่เป็นบวก แต่กลับเป็นลบขึ้นมานั้น ในทางห้องปฏิบัติการพบว่าความคลาดเคลื่อน หรือความผิดพลาด มันเกิดขึ้นได้เสมอ “ในระบบต่างๆ โดยหลักความผิดพลาดจะเกิดได้จาก 3 อย่าง 1.ความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (human error) 2.ความผิดพลาดที่เกิดจากเครื่องมือ (Machine error) และ 3.ความผิดพลาดของระบบ (System error) เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจะต้องหาสาเหตุและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป ซึ่งทางห้องปฏิบัติการของยะลา ก็สามารถตรวจจับได้แล้วว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น และได้ดำเนินการตามมาตรฐานที่ผ่านมา โดยรายงานมาทางส่วนกลาง แนะนำตัวอย่างนั้นส่งตรวจ ห้องแล็บที่ 2 คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.สงขลา โดยเบื้องต้นผลออกมาเป็นลบ ซึ่งขัดแย้งกัน จึงต้องมีการตรวจซ้ำเป็นครั้งที่ 3 โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะเป็นผู้นำมาตรวจ คาดว่าผลจะออกในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้” นพ.โอภาส กล่าว ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-460201
จำนวนผู้อ่าน: 2074
06 พฤษภาคม 2020
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่า ด้วยยกเว้น การห้ามรถบรรทุก 4 ล้อ 6 ล้อ และ 10 ล้อขึ้นไปเดินในเขตกรุงเทพมหานครในช่วงเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ฉบับที่ 2) ตามที่ได้มีประกาศเรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน 2563 กรณีสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ออกไปอีกคราวหนึ่ง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 และประกาศเรื่องการให้ข้อกำหนดประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรี กำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับลงวันที่ 28 เมษายน 2563 นั้น เพื่อให้การจัดการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมกับการจราจรในห้วงระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (38) แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 และมาตรา 139 (1) แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ประกอบกับคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 524/2562 เรื่องแต่งตั้งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ลงวันที่ 18 กันยายน 2562 จึงออกข้อบังคับไว้ดังนี้ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-460194
จำนวนผู้อ่าน: 2224
06 พฤษภาคม 2020
ราคาทองวันนี้ (06 พ.ค.63) ปรับขึ้น 100 บาท เมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้ โดยทองคำแท่ง 96.5% ในประเทศ มีราคารับซื้ออยู่ที่บาทละ 25,900 บาท ขายออกที่ราคาบาทละ 26,100 บาท ตามข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ของ สมาคมคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 9:18 น. ที่ผ่านมา ขณะที่ ราคาทองรูปพรรณ 96.5% รับซื้ออยู่ที่ราคาบาทละ 25,438.48 บาท และขายออกที่ราคา 26,600 บาท ส่วนราคาทองคำโลก หรือ Gold Spot อยู่ที่ 1,704.00 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ สรุปราคาซื้อ-ขายทองคำในประเทศไทย ล่าสุด ประจำวันที่ 06 พ.ค. 2563 ประกาศราคาซื้อ-ขายทองคำในประเทศไทย ครั้งที่ 1 ทองแท่ง • รับซื้อ บาทละ 25,900 บาท • ขายออก บาทละ 26,100 บาท ทองรูปพรรณ • รับซื้อ บาทละ 25,438.48 บาท • ขายออก บาทละ 26,600 บาท ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/finance/news-460195
จำนวนผู้อ่าน: 2089
06 พฤษภาคม 2020
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า หลังมาตรการผ่อนปรนผ่านมา 2 วัน ตนเห็นว่ายังมีหลายอย่างที่ต้องปรับปรุง โดยเฉพาะความร่วมมือของภาคธุรกิจเอกชนต่างๆ ในการผ่อนปรนมาตรการ รวมความถึงประชาชนในระดับฐานราก ที่จะต้องมีรายได้ในช่วงเวลายากลำบากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่มีรายได้น้อย “แต่จำเป็นต้องมีมาตรการที่เหมาะสมในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น เพราะเรายังวางใจไม่ได้ ทั้งนี้ ในภาพของการเปิดร้านไป หลายๆ ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายเล็กที่มีการผ่อนปรนให้เปิดกิจการได้ ได้มีการปรับมาตรการของตัวเอง social distancing อย่างดียิ่ง แต่หลายอย่างต้องปรับให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ต้องคำนึงถึงมาตรฐานด้านสาธารณสุขด้วยเป็นสำคัญ” @ ตำหนิแย่งซื้อเหล้า ขู่จำกัดปริมา พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนภาพการรุมแย่งซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ตนขอตำหนิพร้อมทั้งได้สั่งการให้มีมาตรการที่ชัดเจนในการซื้อที่จะต้องมีปริมาณที่แต่ละรายสามารถซื้อได้ มีการเปิดตามเวลาที่กำหนด ไม่ให้มีภาพการแย่งเช่นนั้นอีก เพราะถือว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ ขอให้เอกชน ร้านค้าต่างๆ ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่ออกไปไม่อย่างนั้นถูกปิดไม่ให้ขายอีกต่อไป ขอให้มีมาตรการที่เหมาะสม “ในขณะนี้เราเตรียมการสู่ระยะที่สอง ถ้าหากผ่านระยะที่หนึ่งไปได้ มีหลายเรื่องที่จะต้องเปิดในโอกาสต่อไป สิ่งสำคัญที่สุดคือ การที่มีประชาชนจำนวนมากเข้าไปสถานประกอบการขนาดใหญ่ เช่น ศูนย์การค้า ขอเตือนว่าจะต้องกำหนดจำนวนประชาชนที่เข้าใช้บริการในสถานที่เหล่านั้น มีการทยอยเข้าไป ใช้เวลาอยู่ในสถานบริการไม่เกิน 2 ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นมีปัญหาการแย่งชิงสินค้าต่างๆ ดังนั้น ทุกสถานประกอบการต้องมีเตนท์ ที่พักรอข้างนอกก เมื่อถึงเวลาจึงจะให้คนเข้าไปตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ และยังต้องมีมาตรฐานการคัดกรองการวัดอุณหภูมิ การใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ กำลังพิจารณาในศูนย์โควิด-19 ว่าจะเปิดในระยะต่อไป ขอให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมด้วย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นกังวล คือสถานประกอบการขนาดใหญ่อาจจะมีความพร้อมมากว่า มีเครื่องไม้เครื่องมือ ทุนทรัพย์มากกว่า ดังนั้น ส่วนตรงกลางก็ขอให้ช่วยด้วย อะไรที่ต้องทำก็ขอให้ทำให้ได้ ขอให้มีมาตรการที่รัดกุม @ ย้ำทุกคนอย่าการ์ดตก พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนผู้การประกาศผู้ติดเชื้อเลขตัวเดียวจะทำให้การ์ดตกหรือไม่ ก็ต้องถามกลับยังสื่อว่าจะสร้างความเข้าใจกับประชาชนได้หรือไม่ เป็นหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ โซเชียลมีเดียต่างๆ ต้องสร้างความเข้าใจไปยังประชาชน จะต้องไม่การ์ดตก แม้การ์ดจะสูงหรือไม่สูงก็ตาม แต่การ์ดจะตกไม่ได้โดยเด็ดขาด ส่วนกรณีที่รถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้องในช่วงเช้าที่ผ่านมานั้น ตนได้สั่งการให้มีการแก้ไขแล้ว ซึ่งมีการชำรุดเรื่องของสัญญาณ เป็นเรื่องทางเทคนิคที่เกิดขึ้นไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า แต่ก็ขอให้มีแผนงานแก้ไขปัญหา ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/general/news-460190
จำนวนผู้อ่าน: 1983
06 พฤษภาคม 2020